พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กฐินเภท และ กฐินเภทวัณณนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42868
อ่าน  647

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๘

ปริวาร

กฐินเภท 726

ว่าด้วยกฐินไม่เป็นอันกรานเป็นต้น 1124/726

ธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งประโยคเป็นต้น 1131/730

นิทานเป็นต้นแห่งบุพกรณ์เป็นต้น 1138/732

มูลเหตุแห่งกฐินเป็นต้น 1140/736

องค์ของภิกษุผู้กรานกฐิน 1142/737

การกรานกฐิน 1143/738

วัตถุวิบัติเป็นต้น 1144/738

อธิบายการกรานกฐิน 1147/740

แก้ปัญหาปลิโพธในมาติกา ๘ 1149/742

การเดาะกฐิน 1157/746

หัวข้อประจําเรื่อง 1160/748

กฐินเภทวัณณนา 748

ธรรมที่เกิดพร้อมกับกรานกฐิน 748

ว่าด้วยอนันตรปัจจัยเป็นอาทิ 748

ว่าด้วยปัจจัยประโยคเป็นอาทิ 750

ว่าด้วยนิทานแห่งประโยคเป็นอาทิ 751

ว่าด้วยวิบัติแห่งกฐินเป็นอาทิ 752

ว่าด้วยการรื้อแห่งกฐิน 753


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 726

กฐินเภท

ว่าด้วยกฐินไม่เป็นอันกรานเป็นต้น

[๑,๑๒๔] กฐินใครไม่ได้กราน กฐินใครได้กราน กฐินไม่เป็นอัน กราน ด้วยอาการอย่างไร กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร.

กฐินไม่เป็นอันกราน

[๑,๑๒๕] คำว่า กฐินใครไม่ได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล ๒ พวก คือ ภิกษุผู้ไม่ได้กราน ๑ ภิกษุผู้ไม่อนุโมทนา ๑ ไม่เป็น อันกราน กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ไม่เป็นอันกราน.

กฐินเป็นอันกราน

[๑,๑๒๖] คำว่า กฐินใครได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ คือ ภิกษุผู้กราน ๑ ภิกษุผู้อนุโมทนา ๑ เป็นอันกราน กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ เป็นอันกราน.

เหตุที่กฐินไม่เป็นอันกราน

[๑,๑๒๗] คำว่า กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร นั้น คือ กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ ๒๔ คือ:-

๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย

๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 727

๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า

๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า

๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า

๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บด้น

๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม

๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังดุมให้มั่น

๙. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต

๑๐. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า

๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า

๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่น

๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงผ้าที่ทำนิมิตได้มา

๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา

๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา

๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน

๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคิยะ

๑๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ

๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าสังฆาฏิ

๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอุตราสงค์

๒๑. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอันตรวาสก

๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ซึ่ง ตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑล เสร็จในวันนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 728

๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน นอกจากบุคคลกราน

๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมา อนุโมทนา กฐินนั้น

กฐินไม่เป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.

อธิบายเหตุที่ไม่ได้กรานบางข้อ

[๑,๑๒๘] ที่ชื่อว่า ทำนิมิต คือ ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักกราน กฐินด้วยผืนผ้านี้

ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง คือ ภิกษุพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า จักยัง ผ้ากฐินให้เกิดด้วยการพูดเลียบเคียงนี้

ผ้าที่ทายกไม่ได้หยิบยกให้เรียกว่าผ้ายืมเขามา

ที่ชื่อว่า ผ้าเก็บไว้ค้างคืน มี ๒ อย่าง คือ ผ้าทำค้างคืน ๑ ผ้า เก็บไว้ค้างคืน ๑

ที่ชื่อว่า ผ้าเป็นนิสสัคคิยะ คือ ภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมา

กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้.

เหตุที่กฐินเป็นอันกราน

[๑,๑๒๙] คำว่า กฐินอันเป็นกราน ด้วยอาการเท่าไร นั้น ความว่า กฐินย่อมเป็นอันกรานด้วยอาการ ๑๗ อย่าง ดังต่อไปนี้

๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าไหม

๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 729

๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า

๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล

๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าตกตามร้าน

๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา

๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา

๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืนเขามา

๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เก็บไว้ค้างคืน

๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เป็นนิสสัคคิติยะ

๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าทำกัปปะพินทุแล้ว

๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ

๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์

๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก

๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑล เสร็จในวันนั้น

๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะบุคคลกราน

๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่ในสีมา อนุโมทนา กฐินนั้น

กฐินเป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้ กฐินเป็นอันกราน ด้วย อาการ ๑๗ อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 730

ธรรมที่เกิดพร้อมกัน

[๑,๑๓๐] ถามว่า ธรรมเท่าไร ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน

ตอบว่า ธรรม ๑๕ อย่าง ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน คือ มาติกา ๘ ปลิโพธ ๒ อานิสงส์ ๕ ธรรม ๑๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดพร้อมกับ การกรานกฐิน.

ธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งประโยคเป็นต้น

[๑,๑๓๑] ประโยค มีธรรมเท่าไรเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสมันนตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

บุพกรณ์ ...

การถอนผ้า ...

การอธิษฐานผ้า ...

การกราน ...

มาติกา และปลิโพธ ...

วัตถุ มีธรรมเท่าไรเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 731

บุพกรณ์เป็นปัจจัย

[๑,๑๓๒] ประโยค มีบุพกรณ์เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย บุพกรณ์ มีประโยคเป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย ประโยค มีบุพกรณ์ เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

การถอนผ้าเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๓] บุพกรณ์ มีการถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย การถอนผ้า มีบุพกรณ์เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย บุพกรณ์ มีการ ถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็นปัจจัยโดยสหชาต ปัจจัย.

การอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๔] การถอนผ้า มีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย การอธิษฐานผ้า มีการถอนเป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย การ ถอนผ้า มีการอธิษฐานเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

การกรานเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๕] การอธิษฐานผ้า มีการกรานเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 732

อุปนิสสยปัจจัย การกรานมีการอธิษฐานเป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย การ อธิษฐานผ้า มีการกรานเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

มาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๖] การกราน มีมาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย มาติกาและปลิโพธ มีการกราน เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย การกราน มีมาติกาและปลิโพธ เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

ความหวังและหมดหวังเป็นปัจจัย

[๑,๑๓๗] วัตถุ มีความหวังและหมดหวังเป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย ความหวังและหมดหวัง มีวัตถุเป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุมีความหวังและหมดหวัง เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาติปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่าง เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

นิทานเป็นต้นแห่งบุพกรณ์เป็นต้น

[๑,๑๓๘] ถามว่า บุพกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 733

การถอนผ้า มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

การอธิษฐานผ้า มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

การกราน มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

มาติกาและปลิโพธ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ความหวังและหมดหวัง มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ตอบว่า บุพกรณ์ มีประโยคเป็นนิทาน มีประโยคเป็นสมุทัย มี ประโยคเป็นชาติ มีประโยคเป็นแดนเกิดก่อน มีประโยคเป็นองค์ มีประโยค เป็นสมุฏฐาน

การถอนผ้า มีบุพกรณ์เป็นนิทาน มีบุพกรณ์เป็นสมุทัย มี บุพกรณ์เป็นชาติ มีบุพกรณ์เป็นแดนเกิดก่อน มีบุพกรณ์เป็นองค์ มีบุพกรณ์ เป็นสมุฏฐาน

การอธิษฐานผ้า มีการถอนเป็นนิทาน มีการถอนเป็นสมุทัย มีการ ถอนเป็นชาติ มีการถอนเป็นแดนเกิดก่อน มีการถอนเป็นองค์ มีการถอน เป็นสมุฏฐาน

การกราน มีการอธิษฐานเป็นนิทาน มีการอธิษฐานเป็นสมุทัย มีการ อธิษฐานเป็นชาติ มีการอธิษฐานเป็นแดนเกิดก่อน มีการอธิฐานเป็นองค์ มีการอธิษฐานเป็นสมุฏฐาน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 734

มาติกาและปลิโพธ มีการกรานเป็นนิทาน มีการกรานเป็นสมุทัย มี การกรานเป็นชาติ มีการกรานเป็นแดนเกิดก่อน มีการกรานเป็นองค์ มีการ กรานเป็นสมุฏฐาน

ความหวังและหมดหวัง มีวัตถุเป็นนิทาน มีวัตถุเป็นสมุทัย มีวัตถุ เป็นชาติ มีวัตถุเป็นแดนเกิดก่อน มีวัตถุเป็นองค์ มีวัตถุเป็นสมุฏฐาน

ถ. ประโยค มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

บุพกรณ์ ...

การถอนผ้า ...

การอธิษฐานผ้า ...

การกราน ...

มาติกาและปลิโพธ ...

วัตถุ ...

ความหวังและหมดหวัง มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. ประโยค มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มี เหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

บุพกรณ์ ...

การถอนผ้า ...

การอธิษฐานผ้า ...

การกราน ...

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 735

มาติกาและปลิโพธ ...

วัตถุ ...

ความหวังและหมดหวัง มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุ เป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน

ถ. ประโยค มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

บุพกรณ์ ...

