อุปาลิปัญจกะ และ อุปาลิปัญจกวัณณนา
[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๘
ปริวาร
อุปาลิปัญจกะ
อนิสสิตวรรคที่ ๑
ท่านพระอุบาลีเข้าเฝ้า 1161/754
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย 754
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย 755
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง 755
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย 756
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง 756
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย 757
ภิกษุผู้ไม่ควรอุปสมบทเป็นต้น 1162/757
ภิกษุผู้ไม่ควรให้อุปสมบทเป็นต้นอีกนัยหนึ่ง 758
ภิกษุผู้ควรให้อุปสมบทเป็นต้น 759
องค์๕ ของภิกษุผู้ถูกลงโทษ 1163/760
องค์ของภิกษุที่ไม่ควรระงับกรรม 1165/763
คุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม 1166/765
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ 1167/766
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 767
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 768
อานิสงส์ในการเรียนวินัย 1168/769
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 771
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 772
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 773
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 774
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 775
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 776
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 777
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 778
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 779
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง 779
การทําความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม 1172/781
การทําความเห็นแย้งที่เป็นธรรม 781
การทําความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรมอีกนัยหนึ่ง 782
การทําความเห็นแย้งที่เป็นธรรม 782
การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ 1173/782
ทําตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม 1176/785
หน้าที่ของโจทก์อีกนัยหนึ่ง 1184/794
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้ทําโอกาส 1186/795
องค์ของภิกษุผู้ควรให้ทําโอกาส 796
องค์แห่งภิกษุผู้มีอุปการะมาก 1188/798
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม 1189/800
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง 801
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง 802
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง 803
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง 804
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้คําซักถาม 1195/809
องค์ของภิกษุผู้ควรให้คําซักถาม 810
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ 1196/810
องค์สําหรับลงโทษภิกษุณี 1203/815
องค์ของภิกษุไม่ควรให้โอวาท 1204/816
องค์ของภิกษุไม่ควรรับให้โอวาท 1205/818
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย 1206/819
องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย 820
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วยอีกนัยหนึ่ง 820
องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย 821
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกา 1208/822
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง 823
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง 824
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง 825
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง 826
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง 827
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้ 1209/828
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง 829
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง 830
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง 831
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง 832
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ 1211/833
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ 834
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง 834
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์ 835
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง 835
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์ 836
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง 836
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์ 837
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง 837
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์ 838
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง 838
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์ 839
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง 839
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์ 840
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง 840
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์ 840
ภิกษุผู้ทําลายสงฆ์มีโทษ 1215/843
ภิกษุผู้ทําลายสงฆ์ไม่มีโทษ 1217/847
องค์ของภิกษุเจ้าอาวาส 1219/851
องค์ของภิกษุผู้แจกภัตร 1221/853
องค์ของภิกษุผู้แต่งต้งเสนาสนะเป็นต้น 854
ธรรมของภิกษุอ่อนกว่ากับภิกษุแก่กว่า 1227/860
อุปาลิปัญจกวัณณนา
ว่าด้วยองค์๕ แห่งภิกษุผู้ถือนิสัย 862
ว่าด้วยกรรมของภิกษุไม่ควรระงับ 863
ว่าด้วยองค์๕ ของภิกษุผู้เข้าสงคราม 863
ว่าด้วยองค์๕ ของภิกษุผู้กล่าวไม่เป็นที่รัก 864
ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ไม่ควรพูดในสงฆ์ 865
ว่าด้วยอาการเป็นเหตุต้องอาบัติ 872
ว่าด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ควรแก่อุพพาหิกา 875
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 754
อุปาลิปัญจกะ
อนิสสิตวรรคที่ ๑
ท่านพระอุบาลีเข้าเฝ้า
[๑,๑๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามปัญหาว่า ดังนี้:-
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล จะไม่ถือนิสัย อยู่ตลอดชีวิตไม่ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์
๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ
๕. มีพรรษาหย่อนห้า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอด ชีวิตไม่ได้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 755
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. รู้อุโบสถ
๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์
๔. รู้ปาติโมกขุทเทศ
๕. มีพรรษาได้ห้าหรือเกินห้า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอด ชีวิต
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ ตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้ปวารณา
๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์
๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ
๕. มีพรรษาหย่อนห้า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอด ชีวิตไม่ได้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 756
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. รู้ปวารณา
๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์
๔. รู้ปาติโมกขุทเทศ
๕. มีพรรษาได้ห้า หรือเกินห้า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอด ชีวิต
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ ตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อนห้า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอด ชีวิตไม่ได้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 757
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาได้ห้า หรือเกินห้า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ตลอด ชีวิต
ภิกษุผู้ที่ไม่ควรอุปสมบทเป็นต้น
[๑,๑๖๒] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึง ให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่อาจพยาบาลเองหรือส่งผู้อื่นให้พยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิ- วิหาริกผู้อาพาธ
๒. ไม่อาจระงับเองหรือให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. ไม่อาจบรรเทาเองหรือให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอัน เกิดขึ้นโดยธรรม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 758
๔. ไม่อาจแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป
๕. ไม่อาจแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่ พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
ภิกษุผู้ควรให้อุปสมบทเป็นต้น
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. อาจพยาบาลเองหรือสั่งผู้อื่นให้พยาบาลอันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริก ผู้อาพาธ
๒. อาจระงับเองหรือให้ผู้อื่นช่วยงับความกระสัน
๓. อาจบรรเทาเองหรือให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอันเกิดขึ้น โดยธรรม
๔. อาจแนะนำในธรรมอันยิงขึ้นไป
๕. อาจแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
ภิกษุผู้ไม่ควรให้อุปสมบทเป็นต้นอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 759
๑. ไม่อาจฝึกปรืออันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาเป็นส่วน อภิสมาจาร
๒. ไม่อาจแนะนำอันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาเป็นส่วน เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
๓. ไม่อาจแนะนำในศีลอันยิ่งขึ้นไป
๔. ไม่อาจแนะนำในจิตอันยิ่งขึ้นไป
๕. ไม่อาจแนะนำในปัญญาอันยิ่งขึ้นไป ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่ พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
ภิกษุผู้ควรให้อุปสมบทเป็นต้น
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. อาจฝึกปรืออันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาเป็นส่วนอภิ- สมาจาร
๒. อาจแนะนำอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์
๓. อาจแนะนำในศีลอันยิ่งขึ้นไป
๔. อาจแนะนำในจิตอันยิ่งขึ้นไป
๕. อาจแนะนำในปัญญาอันยิ่งขึ้นไป
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 760
องค์ ๕ ของภิกษุผู้ถูกลงโทษ
[๑,๑๖๓] อุ. พระพุทธเจ้าข้า สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์เท่าไรหนอแล
พ. ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. เป็นอลัชชี
๒. เป็นพาล
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ
๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล
๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ
๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 761
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความคะนองกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความคะนองวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความคะนองกายและวาจา
๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นผู้ประพฤติอนาจารทางกาย
๒. เป็นผู้ประพฤติอนาจารทางวาจา
๓. เป็นผู้ประพฤติอนาจารทางกาย และทางวาจา
๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความลบล้างทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความลบล้างทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความลบล้างทางกายและทางวาจา
๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 762
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกายและวาจา
๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ แต่ยังให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ยินดีการสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ยังสอนภิกษุณี
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ถูกสงฆ์ลงโทษเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวกว่านั้น
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 763
๔. ติเตียนกรรม
๕. ติเตียนภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. พูดติพระพุทธเจ้า
๒. พูดติพระธรรม
๓. พูดติพระสงฆ์
๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล. อนิสสิตวรรค ที่ ๑ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๑๖๔] อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑ อาบัติ ๑ อาพาธ ๑ อภิสมาจาร ๑ อลัชชี ๖ อธิศีล ๑ คะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้าง ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ อาบัติ ๑ เพราะอาบัติใด ๑ ติพระพุทธเจ้า ๑ รวมเป็นวรรค ที่ ๑ แล.
นัปปฏิปัสสัมภนวรรค ที่ ๒
องค์ของภิกษุที่ไม่ควรระงับกรรม
[๑,๑๖๕] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 764
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ยังให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ยินดีการสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ยังสอนภิกษุณี
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับ กรรม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ถูกสงฆ์ลงโทษเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับ กรรม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:- ๑. พูดติพระพุทธเจ้า
๒. พูดติพระธรรม
๓. พูดติพระสงฆ์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 765
๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงระงับ กรรม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นอลัชชี
๒. เป็นพาล
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ
๔. ทำการย่ำยีในข้อวัตร
๕. ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับกรรม.
คุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม
[๑,๑๖๖] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เข้าสงความ เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์
พ. ดูก่อนอุบาลี อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ ธรรม ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์
๑. พึงมีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์
๒. พึงเป็นผู้รู้จักอาสนะ รู้จักการนั่ง
๓. ไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงนั่ง อาสนะอันควร
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 766
๔. ไม่พึงพูดเรื่องต่างๆ ไม่พึงพูดดิรัจฉานกถา
๕. พึงกล่าวธรรมด้วยตนเอง หรือเชิญผู้อื่นกล่าว ไม่พึงดูหมิ่น อริยดุษณีภาพ
ดูก่อนอุบาลี ถ้าสงฆ์ทำกรรมที่ควรพร้อมเพรียงกันทำ ถ้าในกรรมนั้น ภิกษุไม่ชอบใจ จะพึงทำความเห็นแย้งก็ได้ แล้วควบคุมสามัคคีไว้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะเธอคิดว่า เราอย่ามีความเป็นต่างๆ จากสงฆ์เลย
ดูก่อนอุบาลี อัน ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์เถิด.
