พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อธิกรณเภท และ อธิกรณเภทวัณณนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42864
อ่าน  661

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๘

ปริวาร

อธิกรณเภท 626

ว่าด้วยอธิกรณ์ ๔ อย่างเป็นต้น 1046/626

ว่าด้วยฟื้นอธิกรณ์เป็นต้น 1047/626

ว่าด้วยนิทานแห่งอธิกรณ์ ๔ เป็นต้น 1048/628

ว่าด้วยมูลอธิกรณ์เป็นต้น 1049/630

ว่าด้วยวิวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่ฯ 1050/631

ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่ฯ 1051/632

ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่ฯ 1052/633

ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่ฯ 1053/634

อธิบายวิวาทาธิกรณ์ 1054/636

อธิบายอนุวาทาธิกรณ์ 1055/637

อธิบายอาปัตตาธิกรณ์ 1056/637

อธิบายกิจจาธิกรณ์ 1057/638

อธิบายสมถะ 1058/638

อธิกรณ์ระงับ 1059/639

ว่าด้วยสมถะรวมกัน 1060/640

ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งสมถะ ๗ 1061/640

ว่าด้วยมูลและสมุฎฐานแห่งสมถะ 1062/645

ว่าด้วยอรรถต่างกันเป็นต้น 1063/646

ว่าด้วยวิวาทาธิกรณ์ 1064/647

ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์ 1065/649

ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์ 1066/649

ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์ 1067/650

หัวข้อประจําเรื่อง 1068/651

อธิกรณเภทวัณณนา 651

รื้อสมถะด้วยรื้ออธิกรณ์ 651

การรื้อ ๑๒ 652

อาการ ๑๐ แห่งการรื้อ 653

ว่าด้วยองค์๔ เป็นเหตุรื้ออธิกรณ์ 655

ว่าด้วยผู้รื้ออธิกรณ์ต้องอาบัติ 656

ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งอธิกรณ์ 657

ว่าด้วยมูลเป็นต้นแห่งอธิกรณ์ 659

ว่าด้วยสมถะระคนและไม่ระคนกัน 660

ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งสมถะ 661

ว่าด้วยสมุฎฐานแห่งสมถะ 662


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 626

อธิกรณเภท

ว่าด้วยอธิกรณ์ ๔ อย่างเป็นต้น

[๑,๐๔๖] อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑ นี้อธิกรณ์ ๔

ถามว่าการฟื้นอธิกรณ์ ๔ นี้ มีเท่าไร

ตอบว่า การฟื้นอธิกรณ์ ๔ นี้มี ๑๐ คือ ฟื้นวิวาทาธิกรณ์มี ๒ ฟื้น อนุวาทากรณ์มี ๔ ฟื้นอาปัตตาธิกรณ์มี ๓ ฟื้นกิจจาธิกรณ์มี ๑ การฟื้น อธิกรณ์ ๔ นี้รวมมี ๑๐

ถ. เมื่อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อฟื้น กิจจาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร

ต. เมื่อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ ๒ อย่าง เมื่อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ ๔ อย่าง เมื่อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ ๓ อย่าง เมื่อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะอย่างเดียว.

ว่าด้วยฟื้นอธิกรณ์เป็นต้น

[๑,๐๔๗] ถามว่า การฟื้นมีเท่าไร ด้วยอาการเท่าไร จึงนับว่าฟื้น บุคคลประกอบด้วยองค์เท่าไร ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์ บุคคลกี่พวก เมื่อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 627

ตอบว่า การฟื้นมี ๑๒ ด้วยอาการ ๑๐ จึงนับว่าฟื้น บุคคลประกอบ ด้วยองค์ ๘ ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์ บุคคล ๔ จำพวก เมื่อฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ

การฟื้น ๑๒ อย่าง เป็นไฉน คือ ฟื้นกรรมที่ยังไม่ได้ทำ ๑ กรรม ที่ทำแล้วไม่ดี ๑ กรรมที่ต้องทำใหม่ ๑ กรรมที่ยังทำไม่เสร็จ ๑ กรรมที่ทำ เสร็จแล้วไม่ดี ๑ กรรมที่ต้องทำอีก ๑ กรรมที่ยังไม่ได้วินิจฉัย ๑ กรรมที่ วินิจฉัยไม่ถูกต้อง ๑ กรรมที่ต้องวินิจฉัยใหม่ ๑ กรรมที่ยังไม่ระงับ ๑ กรรม ที่ระงับแล้วไม่ดี ๑ กรรมที่ต้องระงับใหม่ ๑ นี้การฟื้น ๑๒ อย่าง

ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นไฉน จึงนับว่าฟื้น คือ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่ง เกิดในที่นั้น ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งเกิดในที่นั้นแต่ระงับแล้ว ๑ ฟื้นอธิกรณ์ในระหว่างทาง ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งไปแล้วในระหว่างทาง ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งไปแล้ว ในที่นั้น ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งไปแล้วในที่นั้นแต่ระงับแล้ว ๑ ฟื้นสติวินัย ๑ ฟื้น อมูฬหวินัย ๑ ฟื้นตัสสปาปิยสิกา ๑ ฟื้นติณวัตถารกะ ๑ ด้วยอาการ ๑๐ นี้ จึงนับว่าฟื้น

บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นไฉน ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์ คือ บุคคล ถึงฉันทาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ ถึงโทสาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ ถึงโมหาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ ถึงภยาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์

บุคคล ๔ จำพวกเป็นไฉน เมื่อฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ คือ

ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้น ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น

ภิกษุอาคันตุกะ ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น

ภิกษุผู้ทำ ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น

ภิกษุผู้ทำให้ฉันทะ ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น

รวมบุคคล ๔ จำพวกฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 628

ว่าด้วยนิทานแห่งอธิกรณ์ ๔ เป็นต้น

[๑,๐๔๘] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็น สมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็น สมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ มีวิวาทเป็นนิทาน มีวิวาทเป็นสมุทัย มี วิวาทเป็นชาติ มีวิวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีวิวาทเป็นองค์ มีวิวาทเป็นสมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทเป็นนิทาน มีอนุวาทเป็นสมุทัย มีอนุวาท เป็นชาติ มีอนุวาทแดนเกิดก่อน มีอนุวาทเป็นองค์ มีอนุวาทเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติเป็นนิทาน มีอาบัติเป็นสมุทัย มีอาบัติเป็น ชาติ มีอาบัติเป็นแดนเกิดก่อน มีอาบัติเป็นองค์ มีอาบัติเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีกิจเป็นนิทาน มีกิจเป็นสมุทัย มีกิจเป็นชาติ มีกิจ เป็นแดนเกิดก่อน มีกิจเป็นองค์ มีกิจเป็นสมุฏฐาน

ถ. วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 629

อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. วิวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มี เหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ถ. วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 630

กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. วิวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนก่อนเกิด มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

อนุวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

อาปัตตาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

กิจจาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน.