การถอนผ้า ...

การอธิษฐานผ้า ...

การกราน ...

มาติกาและปลิโพธ ...

วัตถุ ...

ความหวังและหมดหวัง มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ต. ประโยค มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

บุพกรณ์ ...

การถอนผ้า ...

การอธิษฐานผ้า ...

การกราน ...

มาติกาและปลิโพธ ...

วัตถุ ...

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 736

ความหวังและหมดหวัง มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัย เป็นชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน.

สงเคราะห์ธรรม

[๑,๑๓๙] ถามว่า บุพกรณ์ สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร

ตอบว่า บุพกรณ์ สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ อย่าง คือ ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนาผ้า ๑ เย็บผ้า ๑ ย้อมผ้า ๑ ทำกัปปะพินทุ ๑ บุพกรณ์ สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ นี้

ถ. การถอนผ้า สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร

ต. การถอนผ้า สงเคราะห์ด้วยธรรม ๓ อย่าง คือ ผ้าสังฆาฏิ ๑ ผ้า อุตราสงค์ ๑ ผ้าอันตรวาสก ๑

ถ. การอธิษฐานผ้า สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร

ต. การอธิษฐานผ้า สงเคราะห์ด้วยธรรม ๓ อย่าง คือ ผ้าสังฆาฏิ ๑ ผ้าอุตราสงค์ ๑ ผ้าอันตรวาสก ๑

ถ. การกราน สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร

ต. การกราน สงเคราะห์ด้วยธรรมอย่างเดียว คือ เปล่งวาจา.

มูลเหตุแห่งกฐินเป็นต้น

[๑,๑๔๐] ถามว่า กฐินมีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร

ตอบว่า กฐิน มีมูลอย่างเดียว คือ สงฆ์ มีวัตถุ ๓ คือ ผ้าสังฆาฏิ ๑ ผ้าอุตราสงค์ ๑ ผ้าอันตรวาสก ๑ มีภูมิ ๖ คือ ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ผ้า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 737

ทำด้วยฝ้าย ๑ ผ้าทำด้วยไหม ๑ ผ้าทำด้วยขนสัตว์ ๑ ผ้าทำด้วยป่าน ๑ ผ้าทำ ด้วยสัมภาระเจือกัน ๑.

เบื้องต้นแห่งกฐินเป็นต้น

[๑,๑๔๑] ถามว่า กฐิน มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ตอบว่า กฐิน มีบุพกรณ์เป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง มี การกรานเป็นที่สุด.

องค์ของภิกษุผู้ กรานกฐิน

[๑,๑๔๒] ถามว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร ไม่ควรกรานกฐิน ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร ควรกรานกฐิน

ตอบว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่ควรกรานกฐิน ภิกษุประกอบ ด้วยองค์ ๘ ควรกรานกฐิน

ถ. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ไม่ควรกรานกฐิน

ต. ภิกษุไม่รู้บุพกรณ์ ๑ ไม่รู้การถอนผ้า ๑ ไม่รู้การอธิษฐานผ้า ๑ ไม่รู้การกราน ๑ ไม่รู้มาติกา ๑ ไม่รู้ปลิโพธ ๑ ไม่รู้การเคาะกฐิน ๑ ไม่รู้ อานิสงส์ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ไม่ควรกรานกฐิน

ถ. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ควรกรานกฐิน

ต. ภิกษุรู้บุพกรณ์ ๑ รู้การถอนผ้า ๑ รู้การอธิษฐานผ้า ๑ รู้การ กราน ๑ รู้มาติกา ๑ รู้ปลิโพธ ๑ รู้การเดาะกฐิน ๑ รู้อานิสงส์ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ควรกรานกฐิน.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 738

การกรานกฐิน

[๑,๑๔๓] ถามว่า บุคคลพวกไหนกรานกฐินไม่ขึ้น บุคคลพวกไหน กรานกฐินขึ้น

ตอบว่า บุคคล ๓ พวกกรานกฐินไม่ขึ้น บุคคล ๓ พวกกรานกฐินขึ้น

ถ. บุคคล ๓ พวกเหล่าไหน กรานกฐินไม่ขึ้น

ต. บุคคลอยู่นอกสีมาอนุโมทนา ๑ เมื่ออนุโมทนาไม่เปล่งวาจา ๑ เมื่อเปล่งวาจาไม่ให้ผู้อื่นรู้ ๑ บุคคล ๓ พวกเหล่านี้ กรานกฐินไม่ขึ้น

ถ. บุคคล ๓ พวกเหล่าไหน กรานกฐินขึ้น

ต. บุคคลอยู่ในสีมาอนุโมทนา ๑ เมื่ออนุโมทนาเปล่งวาจา ๑ เมื่อ เปล่งวาจาให้ผู้อื่นรู้ ๑ บุคคล ๓ พวกนี้กรานกฐินขึ้น.