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์
[๑,๑๖๗] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชน หมู่มาก และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่ เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็นที่ ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นผู้มีความคิดมืดมน
๒. พูดซัดผู้อื่น
๓. ไม่ฉลาดให้ถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน
๔. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 767
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม ไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็น ที่ชอบใจของชนหมู่มาก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของชน หมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่เป็นผู้มีความคิดมืดมน
๒. ไม่พูดซัดผู้อื่น
๓. ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน
๔. โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจ ของชนหมู่มาก
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก และไม่ เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นผู้อวดอ้าง
๒. เป็นผู้รุกราน
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 768
๓. ยึดถืออธรรม
๔. ค้านธรรม
๕. กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มาก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม ไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็น ที่ชอบใจของชนหมู่มาก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของ ชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่เป็นผู้อวดอ้าง
๒. ไม่เป็นผู้รุกราน
๓. ยึดถือธรรม
๔. ค้านอธรรม
๕. ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มาก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจ ของชนหมู่มาก
องค์ของภิกษุพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่ เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 769
๑. พูดข่มขู่
๒. พูดไม่ให้โอกาสผู้อื่น
๓. ไม่โจททามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร
๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร
๕. ไม่ชี้แจงคามความเห็น
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม ไม่เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก ไม่เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และไม่เป็น ที่ชอบใจของชนหมู่มาก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมเป็นที่ ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจของ ชนหมู่มาก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่พูดข่มขู่
๒. พูดให้โอกาสผู้อื่น
๓. โจทตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร
๔. ปรับตามอาบัติในธรรมและในวินัยอันสมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อม เป็นที่ปรารถนาของชนหมู่มาก เป็นที่พอใจของชนหมู่มาก และเป็นที่ชอบใจ ของชนหมู่มาก.
อานิสงส์ในการเรียนวินัย
[๑,๑๖๘] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์เท่าไร หนอแล
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 770
พ. ดูก่อนอุบาลี ในการเรียนวินัยมีอานิสงส์ ๕ นี้ อานิสงส์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. กองศีลเป็นอันตนคุ้มครองรักษาไว้ด้วยดี
๒. เป็นที่พึ่งพิงของผู้ถูกความสงสัยครอบงำ
๓. เป็นผู้แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
๔. ข่มขี่ข้าศึกได้ด้วยดีโดยสหธรรม
๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ดูก่อนอุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ นี้แล.
นัปปฏิปัสสัมภนวรรค ที่ ๒ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๑๖๙] ต้องอาบัติ ๑ เพราะอาบัติใด ๑ พูดติเตียน ๑ อลัชชี ๑ สงคราม ๑ มีความคิดมืดมน ๑ อวดอ้าง ๑ ข่มขู่ ๑ เรียนวินัย ๑.
โวหารวรรคที่ ๓
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์
[๑,๑๗๐] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงพูดในสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 771
๑. ไม่รู้อาบัติ
๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ
๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. รู้อาบัติ
๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. รู้ประโยคอาบัติ
๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้อธิกรณ์
๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 772
๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์
๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. รู้อธิกรณ์
๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคอธิกรณ์
๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. พูดข่มขู่
๒. พูดไม่ให้โอกาสผู้อื่น
๓. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 773
๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. ไม่พูดข่มขู่
๒. พูดให้โอกาสผู้อื่น
๓. โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
๔. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 774
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้กรรม
๒. ไม่รู้การทำกรรม
๓. ไม่รู้วัตถุของกรรม
๔. ไม่รู้วัตรของกรรม
๕. ไม่รู้ความระงับกรรม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้างคือ:-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 775
๑. รู้กรรม
๒. รู้การทำกรรม
๓. รู้วัตถุของกรรม
๔. รู้วัตรของกรรม
๕. รู้ความระงับกรรม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้างคือ:-
๑. ไม่รู้วัตถุ
๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้บัญญัติ
๔. ไม่รู้บทที่ตกในภายหลัง
๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้างคือ:-
๑. รู้วัตถุ
๒. รู้นิทาน
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 776
๓. รู้บัญญัติ
๔. รู้บทที่ตกในภายหลัง
๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. เป็นอลัชชี
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 777
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. เป็นลัชชี
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. ไม่ฉลาดในวินัย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 778
๕. ฉลาดในวินัย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้ญัตติ
๒. ไม่รู้การทำญัตติ
๓. ไม่รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ
๔. ไม่รู้สมถะแห่งญัตติ
๕. ไม่รู้ความระงับแห่งญัตติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. รู้ญัตติ
๒. รู้การทำญัตติ
๓. รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ
๔. รู้สมถะแห่งญัตติ
๕. รู้ความระงับแห่งญัตติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 779
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้สุตตะ
๒. ไม่รู้สุตตานุโลม
๓. ไม่รู้วินัย
๔. ไม่รู้วินยานุโลม
๕. ไม่ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. รู้สุตตะ
๒. รู้สุตตานุโลม
๓. รู้วินัย
๔. รู้วินยานุโลม
๕. ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 780
๑. ไม่รู้ธรรม
๒. ไม่รู้ธรรมานุโลม
๓. ไม่รู้วินัย
๔. ไม่รู้วินยานุโลม
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำปลาย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์
ภิกษุควรพูดในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. รู้ธรรม
๒. รู้ธรรมานุโลม
๓. รู้วินัย
๔. รู้วินยานุโลม
๕. ฉลาดในคำต้นและคำปลาย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์. โวหารวรรค ที่ ๓ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๑๗๑] อาบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑ ข่มขู่ ๑ รู้อาบัติ ๑ กรรม ๑ วัตถุ ๑ อลัชชี ๑ ไม่ฉลาด ๑ ญัตติ ๑ ไม่รู้สุตตะ ๑ ไม่รู้ธรรม ๑ รวม เป็นวรรคที่ ๓ แล.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 781
ทิฏฐาวิกรรมวรรคที่ ๔
การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม
[๑,๑๗๒] อุ. การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-
๑. ทำความเห็นแย้งในอนาบัติ
๒. ทำความเห็นแย้งในอาบัติที่ไม่เป็นเทสนาคามินี
๓. ทำความเห็นแย้งในอาบัติที่แสดงแล้ว
๔. ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔ - ๕ รูป
๕. ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ
ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล
การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม
ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ:-
๑. ทำความเห็นแย้งในอาบัติ
๒. ทำความเห็นแย้งในอาบัติเป็นเทสนาคามินี
๓. ทำความเห็นแย้งในอาบัติอันยังมิได้แสดง
๔. ไม่ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔ - ๕ รูป
๕. ไม่ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ
ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 782
การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรมอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม แม้อื่นอีก ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-
๑. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุนานาสังวาสก์
๒. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน
๓. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุมิใช่ปกตัตตะ
๔. ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔- ๕ รูป
๕. ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ
ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล
การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม
ดูก่อนอุบาลี การทำควานเห็นแย้งที่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ:-
๑. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุสมานสังวาสก์
๒. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน
๓. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ
๔. ไม่ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔- ๕ รูป
๕. ไม่ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ
ดูก่อนอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.
การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้
[๑,๑๗๓] อุ. การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มีเท่าไรหนอแล พระ พุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 783
พ. ดูก่อนอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้นี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ:-
๑. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่อง ด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ ไม่รู้ประเคนด้วยกาย หรือด้วยของ เนื่องด้วยกาย
ดูก่อนอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มี ๕ อย่าง นี้แล
การรับประเคนที่ใช้ได้
ดูก่อนอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ :-
๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่อง ด้วยกาย
ดูก่อนอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้ ๕ อย่าง นี้แล.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 784
ของที่ไม่เป็นเดน
[๑,๑๗๔] อุ. ของที่ไม่เป็นเดน มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-
๑. ภิกษุไม่ทำให้เป็นกัปปิยะ
๒. ไม่รับประเคน
๓. ไม่ยกส่งให้
๔. ทำนอกหัตถบาส
๕. มิได้กล่าวว่า ทั้งหมดนั่นพอละ
ดูก่อนอุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนมี ๕ อย่าง นี้แล
ของที่เป็นเดน
ดูก่อนอุบาลี ของที่เป็นเดนนี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-
๑. ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะ
๒. รับประเคน
๓. ยกส่งให้
๔. ทำในหัตถบาส
๔. กล่าวว่า ทั้งหมดนั่นพอละ
ดูก่อนอุบาลี ของที่เป็นเดน ๕ อย่าง นี้แล.
การห้ามภัตร
[๑,๑๗๕] อุ. การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการเท่าไร พระพุทธ เจ้าข้า
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 785
พ. ดูก่อนอุบาลี กากห้ามภัตร ย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-
๑. การฉันยังปรากฏอยู่
๒. โภชนะปรากฏอยู่
๓. ผู้ให้อยู่ในหัตถบาส
๔. เขาน้อมของเข้ามา
๕. การห้ามปรากฏ
ดูก่อนอุบาลี การห้ามภัตร ย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ นี้แล.
ทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม
[๑,๑๗๖] อุ. การทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี การทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-
๑. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็น ทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม
๒. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ จัดเป็นทำตาม ปฏิญญาไม่เป็นธรรม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 786
๓. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิ- เทสนียะ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ จัดเป็น ทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม
๔. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ เธอถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอ ด้วยอาบัติปาราชิก จัดเป็นทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม
๕. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติทุกกฏ เธอถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วย อาบัติปาฏิเทสนียะ จัดเป็นทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม
ดูก่อนอุบาลี การทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.
ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม
ดูก่อนอุบาลี การทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ:-
๑. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก จัดเป็นทำตาม ปฏิญญาที่เป็นธรรม
๒. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เธอถูกโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ปฏิญญาว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็น ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 787
๓. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ จัดเป็นทำตาม ปฏิญญาที่เป็นธรรม
๔. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิ- เทสนียะ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ จัดเป็นทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม
๕. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติทุกกฏ เธอถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ ปฏิญญา ว่าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ จัดเป็นทำตามปฏิญญาที่ เป็นธรรม
ดูก่อนอุบาลี การทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรมมี ๕ อย่างนี้แล.
ไม่ควรทำโอกาส
[๑,๑๗๗] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ ควรทำโอกาส องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นอลัชชี
๒. เป็นพาล
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ
๔. เป็นผู้พูดประสงค์ให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์
๕. ไม่เป็นผู้พูดประสงค์ให้ออกจากอาบัติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 788
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ ไม่ควรทำโอกาส
ควรทำโอกาส
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำ โอกาส องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นลัชชี
๒. เป็นบัณฑิต
๓. เป็นปกตัตตะ
๔. เป็นผู้พูดประสงค์ให้ออกจากอาบัติ
๕. ไม่เป็นผู้พูดประสงค์ให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ ควรทำโอกาส.