ว่าด้วยมูลอธิกรณ์เป็นต้น

[๑,๐๔๙] ถามว่า อธิกรณ์ ๔ มีมูลเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า อธิกรณ์ ๔ มีมูล ๓๓ มีสมุฏฐาน ๓๓

ถ. อธิกรณ์ ๔ มีมูล ๓๓ เป็นไฉน

ต. วิวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๒ อนุวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๔ อาปัตตาธิกรณ์ มีมูล ๖ กิจจาธิกรณ์ มีมูล ๑ คือ สงฆ์

รวมอธิกรณ์ ๔ มีมูล ๓๓

ถ. อธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ เป็นไฉน

ต. วิวาทาธิกรณ์ มีเรื่องทำความแตกกัน ๑๘ เป็นสมุฏฐาน อนุ- วาทาธิกรณ์ มีวิบัติ ๔ เป็นสมุฏฐาน อาปัตตาธิกรณ์ มีกองอาบัติ ๗ เป็น สมุฏฐาน กิจจาธิกรณ์ มีกรรม ๔ เป็นสมุฏฐาน รวมอธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 631

ว่าด้วยวิวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น

[๑,๐๕๐] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติ หรือมิใช่อาบัติ

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ

ถ. ก็เพราะวิวาทาธิกรณ์ เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ

ต. ถูกแล้ว เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ

ถ. เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ต. เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๒ ตัว คือ ด่า อุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ด่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะ วิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๒ ตัวนี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติอะไร บรรดาวิบัติ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิด ด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ใน ฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร

ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๑ บรรดาวิบัติ ๔ คือ อาจารวิบัติ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๒ บรรดา กองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 632

ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น

[๑,๐๕๑] ถามว่า อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ

ตอบว่า อนุวาทาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ

ถ. ก็เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ

ต. ถูกแล้ว เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ

ถ. เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ต. เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ ตัว คือ ตาม กำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตาม กำจัดด้วยสังฆาทิเสสอันไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ตามกำจัดด้วยอาจารวิบัติไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้อง อาบัติ ๓ ตัวนี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ จัดเป็นอธิกรณ์ อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร

ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางที เป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๓ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติ สังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ เกิดด้วย สมุฏฐาน ๓ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ อาบัติหนักระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะ ๑ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 633

สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญาตกรณะ ๑ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วย ปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น

[๑,๐๕๒] ถามว่า อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ

ตอบว่า อาปัตตาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ

ถ. ก็เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ

ต. ถูกแล้ว เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ

ถ. เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร

ต. เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๔ ตัว คือ ภิกษุณีรู้อยู่ ปกปิดปาราชิกธรรมอันภิกษุณีต้องแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก ๑ สงสัยปกปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ๑ ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็น ปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ ตัวนี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ จัดเป็นอธิกรณ์ อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ใน ฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 634

ต. อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็น ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติ ปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางที ด้วยกองอาบัติทุกกฏ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์อะไรไม่ได้ ระงับในฐานะอะไรไม่ได้ ระงับด้วยสมถะอะไรไม่ได้ อาบัติเบา ระงับด้วย อธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ระงับในฐานะ ๓ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลาง คณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.

ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น

[๑,๐๕๓] ถามว่า กิจจาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ

ตอบว่า กิจจาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ

ถ. ก็เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ

ต. ถูกแล้ว เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ

ถ. เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร่

ต. เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๕ ตัว คือ ภิกษุณี ที่ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกยกวัตร ไม่สละเพราะสวดประกาศครบ ๓ จบ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่สละเพราะสวด

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 635

ประกาศครบ ๓ จบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ภิกษุไม่สละทิฏฐิลามกเพราะ สวดประกาศครบ ๓ จบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ ตัวนี้

ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔ จัดเป็นอธิกรณ์ อะไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร

ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็น ศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติ- ปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางที ด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ บรรดา สมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต อาบัติทีไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์อะไรไม่ได้ ระงับในฐานะอะไรไม่ได้ ระงับด้วยสมถะอะไร ไม่ได้ อาบัติหนัก ระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะ ๑ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ อาบัติเบา ระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับ ติณวัตถารกะ ๑.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 636

อธิบายวิวาทาธิกรณ์

[๑,๐๕๔] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ไหม

ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ ไม่มีอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ แต่เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือน ภิกษุทั้งหลายใน พระธรรมวินัยนี้ วิวาทกันว่า

นี้ เป็นธรรม นี้ ไม่เป็นธรรม

นี้ เป็นวินัย นี้ ไม่เป็นวินัย

นี้ พระตถาคตตรัสภาษิตไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิตไว้

นี้ พระตถาคตทรงประพฤติมา นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา

นี้ พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้

นี้ เป็นอาบัติ นี้ ไม่เป็นอาบัติ

นี้ เป็นอาบัติเบา นี้ เป็นอาบัติหนัก

นี้ เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้ เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

นี้ เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้ เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าว ต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่น ในเรื่องนั้น อันใด นี้ เรียกว่าวิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็น กิจจาธิกรณ์ เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 637

อธิบายอนุวาทาธิกรณ์

[๑,๐๕๕] ถามว่า อนุวาทาธิกรณ์ มีอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ไหม

ตอบว่า อนุวาทาธิกรณ์ ไม่มีอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ แต่เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทากรณ์ ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายใน พระธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใด นี้ เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์

สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาท ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะอนุวาทาธิกรณ์ เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้.

อธิบายอาปัตตาธิกรณ์

[๑,๐๕๖] ถามว่า อาปัตตาธิกรณ์ มีกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ ไหม

ตอบว่า อาปัตตาธิกรณ์ ไม่มี กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ แต่เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือน กองอาบัติทั้ง ๕ ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง ๗ ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 638

สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอาปัตตาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาท ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะอาปัตตาธิกรณ์ เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้.

อธิบายกิจจาธิกรณ์

[๑,๐๕๗] ถามว่า กิจจาธิกรณ์ มีวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ ไหม

ตอบว่า กิจจาธิกรณ์ ไม่มีวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมมิได้ เปรียบเหมืออะไร เปรียบเหมือนความมีแห่งกิจ ความมีแห่งกรณียะ ของสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติ- ทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่ากิจจาธิกรณ์

สงฆ์ย่อมวิวาทกันในกิจจาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาท ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะกิจจาธิกรณ์ เป็นปัจจัย วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้.

อธิบายสมถะ

[๑,๐๕๘] สติวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีใน ที่ใด สติวินัยมีในที่นั้น อมูฬพวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขา

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 639

วินัยมีในที่ใด อมูฬหวินัยมีในที่นั้น ปฏิญญาตกรณะมีในที่ใด สัมมุขาวินัย มีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ปฏิญญาตกรณะมีในที่นั้น เยภุยยสิกามีใน ที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด เยภุยยสิกามีในที่นั้น ตัสสปาปิยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ตัสสปาปิยสิกามีในที่นั้น ติณวัตถารกะมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัย มีในทีใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น.

อธิกรณ์ระงับ

[๑,๐๕๙] สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับสติวินัย สมัย นั้นสติวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด สติวินัยมี ในที่นั้น แต่ในที่นั้น ไม่มีอมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับอมูฬหวินัย ...

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวนัย กับปฏิญญาตกรณะ ...

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับเยภุยยสิกา ...

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับตัสสปาปิยสิกา ...

สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย กับติณวัตถารกะ สมัยนั้น ติณวัตถารกะมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัย มีในที่ใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น แต่ในที่นั้นไม่มีสติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุ- ยยสิกา และตัสสปาปิยสิกา.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 640

ว่าด้วยสมถะรวมกัน

[๑,๐๖๐] ถามว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันหรือแยกกัน และนักปราชญ์ พึงได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ ทำให้ต่างกัน หรือ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ...

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ...

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ...

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ...

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกันหรือ แยกกันและนักปราชญ์ พึงได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ทำให้ต่างกัน หรือ

ตอบว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันไม่ แยกกัน และนักปราชญ์ไม่ได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ ทำให้ต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ...

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ...

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ...

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ...

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกันไม่แยก กัน และนักปราชญ์ไม่ได้เพื่อยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ ท่าให้ต่างกัน.

ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งสมถะ ๗

[๑,๐๖๑] ถามว่า สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 641

สติวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มี อะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มี อะไรเป็นแดนเกิดก่อน อะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตอบว่า สัมมุขาวินัย มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทาน เป็นชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

สติวินัย มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็น ชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 642

เยภุยยสิกา มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็น ชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารกะ มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็น ชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน

ถ. สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

สติวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มี อะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ติณวิตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ อะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 643

ต. สัมมุขาวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุสมุฏฐาน

สติวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุ เป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มี เหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีเหตุเป็นนิทาน เหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุ เป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารกะ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มี เหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ถ. สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

สติวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มี อะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 644

ปฏิญญาตกรณะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. สัมมุขาวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

สติวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มี ปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

อมูฬหวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

ปฏิญญาตกรณะ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

เยภุยยสิกา มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

ตัสสปาปิยสิกา มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

ติณวัตถารนะ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 645

ว่าด้วยมูลและสมุฏฐานแห่งสมถะ

[๑,๐๖๒] ถามว่า สมถะ ๗ มีมูลเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร

ตอบว่า สมถะ ๗ มีมูล ๒๖ มีสมุฏฐาน ๓๖

ถ. สมถะ ๗ มีมูล ๒๖ อะไรบ้าง

ต. สัมมุขาวินัยมีมูล ๔ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ๑ ความพร้อมหน้า ธรรม ๑ ความพร้อมหน้าวินัย ๑ ความพร้อมหน้าบุคคล ๑ สติวินัยมีมูล ๔ อมูฬหวินัยมีมูล ๔. ปฏิญญาตกรณะมีมูล ๒ คือ ผู้ แสดง ๑ ผู้รับแสดง ๑ เยภุยยสิกามีมูล ๔ ตัสสปาปิยสิกามีมูล ๔ ติณวัตถารกะ มีมูล ๔ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ๑ ความพร้อมหน้าธรรม ๑ ความพร้อม หน้าวินัย ๑ ความพร้อมหน้าบุคคล ๑

สมถะ ๗ มีมูลรวม ๒๖

ถ. สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ อะไรบ้าง

ต. การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ ยินยอมไม่คัดค้าน กรรม คือ สติวินัย

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม ไม่คัดค้าน กรรม คือ อมูฬหวินัย.

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม ไม่คัดค้าน กรรม คือ ปฏิญญาตกรณะ

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม ไม่คัดค้าน กรรม คือ เยภุยยสิกา

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 646

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม ไม่คัดค้าน กรรม คือ ตัสสปาปิยสิกา

การประกอบ การกระทำ การเข้าถึงเอง การขอร้อง กิริยาที่ยินยอม ไม่คัดค้าน กรรม คือ ติณวัตถารกะ

สมถะ ๗ มีสมุฏฐานรวม ๓๖.

ว่าด้วยอรรถต่างกันเป็นต้น

[๑,๐๖๓] ถามว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกันหรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี มีอรรถต่าง กัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี มีอรรถต่างกัน มี พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ธรรมเหล่านี้ คือ สันมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

ตอบว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถและ พยัญชนะต่างกัน

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 647

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี มีอรรถและ พยัญชนะต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี มีอรรถและ พยัญชนะต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี มีอรรถและ พยัญชนะต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี มีอรรถและ พยัญชนะต่างกัน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถและ พยัญชนะต่างกัน.

ว่าด้วยวิวาทาธิการณ์

[๑,๐๖๔] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่ เป็นวิวาท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย บางทีวิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ บางทีวิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์

ภิกษุทั้งหลายไม่พระธรรมวินัยนี้ วิวาทกันว่า

นี้ เป็นธรรม นี้ ไม่เป็นธรรม

นี้ เป็นวินัย นี้ ไม่เป็นวินัย

นี้ พระตถาคตตรัสภาษิตไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิตไว้

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 648

นี้ พระตถาคตทรงประพฤติมา นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา

นี้ พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้

นี้ เป็นอาบัติ นี้ ไม่เป็นอาบัติ

นี้ เป็นอาบัติเบา นี้ เป็นอาบัติหนัก

นี้ เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้ เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

นี้ เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้ เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าว ต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้วิวาท เป็นวิวาทาธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร วิวาท ไม่เป็นอธิกรณ์

มารดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับมารดาบ้าง

บิดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับบิดาบ้าง

พี่ชายทะเลาะกับน้องชายบ้าง พี่ชายทะเลาะกับน้องหญิงบ้าง

น้องหญิงทะเลาะกับพี่ชายบ้าง เพื่อนทะเลาะกับเพื่อนบ้าง

นี้วิวาท ไม่เป็นอธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาท

อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 649

ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์

[๑,๐๖๕] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย บางทีการโจท เป็นอนุวาทาธิกรณ์ บางทีการโจท ไม่เป็นอธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็น การโจท บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นการโจทด้วย

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์

ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่ม กำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้การโจท เป็นอนุวาทาธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร การโจท ไม่เป็นอธิกรณ์

มารดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องมารดาบ้าง บิดาฟ้องบุตรบ้าง บุตร ฟ้องบิดาบ้าง พี่ชายฟ้องน้องชายบ้าง พี่ชายฟ้องน้องหญิงบ้าง น้องหญิงฟ้อง พี่ชายบ้าง เพื่อนฟ้องเพื่อนบ้าง นี้การโจทไม่เป็นอธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท

อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย อนุ- วาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย.

ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์

[๑,๐๖๖] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ ไม่เป็นอาบัติ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย บางทีอาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 650

บางทีอาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์

กองอาบัติทั้ง ๕ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง ๗ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ นี้อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์

โสดาบัติ สมาบัติ นี้อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ

กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย.

ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์

[๑,๐๖๗] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นกิจด้วย เป็นอธิกรณ์ด้วย บางทีกิจเป็นกิจจาธิกรณ์ บางทีกิจไม่เป็น อธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็นกิจ บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย

ในข้อนั้น อย่างไร กิจเป็นกิจจาธิกรณ์

ความมีแห่งกิจ ความมีแห่งกรณียะของสงฆ์อันใด คือ อุปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้กิจเป็นกิจจาธิกรณ์

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร กิจไม่เป็นอธิกรณ์

กิจที่พึงทำแก่พระอาจารย์ กิจที่พึงทำแก่พระอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ ภิกษุปูนอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุปูนอาจารย์ นี้กิจไม่เป็นอธิกรณ์

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 651

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ

วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย

กิจจาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย.

อธิกรณเภท จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๐๖๘] อธิกรณ์ ๑ การฟื้น ๑ อาการ ๑ บุคคล ๑ นิทาน ๑ เหตุ ๑ ปัจจัย ๑ มูล ๑ สมุฏฐาน ๑ เป็นอาบัติ ๑ มีอธิกรณ์ ๑ ในที่ใด ๑ แยก นิทาน ๑ เหตุ ๑ ปัจจัย ๑ มูล ๑ สมุฏฐาน ๑ พยัญชนะ ๑ วิวาท ๑ อธิกรณ์ ๑ ตามที่กล่าวนี้ จัดลงในประเภทอธิกรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

อธิกรณเภท วัณณนา

[รื้อสมถะด้วยรื้ออธิกรณ์]

วินิจฉัยในอธิกรณเภท พึงทราบดังนี้:-

พระอุบาลีเถระ ครั้นกล่าวรื้ออธิกรณ์ว่า การรื้อ ๑๐ เหล่านี้แล้ว ได้กล่าวว่า เมื่อรื้อวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อสมถะเท่าไร? เป็นอาทิ เพื่อแสดง การรื้อสมถะ เพราะรื้ออธิกรณ์อีก.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 652

ในบทเหล่านั้น หลายบทว่า วิวาทาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต เทฺว สมเถ อุกฺโกเฏติ มีความว่า ย่อมรื้อ คือปฏิเสธค้านสมถะ ๒ นี้ คือ สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑.

หลายบทว่า อนุวาทาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต จตฺตาโร มีความว่า ย่อมรื้อสมถะ ๔ เหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา.

หลายบทว่า อาปตฺตาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต ตโย ได้แก่ ย่อมรื้อ สมถะ ๓ นี้ คือ สัมมุขาวินัย ปฏิญญาตกรณะ ติณวัตถารกะ.

หลายบทว่า กิจฺจาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต เอกํ มีความว่า ย่อมรื้อ สมถะ ๑ นี้ คือ สัมมุขาวินัย.

[การรื้อ ๑๒]

บรรดาการรื้อ ๑๒ ในวาระที่ตอบคำถามว่า การรื้อมีเท่าไร? เป็นอาทิ การรื้อ ๓ ก่อน มีอาทิคือ กรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำ ย่อมได้ในอนุวาทาธิกรณ์ ที่ ๒ โดยพิเศษ.

การรื้อสมถะ ๓ มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้ชำระ ย่อมได้ใน วิวาทาธิกรณ์ที่ต้น.

การรื้อสมถะ ๓ มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้วินิจฉัย ย่อมได้ใน อาปัตตาธิกรณ์ที่ ๓.

การรื้อ ๓ มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้ระงับ ย่อมได้ในกิจจาธิกรณ์ที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง การรื้อแม้ทั้ง ๑๒ ย่อมได้ในอธิกรณ์แต่ละอย่างแท้.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 653

[อาการ ๑๐ แห่งการรื้อ]

หลายบทว่า ตตฺถชาตกํ อธิกรณํ อุกฺโกเฏติ มีความว่า ในวัดใด มีอธิกรณ์ เพื่อต้องการบริกขารมีบาตรและจีวรเป็นต้นเกิดขึ้น โดยนัยมีอาทิว่า บาตรของข้าพเจ้า ภิกษุนี้ถือเอาเสีย, จีวรของข้าพเจ้า ภิกษุนี้ถือเอาเสีย, พวก ภิกษุเจ้าอาวาสประชุมกันในวัดนั้นเอง ไกล่เกลี่ยพวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกแก่ตน ให้ยินยอมว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ แล้วให้อธิกรณ์ระงับ ด้วยวินิจฉัยนอกบาลี แท้ๆ. นี้ชื่อว่าอธิกรณ์เกิดในที่นั้น อธิกรณ์นั้นระงับแล้ว เฉพาะด้วยวินิจฉัย แม้ใด วินิจฉัยแม้นั้น เป็นสมถะอันหนึ่งแท้. เป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุผู้รื้อ อธิกรณ์นี้.

สองบทว่า ตตฺถชาตกํ วูปสนฺตํ มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้เจ้าถิ่น ไม่สามารถให้อธิกรณ์นั้นระงับได้ไซร้. ทีนั้น ภิกษุอื่นเป็นพระเถระ ผู้ทรงวินัยมาถามว่า อาวุโส ทำไมอุโบสถหรือปวารณาในวัดนี้ จึงงดเสีย? และเมื่อภิกษุเหล่านั้นเล่าอธิกรณ์นั้นแล้ว จึงวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ด้วยสูตร โดย ขันธกะและบริวาร ให้ระงับเสีย. อธิกรณ์นี้ ชื่อว่าเกิดในที่นั้นระงับแล้ว. คงเป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุผู้รื้ออธิกรณ์นั่น.

บทว่า อนฺตรามคฺเค มีความว่า หากว่า ภิกษุผู้เป็นข้าศึกแก่ตน เหล่านั้นกล่าวว่า เราไม่ยอมตกลงในคำตัดสินของพระเถระนี้ พระเถระนี้ ไม่ฉลาดในวินัย พระเถระทั้งหลาย ผู้ทรงวินัยอยู่ ในบ้านชื่อโน้น เราจักไป ตัดสินกันที่บ้านนั้น ดั่งนี้ กำลังไปกัน ในระหว่างทางนั่นเอง กำหนดเหตุได้ จึงตกลงกันเสียเอง หรือภิกษุเหล่าอื่น ยังภิกษุเหล่านั้นให้ตกลงกันได้ อธิกรณ์ แม้นี้ เป็นอันระงับแท้. ภิกษุใดรื้ออธิกรณ์ในระหว่างทางที่ระงับอย่างนี้ คง เป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 654

สองบทว่า อนฺตรามคฺเค วูปสนฺตํ มีความว่า อนึ่ง อธิกรณ์ เป็นอันระงับ ด้วยความยินยอมกะกันและกันเอง หรือด้วยการที่ภิกษุผู้เป็น สภาคกันให้ตกลงกันเสีย หามิได้เลย.

ก็แต่ว่า พระวินัยธรรูปหนึ่งเดินสวนทางมา เห็นแล้วถามว่า ผู้มีอายุ พวกท่านจะไปไหนกัน? เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ไปบ้านชื่อโน้น ด้วยเหตุ ชื่อนี้ จึงกล่าวว่า อย่าเลยผู้มีอายุ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยไปที่นั้น? แล้ว ยังอธิกรณ์นั้น ให้ระงับ โดยธรรม โดยวินัย ในที่นั้นเอง นี้ชื่อว่าอธิกรณ์ ระงับในระหว่างทาง. คงเป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุผู้รื้ออธิกรณ์นั่น.

สองบทว่า ตตฺถ คตํ มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุเหล่านั้น แม้อัน พระวินัยธรกล่าวอยู่ว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ จะมีประโยชน์อะไรด้วยไปที่นั่น? ตอบว่า เราจักไปให้ถึงการตัดสินในที่นั้นเอง ไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคำของพระวินัยธร คงไปจนได้ ครั้นไปแล้ว บอกเนื้อความนั่น แก่พวกภิกษุผู้เป็นสภาคกัน. สภาคภิกษุทั้งหลายห้ามปรามว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ ขึ้นชื่อว่า การประชุมสงฆ์ เป็นการหนักแล้ว ให้พากันนั่งวินิจฉัยให้ตกลงกันในที่นั่นเอง. อธิกรณ์แม้นี้ ย่อมเป็นอันระงับแท้. ภิกษุใดรื้ออธิกรณ์ไปในที่นั้น ซึ่งระงับแล้วอย่างนี้ คง เป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.

หลายบทว่า ตตฺถ คตํ วูปสนฺตํ มีความว่า อนึ่ง อธิกรณ์นั้น เป็นอันระงับ ด้วยกิริยาที่ให้ตกลงกันของสภาคภิกษุทั้งหลายก็หามิได้แล.

ก็แต่ว่า พระวินัยธรทั้งหลาย ให้ระงับอธิกรณ์นั้นซึ่งให้ประชุมสงฆ์ บอกในท่ามกลางสงฆ์ นี้ชื่อว่าอธิกรณ์ไปในที่นั้นระงับแล้ว. คงเป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุผู้รี้ออธิกรณ์นั้น.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 655

บทว่า สติวินัยํ มีความว่า เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รื้อสติวินัยอัน สงฆ์ให้แล้วแก่พระขีณาสพ.

ในอมูฬหวินัย ที่สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุผู้บ้าก็ดี ในตัสสปาปิยสิกาอันสงฆ์ ให้แล้วแก่ภิกษุผู้มีบาปหนาแน่นก็ดี มีนัยเหมือนกัน.

สองบทว่า ติณวตฺถารกํ อุกฺโกถเฏติ มีความว่า เมื่ออธิกรณ์อัน สงฆ์ระงับแล้ว ด้วยติณวัตถารกสมถะ ธรรมดาอาบัติ ที่ภิกษุเข้าไปหาภิกษุ รูปหนึ่งนั่งกระโหย่งประณมมือแสดงเสีย ชื่อว่าย่อมออก.

ก็ภิกษุแม้กล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการออกจากอาบัติ แม้ของภิกษุผู้ หลับอยู่ นี้ใด การออกจากอาบัตินั่น ไม่ชอบใจข้าพเจ้า ดังนี้ ชื่อว่ารื้อติณวัตถารกะ. คงเป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุนั้น.

[ว่าด้วยองค์ ๔ เป็นเหตุรื้ออธิกรณ์]

หลายบทว่า ฉนฺทาคตึฯ เปฯ คจฺฉนฺโต อธิกรณํ อุกฺโกเฏติ มีความว่า ภิกษุเป็นพระวินัยธร เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นอาทิ รื้ออธิ- กรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยเสร็จแล้วในกาลก่อน ด้วยอาการรื้อ ๑๒ อย่างๆ ใดอย่าง หนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่ชนที่รักมีอุปัชฌาย์เป็นต้นของตน ชื่อว่าถึงฉันทาคติ รื้ออธิกรณ์.

ก็ในภิกษุผู้เป็นข้าศึกกัน ๒ รูป ภิกษุผู้มีอาฆาตในฝ่ายหนึ่งเกิดขึ้นโดย นัยเป็นต้นว่า เขาได้ประพฤติความฉิบหายแก่เรา เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นต้น รื้ออธิกรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยเสร็จแล้วในกาลก่อน ด้วยการรื้อ ๑๒ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่ง เพื่อยกความแพ้ให้แก่ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนั้น ชื่อว่าถึงโทสาคติ รื้อ อธิกรณ์.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 656

ฝ่ายภิกษุผู้โง่งมงาย เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นต้น เพราะ ความที่ตนเป็นคนโง่งมงายนั่นเอง รื้ออธิกรณ์โดยนัยกล่าวแล้วนั้นแล ชื่อว่า ถึงโมหาคติ รื้ออธิกรณ์

ก็ถ้าว่า ในภิกษุ ๒ รูปผู้เป็นข้าศึกกัน รูปหนึ่งเป็นผู้อิงกรรมที่ไม่ สม่ำเสมอ อิงทิฏฐิและอาศัยผู้มีกำลัง เพราะเป็นผู้อิงกายกรรมเป็นต้น ที่ ไม่สม่ำเสมอ อิงมิจฉาทิฏฐิ คือความยึดถือ และอาศัยภิกษุผู้มีชื่อเสียง มี พรรคพวกมีกำลัง. เพราะกลัวภิกษุนั้นว่า ผู้นี้จะพึงทำอันตรายแก่ชีวิต หรือ อันตรายแก่พรหมจรรย์ของเรา เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นอาทิ รื้ออธิกรณ์ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่าถึงภยาคติ รื้ออธิกรณ์.

[ว่าด้วยผู้รื้ออธิกรณ์ต้องอาบัติ]

บทว่า ตทหุปสมฺปนฺโน มีความว่า สามเณรรูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาด เป็นพหุสุตะ เธอเห็นภิกษุทั้งหลายผู้แพ้ในการตัดสินแล้วเป็นผู้ซบเซา จึงถาม ว่า เหตุไรพวกท่านจึงพากันซบเซา? ภิกษุเหล่านั้น จึงบอกเหตุนั้นแก่เธอ. เธอจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า เอาเถิด ขอรับ ท่านจงอุปสมบทให้ผม ผมจักยังอธิกรณ์นั้นให้ระงับเอง. ภิกษุเหล่านั้น ยังเธอให้อุปสมบท. เธอ ตีกลองให้สงฆ์ประชุมกันในวันรุ่งขึ้น. ลำดับนั้น เธออันภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า สงฆ์ใครให้ประชุม? จึงตอบว่า ผม ให้ประชุมเพราะเหตุไร? เมื่อวาน อธิกรณ์วินิจฉัยไม่ดี ผมจักวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ในวันนี้. ก็เมื่อวานคุณไป ข้างไหนเสีย? ผมยังเป็นอนุปสัมบัน ขอรับ แต่วันนี้ผมเป็นอุปสัมบันแล้ว. เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวว่า อาวุโส สิกขาบทนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 657

ทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เช่นคุณ ว่า ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้นรื้อต้อง อุกโกฏนกปาจิตตีย์ จงไปแสดงอาบัติเสีย. แม้ในอาคันตุกะก็นัยนี้แล.

บทว่า การโก มีความว่า ภิกษุทั้งหลายผู้แพ้ พูดกะภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไปสู่บริเวณวินิจฉัยอธิกรณ์พร้อมกับสงฆ์ ว่า ทำไมพวกท่านจึงตัดสินอธิกรณ์ อย่างนั้นเล่า ขอรับ ควรตัดสินอย่างนี้ มิใช่หรือ? ภิกษุนั้นกล่าวว่า เหตุไร ท่านจึงไม่พูดอย่างนี้เสียก่อนเล่า? ดังนี้ ชื่อว่ารื้ออธิกรณ์นั้น ภิกษุใดเป็น ผู้ทำ รื้ออธิกรณ์อย่างนั้น เป็นอุกโกฏนกปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.