วัตถุวิบัติเป็นต้น

[๑,๑๔๔] ถามว่า การกรานกฐินเท่าไรไม่ขึ้น การกรานกฐินเท่าไรขึ้น

ตอบว่า การกรานกฐิน ๓ อย่าง ไม่ขึ้น การกรานกฐิน ๓ อย่าง ขึ้น

ถ. การกรานกฐิน ๓ อย่างเหล่าไหน ไม่ขึ้น

ต. ผ้าเป็นของวิบัติโดยวัตถุ ๑ วิบัติโดยกาล ๑ วิบัติโดยการกระทำ ๑ การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ไม่ขึ้น

ถ. การกรานกฐิน ๓ อย่างเหล่าไหน ขึ้น

ต. ผ้าเป็นของถึงพร้อมด้วยวัตถุ ๑ ถึงพร้อมด้วยกาล ๑ ถึงพร้อม ด้วยการกระทำ ๑ การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ขึ้น.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 739

ควรรู้ กฐินเป็นต้น

[๑,๑๔๕] พึงรู้จักกฐิน พึงรู้จักการกรานกฐิน พึงรู้จักเดือนที่กราน กฐิน พึงรู้จักวิบัติแห่งการกรานกฐิน พึงรู้จักสมบตแห่งการกรานกฐิน พึงรู้ จักการทำนิมิต พึงรู้จักการพูดเลียบเคียง พึงรู้จักผ้าทียืมเขามา พึงรู้จักผ้า ที่เก็บไว้ค้างคืน พึงรู้จักผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์.

วิภาคคำว่าพึงรู้ จักกฐินเป็นต้น

[๑,๑๔๖] คำว่า พึงรู้จักกฐิน นั้น ความว่า การรวบรวม การ ประชุมชื่อ การตั้งชื่อ การเรียกชื่อ ภาษา พยัญชนะ การกล่าวธรรมเหล่า นั้น รวมเรียกว่า กฐิน

คำว่า พึงรู้จักเดือนที่กรานกฐิน คือ พึงรู้จักเดือนท้ายแห่งฤดูฝน

คำว่า พึงรู้จักวิบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักวิบัติแห่ง การกรานกฐิน ด้วยอาการ ๒๔ อย่าง

คำว่า พึงรู้จักสมบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักสมบัติ แห่งการกรานกฐิน ด้วยอาการ ๑๗ อย่าง

คำว่า พึงรู้จักการทำนิมิต คือ ท่านิมิตว่า จักกรานกฐิน ด้วย ผ้าผืนนี้

คำว่า พึงรู้จักการพูดเลียบเคียง คือ ทำการพูดเลียบเคียงด้วยคิด ว่าจักยังผ้ากฐินให้เกิด ด้วยการพูดเลียบเคียงนี้

คำว่า พึงรู้จักผ้าที่ยืมเขามา คือ รู้จักผ้าที่ทายกมิได้หยิบยกให้

คำว่า พึงรู้จักผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน คือ พึงรู้จักผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ อย่าง คือ ทำค้างคืน ๑ เก็บไว้ค้างคืน ๑

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 740

คำว่า พึงรู้จักผ้าเป็นนิสสัคคีย์ นั้น คือ เมื่อภิกษุกำลังทำผ้าอยู่ อรุณขึ้นมา.

อธิบายการกรานกฐิน

[๑,๑๔๗] คำว่า พึงรู้จักการกรานกฐิน นั้น มีอธิบาย ถ้าผ้า กฐินบังเกิดแก่สงฆ์ สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้กรานพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุ ผู้อนุโมทนาพึงปฏิบัติอย่างไร

สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินแก่ภิกษุผู้กราน กฐินด้วยญัตติทุติยกรรม

ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงซักขยำให้สะอาดแล้ว กะ ตัด เย็บ ย้อม ทำพินทุกัปปะแล้วกรานกฐินในวันนั้นเทียว ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้า สังฆาฏิ พึงถอนผ้าสังฆาฏิผืนเก่าเสีย พึงอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ เปล่งวาจา ว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้า อุตราสงค์ พึงถอนผ้าอุตราสงค์ผืนเก่าเสีย พึงอธิษฐานผ้าอุตราสงค์ผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าอุตราสงค์ผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐิน ด้วยผ้าอันตวาสก พึงถอนผ้าอันตวาสกผืนเก่าเสีย พึงอธิษฐานผ้าอันตรวาสก ผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้

อันภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกราน กฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด

ภิกษุผู้อันโมทนาเหล่านั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคอง อัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็น ธรรม เราทั้งหลายอนุโมทนา

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 741

ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด

ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคอง อัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็น ธรรม เราทั้งหลายอนุโมทนา

ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียง บ่า ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การ กรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านอนุโมทนาเถิด

ภิกษุผู้อนุโมทนานั้น พึงห่มผ้าอุคราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าอนุโมทนา.