ไม่ควรสนทนาวินัย
[๑,๑๗๘] อุ. ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสนทนาวินัยกับภิกษุประกอบด้วย องค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัย กับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้วัตถุ
๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้บัญญัติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 789
๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง
๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัย กับภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ นี้แล
ควรสนทนาวินัย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนาวินัย กับภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. รู้วัตถุ
๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ
๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิเข้ากันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนาวินัย กับภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ นี้แล.
ถามปัญหา
[๑,๑๗๙] ่ อุ. การถามปัญหามีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี การถามปัญหานี้ มี ๕ อย่าง ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ภิกษุถามปัญหา เพราะความรู้น้อย เพราะงมงาย
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถาม ปัญหา
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 790
๓. ถามปัญหาเพราะความดูหมิ่น
๔. เป็นผู้ไม่ประสงค์จะรู้ จึงถามปัญหา
๕. ถามปัญหาด้วยมนสิการว่า ถ้าเราถามปัญหาขึ้น ภิกษุจะพยากรณ์ โดยชอบเทียว การพยากรณ์ดังนี้นั้นเป็นความดี ถ้าเราถามปัญหาแล้ว เธอจัก ไม่พยากรณ์โดยชอบเทียว เราจักพยากรณ์แก่เธอโดยชอบเทียว
ดูก่อนอุบาลี การถามปัญหา ๕ นี้แล.
การอวดอ้างมรรคผล
อุ. การอวดอ้างมรรคผล มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี การอวดอ้างมรรคผลนี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไร บ้างคือ:-
๑. ภิกษุอวดอ้างมรรคผล เพราะความรู้น้อย เพราะความงมงาย
๒. ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอวด อ้างมรรคผล
๓. อวดอ้างมรรคผล เพราะวิกลจริต เพราะจิตฟุ้งซ่าน
๔. อวดอ้างมรรคผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
๕. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง
ดูก่อนอุบาลี การอวดอ้างมรรคผล ๕ อย่าง นี้แล.
วิสุทธิ ๕
[๑,๑๘๐] อุ. วิสุทธิมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี วิสุทธินี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 791
สวดนิทานแล้ว นอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๑ สวด นิทาน สวดปาราชิก ๔ แล้ว นอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๒ สวดนิทาน สวดปาราชิก สวดสังฆาทิเสส ๑๓ แล้ว นอกจากนั้นสวดด้วย สุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๓ สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ แล้วนอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๔ สวดโดย พิสดารทีเดียว จัดเป็นวิสุทธิที่ ๕
ดูก่อนอุบาลี วิสุทธิ ๕ อย่าง นี้แล.
โภชนะ ๕
[๑,๑๘๑] อุ. โภชนะมีเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี โภชนะนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-
๑. ข้าวสุก
๒. นมสด
๓. ขนมแห้ง
๔. ปลา
๕. เนื้อ
ดูก่อนอุบาลี โภชนะ ๕ อย่าง นี้แล.
ทิฏฐาวิกรรมวรรค ที่ ๔ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๑๘๒] ทำความเห็นแย้ง ๑ ทำความเห็นแย้งอีกนัยหนึ่ง ๑ รับ ประเคน ๑ ของเป็นเดน ๑ ห้ามภัตร ๑ ปฏิญญา ๑ ขอโอกาส ๑ สนทนา ๑ ถามปัญหา ๑ อวดอ้างมรรคผล ๑ วิสุทธิ ๑ โภชนะ ๑.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 792
อัตตาทานวรรค ที่ ๕
หน้าที่ของโจทก์
[๑,๑๘๓] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม เท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม ๕ อย่างไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ:-
๑. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดอย่างนี้ ว่า เราเป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราเป็นผู้ประกอบด้วย ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวนหรือ ธรรมนั้นของ เรามีอยู่หรือไม่มี
ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่ ใช่เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวน จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านศึกษาความประพฤติทางกายก่อน จะมีคนว่า กล่าวต่อเธอดังนี้
๒. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราเป็นผู้ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวนหรือ ธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี
ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่ ใช่เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวน จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านศึกษาความประพฤติทางวาจาก่อน จะ มีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 793
๓. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด อย่างนี้ว่า เมตตาจิตไม่มีอาฆาต เราเข้าไปตั้งไว้แล้วในหมู่เพื่อนสพรหมจารี หรือธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี
ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ได้เข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่มีอาฆาตในหมู่เพื่อน สพรหมจารี จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิตในหมู่เพื่อน สพรหมจารีก่อน จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้
๔. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรมเหล่านั้น ใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เราได้ฟังมาก ทรงจำไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรม นั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี
ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เธอหาได้ฟังมาก ทรงจำไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี แล้วด้วยปัญญาไม่ จะมีผู้กล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเรียนคัมภีร์ก่อน จะมีคนว่า กล่าวต่อเธอดังนี้
๕. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด อย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะคล่องแคล่วดี วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ หรือธรรมนั้นของเรามีอยู่ หรือไม่มี
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 794
ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสอง โดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่วดี วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ ไม่ได้ มีผู้ถามว่า ท่าน สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ที่ไหน เธอถูกถาม ดังนี้ ย่อมตอบไม่ถูกต้อง จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยก่อน จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุโจทก์ประสงค์โจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม ๕ อย่างนี้ ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่นเถิด.
หน้าที่ของโจทก์อีกนัยหนึ่ง
[๑,๑๘๔] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไร ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:-
๑. เราจักพูดโดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร
๒. เราจักพูดด้วยคำจริง จักไม่พูดด้วยคำเท็จ
๓. เราจักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ
๔. เราจักพูดด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ อย่าง นี้ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่นเถิด.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 795
โจทก์ควรใฝ่ใจถึงธรรม
[๑,๑๘๕] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม เท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบายี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ:-
๑. ความการุญ
๒. ความหวังประโยชน์
๓. ความเอ็นดู
๔. ความออกจากอาบัติ
๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้ทำโอกาส
[๑,๑๘๖] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ ไม่ควรทำโอกาส องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 796
๔. เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด
๕. ถูกชักเข้า ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซัก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ ไม่ควรทำโอกาส
องค์ของภิกษุผู้ควรให้ทำโอกาส
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำ โอกาส องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
๔. เป็นบัณฑิต ผู้ฉลาด
๕. ถูกซักเข้า อาจให้คำตอบข้อที่ซัก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ ควรทำโอกาส.
รับอธิกรณ์
[๑,๑๘๗] อุ. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์ ประกอบ ด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 797
๑. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราประสงค์จะ รับอธิกรณ์นี้ เป็นกาลสมควรหรือไม่ที่จะรับอธิกรณ์นี้ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่าง นี้ว่า เป็นกาลไม่สมควรที่จะรับอธิกรณ์นี้ หาใช่เป็นกาลสมควรไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับไว้
๒. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เป็นกาลสมควรที่จะรับอธิกรณ์ นี้หาใช่เป็นการไม่สมควรไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เราประสงค์จะรับ อธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องไม่จริง หาใช่เป็นเรื่องจริงไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับไว้
๓. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง หาใช่ เป็นเรื่องไม่จริงไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เราประสงค์จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์ นี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หาใช่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับไว้
๔. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ ประกอบด้วยประโยชน์ หาใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เมื่อเรา รับอธิกรณ์นี้ไว้ จักได้ภิกษุผู้เคยเห็นเคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จักไม่ได้ภิกษุ ผู้เคยเห็นเคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับไว้
๕. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้จักได้ ภิกษุผู้เคยเห็นเคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อ ไปว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 798
ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ ความกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์หรือไม่ ถ้าภิกษุ พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความ ถือต่างแห่งสงฆ์ ความกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้นภิกษุไม่พึงรับไว้
ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความ บาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ ความกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมี การนั้นเป็นเหตุจักไม่มีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้น ภิกษุพึงรับไว้
ดูก่อนอุบาลี อธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุรับไว้ จักไม่ก่อความเดือดร้อนให้แม้ในภายหลังแล.
องค์แห่งภิกษุผู้มีอุปการะมาก
[๑,๑๘๘] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เป็นผู้มีอุปการะ มากแก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจรอยู่ เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 799
๒. เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง อรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เธอเป็น ผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
๓. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่อง แคล่ววินิจฉัยถูกต้อง โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้ตั้งอยู่ในวินัย ไม่ง่อนแง่น
๕. เป็นผู้สามารถให้คู่ความทั้งสองเบาใจ ให้เข้าใจ ให้เพ่งพินิจ พิจารณา เลื่อมใส
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้มีอุปการะมาก แก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
๔. เป็นบัณฑิต ผู้ฉลาด
๕. ถูกซักเข้า อาจให้คำตอบข้อที่ซัก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล เป็นผู้มีอุปการะ มากแก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 800
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้มีอุปการะมาก แก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. รู้วัตถุ
๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ
๔. รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมาก แก่ภิกษุพวกก่ออธิกรณ์.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม
[๑,๑๘๙] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงซักถาม พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้สุตตะ
๒. ไม่รู้สุตตานุโลม
๓. ไม่รู้วินัย
๔. ไม่รู้วินยานุโลม
๕. ไม่ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 801
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. รู้สุตตะ
๒. รู้สุตตานุโลม
๓. รู้วินัย
๔. รู้วินยานุโลม
๕. ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงซักถาม องค์ ๕ อะไร บ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้ธรรม
๒. ไม่รู้ธรรมานุโลม
๓. ไม่รู้วินัย
๔. ไม่รู้วินยานุโลม
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 802
๑. รู้ธรรม
๒. รู้ธรรมานุโลม
๓. รู้วินัย
๔. รู้วินยานุโลม
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้วัตถุ
๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้บัญญัติ
๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง
๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. รู้วัตถุ
๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 803
๔. รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง
๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงซักถาม องค์ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ไม่รู้อาบัติ
๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ
๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. รู้อาบัติ
๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. รู้ประโยคอาบัติ
๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 804
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถามอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้อธิกรณ์
๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์
๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงซักถาม
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงซักถาม องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. รู้อธิกรณ์
๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคอธิกรณ์
๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงซักถาม.
อัตตาทานวรรค ที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 805
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๑๙๐] บริสุทธิ์ ๑ กาล ๑ ความการุญ ๑ โอกาส ๑ รับอธิกรณ์ ๑ อธิกรณ์ ๑ และอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง ๑ วัตถุ ๑ สุตตะ ๑ ธรรม ๑ วัตถุอีก นัยหนึ่ง ๑ อาบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑.
ธุดงควรรคที่ ๖
ถืออยู่ป่าเป็นต้น
[๑,๑๙๑] อ. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่านี้มี ๕ จำพวก ๕ จำพวก อะไรบ้าง คือ :-
๑. เพราะเป็นผู้เขลา งมงาย จึงถืออยู่ป่า
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ จึงถือ อยู่ป่า
๓. เพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน จึงถืออยู่ป่า
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า สรรเสริญ จึงถืออยู่ป่า
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ เพราะอาศัยความเป็นแห่งการอยู่ป่ามีประโยชน์ ด้วยความปฏิบัติงามนี้ จึงถือ อยู่ป่า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก นี้แล
อุ. ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 806
อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้า มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้ง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถือทรงผ้าสามผืน มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถือเที่ยวตามแถว มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถือการนั่ง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลัง มีเท่าไรหนอ แล พระพุทธเจ้าข้า ...
อุ. ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตร มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรนี้มี ๕ จำพวก ๕ จำพวกอะไรบ้าง คือ :-
๑. เพราะเป็นผู้เขลา งมงาย จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
๒. เพราะผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ จึง ถือฉันเฉพาะในบาตร
๓. เพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 807
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ อาศัยความเป็นแห่งการฉันเฉพาะในบาตร มีประโยชน์ ด้วยความปฏิบัติงามนี้ จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก นี้แล.
ธุดงควรรค ที่ ๖ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๑๙๒] ถืออยู่ป่า ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาต ๑ ถือทรงผ้าบังสุกุล ๑ ถือ อยู่โคนไม้ ๑ ถืออยู่ป่าช้าเป็นที่ครบห้า ๑ ถืออยู่ในที่กลางแจ้ง ๑ ถือทรงผ้าสาม ผืน ๑ ถือเที่ยวตามแถว ๑ ถือการนั่ง ๑ ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ๑ ถือ นั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ๑ ถือห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลัง ๑ ถือ ฉันเฉพาะในบาตร ๑.
มุสาวาทวรรค ที่ ๗
มุสาวาท
[๑,๑๙๓] อุ. มุสาวาท มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี มุสาวาทนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ :-
๑. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติปาราชิก
๒. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 808
๕. มีอยู่ มุสาวาทถึงต้องอาบัติทุกกฏ
ดูก่อนอุบาลี มุสาวาท ๕ อย่าง นี้แล.
งดอุโบสถหรือปวารณา
[๑,๑๙๔] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์ที่กล่าวกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความ แก่งแย่ง อย่าได้ทำความวิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ งดอุโบสถหรือปวารณา ใน ท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความวิวาท กัน ดังนี้แล้ว ทำอุโบสถหรือปวารณา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นอลัชชี
๒. เป็นพาล
๓. มิใช่ปกตัตตะ
๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์
๕. หาใช่เป็นผู้กล่าวประสงค์ให้ออกจากอาบัติไม่
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณา ในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความ บาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความ วิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถ หรือปวารณา
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 809
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ งดอุโบสถหรือ ปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำ ความบาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำ ความวิวาทกัน ดังนี้แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
๔. เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด
๕. เป็นผู้ก่อความบางหมาง ก่อความทะเลาะ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถ หรือปวารณา ในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัดเสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าได้ทำความ บาดหมาง อย่าได้ทำความทะเลาะ อย่าได้ทำความแก่งแย่ง อย่าได้ทำความ วิวาทกัน ดังนี้แล้วทำอุโบสถ หรือปวารณา.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้คำซักถาม
[๑,๑๙๕] อุ. สงฆ์ไม่พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี สงฆ์ไม่พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 810
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และอาบัติที่ทำคืนไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์ไม่พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
องค์ของภิกษุผู้ควรให้คำซักถาม
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และอาบัติที่ทำคืนไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงให้คำซักถาม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕
[๑,๑๙๖] อุ. ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อาการ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 811
๑. ด้วยไม่ละอาย
๒. ด้วยไม่รู้
๓. ด้วยสงสัยแล้วขืนทำ
๔. ด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร
๕. ด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๕ อาการ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. ด้วยไม่ได้เห็น
๒. ด้วยไม่ได้ฟัง
๓. ด้วยหลับ
๔. ด้วยเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น
๕. ด้วยลืมสติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล.
เวร ๕
[๑,๑๙๗] อุ. เวรมีเท่าไร่หนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี เวรนี้มี ๕ เวร ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. ประพฤติผิดในกาม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 812
๔. พูดเท็จ
๕. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมา คือ สุราและ เมรัย
ดูก่อนอุบาลี เวร ๕ นี้แล.
เจตนางดเว้น ๕
[๑,๑๙๘] อุ. เจตนางดเว้น มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี เจตนางดเว้นนี้ มี ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เจตนางดเว้น จากฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. เจตนางดเว้น จากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. เจตนางดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม
๔ เจตนางดเว้น จากพูดเท็จ
๕. เจตนางดเว้น จากเหตุเป็นที่ดังแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำ เมา คือ สุราและเมรัย
ดูก่อนอุบาลี เจตนางดเว้น ๕ นี้แล.
ความเสื่อม ๕
[๑,๑๙๙] อุ. ความเสื่อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ความเสื่อมนี้ มี ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ความเสื่อมจากญาติ
๒. ความเสื่อมจากโภคทรัพย์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 813
๓. ความเสื่อมคือมีโรค
๔. ความเสื่อมจากศีล
๕. ความเสื่อมคือเห็นผิด
ดูก่อนอุบาลี ความเสื่อม ๕ นี้แล.
ความถึงพร้อม ๕
[๑,๒๐๐] อุ. ความถึงพร้อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ความถึงพร้อมนี้ มี ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ความถึงพร้อมด้วยญาติ
๒. ความถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์
๓. ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค
๔. ความถึงพร้อมด้วยศีล
๕. ความถึงพร้อมด้วยเห็นชอบ
ดูก่อนอุบาลี ความถึงพร้อมมี ๕ นี้แล. มุสาวาทวรรค ที่ ๗ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๒๐๑] มุสาวาท ๑ ย่ำยี ๑ ย่ำยีอีกนัยหนึ่ง ๑ ซักถาม ๑ อาบัติ ๑ อาบัติอีกนัยหนึ่ง ๑ เวร ๑ เจตนางดเว้น ๑ ความเสื่อม ๑ ความถึง พร้อม ๑ รวมเป็นวรรคที่ ๗.
หัวข้อประจำวรรค จบ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 814
ภิกขุนีโอวาทวรรคที่ ๘
องค์สำหรับลงโทษ
[๑,๒๐๒] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่าย เดียว พึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เปิดกายอวดภิกษุณีทั้งหลาย
๒. ถลกขาอ่อนอวดภิกษุณีทั้งหลาย
๓. เปิดองค์กำเนิดอวดภิกษุณีทั้งหลาย
๔. เปิดไหล่ทั้งสองอวดภิกษุณีทั้งหลาย
๕. พูดเคาะภิกษุณี ชักจูงพวกคฤหัสถ์ให้สมสู่กับภิกษุณี
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่าย เดียว พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุณีทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อความพินาศแห่งภิกษุณีทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุณีทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุกับภิกษุณีให้แตกกัน
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 815
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุณีทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อความพินาศแห่งภิกษุณีทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุณีทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ชักจูงภิกษุให้สมสู่กับภิกษุณีทั้งหลาย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว พึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น.
องค์สำหรับลงโทษภิกษุณี
[๑,๒๐๓] อุ. ภิกษุณีประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์พึงลงโทษ พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:-
๑. เปิดกายอวดภิกษุทั้งหลาย
๒. ถลกขาอ่อนอวดภิกษุทั้งหลาย
๓. เปิดองค์กำเนิดอวดภิกษุทั้งหลาย
๔. เปิดไหล่ทั้งสองอวดภิกษุทั้งหลาย
๕. พูดเคาะภิกษุ ชักจูงให้สมสู่กับสตรีคฤหัสถ์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 816
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อความพินาศแห่งภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุณีกับภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อความพินาศแห่งภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ชักจูงภิกษุณีให้สมสู่กับภิกษุ
ดูก่อนอุบาลี สงฆ์พึงลงโทษแก่ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
องค์ของภิกษุไม่ควรให้โอวาท
[๑,๒๐๔] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงให้โอวาท แก่ภิกษุณีทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 817
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นอลัชชี
๒. เป็นพาล
๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ
๔. เป็นผู้พูดประสงค์ให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์
๕. หาใช่เป็นผู้พูดประสงค์ให้ออกจากอาบัติไม่
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
๔. เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด
๕. ถูกซักเข้า ไม่สามารถให้คำตอบข้อที่ซักถาม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางกายและวาจา
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 818
๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
๕. คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควรอยู่
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นอลัชชี
๒. เป็นพาล
๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ
๔. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ
๕. เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรรับให้โอวาท
[๑,๒๐๕] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงรับให้ โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงรับให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางวาจา
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 819
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางกายและวาจา
๔. ด่าบริภาษภิกษุณี
๕. เป็นผู้คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร อยู่
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงรับให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ ไม่พึงรับให้โอวาท แก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นอลัชชี
๒. เป็นพาล ๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ
๔. เป็นผู้เตรียมจะไป
๕. อาพาธ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงรับให้โอวาทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย.
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
[๑,๒๐๖] อุ. ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 820
๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้ อื่นอีก ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 821
๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุต
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุต
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๒๐๗] ภิกษุณีฝ่ายเดียวพึงลงโทษ ๑ ภิกษุณีพึงลงโทษอีก ๒ นัย ลงโทษภิกษุณี ๓ อย่าง ๑ ไม่ให้โอวาท ๑ ไม่ให้โอวาทอีก ๒ นัย ๑ ไม่รับ ให้โอวาทตรัสไว้ ๒ อย่าง ๑ ในการสนทนาตรัสไว้ ๒ หมวด ๑.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 822
อุพพาหิกวรรคที่ ๙
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกา
[๑,๒๐๘] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่พึงสมมติ ด้วยอุพพาหิกา พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้ไม่ฉลาดในอรรถ
๒. เป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรม
๓. เป็นผู้ไม่ฉลาดในนิรุตติ
๔. เป็นผู้ไม่ฉลาดในพยัญชนะ
๕. เป็นผู้ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา.
สมมติด้วยอุพพาหิกา
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้ฉลาดในอรรถ
๒. เป็นผู้ฉลาดในธรรม
๓. เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ
๔. เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ
๕. เป็นผู้ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 823
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ถูกความลบหลู่ครอบงำ
๓. เป็นผู้ตีเสมอ ถูกความตีเสมอครอบงำ
๔. เป็นผู้มีปกติริษยา ถูกความริษยาครอบงำ
๕. เป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้ยาก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
สมมติด้วยอุพพหิกา
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ
๒. ไม่เป็นผู้ลบหลู่ ไม่ถูกความลบหลู่ครอบงำ
๓. ไม่เป็นผู้ตีเสมอ ไม่ถูกความตีเสมอครอบงำ
๔. ไม่เป็นผู้มีปกติริษยา ไม่ถูกความริษยาครอบงำ
๕. ไม่เป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้ง่าย
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 824
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. โกรธ
๒. พยาบาท
๓. เบียดเบียน
๔. ยั่วให้โกรธ
๕. ไม่อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
สมมติด้วยอุพพาหิกา
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่โกรธ
๒. ไม่พยาบาท
๓. ไม่เบียดเบียน
๔. ไม่ยั่วให้โกรธ
๕. เป็นผู้อดทน มีปกติรับอนุสาสนีโดยเคารพ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 825
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ:
๑. เป็นผู้ล่อให้หลง ให้ระลึกไม่ได้
๒. เป็นผู้พูดไม่ให้ทำโอกาส
๓. ไม่เป็นผู้โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๔. ไม่เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
สมมติด้วยอุพพหิกา
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. เป็นผู้เตือนให้ระลึก ไม่ใช่ล่อให้หลง
๒. เป็นผู้พูดให้ทำโอกาส
๓. เป็นผู้โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๔. เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 826
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
ไม่สมมติด้วยอุพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. เป็นอลัชชี
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
สมมติด้วยอุพพาหิกา
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. เป็นลัชชี
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 827
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
ไม่สมมติด้วยอุพพพาหิกาอีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ สงฆ์ไม่พึงสมมติ ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. ถึงฉลาดในวินัย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา
สมมติด้วยอุพพหิกา
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. ฉลาดในวินัย
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 828
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงสมมติด้วย อุพพาหิกา.
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้
[๑,๒๐๙] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ถึงความนับว่า เป็นผู้โง่แท้ พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่าเป็นผู้โง่ แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้สุตตะ
๒. ไม่รู้สุตตานุโลม
๓. ไม่รู้วินัย
๔. ไม่รู้วินยานุโลม
๕. ไม่ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ โง่แท้
องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ ฉลาดแท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้สุตตะ
๒. รู้สุตตานุโลม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 829
๓. รู้วินัย
๔. รู้วินยานุโลม
๕. ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ ฉลาดแท้
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ถึงความนับว่าเป็น ผู้โง่แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้ธรรม
๒. ไม่รู้ธรรมานุโลม
๓. ไม่รู้วินัย
๔. ไม่รู้วินยานุโลม
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ โง่แท้
องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่าเป็นผู้ฉลาดแท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. รู้ธรรม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 830
๒. รู้ธรรมานุโลม
๓. รู้วินัย
๔. รู้วินยานุโลม
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ ฉลาดแท้
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ถึงความนับว่าเป็น ผู้โง่แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้วัตถุ
๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้บัญญัติ
๔. ไม่รู้บทอันตกหล่นภายหลัง
๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ โง่แท้
องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่าเป็นผู้ฉลาดแท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 831
๑. รู้วัตถุ
๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ
๔. รู้บทอันตกหล่นภายหลัง
๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ ฉลาดแท้
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ถึงความนับว่าเป็น ผู้โง่แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้อาบัติ
๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ
๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ โง่แท้
องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่าเป็นผู้ฉลาดแท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 832
๑. รู้อาบัติ
๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. รู้ประโยคอาบัติ
๔. รู้การระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ ฉลาดแท้
องค์ของภิกษุผู้โง่แท้อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ถึงความนับว่าเป็นผู้ โง่แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้อธิกรณ์
๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์
๔. ไม่ผู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ โง่แท้
องค์ของภิกษุผู้ฉลาดแท้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ถึงความนับว่า เป็นผู้ฉลาด แท้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 833
๑. รู้อธิกรณ์
๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคอธิกรณ์
๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ถึงความนับว่าเป็นผู้ ฉลาดแท้.
อุพพาหิกาวรรคที่ ๙ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๒๑๐] ไม่ฉลาดในอรรถ ๑ มักโกรธ ๑ ยั่วให้โกรธ ๑ ล่อให้หลง ๑ ถึงฉันทาคติ ๑ ไม่ฉลาด ๑ ไม่ฉลาดอีก ๑ สุตตะ ๑ ธรรม ๑ วัตถุ ๑ อาบัติ ๑ อธิกรณ์ ฝ่ายละ ๒ๆ ท่านประกาศแล้วทั้งหมด ขอท่านทั้งหลายจงรู้ฝ่าย ดำและฝ่ายขาวเทอญ.
อธิกรณวูปสมวรรคที่ ๑๐
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์
[๑,๒๑๑] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควรระงับ อธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 834
๑. ไม่รู้อาบัติ
๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ
๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. รู้อาบัติ
๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. รู้ประโยคอาบัติ
๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 835
๑. ไม่รู้อธิกรณ์
๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์
๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. รู้อธิกรณ์
๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคอธิกรณ์
๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ถึงฉันทาคติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 836
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. เป็นอลัชชี
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. เป็นลัชชี
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 837
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับ อธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่รู้วัตถุ
๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้บัญญัติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 838
๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง
๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. รู้วัตถุ
๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ
๔. รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง
๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับ อธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 839
๕. ไม่ฉลาดในวินัย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. ฉลาดในวินัย
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับ อธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. เป็นผู้หนักในบุคคล ไม่หนักในสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 840
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. เป็นผู้หนักในสงฆ์ ไม่หนักในบุคคล
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับ อธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. เป็นผู้หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 841
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
สงฆ์แตกกัน
[๑,๒๑๒] อุ. สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ อาการ ๕ อะไรบ้าง คือ กรรม อุเทศ ๑ ชี้แจง ๑ สวดประกาศ ๑ ให้จับสลาก ๑ ดูก่อน อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ นี้แล.
สังฆราชีและสังฆเภท
[๑,๒๑๓] อุ. พระพุทธเจ้าข้า ที่ตรัสว่า ความร้าวรานแห่งสงฆ์นั้น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความแตกแห่ง สงฆ์ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ทั้งความแตก แห่งสงฆ์
พ. ดูก่อนอุบาลี อาคันตุกวัตรนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับภิกษุ พวกอาคันตุกะ เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวก อาคันตุกะไม่ประพฤติในอาคันตุกวัตร
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 842
ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้แล เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึง ความแตกแห่งสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี อาวาสิกวัตรนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับภิกษุพวก เจ้าถิ่นเมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุเจ้าถิ่นไม่ประพฤติในอาวาสิกวัตร
ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้แล เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึง ความแตกแห่งสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี ภัตตัคควัตรในโรงภัตรนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับ ภิกษุทั้งหลาย ตามลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร คือ อาสนะ ที่ดี น้ำที่สะอาด ก้อนข้าวที่ดี เมื่อสิกขาบท อันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่าง นี้แล้ว พวกพระใหม่เกียดกันอาสนะในโรงภัตรสำหรับพระเถระเสีย
ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้ เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความ แตกแห่งสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี เสนาสนวัตรในเสนาสนะนั่น เราบัญญัติไว้แล้ว สำหรับ ภิกษุทั้งหลาย ตามลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร เมื่อสิกขาบท อันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว พวกพระใหม่เกียดกันเสนาสนะของ พระเถระเสีย
ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้ เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ แต่ไม่ถึงความ แตกแห่งสงฆ์
ดูก่อนอุบาลี อุโบสถอย่างเดียวกัน ปวารณาอย่างเดียวกัน สังฆกรรม อย่างเดียวกัน กรรมใหญ่น้อยอย่างเดียวกัน ภายในสีมานั่น เราบัญญัติไว้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 843
แล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุ ทั้งหลายต่างทำความแตกแยกกัน แล้วคุมกันเป็นคณะแยกทำอุโบสถ แยกทำ ปวารณา แยกทำสังฆกรรม แยกทำกรรมใหญ่น้อย ภายในสีมานั่นแหละ
ดูก่อนอุบาลี แม้อย่างนี้ เป็นทั้งความร้าวรานแห่งสงฆ์ ทั้งความ แตกแห่งสงฆ์แล.
อธิกรณวูปสมวรรคที่ ๑๐ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๒๑๔] อาบัติ อธิกรณ์ ลำเอียงเพราะรักใคร่ ได้ยินได้ฟังน้อย วัตถุ ไม่ฉลาด บุคคล อามิส สงฆ์แตกกัน ความร้าวรานแห่งสงฆ์ และ ความแตกแห่งสงฆ์.
สังฆเภทวรรที่ ๑๑
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์มีโทษ
[๑,๒๑๕] อุ. ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ไป อบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ อำพรางความเห็นด้วยกรรม ๑
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 844
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เป็น ผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็น อวินัย ๑ อำพรางความเห็นด้วยอุเทศ ๑
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผุ้ ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ชี้แจงอำพรางความเห็น ๑
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็น อวินัย ๑ อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ ๑
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 845
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็น อวินัย ๑ อำพรางความเห็นด้วยให้จับสลาก ๑
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไป อบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ อำพรางความถูกใจด้วยกรรม ๑ ...
