พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปัญจมสมันตปาสาทิกา ปริวารวัณณนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42855
อ่าน  466
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 319

ปัญจมสมันตปาสาทิกา

ปริวารวัณณนา

วินัยใด อันพระเถระทั้งหลายจัดเข้า หมวดโดยชื่อว่า บริวาร เป็นลำดับแห่ง ขันธกะทั้งหลาย ในศาสนาของพระผู้มี พระภาคเจ้าผู้มีบริวารสะอาด มีกองธรรม เป็นพระสรีระ, บัดนี้ข้าพเจ้าจักละนัยอันมา แล้วในหนหลังเสีย จักทำการพรรณนาเนื้อ ความที่ได้ตื้นแห่งวินัยที่ชื่อว่า บริวารนั้น.

[ใสฬสมหาวารวัณณนาในอุภโตวิภังค์]

เนื้อความสังเขปแห่งปุจฉา ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ยนฺเตน ภควตาฯ เปฯ ปญฺตฺตํ ในคัมภีร์บริวารนั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ก่อน-

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด ผู้อันพระธรรมเสนาบดีประดิษฐาน ไว้แล้วซึ่งอัญชลี อันกำลังแห่งความเคารพและนับถือมากในพระสัทธรรมเชิด ขึ้นแล้ว เหนือเศียรเกล้า ทูลวิงวอนแล้ว จึงทรงแต่งตั้งวินัยบัญญัติ อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ เพื่อความตั้งอยู่ยืนนานของพระศาสนา. พระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้กาลที่บัญญัติสิกขาบทนั้นๆ ผู้เห็นอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการแห่งสิกขาบทบัญญัตินั้นๆ อีกอย่างหนึ่ง ผู้รู้ด้วยญาณทั้งหลาย มี ปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น ผู้เห็นด้วยทิพยจักษุ ผู้รู้ด้วยวิชชา ๓ หรือด้วย อภิญญา ๖ ผู้เห็นด้วยสมันตจักษุ อันหาสิ่งใดขัดขวางมิได้ในธรรมทั้งปวง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 320

ผู้รู้ด้วยปัญญา ซึ่งสามารถรู้ธรรมทั้งมวล ผู้เห็นแม้ซึ่งรูปทั้งหลาย ที่อยู่ใน ภายนอกฝาเป็นต้น ซึ่งล่วงวิสัยจักษุแห่งสัตว์ทั้งปวง ด้วยมังสจักษุอันผ่องใส ยิ่งนัก ผู้รู้ด้วยปัญญาเครื่องแทงตลอด มีสมาธิเป็นปทัฏฐาน ยังประโยชน์ตน ให้สำเร็จ ผู้เห็นด้วยเทศนาปัญญา มีกรุณาเป็นปทัฏฐาน ยังประโยชน์ผู้อื่น ให้สำเร็จ ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกใดไว้ ปฐมปาราชิกนั้น ทรงบัญญัติที่ไหน? ทรงปรารภใคร จึงบัญญัติ? ทรง บัญญัติ เพราะเรื่องอะไร? ในปฐมปาราชิกนั้น มีบัญญัติหรือ? ฯลฯ ปฐมปาราชิกนั้น ใครนำมาแล้ว?

แต่คำว่า ยนฺเตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน ปมํ ปารางชกํ นี้ เป็นแต่เพียงคำขยายของบทต้น ที่มาแล้ว ในปุจฉาอย่างเดียว ในวาระคำถามและคำตอบเท่านั้น.

ก็แลในวาระคำถามและคำตอบนี้ พึงถามแล้วตอบทีละบทๆ แม้อีก เทียว โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ถามว่า ปฐมปาราชิกทรงบัญญัติที่ไหน? ตอบว่า ทรงบัญญัติที่กรุงเวสาลี ทรงปรารภใคร? ทรงปรารภพระสุทินน์ กลันทบุตร.