กรานกฐิน

[๑,๑๔๘] ถามว่า สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน บุคคลกราน กฐิน หรือ

ตอบว่า สงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคล กรานกฐิน ถ้าสงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคล กรานกฐิน ได้ชื่อว่า สงฆ์ไม่ได้กรานกฐิน คณะไม่ได้กรานกฐิน แต่บุคคล กรานกฐิน

ถ. สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะสวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์ หรือ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 742

ต. สงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่ แต่ บุคคลสวดปาติโมกข์ สงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่ แต่บุคคลสวดปาติโมกข์ ได้ชื่อว่า สงฆ์ไม่ได้สวดปาติโมกข์ คณะไม่ได้สวด ปาติโมกข์ แต่บุคคลสวดปาติโมกข์ หรือเพราะความสามัคคีแห่งสงฆ์ เพราะ ความสามัคคีแห่งคณะ เพราะบุคคลสวด ได้ชื่อว่า สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะ สวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์ ฉันใด สงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะ หาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน เพราะสงฆ์อนุโมทนา เพราะคณะ อนุโมทนา เพราะบุคคลกราน ได้ชื่อว่า สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน บุคคลกรานกฐิน ฉันนั้นเหมือนกัน.

แก้ปัญหาปลิโพธในมาติกา ๘

[๑,๑๔๙] ท่านมหากัสสปถามว่า การ เดาะกฐินมีการหลีกไปเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้ สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึง การเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน

ท่านพระอุบาลีตอบว่า การเดาะกฐิน มีการหลีกไปเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้ เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ แล้ว ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้ง อาวาสนี้เสียละ ปลิโพธในจีวรขาดก่อน

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 743

ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับภิกษุนั้น ไป นอกสีมา.

[๑,๑๕๐] ม. การเดาะกฐินมีการทำ เสร็จเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า ขอถามท่าน ถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ อย่างไหนดูก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการทำเสร็จเป็น ที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่ง พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุ หลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสียสละ ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน เมื่อจีวรสำเร็จ ปลิโพธในจีวรขาด.

[๑,๑๕๑] ม. การเดาะกฐินมีการตกลงใจเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า ขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ อย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการตกลงใจเป็น ที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่ง พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุ หลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสียละ ปลิโพธ ๒ อย่าง ขาดพร้อมกัน.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 744

[๑,๑๕๒] ม. การเดาะกฐินมีความ เสียเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า ขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ อย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการเสียเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุหลีกไป ด้วยคิดว่าจักทิ้งอาวาสนี้เสียละ ปลิโพธใน อาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวรขาดเมื่อจีวร เสียหาย.

[๑,๑๕๓] ม. การเดาะกฐินมีการฟัง เป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า ขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ อย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการฟังเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชา ผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วย คิดว่าจักทิ้งอาวาสนี้เสียละ ปลิโพธในจีวร ขาดก่อน ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับ การฟังของภิกษุนั้น.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 745

[๑,๑๕๔] ม. การเดาะกฐินมีความ สิ้นหวังเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็น เผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้าขอถามท่าน ถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีความสิ้นหวังเป็น ที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่ง พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุ หลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสียละ ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวร ขาดต่อเมื่อสิ้นความหวังในจีวรแล้ว.

[๑,๑๕๕] ม. การเดาะกฐินมีการก้าว ล่วงสีมาเป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็น เผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้าขอถามท่าน ถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธอย่างไหนดูก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการก้าวล่วงสีมา เป็นที่สุด อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อ ภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทั้งอาวาสนี้เสียละ ปลิโพธในจีวรขาดก่อน ปลิโพธในอาวาส ขาดเมื่อภิกษุนั้นไปนอกสีมา.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 746

[๑,๑๕๖] ม. การเดาะกฐินมีการเดาะ พร้อมกัน อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็ข้าพเจ้า ขอถามท่าน ถึงการเดาะกฐินนั่น ปลิโพธ อย่างไหนขาดก่อน

อุ. การเดาะกฐินมีการเดาะพร้อมกัน อันพระสุคตเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว ก็เมื่อภิกษุหลีกไป ด้วยคิดว่าจักทิ้งอาวาสนี้เสียละ ปลิโพธทั้ง ๒ ขาดพร้อมกัน.