... อำพรางความถูกใจด้วยอุเทศ ...
... ชี้แจงอำพรางความถูกใจ ...
... อำพรางความถูกใจด้วยสวดประกาศ ...
... อำพรางความถูกใจด้วยให้จับสลาก ...
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไป อบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 846
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ อำพรางความพอใจด้วยกรรม ๑ ...
... อำพรางความพอใจด้วยอุเทศ ...
... ชี้แจงอำพรางความพอใจ ...
... อำพรางความพอใจด้วยสวดประกาศ ...
... อำพรางความพอใจด้วยให้จับสลาก ...
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เป็นผู้ไปอบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็น อวินัย ๑ อำพรางสัญญาด้วยกรรม ๑ ...
... อำพรางสัญญาด้วยอุเทศ ...
... ชี้แจงอำพรางสัญญา ...
... อำพรางสัญญาด้วยสวดประกาศ ...
... อำพรางสัญญาด้วยให้จับสลาก ...
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไป อบาย ตกนรก ชั่วกัป เยียวยาไม่ได้.
สังฆเภทวรรค ที่ ๑๑ จบ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 847
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๒๑๖] อำพรางความเห็นด้วยกรรม อุเทศ ชี้แจง สวดประกาศ และให้จับสลาก รวม ๕ นี้ อิงความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และ สัญญา ๓ อย่างนั้น มีนัยตามแนว ๕ อย่างนั้นแล.
ทุติยสังฆเภทวรรค ที่ ๑๒
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่มีโทษ
[๑,๒๑๗] อุ. ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์เท่าไร หนอแล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ไม่ไป อบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่ อำพรางความเห็นด้วยกรรม ๑
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ ไม่ เป็นผู้ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่ อำพรางความเห็นด้วยอุเทศ ๑
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 848
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ชี้แจงไม่อำพรางความเห็น ๑
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยามิได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่ อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ ๑
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่ อำพรางความเห็นด้วยให้จับฉลาก ๑
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 849
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่ อำพรางความถูกใจด้วยกรรม ๑ ...
... ไม่อำพรางความถูกใจด้วยอุเทศ ...
... ชี้แจงไม่อำพรางความถูกใจ ...
... ไม่อำพรางความถูกใจด้วยสวดประกาศ ...
... ไม่อำพรางความถูกใจด้วยให้จับฉลาก ...
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่ อำพรางความชอบใจด้วยกรรม ๑ ...
... ไม่อำพรางความชอบใจด้วยอุเทศ ...
... ชี้แจงไม่อำพรางความชอบใจ ...
... ไม่อำพรางความชอบใจด้วยสวดประกาศ ...
... ไม่อำพรางความชอบใจด้วยให้จับฉลาก ...
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 850
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยามิได้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็น ผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดง ธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่ อำพรางสัญญาด้วยกรรม ๑
... ไม่อำพรางสัญญาด้วยอุเทศ ...
... ชี้แจงไม่อำพรางสัญญา ...
... ไม่อำพรางสัญญาด้วยสวดประกาศ ...
... ไม่อำพรางสัญญาด้วยให้จับฉลาก ...
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้.
ทุติยสังฆเภทวรรค ที่ ๑๒ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๒๑๘] ไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม อุเทศ ชี้แจง สวดประกาศ และให้จับฉลาก รวม ๕ นี้อิงความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และ สัญญา ๓ อย่างนี้ มีนัยตามแนว ๕ อย่างนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงรู้วิธี ๒๐ ถ้วนในฝ่ายขาว เหมือนวิธี ๒๐ ถ้วน ในฝ่ายดำข้างหลัง ฉะนั้นเทอญ.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 851
อาวาสิกวรรค ที่ ๑๓
องค์ของภิกษุเจ้าอาวาส
[๑,๒๑๙] อุ. ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์เท่าไร หนอแล เก็บของสงฆ์ที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. ใช้สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของ สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตาม ที่นำมาเก็บไว้ เหมือนส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. ไม่ใช้สอยของสงฆ์ ดุจของส่วนตัว
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 852
การชี้แจงวินัย
[๑,๒๒๐] อุ. การชี้แจงวินัย ที่ไม่เป็นธรรมมีเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี การชี้แจงวินัยที่ไม่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ชี้แจงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. ชี้แจงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. ชี้แจงอวินัยว่าเป็นวินัย
๔. ชี้แจงวินัยว่าเป็นอวินัย
๕. บัญญัติข้อที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติ ถอนข้อที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติแล้วเสีย
ดูก่อนอุบาลี การชี้แจงวินัยที่ไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล
ดูก่อนอุบาลี การชี้แจงวินัยที่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง อะไร บ้าง
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ชี้แจงอธรรมว่าเป็นอธรรม
๒. ชี้แจงธรรมว่าเป็นธรรม
๓. ชี้แจงอวินัยว่าเป็นอวินัย
๔. ชี้แจงวินัยว่าเป็นวินัย
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 853
๕. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่พระพุทธ เจ้าทรงบัญญัติแล้ว
ดูก่อนอุบาลี การชี้แจงวินัยที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.
องค์ของภิกษุผู้แจกภัตร
[๑,๒๒๑] อุ. ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เก็บ ของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. ไม่รู้ภัตรที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของ สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตาม ที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 854
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. รู้ภัตรที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตร ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของ สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์
องค์ของภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น
อุ. ภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ ประกอบด้วยองค์เท่าไร หนอแล ...
ภิกษุผู้รักษาคลังเก็บพัสดุ ...
ภิกษุผู้รับจีวร ...
ภิกษุผู้แจกจีวร ...
ภิกษุผู้แจกยาคู ...
ภิกษุผู้แจกผลไม้ ...
ภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ...
ภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย ...
ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก ...
ภิกษุผู้ให้รับบาตร ...
ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด ...
ภิกษุผู้ใช้สามเณร ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เก็บของสงฆ์ตาม ที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณร ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของ สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 855
๑. ถึงฉันทาคติ
๒. ถึงโทสาคติ
๓. ถึงโมหาคติ
๔. ถึงภยาคติ
๕. ไม่รู้จักสามเณรที่ใช้แล้ว และยังไม่ได้ใช้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณร ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บ ของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณร ประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ไม่ถึงโทสาคติ
๓. ไม่ถึงโมหาคติ
๔. ไม่ถึงภยาคติ
๕. รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและยัง ไม่ได้ใช้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณร ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บ ของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์.
อาวาสิกวรรค ที่ ๑๓ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๒๒๒] ภิกษุเจ้าอาวาส ๑ ชี้แจงวินัย ๑ ภิกษุผู้แจกภัตร ๑ ภิกษุ ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ ๑ ภิกษุรักษาคลังเก็บพัสดุ ๑ ภิกษุผู้รับจีวร ๑ ภิกษุผู้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 856
แจกจีวร ๑ แจกยาคู ๑ แจกผลไม้ ๑ แจกของเคี้ยว ๑ แจกของเล็กน้อย ๑ ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก ๑ ให้รับบาตร ๑ ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด ๑ ภิกษุผู้ใช้ สามเณร.
หัวข้อประจำวรรค จบ
กฐินัตถารวรรคที่ ๑๔
อานิสงส์กรานกฐิน
[๑,๒๒๓] อุ. การกรานกฐิน มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล พุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี การกรานกฐิน มีอานิสงส์ ๕ นี้ อานิสงส์ ๕ อะไร บ้าง คือ :-
๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา
๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณะโภชน์ได้
๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นจักเป็นของพวกเธอ
ดูก่อนอุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ นี้แล.
โทษของการนอนลืมสติ
[๑,๒๒๔] อุ. บุคคลผู้นอนลืมสติไม่รู้ตัว นอนหลับ มีโทษเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 857
พ. ดูก่อนอุบาลี บุคคลผู้ลืมสติไม่รู้สึกตัว นอนหลับ มีโทษ ๕ นี้ โทษ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. หลับไม่สบาย
๒. ตื่นขึ้นไม่สบาย
๓. ฝันเห็นสิ่งเลวทราม
๔. เทวดาไม่รักษา
๕. น้ำอสุจิเคลื่อน
ดูก่อนอุบาลี บุคคลผู้ลืมสติไม่รู้สึกตัวนอนหลับมีโทษ ๕ นี้แล
อานิสงส์ของการนอนมีสติ
ดูก่อนอุบาลี บุคคลผู้ตั้งสติ รู้สึกตัวอยู่ นอนหลับ มีอานิสงส์ ๕ นี้ อานิสงส์ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. หลับสบาย
๒. ตื่นขึ้นสบาย
๓. ไม่ฝันเห็นสิ่งเลวทราม
๔. เทวดารักษา
๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน
ดูก่อนอุบาลี บุคคลผู้ตั้งสติ รู้สึกตัวอยู่ นอนหลับ มีอานิสงส์ ๕ นี้แล.