ข้อว่า เอกา ปญฺตฺติ มีความว่า บัญญติที่ว่า ก็ภิกษุใดพึงเสพ เมถุนธรรม ภิกษุนั้น เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ นี้เป็นบัญญัติอันหนึ่ง.

ข้อว่า เทฺว อนุปญฺตฺติโย มีความว่า อนุบัญญัติ ๒ นี้ ที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัส ด้วยอำนาจแห่งเรื่องนางลิงว่า อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ และเรื่องภิกษุวัชชีบุตรว่า สิกฺขํ อปจฺจกฺขาย.

ปุจฉานี้ว่า ในปฐมปาราชิกนั้น มีบัญญัติหรือ? มีอนุบัญญัติหรือ? มีอนุปันนบัญญัติหรือ? เป็นอันวิสัชนาแล้ว ๒ ส่วน ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ก็แลเพื่อวิสัชนาส่วนที่ ๓ ท่านจึงกล่าวว่า ในปฐมปาราชิกนั้น ไม่มีอนุปันน-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 321

บัญญัติ. จริงอยู่ ที่ชื่อว่าอนุปันนบัญญัตินี้ ได้แก่ ข้อที่ทรงบัญญัติในเมื่อโทษ ยังไม่เกิดขึ้น อนุปันนบัญญัตินั้นไม่มี นอกจากที่มาด้วยอำนาจครุธรรม ๘ ของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในปฐมปาราชิกนั้น ไม่มีอนุปันนบัญญัติ.

ข้อว่า สพฺพตฺถ ปญฺตฺติ นั้น ได้แก่ บัญญัติในที่ทั้งปวง ทั้ง ในมัชฌิมประเทศ ทั้งในปัจจันตชนบททั้งหลาย.

จริงอยู่ ๔ สิกขาบทนี้ คือ อุปสมบทด้วยคณะมีพระวินัยธรเป็นที่ ๕, รองเท้าตั้งแต่ ๔ ชั้นขึ้นไป, การอาบน้ำเป็นนิตย์, เครื่องลาดคือหนัง ทรง บัญญัติเฉพาะในมัชฌิมประเทศเท่านั้น, เป็นอาบัติ เพราะสิกขาบทเหล่านั้น ในมัชฌิมประเทศนี้เท่านั้น ในปัจจันตชนบททั้งหลาย หาเป็นอาบัติไม่. สิกขาบทที่เหลือทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า สัพพัตถบัญญัติ.

ข้อว่า สาธารณปญฺตฺติ นั้น ได้แก่ พระบัญญัติที่ทั่วถึงแก่ ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย.

จริงอยู่ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติเฉพาะแก่ภิกษุล้วน หรือภิกษุณีล้วน เป็นอสาธารณบัญญัติ. ส่วนสิกขาบทที่ว่า ยา ปน ภิกฺขุนี ฉนฺทโส เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺย อนฺตมโส ติรจฺฉานคเตปิ ปาราชิกา โหติ อสํวาสา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภภิกษุทั้งหลาย บัญญัติแล้ว แม้แก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้ว จริงอยู่ เพียงแต่เรื่องเทียบเคียงเท่านั้น ของภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้นไม่มี. แต่สิกขาบทมี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมปาราชิกเป็นสาธารณบัญญัติ.

แม้ในอุภโตบัญญัติ ก็มีนัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ในอุภโตบัญญัตินี้ ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น. ปฐมปาราชิก จัดเป็นสาธารณบัญญัติ เพราะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 322

เป็นสิกขาบทที่ทั่วถึงทั้งแก่ภิกษุทั้งหลาย ทั้งแก่ภิกษุณีทั้งหลาย จัดเป็นอุภโตบัญญัติ เพราะเป็นสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้ง ๒ ฝ่าย ฉะนี้แล. ส่วนในใจความ ไม่มีความต่างกันเลย.