บทว่า ฉนฺททายโก มีความว่า ภิกษุรูปหนึ่งมอบฉันทะในการ วินิจฉัยอธิกรณ์แล้ว เห็นพวกภิกษุผู้เป็นสภาคกันแพ้มาเป็นผู้ซบเซาจึงกล่าวว่า พรุ่งนี้แล ข้าพเจ้าจักตัดสินเอง ให้สงฆ์ประชุมกันแล้ว อันภิกษุทั้งหลาย กล่าวว่า ให้ประชุมสงฆ์ เพราะเหตุไร? จึงตอบว่า เมื่อวาน อธิกรณ์ตัด สินไม่ดี วันนี้ ข้าพเจ้าจักตัดสินอธิกรณ์นั้นเอง. ก็เมื่อวาน ท่านไปไหนเสีย เล่า? ข้าพเจ้ามอบฉันทะแล้วนั่งอยู่. เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวว่า อาวุโส สิกขาบทนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เช่นท่าน ว่า ผู้มอบฉันทะ รื้อ ต้องอุกโกฏนกปาจิตตีย์ จงไปแสดงอาบัติเสีย.

[ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งอธิกรณ์]

วินิจฉัยในคำว่า วิวาทาธิกรณํ กึนิทานํ เป็นอาทิพึงทราบดังนี้:-

ชื่อว่ามีอะไรเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า อะไรเป็นเหตุอำนวยแห่ง อธิกรณ์นั้น.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 658

ชื่อว่ามีอะไรเป็นสมุทัย เพราะอรรถว่า อะไรเป็นเหตุเป็นแดนเกิด พร้อมแห่งอธิกรณ์นั้น.

ชื่อว่ามีอะไรเป็นชาติ เพราะอรรถว่า อะไรเป็นกำเนิดแห่งอธิกรณ์นั้น.

ชื่อว่ามีอะไรเป็นสมุฏฐาน เพราะอรรถว่า อะไรเป็นแดนเกิดก่อน อะไรเป็นองค์ อะไรเป็นที่เกิดแห่งอธิกรณ์นั่น.

บทเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของเหตุนั่นเอง.

วินิจฉัยแม้ในคำว่า วิวาทนิทานํ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

ชื่อว่ามีวิวาทเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า วิวาทกล่าวคือเรื่องก่อความ แตกกัน ๑๘ ประการ เป็นเหตุอำนวยแห่งวิวาทาธิกรณ์นั่น.

คำว่า วิวาทนิทานํ นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจวิวาทซึ่งอาศัยการ เถียงกันเกิดขึ้น.

ชื่อว่ามีอนุวาทเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า การโจทเป็นเหตุอำนวย แห่งอนุวาทาธิกรณ์นั้น.

แม้คำว่า อนุวาทนทานํ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจอนุวาทที่อาศัย การโจทกันเกิดขึ้น.

ชื่อว่ามีอาบัติเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า อาบัติเป็นเหตุอำนวยแห่ง อาปัตตาธิกรณ์นั้น.

คำว่า อาปตฺตินิทานํ นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจอาบัติที่อาศัยความ ด้วยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ซึ่งมีอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย.

ชื่อว่ามีกิจเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า กิจ ๔ อย่าง เป็นเหตุอำนวย แห่งกิจจาธิกรณ์นั้น. อธิบายว่า สังฆกรรม อย่าง เป็นเหตุแห่งกิจจาธิกรณ์ นั้น.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 659

คำว่า กิจฺจยนิทานํ นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจกิจทั้งหลายที่อาศัย การที่จำต้องทำเกิดขึ้น มีสมนุภาสน์เพียงครั้งที่ ๓ เป็นต้น แก่ภิกษุณีผู้ ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร.

นี้เป็นวาจาประกอบเฉพาะบทเดียว ในฝ่ายวิสัชนาอธิกรณ์ทั้ง ๔. ทุกๆ บทพึงประกอบโดยทำนองนี้.

ในวิสัชนามีคำว่า มีเหตุเป็นนิทาน เป็นอาทิ แห่งทุติยปุจฉา พึง ทราบภาวะแห่งนิทานเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งกุศลเหตุอกุศลเหตุและอัพยากต เหตุ ๙ หมวด.

ในวิสัชนาแห่งตติยปุจฉา พึงทราบว่าต่างกันแต่สักว่าพยัญชนะ. จริง อยู่ เหตุนั่นแล ท่านกล่าวว่า ปัจจัย ในตติยปุจฉานี้.

[ว่าด้วยมูลเป็นต้นแห่งอธิกรณ์]

วินิจฉัย ในวาระที่ตอบคำถามถึงมูล พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ทฺวาทส มูลานิ ได้แก่ มูล ๑๒ ซึ่งเป็นไปในภายใน สันดานเหล่านี้ คือ วิวาทมูล ๖ มีโกรธ ผูกโกรธ และความแข่งดีเป็นอาทิ โลภะ โทสะ และโมหะ ๓ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ๓.

สองบทว่า จุทฺทส มูลานิ ได้แก่ มูล ๒ นั้นเอง กับกายและ วาจาจึงรวมเป็น ๑๔.

สองบทว่า ฉ มูลานิ ได้แก่ มูล ๖ มีกายเป็นต้น.

วินิจฉัยในวาระที่ตอบคำถามถึงสมุฏฐาน พึงทราบดังนี้:-

เรื่องก่อความแตกกัน ๑๘ ประการ เป็นสมุฏฐานแห่ง (วิวาทาธิกรณ์) จริงอยู่ วิวาทาธิกรณ์นั่น ย่อมตั้งขึ้นในเรื่องก่อความแตกกัน ๑๘ ประการ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 660

เหล่านั่น หรือว่าย่อมตั้งขึ้น เพราะเรื่องก่อความแตกกันเหล่านั่น เป็นตัวเหตุ- ด้วยเหตุนั้น เรื่องก่อความแตกกันเหล่านั่น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสมุฏฐาน แห่งวิวาทาธิกรณ์นั้น. ในอธิกรณ์ทั้งปวงก็นัยนี้.

ในนัยอันต่างกันโดยคำว่า วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือ? เป็นอาทิ คำว่า ด้วยอธิกรณ์อันหนึ่ง คือ กิจจาธิกรณ์ นี้ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดง บรรดาอธิกรณ์ทั้งหลาย เฉพาะอธิกรณ์ที่เป็นเครื่องระงับอาบัติทั้งหลาย. แต่ กองอาบัติเหล่านั้น จะระงับด้วยกิจจาธิกรณ์โดยส่วนเดียวเท่านั้นหามิได้. เพราะ ธรรมดากิจจาธิกรณ์จะสำเร็จแก่ภิกษุผู้แสดงในสำนักบุคคลหามิได้.