การเดาะกฐิน

[๑,๑๕๗] ถามว่า การเดาะกฐินที่ สงฆ์เป็นใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่บุคคล เป็นใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่ เป็นใหญ่ บุคคลไม่เป็นใหญ่มีเท่าไร

ตอบว่า การเดาะกฐินที่สงฆ์เป็น ใหญ่มีอย่างเดียว คือ การเดาะในระหว่าง

การเดาะกฐินที่บุคคลเป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือ เดาะกฐินมีการหลีกไปเป็นที่สุด ๑ มีการทำเสร็จเป็นที่สุด ๑ มีความตกลงใจ เป็นที่สุด ๑ มีความก้าวล่วงสีมาเป็นที่สุด ๑

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 747

การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ ที่ บุคคลไม่เป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือ การเดาะ กฐินมีการเสียเป็นที่สุด ๑ มีการฟังเป็นที่ สุด ๑ มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด ๑ มีการ เดาะกฐินพร้อมกัน ๑.

การเดาะกฐินภายในสีมาเป็นต้น

[๑,๑๕๘] ถามว่า การเดาะกฐินเท่าไร เดาะภายในสีมา การเดาะ กฐินเท่าไร เดาะภายนอกสีมา การเดาะกฐินเท่าไร บางอย่างเดาะภายในสีมา บางอย่างเดาะภายนอกสีมา

ตอบว่า การเดาะกฐิน ๒ อย่าง เดาะภายในสีมา คือ เดาะในระหว่าง ๑ เดาะพร้อมกัน ๑

การเดาะกฐิน ๓ อย่าง เดาะภายนอกสีมา คือ การเดาะกฐินมีความ หลีกไปเป็นที่สุด ๑ มีความฟังเป็นที่สุด ๑ มีความก้าวล่วงสีมาเป็นที่สุด ๑

การเดาะกฐิน ๔ อย่าง บางอย่างเดาะภายในสีมา บางอย่างเดาะ ภายนอกสีมา คือ การเดาะกฐินมีการทำเสร็จเป็นที่สุด ๑ มีความตกลงใจเป็น ที่สุด ๑ มีความเสียเป็นที่สุด ๑ มีความสิ้นหวังเป็นที่สุด ๑.

การเดาะกฐินเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น

[๑,๑๕๙] ถามว่า การเดาะกฐินเท่าไร เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน การ เดาะกฐินเท่าไร เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 748

ตอบว่า การเดาะกฐิน ๒ อย่างที่เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน คือ เดาะใน ระหว่าง ๑ เดาะพร้อมกัน ๑

การเดาะกฐินนอกนั้น เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน.

กฐินเภท จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๑๖๐] ใคร ด้วยอย่างไร ธรรม ๑๕ อย่าง นิทาน เหตุ ปัจจัย สงเคราะห์ มูล เบื้องต้น ประเภท บุคคล บุคคล ๓ การเดาะกฐิน ๓ พึงรู้ การกราน การสวด ปลิโพธ เป็นใหญ่ สีมา เกิดขึ้นและดับ.

ปริวาร จบ

กฐินเภท วัณณนา

[ธรรมที่เกิดพร้อมกับกรานกฐิน]

วินิจฉัยในกฐิน พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อฏฺ มาติกา ได้แก่ มาติกา ๘ มีปักกมนันติกา (กำหนดด้วยการหลีกไปเป็นที่สุด) เป็นต้น ที่ตรัสไว้ในขันธกะ. แม้ปลิโพธ และอานิสงส์ก็ได้ตรัสไว้ในหนหลังแล้วแล.

[ว่าด้วยอนันตรปัจจัยเป็นอาทิ]

บทว่า ปโยคสฺส ได้แก่ ประโยคมีการหาน้ำมาเป็นต้น ที่ภิกษุ กระทำเพื่อประโยชน์แก่บุพกรณ์ ๗ อย่าง มีซักจีวรเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 749

หลายบทว่า กตเม ธมฺมา อนนฺตรปจฺจเยน ปจฺจโย มีความว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นธรรมสืบลำดับ โดยเนื่องด้วยประโยคที่ยังไม่มา ย่อมเป็น ปัจจัย.

บทว่า สมนนฺตรปจฺจเยน มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม ถึงธรรมที่สืบลำดับกันเป็นปัจจัย ด้วยธรรมที่สืบลำดับกันเป็นปัจจัยโดยตรง นั่นเอง แต่ทำให้ใกล้ชิดกว่า.