บทว่า นิทาโนคธํ มีความว่า ชื่อว่าหยั่งลงในนิทาน คือ นับเข้า ในนิทาน เพราะอาบัติทั้งปวงนับเข้าในนิทานุทเทสนี้ว่า ยสฺส สิยา อาปตฺติ, โส อาวิกเรยฺย.

สองบทว่า ทุติเยน อุทฺเทเสน มีความว่า ปฐมปาราชิกนี้หยั่งลง ในนิทาน คือ แม้นับเนื่องในนิทานก็จริง แต่ย่อมไม่มาสู่อุเทศ โดยอุเทศ ที่ ๒ เท่านั้น ดังนี้ว่า ตตฺรีเม จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา เป็นอาทิ.

สองบทว่า จตุนฺนํ วิปตฺตีนํ ได้แก่ บรรดาวิบัติทั้งหลายมีศีลวิบัติ เป็นต้น.

จริงอยู่ อาบัติ ๒ กองต้น ชื่อว่าศีลวิบัติ. ๕ กองที่เหลือ ชื่อว่า อาจารวิบัติ, มิจฉาทิฏฐิและอันตคาหิกทิฏฐิ ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ สิกขาบท ๖ ที่ ทรงบัญญัติเพราะอาชีวะเป็นเหตุ ชื่อว่าอาชีววิบัติ. บรรดาวิบัติ ๔ เหล่านี้ ปาราชิกนี้ จัดเป็นศีลวิบัติ ด้วยประการฉะนี้.

ข้อว่า เอเกน สมุฏาเนน มีความว่า ปฐมปาราชิกนี้ เกิดขึ้น ด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง มีองค์ ๒ (คือกายกับจิต).

จริงอยู่ ในองค์ ๒ นี้ จิตเป็นองค์, แต่ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยกาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมเกิดขึ้นแต่กายและจิต.

ข้อว่า ทฺวีหิ สมเถหิ มีความว่า ภิกษุผู้ถูกถามอยู่พร้อมหน้ากัน ว่า ท่านเป็นผู้ต้องหรือ? จึงปฏิญญาว่า จริง ข้าพเจ้าเป็นผู้ต้องแล้ว. ความ บาดหมาง ความทะเลาะ และความแก่งแย่ง เป็นอันสงบในทันทีนั้นเอง,

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 323

ทั้งอุโบสถหรือปวารณา ย่อมเป็นกรรมอันสงฆ์อาจกำจัดบุคคลนั้นเสียแล้ว กระทำได้; เพราะเหตุนั้น อธิกรณ์นั้นจึงระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑. และอุปัทวะบางอย่าง ย่อมไม่มี เพราะปัจจัยคือการ กำจัดบุคคลนั้น.

ส่วนคำใดที่ท่านกล่าวไว้ ในปัญญัติวัคค์ถัดไปว่า กตเมน สมเถน สมฺมติ คำนั้น ท่านกล่าวหมายเอาเนื้อความนี้ว่า อนาบัติอันภิกษุไม่อาจเพื่อ ให้หยั่งลงสู่สมถะแล้วกระทำได้.

ข้อว่า ปญฺตฺติ วินโย มีความว่า บัญญัติมีมาติกาที่ตรัสไว้โดย นัยมีคำว่า โย ปน ภิกฺขุ เป็นอาทิ เป็นวินัย.

บทภาชนะ เรียกว่า วิกัตติ คำว่า วิภัตติ นั่น เป็นชื่อแห่งวิภังค์.

ความละเมิด ชื่อว่า ความไม่สังวร. ความไม่ละเมิด ชื่อว่า สังวร.

ข้อว่า เยสํ วตฺตติ มีความว่า วินัยปิฎกและอรรถกถา ของ พระมหาเถระเหล่าใด เป็นคุณแคล่วคล่องทั้งหมด.

ข้อว่า เต ธาเรนฺติ มีความว่า พระมหาเถระเหล่านั้น ย่อมทรง ไว้ซึ่งปฐมปาราชิกนั่นทั้งโดยบาลี ทั้งโดยอรรถกถา.

จริงอยู่ เนื้อความแห่งปฐมปาราชิกนั่น อันบุคคลผู้ไม่รู้วินัยปิฎก ทั้งหมด ไม่อาจทราบได้.

ข้อว่า เกนาภฏํ มีความว่า ปฐมปาราชิกนี้ ใครนำมาด้วยอำนาจ บาลี และด้วยอำนาจอรรถกา ตลอดกาลจนทุกวันนี้?

ข้อ ปรมฺปราภฏํ มีความว่า อันพระมหาเถระทั้งหลายนำมาด้วย สืบลำดับกัน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 324

ปฐมปาราชิกนี้ อันพระมหาเถระทั้งหลายนำมาด้วยสืบลำดับกันอันใด, บัดนี้ เพื่อแสดงกิริยาที่สืบลำดับกันอันนั้น พระมหาเถระทั้งหลายครั้งโบราณ จึงตั้งคาถาไว้โดยนัยมีคำว่า อุปาลิ ทาสโก เจว เป็นอาทิ. ในคาถา เหล่านั้น คำใดอันข้าพเจ้าพึงกล่าว, คำนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในนิทาน วัณณนานั่นแล.

แม้ในปุจฉาวิสัชนาทั้งหลาย มีทุติยปาราชิกเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย โดยนัยนี้ ฉะนี้แล.

ปัญญัตติวารวัณณนา ในมหาวิภังค์ จบ

[ว่าด้วยวารต่างๆ]

ถัดจากนี้ไป วาร ๗ เหล่านี้ คือ กตาปัตติวาร มีประเภทเป็นต้นว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรมต้องอาบัติเท่าไร? วิปัตติวาร มีประเภทเป็นต้นว่า อาบัติ ของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ย่อมจัดเป็นวิบัติเท่าไร แห่งวิบัติ ๔ อย่าง? สังคหวาร มีประเภทเป็นต้นว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ท่าน สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร แห่งกองอาบัติ ๗? สมุฏฐานวาร มีประเภท เป็นต้นว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสมุฏฐานเท่าไร แห่งสมุฏฐานอาบัติ ๖? อธิกรณวาร มีประเภทเป็นต้นว่า อาบัติของภิกษุผู้ เสพเมถุนธรรม จัดเป็นอธิกรณ์ไหน แห่งอธิกรณ์ ๔? สมถวาร มีประเภท เป็นต้นว่า อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร แห่ง สมถะ ๗? และสมุจจยวารอันเป็นลำดับแห่งสมถวารนั้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ถัดจากนั้นไปอีก ๘ วาร ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ คือ ปัญญัตติวาร ๑ เนื่องด้วยปัจจัยอีก โดยนัยเป็นต้นว่า เพราะปัจจัยคือการเสพเมถุนธรรม

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 325

ปาราชิกทรงบัญญัติที่ไหน ณ ดังนี้, ๗ วาร มีกตาปัตติวารเป็นอาทิ คล้ายวาร ก่อนๆ เนื่องด้วยปัจจัยนั้นเหมือนกัน. แม้วารทั้ง ๘ นั้น ก็มีเนื้อความตื้น ทั้งนั้น.

วาร ๑๖ ในมหาวิภังค์ คือ ที่มีก่อน ๘ เหล่านี้อีก ๘ ข้าพเจ้าแสดง แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ถัดจากวารนั้นไป ๑๖ วาร มาแล้วแม้ในภิกขุนีวิภังค์ โดยนัยนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบวาร ๓๒ ในอุภโตวิภังค์เหล่านี้โดยนัยบาลี นั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จริงอยู่ ใน ๓๒ วารนี้ คำไรๆ ที่นับว่ามิได้วินิจฉัยแล้วในหนหลัง ย่อมไม่มี.

โสฬสมหาวาร วัณณนา

ในมหาวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์ จบ