สองบทว่า น กตเมน สมเถน มีความว่า อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ นั้น หาระงับเหมือนอาบัติที่มีส่วนเหลือไม่. เพราะว่าอาบัติที่เป็นอนวเสสนั้น อันภิกษุไม่อาจแสดง คือ ไม่อาจตั้งอยู่ในส่วนหมดจด จำเดิมแต่อนวเสสาบัตินั้น.

นัยว่า วิวาทาธิกรณํ โหติ อนุวาทาธิกรณํ เป็นอาทิ ตื้น ทั้งนั้น.

เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านกล่าวปุจฉา ๖ คู่ ไม่เว้นสัมมุขาวินัย มีคำว่า ยตฺถ สติวินโย เป็นอาทิ, ท่านประกาศเนื้อความแล้ว ด้วยวิสัชนาปุจฉา เหล่านั้นแล.

[ว่าด้วยสมถะระคนและไม่ระคนกัน]

วินิจฉัยในวาระที่แก้คำถามถึงสมถะที่ระคนกันเป็นอาทิ พึงทราบดัง นี้:-

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 661

บทว่า สํสฏฺา มีความว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี ชื่อว่าระคนกัน คือไม่แยกกัน เพราะสมถะทั้ง ๒ สำเร็จในขณะ แห่งกรรมวาจาให้สติวินัยนั่นเอง. ก็เพราะความสำเร็จแห่งสมถะทั้ง ๒ เป็นดุจ ความเนื่องกันแห่งกาบกล้วยในต้นกล้วย ใครๆ ไม่สามารถจะแสดงการแยก สมถะเหล่านั้นออกจากกัน. ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ก็แลใครๆ ไม่สามารถ บัญญัติการแยกพรากธรรมเหล่านี้ออกจากกันได้. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

[ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งสมถะ]

วินิจฉัยในวาระที่แก้คำถามว่า กึนิทาโน พึงทราบดังนี้:-

สัมมุขาวินัย ชื่อว่ามีนิทานเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า มีนิทานเป็น เหตุอำนวย.

ในนิทานเหล่านั้น นี้คือ ความเป็นต่อหน้าสงฆ์ ความเป็นต่อหน้า ธรรม ความเป็นต่อหน้าวินัย ความเป็นต่อหน้าบุคคล เป็นนิทานแห่งสัมมุขาวินัย. พระขีณาสพ ผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติซึ่งได้ถูกโจท เป็นนิทานแห่ง สติวินัย.

ภิกษุบ้า เป็นนิทานแห่งอมูฬหวินัย.

ความพร้อมหน้าแห่งบุคคลทั้ง ๒ คือ ผู้แสดงและผู้เป็นที่แสดงเป็น นิทานแห่งปฏิญาตกรณะ.

ความที่สงฆ์เป็นผู้ไม่สามารถจะระงับอธิกรฌ์ ของภิกษุทั้งหลายผู้เกิด บาดหมางกัน เป็นนิทานแห่งเยภุยยสิกา.

บุคคลผู้บาปหนา เป็นนิทานแห่งตัสสปาปิยสิกา.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 662

อัชฌาจารไม่สมควรแก่สมณะมาก ของภิกษุทั้งหลายผู้บาดหมางกัน เป็นนิทานแห่งติณวัตถารกะ.

วาระว่าด้วยเหตุและปัจจัย มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

[ว่าด้วยสมุฏฐานแห่งสมถะ]

คำแก้คำถามถึงมูล ตื้นทั้งนั้น.

ในคำถามถึงสมุฏฐาน ท่านกล่าวว่า สมถะทั้ง ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ อะไรบ้าง? ดังนี้ แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น ท่านก็จำแนกสมุฏฐาน ๖ แห่ง สมถะ ๖ เท่านั้น เพราะสัมมุขาวินัยไม่มีสมุฏฐานเพราะไม่มีกรรมสงเคราะห์.

บรรดาบทเหล่านั้น ญัตติพึงทราบว่า กรรมกิริยา.

การหยุดในเวลาควรหยุด ด้วยญัตตินั่นแล พึงทราบว่า กรณะ.

การเข้าไปเอง อธิบายว่า ความกระทำกรรมนั้นด้วยตนเอง พึงทราบ ว่า อุปคมนะ.

การที่เข้าถึงความอัญเชิญ อธิบายว่า การเชิญผู้อื่นมีสัทธิวิหาริกเป็น ต้นว่า ท่านจงทำกรรมนี้ พึงทราบว่า อัชฌุปคมนะ.

กิริยาที่ยินยอม อธิบายว่า ได้แก่ การมอบฉันทะอย่างนี้ว่า สงฆ์จง ทำกรรมนั่นแทนข้าพเจ้า เรียกว่าอธิวาสนา.

กิริยาที่ไม่คัดค้านว่า กรรมนั้นไม่ชอบใจข้าพเจ้า, พวกท่านอย่าทำ อย่างนั้น เรียกว่า อัปปฏิโกสนา.

พึงทราบสมุฏฐาน ๓๖ ด้วยอำนาจหมวดหก ๖ หมวด ด้วยประการ ฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 663

คำแก้คำถามถึงอรรถต่างกัน ตื้นทั้งนั้น.

วินิจฉัยในคำแก้คำถามถึงอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า อยํ วิวาโท โน อธิกรณํ มีความว่า การเถียงกัน แห่งชนทั้งหลายมีมารดากับบุตรเป็นต้น จัดเป็นวิวาท เพราะเป็นการกล่าว แย้งกัน, แต่ไม่จัดเป็นอธิกรณ์ เพราะไม่มีความเป็นเหตุที่ต้องระงับด้วยสมถะ ทั้งหลาย. แม้ในอนุวาทเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

อธิกรณเภท วัณณนา จบ