บทว่า นิสฺสยปจฺจเยน มีความว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นเหมือนเข้า ใกล้ความเป็นธรรมเป็นที่อาศัย คือความเป็นธรรมเป็นที่รองรับแห่งประโยค ที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นปัจจัย.

บทว่า อุปนิสฺสยปจฺจเยน มีความว่า ตรัสถามถึงธรรมที่อาศัย เป็นปัจจัย ด้วยธรรมเป็นที่อาศัยเป็นปัจจัย ซึ่งใกล้ชิดกันนั่นเอง แต่ทำให้ ใกล้ชิดกว่า.

ตรัสถามถึงภาวะแห่งธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย ด้วยบทว่า ปุเรชาตปจฺจเยน นี้.

ตรัสถามถึงภาวะแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น ไม่ก่อนไม่หลัง เป็น ปัจจัย ด้วยบทว่า สหชาตปจฺจเยน นี้.

บทว่า ปุพฺพกรณสฺส ได้แก่ บุพกรณ์ มีการซักจีวรเป็นต้นด้วย.

บทว่า ปจฺจุทฺธรสฺส ได้แก่ การถอนไตรจีวรมีสังฆาฏิผืนเก่า เป็นต้น.

บทว่า อธิฏฺานสฺส ได้แก่ อธิษฐานจีวรกฐิน.

บทว่า อตฺถารสฺส ได้แก่ การกรานกฐิน.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 750

หลายบทว่า มาติกานญฺจ ปลิโพธานญฺจ ได้แก่ มาติกา ๘ และ ปลิโพธ ๒.

บทว่า วตฺถุสฺส ได้แก่ วัตถุควรแก่กฐิน มีสังฆาฏิเป็นต้น.

คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

[ว่าด้วยปัจจัยประโยคเป็นอาทิ]

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถามถึงบุพกรณ์เป็นต้น ซึ่งได้โดย ความเป็นปัจจัย และประโยคเป็นต้น ซึ่งไม่ได้โดยความเป็นปัจจัย อย่างนั้น ทั้งหมดแล้ว บัดนี้ จะแสดงบุพกรณ์ เป็นต้น ซึ่งได้โดยความเป็นปัจจัย แห่งประโยคเป็นต้นนั่นแล แล้วจึงตรัสคำวิสัชนา โดยนัยมีคำว่า ปุพฺพกรณํ ปโยคสฺส เป็นต้น.

เนื้อความแห่งคำวิสัชนา พึงทราบดังนี้:-

ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยในคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปโยคสฺส กตเม ธมฺมา เป็นต้น, บุพกรณ์เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัยแห่งประโยค เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย นิสสยปัจจัย และอุปนิสสปัจจัยแห่งประโยค.

จริงอยู่ บุพกรณ์แม้ทั้ง ๗ อย่าง ย่อมเป็นปัจจัยโดยปัจจัย ๔ เหล่านี้แห่งประโยค เพราะเหตุที่ประโยคนั้น อันภิกษุย่อมกระทำเพื่อประโยชน์แก่ บุพกรณ์ อันตนพึงให้สำเร็จด้วยประโยคนั้น. แต่ประโยคนั้น ย่อมไม่ได้แม้ ซึ่งธรรมอันหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ได้อุทเทสแล้ว ในความเป็นปุเรชาตปัจจัย ประโยคนั้น ชื่อว่าเป็นปุเรชาตปัจจัยเองแห่งบุพกรณ์โดยแท้ เพราะเมื่อ ประโยคมี บุพกรณ์จึงสำเร็จ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ประโยคเป็นปัจจัยแห่งบุพกรณ์ โดยเป็นปุเรชาตปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 751

อนึ่ง ประโยคย่อมได้ปัจฉาชาตปัจจัย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุพกรณ์เป็นปัจจัยแห่งประโยค โดยเป็นปัจฉาชาตปัจจัย. จริงอยู่ ประโยคนั้น อันภิกษุย่อมทำ เพื่อประโยชน์แก่บุพกรณ์ ซึ่งเกิด ภายหลัง. แต่เว้นธรรม ๑๕ กล่าวคือ มาติกาปลิโพธและอานิสงส์เสียแล้ว ในบรรดาธรรมมีประโยคเป็นอาทิ ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่ได้สหชาตปัจจัย. เพราะว่า ธรรม ๑๕ นั้นเท่านั้น ย่อมสำเร็จพร้อมกันกับการกราน กฐิน เพราะฉะนั้น จึงเป็นสหชาตปัจจัยอาศัยกันและกันได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรม ๑๕ เป็นปัจจัย โดยเป็นสหชาตปัจจัย.

วิสัชนาบททั้งปวง พึงทราบโดยอุบายนี้.

ปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า บุพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน ตื้นทั้งนั้น.

[ว่าด้วยนิทานแห่งประโยคเป็นอาทิ]

วินิจฉัยในวิสัชนาสองปัญหาว่า ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :-

ในคำว่า ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นนิทาน นี้ จีวร ๖ ชนิด พึงทราบว่า เป็นเหตุและเป็นปัจจัย. จริงอยู่ จีวรเหล่านั้นแลเป็นเหตุ จีวร เหล่านั้นเป็นปัจจัยแห่งธรรมทั้งปวงมีบุพประโยคเป็นต้น. เมื่อจีวร ๖ ชนิด ไม่มี ประโยคก็หามีไม่ บุพกรณ์เป็นต้นก็หามีไม่แล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน เป็นต้น.

วินิจฉัยในสังคหวาร พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า วจีเภเทน ได้แก่ การลั่นวาจานี้ว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วย สังฆาฏินี้, ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยอุตราสงค์นี้ ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยอันตรวาสกนี้.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 752

วินิจฉัยในกติมูลาทิปุจฉาวิสัชนา พึงทราบดังนี้:-

การถอนและการอฐิษฐาน ชื่อว่ากิริยาในท่ามกลาง.

[ว่าด้วยวิบัติแห่งกฐินเป็นอาทิ]

สองบทว่า วตฺถุวิปนฺนญฺจ โหติ ได้แก่ เป็นผ้าไม่ควร. ผ้าที่ พวกทายกถวายในวันนี้ สงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้กรานกฐินในวันพรุ่งนี้ ชื่อว่าวิบัติ โดยกาล. ผ้าที่ตัดแล้วไม่ทำให้เสร็จในวันนั้นนั่นเอง ชื่อว่าวิบัติ โดยการ กระทำ.

วินิจฉัยในวิสัชนาคำถามที่ว่า กินํ ชานิตพฺพํ เป็นอาทิ พึง ทราบดังนี้:-

สองบทว่า เตสํเยว ธมฺมานํ มีความว่า เมื่อธรรมทั้งหลายมีรูป ธรรมเป็นต้น เหล่าใดมีอยู่ ชื่อกฐินจึงมี ความประสมคือประมวลรูปธรรม เป็นต้นเหล่านั้น. ก็ด้วยคำว่า นามํ นามกมฺมํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คำว่า กฐินนี้ สักว่าเป็นนามในธรรมเป็นอันมาก โดย ปรมัตถ์ ธรรมอันหนึ่งหามีไม่.

สองบทว่า จตุวีสติยา อากาเรหิ มีความว่า (พึงทราบวิบัติแห่ง การกรานกฐิน) ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วในหนหลัง มีคำว่า น อุลฺลิกฺขิตมตฺเตน เป็นต้น.

สองบทว่า จตุวีสติยา อากาเรหิ มีความว่า (พึงทราบสมบัติแห่ง การกรานกฐิน) ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วในหนหลัง มีคำว่า กฐินเป็นอันกราน แล้วด้วยผ้าใหม่ เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 753

คำใดอันพึงจะกล่าวในนิมิตกรรมเป็นอาทิ คำทั้งปวงนั้น ได้กล่าว ไว้แล้วในวัณณนาแห่งกฐินขันธกะ.

[ว่าด้วยการรื้อแห่งกฐิน]

สองบทว่า เอกุปฺปาทา เอกนิโรธา มีความว่า การรื้อแห่งกฐิน แม้เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน แม้เมื่อดับ ย่อมดับด้วยกัน.

สองบทว่า เอกุปฺปาทา นานานิโรธา มีความว่า การรื้อแห่ง กฐิน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน, เมื่อดับ ย่อมดับต่างคราวกัน.

มีคำอธิบายอย่างไร? การรื้อแม้ทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันกับ การกราน, จริงอยู่ เมื่อมีการกราน การรื้อย่อมมีเป็นธรรมดา

ในบรรดาการกรานกฐิน ๘ เหล่านี้ สองเบื้องต้น เมื่อจะดับย่อมดับ คือถึงความรื้อ พร้อมกันกับการกราน. จริงอยู่ ความดับแห่งการกราน และ ความเป็นแห่งการรื้อ แห่งกฐินุทธาร ๒ นั่น ย่อมมีในขณะเดียวกัน นอกนี้ ย่อมดับต่างคราวกัน. เมื่อกฐินุทธารมปักกมนันติกาเป็นต้นแม้เหล่านั้น ถึง แล้วซึ่งความเป็นอาการรื้อ การกรานก็ยังคงอยู่.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

กฐินเภท วัณณนา จบ

จบปัญญัตติวัคค วัณณนา

ในอรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา