พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

คาถาสังคณิกะอีกอย่างหนึ่ง และ โจทนากัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42865
อ่าน  508

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๘

ปริวาร

คาถาสังคณิกะอีกอย่างหนึ่ง 664

เรื่องโจทเป็นต้น 1069/664

อลัชชีบุคคล 1070/665

ลัชชีบุคคล 1071/666

บุคคลผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม 1072/666

บุคคลผู้โจทก์เป็นธรรม 1073/667

คนโจทก์ผู้โง่เขลา 1074/667

คนโจทก์ผู้ฉลาด 1075/668

การโจท 1076/669

ทุติยคาถาสังคณิกวัณณนา 669

วินิจฉัยทุติยคาถาสังคณิกะ 669

โจทนากัณฑ์ 674

ข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ 1077/674

เปรียบเทียบอธิกรณ์ 1078/676

ว่าด้วยเบื้องต้นของการโจทเป็นต้น 1079/676

ข้อปฏิบัติของโจทก์และจําเลยเป็นต้น 1080/677

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น 1081/678

โจทนากัณฑกวัณณนา 682

กิจของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี 682

ว่าด้วยเบื้องต้นของโจทนาเป็นอาทิ 683


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 664

คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง

เรื่องโจทเป็นต้น

[๑,๐๖๙] ท่านพระอุบายลีทูลถามว่า การโจทเพื่อประสงค์อะไร การสอบสวน เพื่อเหตุอะไร สงฆ์เพื่อประโยชน์อะไร ส่วน การลงมติเพื่อเหตุอะไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การโจท เพื่อประสงค์ให้ระลึกถึงความผิด การสอบ สวนเพื่อประสงค์จะข่ม สงฆ์เพื่อประชาชน ให้ช่วยกันพิจารณา ส่วนการลงมติ เพื่อให้ การวินิจฉัยแต่ละเรื่องเสร็จสิ้นไป

เธออย่าด่วนพูด อย่าพูดเสียงดุดัน อย่ายั่วความโกรธถ้าเธอเป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ อย่าพูดโดยผลุนผลัน อย่ากล่าวถ้อยคำชวน วิวาท ไม่กอปรด้วยประโยชน์ วัตรคือการ ซักถามอนุโลมแก่สิกขาบทอันพระพุทธเจ้าผู้ เฉียบแหลม มีพระปัญญาทรงวางไว้ ตรัส ไว้ดีแล้ว ในพระสูตรอุภโตวิภังค์ ในพระวินัย คือ ขันธกะ ในอนุโลม คือ บริวาร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 665

ในพระบัญญัติ คือ วินัยปิฎก และในอนุ- โลมิกะ คือ มหาประเทศ เธอจงพิจารณา วัตรคือการซักถามนั้น อย่าให้เสียคติที่เป็น ไปในสัมปราภพ เธอผู้ใฝ่หาประโยชน์เกื้อ กูล จงซักถามถ้อยคำที่กอปรด้วยประโยชน์ โดยกาล สำนวนที่กล่าวโดยผลุนผลันของ จำเลยและโจทก์ เธออย่าพึงเชื่อถือ โจทก์ ฟ้องว่าต้องอาบัติ แต่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ ต้องอาบัติ เธอต้องสอบสวนทั้งสองฝ่ายพึง ปรับตามคำรับสารภาพ และถ้อยคำสำนวน คำรับสารภาพ เรากล่าวไว้ในหมู่ภิกษุลัชชี แต่ข้อนั้น ไม่มีในหมู่ภิกษุอลัชชี อนึ่ง ภิกษุ อลัชชีพูดมาก เธอพึงปรับตามถ้อยคำสำนวน ดังกล่าวแล้ว.

อลัชชีบุคคล

[๑,๐๗๐] อุ. อลัชชีเป็นคนเช่นไร คำรับสารภาพของผู้ใดฟังไม่ขึ้น ข้าพระพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ถึงข้อนั้น คนเช่นไร พระองค์ตรัสเรียกว่า อลัชชีบุคคล

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 666

พ. ผู้ที่แกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงอคติ คนเช่นนี้เราเรียกว่า อลัชชี บุคคล.

ลัชชีบุคคล

[๑,๐๗๑] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่าคนเช่นนี้ เป็นอลัชชีบุคคล แต่ข้าพระพุทธเจ้าทูลถาม พระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไร พระองค์ตรัส เรียกว่า ลัชชีบุคคล

พ. ผู้ที่ไม่แกล้งต้องอาบัติ ไม่ปกปิด อาบัติ ไม่ถึงอคติคนเช่นนี้เราเรียกว่า ลัชชี บุคคล.

บุคคลผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม

[๑,๐๗๒] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้ ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล แต่ข้าพระพุทธเจ้า ทูลถามพระองค์ถึงผู้อื่น คนเช่นไรตรัสเรียก ว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 667

พ. ภิกษุโจทโดยกาลไม่ควร ๑ โจท ด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ๑ โจทด้วยคำหยาบ ๑ โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มุ่งร้ายโจทไม่มีเมตตาจิตโจท ๑ คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์ ไม่เป็นธรรม.

บุคคลผู้โจทก์เป็นธรรม

[๑,๐๗๓] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้ ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม แต่ข้า พระพุทธเจ้า ทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไรตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม

พ. ภิกษุโจทโดยกาล ๑ โจทด้วย เรื่องจริง ๑ โจทด้วยคำสุภาพ ๑ โจทด้วย คำประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีเมตตาจิตโจท ไม่มุ่งร้ายโจท ๑ คนเช่นนี้เราเรียกว่า ผู้โจทก์ เป็นธรรม.

คนโจทก์ผู้โง่เขลา

[๑,๐๗๔] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า บุคคล

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 668

เช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม แต่ข้า พระพุทธเจ้า ทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คน เช่นไรตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา

พ. บุคคลไม่รู้คำต้นและคำหลัง ๑ ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง ๑ ไม่รู้ทาง แห่งถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ๑ ไม่ฉลาดต่อ ทางแห่งถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ๑ คนเช่นนี้ เราเรียกว่าโจทก์ผู้เขลา.

คนโจทก์ผู้ฉลาด

[๑,๐๗๕] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้ ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา แต่ข้าพระพุทธเจ้า ทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไรตรัส เรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด พ. บุคคลรู้คำต้นและคำหลัง ๑ ฉลาดในคำต้นและคำหลัง ๑ รู้ทางแห่งถ้อย คำอันต่อเนื่องกัน ๑ ฉลาดต่อทางแห่งถ้อยคำ อันต่อเนื่องกัน ๑ คนเช่นนี้เราเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 669

การโจท

[๑,๐๗๖] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้ ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด แต่ข้าพระพุทธเจ้า ขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น อย่างไร พระองค์ตรัสเรียกว่า การโจท

พ. เพราะเหตุที่โจทด้วยศีลวิบัติ ๑ อาจารวิบัติ ๑ ทิฏฐิวิบัติ ๑ และแม้ด้วย อาชีววิบัติ ๑ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า การโจท.

คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง จบ

ทุติยคาถาสังคณิก วัณณนา

วินิจฉัยในทุติยคาถาสังคณิกะ

พึงทราบดังนี้:-

วาจาที่แสดงไล่เลียงวัตถุและอาบัติ ชื่อว่าโจทนา.

วาจาที่เตือนให้นึกถึงโทษ ชื่อว่าสารณา.

สองบทว่า สงฺโฆ กิมตฺถาย มีความว่า ประชุมสงฆ์เพื่อประโยชน์ อะไร?

บาทคาถาว่า มติกมฺมํ ปน กิสฺส การณา มีความว่า ความเข้าใจ ความประสงค์ ตรัสว่า มติกรรม มติกรรมนั้น ตรัสไว้เพราะเหตุแห่งอะไร?

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 670

บาทคาถาว่า โจทนา สารณตฺถาย มีความว่า วาจาสำหรับไล่เลียง มีประการดังกล่าวแล้ว เพื่อประโยชน์ที่จะเตือนให้นึกถึงโทษที่บุคคลผู้เป็น จำเลยนั้นได้กระทำแล้ว.

บาทคาถาว่า นิคฺคหตฺถาย สารณา มีความว่า ส่วนวาจาที่จะ เตือนให้นึกถึงโทษ เพื่อประโยชน์ที่จะข่มบุคคลนั้น.

บาทคาถาว่า สงฺโฆ ปริคฺคหตฺถาย มีความว่า สงฆ์ผู้ประชุมกัน ณ ที่นั้น เพื่อประโยชน์ที่จะช่วยกันวินิจฉัย. อธิบายว่า เพื่อประโยชน์ที่จะ พิจารณาว่า เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม คือเพื่อประโยชน์ที่จะทราบว่า อธิกรณ์นั้นได้วินิจฉัยถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง.

บาทคาถาว่า มติกมฺมํ ปน ปาฏิเยกฺกํ มีความว่า ความเข้าใจ ความประสงค์ของพระเถระผู้เป็นนักพระสูตร และพระเถระผู้เป็นนักวินัย ทั้งหลาย ก็เพื่อให้วินิจฉัยสำเร็จเป็นแผนกๆ.

หลายบทว่า มา โข ปฏิฆํ มีความว่า อย่าก่อความโกรธในจำเลย หรือโจทก์.

หลายบทว่า สเจ อนุวิชฺชโก ตุวํ มีความว่า ถ้าว่าท่านเป็นพระวินัยธรนั่งวินิจฉัยอธิกรณ์ ซึ่งหยั่งลงในท่ามกลางสงฆ์.

บทว่า วิคฺคาหิยํ มีความว่า (ท่านอย่าได้กล่าวถ้อยคำชวนวิวาท) ซึ่งเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้หรือ?

บทว่า อนตฺถสญฺหิติ มีความว่า อย่ากล่าวถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความ เสื่อมเสีย คือทำบริษัทให้ปั่นป่วนลุกลามขึ้น.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 671

วินิจฉัยในบทว่า สุตฺเต วินเย เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

อุภโตวิภังค์ ชื่อว่าสูตร, ขันธกะ ชื่อว่าวินัย, บริวาร ชื่อว่าอนุโลม, วินัยปิฎกทั้งสิ้น ชื่อว่าบัญญัติ, มหาปเทส ๔ ชื่อว่าอนุโลมิกะ.

บาทคาถาว่า อนุโยควตฺตํ นิสาเมถ มีความว่า ท่านจงพิจารณา วัตรในการชักถาม.

บาทคาถาว่า กุสเลน พุทฺธิมตา กตํ มีความว่า อันพระผู้มี พระภาคเจ้าผู้เฉียบแหลมเป็นบัณฑิต บรรลุความสำเร็จแห่งพระญาณ ทรง นำออกตั้งไว้.

บทว่า สุวุตฺตํ มีความว่า อันพระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ดีแล้ว.

บทว่า สิกฺขาปทานุโลมิกํ มีความว่า เหมาะแก่สิกขาบททั้งหลาย เนื้อความเฉพาะบทเท่านี้ก่อน.

ส่วนพรรณนาโดยย่อพร้อมทั้งอธิบายในคาถานี้ ดังนี้:-

ถ้าว่า ท่านผู้ว่าอรรถคดี อย่ากล่าวผลุนผลัน อย่ากล่าวถ้อยคำชวน วิวาท ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ก็วัตรในการซักถามอันใด อันพระโลกนาถ ผู้ฉลาดมีปัญญาทรงจัดไว้ แต่งตั้งไว้ดี ในสูตรเป็นต้นเหล่านั้น อนุโลมแก่ สิกขาบททั้งปวง, ท่านจะพิจารณา คือจงตรวจดูอนุโยควัตรนั้น.

บาทคาถาว่า คติ น นาเสนฺโต สมฺปรายิกํ มีความว่า จงพิจารณา อนุโยควัตร อย่าให้เสียคติคือความสำเร็จในสัมปรายภพของตน, จริงอยู่ ภิกษุ ใดไม่พิจารณาอนุโยควัตรนั้น ซักถาม, ภิกษุนั้นย่อมให้เสียคติของตนที่เป็น ในสัมปรายภพ, เพราะเหตุนั้น จงพิจารณาอย่าให้เสียคตินั้นได้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 672

บัดนี้ พระอุบาลีเถระกล่าวคำว่า หิเตสี เป็นอาทิ เพื่อแสดงอนุ- โยควัตรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิเตสี ได้แก่ ผู้แสวงคือผู้ใฝ่หาประโยชน์, อธิบายว่า จงเข้าไปตั้งไมตรีและธรรมเป็นบุพภาคแห่งไมตรีไว้.

บทว่า กาเล ได้แก่ ในกาลที่จัดว่าสมควร คือ ในกาลที่สงฆ์เชิญ เท่านั้น, อธิบายว่า ท่านจงซักถาม ในมือสงฆ์มอบภาระแก่ท่าน.

บาทคาถาว่า สหสา โวหารํ มา ปธาเรสิ มีความว่า สำนวน ที่กล่าวโดยผลุนผลัน คือถ้อยคำที่กล่าวโดยผลุนผลันใด ของโจทก์และจำเลย เหล่านั้น อย่าคัด คือ อย่าถือเอาสำนวนนั้น.

ความสืบสมแห่งคำให้การ เรียกว่าความสืบเนื่อง ในบาทคาถาว่า ปฏิญฺานุสนฺธิเตน การเย นี้, เพราะเหตุนั้น พึงปรับตามคำสารภาพและ ความสืบสม, อธิบายว่า พึงกำหนดความสืบสมแห่งคำให้การ แล้วจึงปรับ ตามคำสารภาพ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงปรับตามคำรับสารภาพและตามความสืบสม, อธิบาย ว่า พึงปรับตามคำรับสารภาพของจำเลยผู้เป็นลัชชี พึงปรับตามความสืบสม แห่งความประพฤติของจำเลยผู้อลัชชี.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาว่า เอวํ ปฏิญฺา ลชฺชีสุ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วตฺตานุสนฺธิเตน การเย มีความว่า พึงปรับตามความสืบสมแห่งความประพฤติ, อธิบายว่า คำรับสารภาพใด กับ ความประพฤติของอลัชชีนั้นสมกัน, พึงปรับตามคำสารภาพนั้น.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 673

บทว่า สญฺจิจฺจ ได้แก่ ต้องทั้งรู้.

บทว่า ปริคูหติ ได้แก่ ปิดไว้ คือ ไม่แสดง ไม่ออกเสีย.

บาทคาถาว่า ลจฺจํ อหํปิ ชานามิ ความว่า คำใดอันพระองค์ ตรัสแล้ว คำนั้นเป็นจริง, แม้ข้าพระองค์ก็รู้คำนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน

สองบทว่า อญฺญฺจ ตาหํ มีความว่า ก็แลข้าพระองค์จะทูลถาม พระองค์ถึงอลัชชีชนิดอื่น.

บาทคาถาว่า ปุพฺพาปรํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้ถ้อยคำที่ตน กล่าวไว้ในกาลก่อน และตนกล่าวในภายหลัง.

บทว่า อโกวิโท ได้แก่ ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลังนั้น.

บาทคาถาว่า อนุสนฺธิวจนปถํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้ถ้อยคำ ที่สืบสมแห่งคำให้การ และถ้อยคำที่สืบสมแห่งคำตัดสิน.

บาทคาถาว่า สีสวิปตฺติยา โจเทติ คือโจทด้วยกองอาบัติ ๒.

บทว่า อาจารทิฏฺิยา ได้แก่ โจทด้วยอาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติ. เมื่อจะโจทด้วยอาจารวิบัติ ย่อมโจทด้วยกองอาบัติ ๕, เมื่อจะโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ย่อมโจทด้วยมิจฉาทิฏฐิและอันตคาหิกทิฏฐิ.

บาทคาถาว่า อาชีเวนปิ โจเทติ มีความว่า โจทด้วยสิกขาบท ๖ ซึ่งบัญญัติไว้ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ.

บทที่เหลือที่ในทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

ทุติยคาถาสังคณิกวัณณนา จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 674

โจทนากัณฑ์

ข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์

[๑,๐๗๗] ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่าน โจทภิกษุรูปนี้นั้น โจทเพราะเรื่องอะไร ท่านโจทด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ หรือโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยศีลวิบัติ โจทด้วยอาจารวิบัติ หรือว่าข้าพเจ้าโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ท่านรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ ถ้า โจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ศีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ ภิกษุ ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ก็ศีลวิบัติเป็นไฉน อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้จัดเป็นศีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้เป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้เป็นทิฏฐิวิบัติ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่าน โจทภิกษุรูปนี้นั้น โจทด้วยเรื่องที่เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง หรือด้วยเรื่อง ที่รังเกียจ ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่เห็น โจทด้วยเรื่อง ที่ได้ยินได้ฟัง หรือว่าข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่รังเกียจ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านโจท ภิกษุรูปนี้ ด้วยเรื่องที่เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร เห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร เห็น ที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 675

สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ หรือ ท่านอยู่ที่ไหน และภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่อง ที่เห็น แต่ว่าข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึง ซักถามอย่างนี้ว่า ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้ ด้วยเรื่องได้ยินได้ฟังนั้น ท่านได้ ยินได้ฟังอะไร ได้ยินได้ฟังว่าอย่างไร ได้ยินได้ฟังเมื่อไร ท่านได้ยินได้ฟังที่ ไหน ท่านได้ยินได้ฟังว่า ภิกษุนี้ ต้องอาบัติปาราชิก หรือ ท่านได้ยินได้ฟัง ว่า ภิกษุนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุ หรือ ได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ หรือ

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ ได้ยินได้ฟัง แต่ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่รังเกียจ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่าน โจทภิกษุรูปนี้ ด้วยเรื่องที่รังเกียจนั้น ท่านรังเกียจอะไร รังเกียจว่าอย่างไร รังเกียจเมื่อไร รังเกียจที่ไหน ท่านรังเกียจว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือ ท่านรังเกียจว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุจึงรังเกียจ หรือ ท่านได้ยิน ได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แล้วรังเกียจ หรือ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 676

เปรียบเทียบอธิกรณ์

[๑,๐๗๔] เรื่องที่เห็นสมด้วยเรื่องที่ เห็น เรื่องที่เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่เห็น แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น บุคคลนั้น ถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับ อาบัติตามปฏิญญา พึงทำอุโบสถกับบุคคล นั้น เรื่องที่ได้ยินได้ฟังสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน ได้ฟัง เรื่องที่ได้ยินได้ฟังเทียบกันได้กับ เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยินได้ฟัง บุคคลนั้นถูก รังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น เรื่องที่ได้ ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ เรื่องที่ได้ทราบ เทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ทราบ แต่บุคคลนั้น ไม่ยอมรับเพราะอาศัยการได้ทราบ บุคคล นั้นถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติ ตามปฏิญญา พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นเกิด.

ว่าด้วยเบื้องต้นของการโจทเป็นต้น

[๑,๐๗๙] ถามว่า การโจท มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 677

ตอบว่า การโจท มีขอโอกาสเป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง มีการระงับเป็นที่สุด

ถ. การโจท มีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร โจทด้วยอาการ เท่าไร

ต. การโจท มีมูล ๒ มีวัตถุ ๓ มีภูมิ ๕ โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง

ถ. การโจทมีมูล ๒ เป็นไฉน

ต. การโจท มีมูล ๑ การโจทไม่มีมูล ๑ นี้การโจทมีมูล ๒

ถ. การโจท มีวัตถุ ๓ เป็นไฉน

ต. เรื่องที่เห็น ๑ เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง ๑ เรื่องที่รังเกียจ ๑ นี้การโจท มีวัตถุ ๓

ถ. การโจท มีภูมิ ๕ เป็นไฉน

ต. จักพูดโดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร ๑ จักพูดด้วยคำ จริง จักไม่พูดด้วยคำไม่จริง ๑ จักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ ๑ จักพูดด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ จักมีเมตตาจิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด ๑ นี้การโจทมีภูมิ ๕

ถ. โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง เป็นไฉน

ต. โจทด้วยกายหรือโจทด้วยวาจา นี้โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง.

ข้อปฏิบัติของโจทก์และจำเลยเป็นต้น

[๑,๐๘๐] โจทก์ควรปฏิบัติอย่างไร จำเลยควรปฏิบัติอย่างไร สงฆ์ ควรปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ควรปฏิบัติอย่างไร

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 678

ถามว่า โจทก์ ควรปฏิบัติอย่างไร

ตอบว่า โจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่างแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ จักพูด โดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร ๑ จักพูดด้วยคำจริง จักไม่พูดด้วย คำไม่จริง ๑ จักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ ๑ จักพูดด้วยคำ ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ จักมีเมตตา จิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด ๑ โจทก์ควรปฏิบัติอย่างนี้

ถ. จำเลย ควรปฏิบัติอย่างไร

ต. จำเลย พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ในความสัตย์ ๑ ใน ความไม่ขุ่นเคือง ๑ จำเลยควรปฏิบัติอย่างนี้

ถ. สงฆ์ ควรปฏิบัติอย่างไร

ต. สงฆ์พึงรู้คำที่เข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น สงฆ์ควรปฏิบัติ อย่างนี้

ถ. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ ควรปฏิบัติอย่างไร

ต. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงระงับอธิกรณ์นั้น โดยประการที่ อธิกรณ์นั้นจะระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ ควรปฏิบัติอย่างนี้.

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น

[๑,๐๘๑] ถามว่า อุโบสถเพื่อประโยชน์อะไร ปวารณาเพื่อเหตุอะไร ปริวาส เพื่อประโยชน์อะไร การชักเข้าหาอาบัติเดิม

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 679

เพื่อเหตุอะไร มานัตเพื่อประโยชน์อะไร อัพภานเพื่อเหตุอะไร

ตอบว่า อุโบสถเพื่อประโยชน์แก่ ความพร้อมเพรียง ปวารณาเพื่อประโยชน์ แก่ความหมดจด ปริวาสเพื่อประโยชน์แก่ มานัต การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อประโยชน์ แก่นิคคหะ มานัต เพื่อประโยชน์แก่อัพภาน อัพภานเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจด ภิกษุ ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์มีปัญญาทราม โง่เขลา และ ไม่มีความเคารพในสิกขา บริภาษพระเถระ ทั้งหลาย เพราะฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ โมหาคติ เป็นผู้ขุดตนกำจัดอินทรีย์แล้ว เพราะกายแตกย่อมเข้าถึงนรก ภิกษุผู้วินิจฉัย อธิกรณ์ไม่พึงเห็นแก่อามิส และไม่พึงเห็น แก่บุคคล ควรเว้นสองอย่างนั้นแล้ว ทำตาม ที่เป็นธรรม โจทก์เป็นผู้มักโกรธ มักถือโกรธ ดุร้าย แสร้งกล่าวบริภาษย่อมปลูกอนาบัติว่า อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์กระซิบใกล้หูคอยจับผิด ยัง การวินิจฉัยให้บกพร่อง เสพทางผิด ย่อม ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่า ย่อมเผาตน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 680

โจทก์ฟ้องโดยกาลอันไม่ควร ฟ้อง ด้วยคำไม่จริง ฟ้องด้วยคำหยาบ ฟ้องด้วย คำไม่ประกอบด้วยประโยชน์มุ่งร้ายฟ้องไม่มี เมตตาจิตฟ้อง ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์ เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้ธรรมและอธรรมไม่ฉลาด ในธรรมและอธรรม ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้วินัยและอวินัย ไม่ฉลาด ในวินัยและอวินัย ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงภาษิต แล้ว และมิได้ทรงภาษิต ไม่ฉลาดในสิ่งที่ พระพุทธเจ้าทรงภาษิตแล้ว และไม่ได้ภาษิต ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่า ย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติและไม่ได้ทรงประพฤติ ไม่ฉลาดในสิ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติ และไม่ได้ทรง ประพฤติ ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่น นั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน โจทก์ไม่รู้สิ่งที่ทรง บัญญัติ และไม่ได้ทรงบัญญัติ ไม่ฉลาดใน สิ่งที่ทรงบัญญัติ และไม่ได้ทรงบัญญัติ ปลูก

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 681

อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม เผาตน

โจทก์ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ไม่ ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ ปลูกอนาบัติว่า อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน โจทก์ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ไม่ฉลาดใน อาบัติเบาและอาบัติหนัก ปลูกอนาบัติว่า อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือ และ อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ฉลาดในอาบัติมี ส่วนเหลือ และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ปลูก อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม เผาตน

โจทก์ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบ และอาบัติ ไม่ชั่วหยาบ ไม่ฉลาดในอาบัติชั่วหยาบ และ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน

โจทก์ไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่ ฉลาดต่อคำต้นและคำหลัง ปลูกอนาบัติว่า อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน โจทก์ไม่รู้ทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ไม่

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 682

ฉลาดต่อทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ปลูก อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม เผาตน แล.

โจทนากัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๐๘๒] คำสั่งสอน การโจท ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เบื้องต้นมูลอุโบสถ คติต้องอยู่ในโจทนากัณฑ์แล.

โจทนากัณฑก วัณณนา

[กิจของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี]

บัดนี้ พระอุบาลีเถระเริ่มคำว่า อนุวิชฺชเกน เป็นอาทิ เพื่อแสดง กิจอันพระวินัยธรพึงกระทำ ในการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น.

ในคำนั้น คาถาว่า ทิฏฺํ ทิฏฺเน เป็นต้น มีเนื้อความดังนี้:-

ภิกษุรูปหนึ่ง กำลังออกหรือกำลังเข้าไป โดยสถานที่อันเดียวกันกับ มาตุคามผู้หนึ่ง อันโจทก์เห็นแล้ว. โจทก์นั้นจึงฟ้องภิกษุนั้นเป็นจำเลยด้วย อาบัติปาราชิก; ฝ่ายจำเลยยอมรับการเห็นของโจทก์นั้น แต่จำเลยยังไม่ถึง ปาราชิก จึงไม่ปฏิญญา เพราะอิงการเห็นนั้น. ในคำของโจทก์และจำเลยนี้ การใดอันโจทก์นั้นเห็นแล้ว การนั้นสมด้วยคำที่ว่าได้เห็นของโจทก์นั้น นี้ว่า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 683

จำเลยอันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. แต่เพราะเหตุที่ฝ่ายจำเลยไม่ ยอมปฏิญญาโทษ เพราะอาศัยการเห็นนั้น จึงชื่อว่าผู้ถูกรังเกียจโดยไม่บริสุทธิ์ อธิบายว่า เป็นผู้รังเกียจโดยไม่มีมูล. สงฆ์พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นตาม ปฏิญญาที่ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ ของบุคคลนั้น. ใน ๒ คาถาที่เหลือ มี นัยอย่างนี้แล.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนากิจของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี จบ

[ว่าด้วยเบื้องต้นของโจทนาเป็นอาทิ]

วินิจฉัยในปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า อะไรเป็นเบื้องต้นของโจทนา พึง ทราบดังนี้:-

หลายบทว่า สจฺเจ จ อกุปฺเป จ มีความว่า จำเลยพึงตั้งอยู่ใน ธรรม ๒ ประการ คือ ให้การตามจริง ๑ ไม่ขุ่นเคือง ๑ คือว่าการใดอันตน กระทำหรือมิได้กระทำ การนั้นแล อันตนพึงให้การ (เช่นนั้น). และไม่พึง ให้เกิดความขุ่นเคืองในโจทก์ หรือในภิกษุผู้ว่าอรรถคดี หรือในสงฆ์.

สองบทว่า โอติณฺณาโนติณฺณํ ชานิตพฺพํ มีความว่า สงฆ์พึงรู้ ถ้อยคำอันเข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น. ในคำนั้น มีวิธีสำหรับรู้ดังนี้:-

สงฆ์พึงรู้ว่า คำต้นของโจทก์เท่านี้ คำหลังเท่านี้ คำต้นของจำเลย เท่านี้ คำหลังเท่านี้.

พึงกำหนดลักษณะที่ควรเชื่อถือของโจทก์ พึงกำหนดลักษณะที่ควร เชื่อถือของจำเลย พึงกำหนดลักษณะที่ควรเชื่อถือของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี. ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 684

ผู้ว่าอรรถคดี เมื่อยังการพิจารณาให้บกพร่องแม้มีประมาณน้อย อันสงฆ์พึง สั่งว่า ผู้มีอายุ ท่านจงพิจารณาให้ดีบังคับคดีให้ตรง. สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างนี้.

วินิจฉัยในคำว่า เยน ธมฺเมน เยน วินเยน เยน สตฺถุสาสเนน อธิกรณํ วูปสมฺมติ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ เรื่องที่เป็นจริง.

บทว่า วินโย ได้แก่ กิริยาที่โจทก์ และกิริยาที่จำเลยให้การ.

บทว่า สตฺถุสาสนํ ได้แก่ ญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา.

จริงอยู่ อธิกรณ์ย่อมระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสนา นั่น เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ว่าอรรถคดี พึงโจทด้วยวัตถุที่เป็นจริง แล้วให้ จำเลยระลึกถึงอาบัติ และยิ่งอธิกรณ์นั้นให้ระงับด้วยญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา. ภิกษุผู้ว่าอรรถคดีพึงปฏิบัติอย่างนี้.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

แม้ปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า อุโบสถ เพื่อประโยชน์อะไร? ก็ตื้น เหมือนกันแล.

วินิจฉัยในอวสานคาถาทั้งหลาย พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า เถเร จ ปริภาสติ มีความว่า เมื่อจะทำความดูหมิ่น ย่อมคำว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้อะไร.

บาทคาถาว่า ขโต อุปหตินฺทฺริโย มีความว่า ชื่อว่าผู้มีคนอันขุด แล้ว เพราะความที่ตนเป็นสภาพอันตนเองขุดแล้ว ด้วยความเป็นผู้ถึงความ ลำเอียงด้วยฉันทาคติเป็นต้นนั้น และด้วยการด่านั้น และชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อัน ตนเองจัดเสียแล้ว เพราะความที่อินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น เป็นคุณอันตนเอง ขจัดเสียแล้ว.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 685

สองบาทคาถาว่า นิรยํ คจฺฉติ มฺเมโธ น จ สิกฺขาย คารโว มีความว่า ผู้มีตนอันขุดแล้ว มีอินทรีย์อันตนขจัดแล้วนั้น ชื่อว่าผู้มีปัญญา ทราม เพราะไม่มีปัญญา และชื่อว่าไม่มีความเคารพในการศึกษา เพราะไม่ ศึกษาในสิกขา ๓ เพราะแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงนรก.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ควรอิงอามิส (และไม่ควรอิงบุคคล พึงเว้นส่วนทั้ง ๒ นั้น เสีย) กระทำตามธรรม.

เนื้อความแห่งคำนั้นว่า ไม่พึงกระทำ เพราะอิงอามิส จริงอยู่ เมื่อ ถือเอาอามิสมีจีวรเป็นต้น ที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ ชื่อว่ากระทำ เพราะอิงอามิส ไม่พึงกระทำอย่างนั้น.

หลายบทว่า น จ นิสฺสาย ปุคฺคลํ มีความว่า เมื่อลำเอียงเพราะ ความรักเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ผู้นี้ เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือว่า ผู้นี้ เป็นอาจารย์ของเรา ชื่อว่ากระทำเพราะอิงบุคคล ไม่พึงกระทำอย่างนั้น. ทางที่ ถูก พึงเว้นส่วนทั้ง ๒ นั้นเสีย กระทำตามที่เป็นธรรมเท่านั้น.

บาทคาถาว่า อุปกณฺณกํ ชปฺเปติ มีความว่า กระซิบที่ใกล้หูว่า ท่านจงพูดอย่างนี้ อย่าพูดอย่างนี้.

สองบทว่า ชิมฺหํ เปกฺขติ มีความว่า ย่อมแส่หาโทษเท่านั้น.

บทว่า วีติหรติ ได้แก่ ยังการวินิจฉัยให้บกพร่อง.

สองบทว่า กุมฺมคฺคํ ปฏิเสวติ มีความว่า ย่อมชี้อาบัติ.

สองบทว่า อกาเลน จ โจเทติ มีความว่า ผู้อันพระเถระมิได้ เชื้อเชิญ โจทในสมัยมิใช่โอกาส.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 686

บาทคาถาว่า ปุพฺพาปรํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้คำต้นและ คำหลัง.

บาทคาถาว่า อนุสนฺธิวจนกถํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้ถ้อย คำ ด้วยอำนาจความสืบสมแห่งคำให้การ และความสืบสมแห่งคำวินิจฉัย.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

โจทนากัณฑก วัณณนา จบ