บุคคลไม่ควรไหว้
[๑,๒๒๕] อุ. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 858
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้นี้มี ๕ ๕ อะไร บ้าง คือ:-
๑. ภิกษุผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๒. ภิกษุผู้เข้าไปสู่ถนน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๓. ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๔. ภิกษุผู้ไม่เอาใจใส่ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๕. ภิกษุผู้หลับ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้มี ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕ ๕ อะไรบ้าง คือ :- ๑. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้เวลาดื่มยาคู
๒. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ในโรงภัตร
๓. ภิกษุผู้เป็นศัตรู อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๔. ภิกษุผู้กำลังคิดเรื่องอื่น อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๕. ภิกษุกำลังเปลือยกาย อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ภิกษุกำลังเคี้ยว อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๒. ภิกษุกำลังฉัน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๓. ภิกษุกำลังถ่ายอุจจาระ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 859
๔. ภิกษุกำลังถ่ายปัสสาวะ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๕. ภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตร อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ภิกษุผู้อุปสมบททีหลัง อันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้
๒. อนุปสัมบัน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๓. ภิกษุมีสังวาสต่างกัน มีพรรษาแก่กว่า เป็นอธรรมวาที อัน ภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๔. สตรี อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๕. บัณเฑาะก์ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
ดูก่อนอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล
ดูก่อนอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕ ๕ อะไรบ้าง คือ :-
๑. ภิกษุอยู่ปริวาส อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๒. ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๓. ภิกษุผู้ควรมานัต อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๔. ภิกษุประพฤติมานัต อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
๕. ภิกษุผู้ควรอัพภาน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้
ดูก่อนอุบายลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 860
บุคคลควรไหว้
[๑,๒๒๖] อุ. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้นี้ มี ๕ ๕ อะไร บ้าง คือ :-
๑. ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน อันภิกษุผู้อุปสมบททีหลังควรไหว้
๒. ภิกษุผู้มีสังวาสต่างกัน มีพรรษาแก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที อัน ภิกษุทั้งหลายควรไหว้
๓. พระอาจารย์ อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้
๔. พระอุปัชฌาย์ อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้
๕. พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันประชา ทั้งสมณะและ พราหมณ์ ทั้งเทพดามนุษย์ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ควรไหว้
ดูก่อนอุบาลี บุคคลอันภิกษุควรไหว้ ๕ นี้แล
ธรรมของภิกษุอ่อนกว่ากับภิกษุแก่กว่า
[๑,๒๒๗] อุ. พระพุทธเจ้าข้า อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของ ภิกษุผู้แก่กว่า พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วไหว้เท้า
พ. ดูก่อนอุบาลี อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า พึง ตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วไหว้เท้า ธรรม ๕ อะไรบ้าง
ดูก่อนอุบาลี อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า
๑. พึงห่มผ้าเฉวียงบ่า
๒. ประคองอัญชลี
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 861
๓. นวดเท้าด้วยฝ่ามือทั้งสอง
๔. มีความรัก
๕. มีความเคารพ แล้วไหว้เท้า
ดูก่อนอุบาลี อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมือไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า พึงเข้า ไปตั้งธรรม ๕ นี้ไว้ในตน แล้วไหว้เท้า.
กฐินนัตถารวรรค ที่ ๑๔ จบ
หัวข้อประจำวรรค
[๑,๒๒๘] กรานกฐิน ๑ หลับ ๑ ละแวกบ้าน ๑ ดื่มยาคู ๑ เคี้ยว ๑ อุปสมบทก่อน ๑ อยู่ปริวาส ๑ บุคคลควรไหว้ ๑ ภิกษุอ่อนกว่าไหว้ภิกษุ แก่กว่า ๑.
อุปาลิปัญจกะ จบ
หัวข้อบอกวรรคเหล่านั้น
[๑,๒๒๙] อนิสสิตวรรค ๑ กรรมวรรค๑ ๑ โวหารวรรค ๑ ทิฏฐาวิกัมมวรรค ๑ โจทนาวรรค๒ ๑ ธุตังควรรค ๑ มุสาวาทวรรค ๑ ภิกขุนี โอวาทวรรค ๑ อุพพาหิกวรรค ๑ อธิกรณวูปสมวรรค ๑ สังฆเภทวรรค ๑ สังฆเภท ๕ อย่างเหมือนก่อน๓๑ อาวาสิกวรรค ๑ กฐินัตถารวรรค ๑ รวม ๑๔ วรรค ท่านประกาศไว้ดีแล้วแล.
(๑) นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
(๒) อัตตาทานวรรค
(๓) ทุติสังเภทวรรค.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 862
อุปาลิปัญจก วัณณนา
[ว่าด้วยองค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ถือนิสัย]
วินิจฉัยในอุบายลิปัญหา พึงทราบดังนี้:-
คำถามที่ว่า กตีหิ นุ โข ภนฺเต มีสัมพันธ์ ดังนี้:-
ได้ยินว่า พระเถระอยู่ในที่ลับ มานึกถึงหมวด ๕ เหล่านี้ ทั้งหมด จึง เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า บัดนี้เราจักทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้พระองค์ทรงวางแบบแผน เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านี้ มีภิกษุผู้ถือนิสัย อยู่เป็นต้น แล้วทูลถามปัญหา โดยนัยมีคำว่า กตีหิ นุ โข ภนฺเต เป็นอาทิ.
วินิจฉัยในคำวิสัชนาปัญหาเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อุโปสถํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถ ๙ อย่าง.
สองบทว่า อุโปสถกมฺมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถกรรม ๔ อย่าง ต่างโดยกรรมเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.
สองบทว่า ปาฏิโมกฺขํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมาติกา ๒.
สองบทว่า ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปาฏิ- โมกขุทเทส ๙ อย่าง คือ ของภิกษุ ๕ อย่าง ของภิกษุณี ๔ อย่าง.
สองบทว่า ปวารณํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา ๙ อย่าง.
สองบทว่า ปวารณากมฺมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณากรรม ๘ อย่าง ต่างโดยชนิดมีกรรมเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 863
สองบทว่า อาปตฺตานาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้อาบัติ และอนาบัติ ที่ทรงแสดงในสิกขาบทนั้นๆ.
สองบทว่า อาปนฺโน กมฺมกโต มีความว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว, กรรมย่อมเป็นกิจอันสงฆ์ทำแล้ว เพราะการต้องนั้นเป็นปัจจัย.
[ว่าด้วยกรรมของภิกษุไม่ควรระงับ]
สองบทว่า กมฺมํ น ปฏิปฺปสฺสมฺเภตพฺพํ มีความว่า กรรม ของภิกษุนั้น อันสงฆ์ไม่พึงให้ระงับ เพราะเหตุที่เธอประพฤติ โดยคล้อยตาม พรรคพวก. อธิบายว่า เหมือนบุคคลที่ถูกล่ามไว้ด้วยเชือก อันตนจะพึงแก้ เสียฉะนั้น.
[ว่าด้วยองค์ ๕ ของภิกษุผู้เข้าสงคราม]
หลายบทว่า สเจ อุปาลิ สงฺโฆ สมคฺคกรณียานิ กมฺมานิ กโรติ มีความว่า ถ้าว่าสงฆ์กระทำกรรมมีอุโบสถเป็นต้น อันภิกษุทั้งหลาย ผู้พร้อมเพรียงกันพึงกระทำ, อันความอุดหนุน (แก่การทะเลาะ) อันภิกษุ ไรๆ ไม่พึงให้ ในเมื่อกรรมสามัคคีมีอุโบสถและปวารณาเป็นต้น ต้องงดไว้. ก็ถ้าว่า สงฆ์ให้แสดงโทษล่วงเกินแล้วกระทำสังฆสามัคคีก็ดี กระทำการระงับ อธิกรณ์ด้วยตินวัตถารกวินัย แล้วกระทำอุโบสถและปวารณาก็ดี, กรรมเห็น ปานนี้ จัดเป็นกรรมที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงพึงกระทำ.
บทว่า ตตฺเร เจ มีความว่า ถ้าว่าในกรรมเช่นนั้น ไม่ชอบใจแก่ ภิกษุไซร้, พึงกระทำความเห็นแย้งก็ได้ ควบคุมความพร้อมเพรียงเห็นปานนั้น
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 864
ไว้. ความถือผิดอย่างนั้น ไม่ควรถือไว้. ก็ในกรรมใด ภิกษุทั้งหลายแสดง พระศาสนานอกธรรมนอกวินัย ในกรรมนั้นความเห็นแย้ง ใช้ไม่ได้ เพราะ ฉะนั้น สงฆ์พึงห้ามเสียแล้วหลีกไป.
[ว่าด้วยองค์ ๕ ของภิกษุผู้กล่าวไม่เป็นที่รัก]
บทว่า อุสฺสิตมนฺตี จ มีความว่า ผู้มีความรู้มากมักกล่าววาจา ซึ่ง หนาแน่นด้วยโลภะ โทสะ และมานะ มีวาจาโสมม ไม่แสดงประโยชน์.
บทว่า นิสฺสิตชปฺปิ มีความว่า ไม่สามารถจะกล่าวถ้อยคำให้สม แก่ความมีความรู้มากโดยธรรมดาของตน. โดยที่แท้ย่อมอ้างผู้อื่นกล่าวอย่างนี้ ว่า พระราชาได้ตรัสกับเราอย่างนี้, มหาอำมาตย์โน้น กล่าวอย่างนี้, อาจารย์ หรืออุปัชฌาย์ของเราชื่อโน้น กล่าวอย่างนี้, พระเถระผู้ทรงไตรปิฎก พูดกับ เราอย่างนี้.
บทว่า น จ ภาสานุสนฺธิกุสโล มีความว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดใน ถ้อยคำที่เป็นเงื่อนของเรื่องราว และในถ้อยคำที่เป็นเงื่อนของคำวินิจฉัย.
สองบทว่า น ยถาธมฺเม ยถาวินเย มีความว่า ไม่เป็นผู้โจท เตือนให้ระลึกถึงอาบัติด้วยวัตถุที่เป็นจริง.
สองบทว่า อสฺสาเทตา โหติ ความว่า ย่อมยกบางคนขึ้นอ้าง โดยนัยเป็นต้นว่า อาจารย์ของข้าพเจ้า เป็นผู้ทรงไตรปิฎกอย่างใหญ่ เป็น ธรรมกถึกอย่างเยี่ยม.
วินิจฉัยในทุติยบท พึงทราบดังนี้ :- ย่อมรุกรานบางคน โดยนัยเป็นต้นว่า เขาจะรู้อะไร.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 865
สองบทว่า อธมฺมํ คณฺหาติ ได้แก่ ยึดถือธรรมที่เป็นฝ่ายไม่นำ ออกจากทุกข์.
สองบทว่า ธมฺมํ ปฏิพาหติ ได้แก่ ค้านธรรมที่เป็นฝ่ายนำออก จากทุกข์ ...
หลายบทว่า สมฺผญฺจ พหุํ ภาสติ ได้แก่ กล่าวค้อยคำที่ไร้ ประโยชน์มากมาย.
หลายบทว่า ปสยฺห ปวตฺตา โหติ มีความว่า เป็นผู้อันพระ สังฆเถระมิได้เชิญ เมื่อภาระอันท่านมิได้มอบให้ อาศัยความทะนงตัวอย่าง เดียว บังอาจกล่าวในกาลมิใช่โอกาส.
สองบทว่า อโนกาสกมฺมํ การาเปตฺวา มีความว่า เป็นผู้ไม่ให้ ภิกษุอื่นให้โอกาสเสียก่อนก็กล่าว.
หลายบทว่า น ยถาทิฏฺิยา พฺยากตา โหติ มีความว่าเป็นผู้ ไม่พยากรณ์ยืนยันความเห็นของตน กลับเป็นผู้งดความเห็น (ส่วนตัว) เสีย มีความเห็นว่าเป็นธรรมเป็นต้น ในอธรรมเป็นอาทิ กล่าวไม่ตรงตามจริง.
[ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ไม่ควรพูดในสงฆ์]
หลายบทว่า อาปตฺติยา ปโยคํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า อาบัตินี้เป็นกายประโยค, อาบัตินี้เป็นวจีประโยค.
หลายบทว่า อาปตฺติยา วูปสมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า อาบัตินี้ระงับด้วยการแสดง, อาบัตินี้ระงับด้วยการออก, อาบัตินี้ไม่ระงับด้วย การแสดง ไม่ระงับด้วยการออก.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 866
หลายบทว่า น อาปตฺติยา วินิจฺฉยกุสโล โหติ ได้แก่ ไม่รู้ ว่า อาบัตินี้ มีในวัตถุนี้ คือ ไม่อาจเพื่อยกอาบัติขึ้นยืนยันตามสมควรแก่โทษ.
สองบทว่า อธิกรณสมุฏฺานํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า อธิกรณ์นี้ อาศัยเภทกรวัตถุ ๑๘ ตั้งขึ้น, อธิกรณ์นี้ อาศัยวิบัติ ๔ ตั้งขึ้น, อธิกรณ์นี้ อาศัยกองอาบัติ ๕ หรือ ๗ ตั้งขึ้น, อธิกรณ์นี้ อาศัยสังฆกิจ ๔ อย่างตั้งขึ้น.
สองบทว่า ปโยคํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า อธิกรณ์นี้ มี ประโยคเป็นต้นเค้า ๑๒ อธิกรณ์นี้ มีประโยคเป็นต้นเค้า ๑๔, อธิกรณ์นี้ มี ประโยคเป็นต้นเค้า ๖, อธิกรณ์นี้ ประโยคเป็นต้นเค้า ๑. อธิบายว่า จริงอยู่ ต้นเค้าตามที่เป็นของตนนั่นเองแห่งอธิกรณ์ทั้งหลาย จัดเป็นประโยค, ไม่รู้จัก ประโยคแม้ทั้งปวงนั้น.
สองบทว่า วูปสมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า อธิกรณ์นี้ ระงับ ด้วยสมถะ ๒, อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๔, อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๓ อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๑.
หลายบทว่า น อธิกรณสฺส วินิจฺฉยกุสโล โหติ ได้แก่ ไม่ รู้เพื่อวินิจฉัยอธิกรณ์ให้ถึงความระงับ.
สองบทว่า กมฺมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักกรรม ๗ อย่าง มี ตัชชนียกรรมเป็นต้น.
หลายบทว่า กมฺมสฺส กรณํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า กรรม นี้ ควรทำโดยอุบายนี้.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 867
หลายบทว่า กมฺมสฺส วตฺถุํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า นี้เป็น วัตถุแห่งตัชชนียกรรม, นี้เป็นวัตถุแห่งนิยสกรรมเป็นต้น.
หลายบทว่า กมฺมสฺส วตฺตํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักวัตร ๑๘ ประการแห่งกรรม ๘ ในหนหลัง ในกรรม ๗ ชนิด และวัตร ๔๓ ประการ แห่งอุกเขปนียกรรม ๓ อย่าง.
หลายบทว่า กมฺมสฺส วูปสมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า ภิกษุ ใดประพฤติวัตรแล้วขอ กรรมของภิกษุนั้น อันสงฆ์ควรให้ระงับ, โทษอัน สงฆ์พึงให้แสดง.
สองบทว่า วตฺถุํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักวัตถุแห่งกองอาบัติ ๗.
สองบทว่า นิทานํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติในนครนี้, สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติในนครนี้.
สองบทว่า ปญฺตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักบัญญัติทั้ง ๓ อย่าง ด้วยอำนาจบัญญัติ อนุบัญญัติ และอนุปปันนบัญญัติ.
สองบทว่า ปทปจฺฉาภฏฺํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักบทที่ควร จัดไว้ข้างหน้า, คือเมื่อตนควรจะกล่าวว่า พุทฺโธ ภควา กลับประกอบให้ สับหน้าลับหลังกันเสียว่า ภควา พุทฺโธ.
หลายบทว่า อกุสโล จ โหติ วินเย ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดใน บาลีและอรรถกถาแห่งวินัย.
หลายบทว่า ตฺตึ น ชานาติ มีความว่า ก็โดยย่อ ญัตติมี ๒ อย่าง คือ ญัตติที่แสดงอย่างนี้ว่า เอสา ตฺติ ๑ ญัตติที่ไม่แสดง ๑. ใน ญัตติ ๒ อย่างนั้น ญัตติใด ไม่แสดงอย่างนั้น, ญัตตินั้น จัดเป็นกรรมญัตติ.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 868
ญัตติใดแสดง, ญัตตินั้น จัดเป็นกรรมปาทญัตติ, ไม่รู้จักญัตตินั้น โดย ประการทั้งปวง.
หลายบทว่า ตฺติยา กรณํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักการ กระทำกรรมญัตติ ใน ๙ สถาน. ไม่รู้จักการกระทำกรรมปาทญัตติ ใน ๒ สถาน.
สองบทว่า ตฺติยา อนุสาวนํ ได้แก่ ไม่รู้ว่า ญัตตินี้ มี อนุสาวนา ๑ ญัตตินี้ มีอนุสาวนา ๓.
หลายบทว่า ตฺติยา สมถํ น ชานาติ มีความว่า สมถะ ๔ อย่างนี้ใด คือ สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ไม่เว้น จากญัตติ, ไม่รู้จักสมถะนั้นว่า ระงับด้วยญัตติ
หลายบทว่า ตฺติยา วูปสมํ น ชานาติ มีความว่า อธิกรณ์ ใด ระงับด้วยญัตติสมถะ ๔ อย่างนี้ ไม่รู้จักความระงับนั้นแห่งอธิกรณ์นั้นว่า ความระงับนี้ ทำด้วยญัตติ.
สองบทว่า สุตฺตํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุภโตวิภังค์.
สองบทว่า สุตฺตานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส ๔.
สองบทว่า วินยํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักขันธกะและบริวาร.
สองบทว่า วินยานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส นั่นเอง.
สองบทว่า น จ านาานกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในเหตุ และมิใช่เหตุ.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 869
สองบทว่า ธมฺมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปิฎก ๒ ที่เหลือ นอกจากวินัยปิฎก.
สองบทว่า ธมฺมานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส ๔ ฝ่ายสุตตันตะ.
สองบทว่า วนยํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักขันธกะและบริวาร นั่นเอง.
สองบทว่า วินยานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส ๔.
ก็อุภโตวิภังค์ เป็นอันท่านไม่สงเคราะห์ ในข้อว่า ไม่รู้จักวินัย นี้. เพราะเหตุนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีว่า บทว่า วินยํ ได้แก่ ไม่รู้จัก วินัยปิฎกทั้งสิ้น คำนั้นควรถือเอา.
สองบทว่า น จ ปุพฺพาปรกุสโล โหติ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาด ในคำต้นและคำหลัง.
คำที่เหลือในบททั้งปวง นับว่าตื้นทั้งนั้น เพราะเป็นคำที่ควรทราบ โดยปฏิปักขนัยต่อคำที่กล่าวแล้ว และเพราะเป็นคำที่ได้เปิดเผยแล้วในหนหลัง ฉะนี้แล.
จบพรรณนาอนิสสิตวัคค์ นปฏิปปัสสัมภนวัคค์ และโวหารวัคค์.
[ว่าด้วยทำความเห็นแย้ง]
วินิจฉัยในทิฏฐาวิกัมมวัคค์ พึงทราบดังนี้:-
การทำความเห็นให้แจ้ง ชื่อว่าทำความเห็นแย้ง.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 870
คำว่า ทิฏฺาวิกมฺม นี้ เป็นชื่อของวินัยกรรม กล่าวคือการแสดง อาบัติ ซึ่งประกาศลัทธิ.
บทว่า อนาปตฺติยา ทิฏฺึ อาวิกโรติ มีความว่า แสดงอนาบัติ แท้ๆ ว่าเป็นอาบัติ.
บทว่า อเทสนาคามินิยา ได้แก่ ทำความเห็นแย้งในครุกาบัติ อธิบายว่า แสดงอาบัติสังฆาทิเสสและปาราชิก.
บทว่า เทสิตาย ได้แก่ ทำความเห็นแย้งแม้ในลหุกาบัติที่แสดงแล้ว. อธิบายว่า แสดงอาบัติที่แสดงแล้วซ้ำอีก.
สองบทว่า จตูหิ ปญฺจหิ ได้แก่ ทำความเห็นแย้ง อย่างที่ภิกษุ ๔ - ๕ รูปทำความเห็นแย้งกัน. อธิบายว่า ๔ - ๕ คนแสดงอาบัติพร้อมกัน.
บทว่า มโนมานเสน มีความว่า ทำความเห็นแจ้งด้วยนึกไว้ในใจ กล่าวคือคิดไว้ ได้แก่ แสดงอาบัติด้วยจิตเท่านั้น หาได้ลั่นวาจาไม่.
บทว่า นานาสํวาสกสฺส มีความว่า ทำความเห็นแจ้ง คือ แสดง อาบัติ ในสำนักภิกษุผู้มีสังวาสก์ต่างกันโดยลัทธิ หรือภิกษุผู้มีสังวาสก์ต่างกัน โดยกรรม.
บทว่า นานาสีมาย มีความว่า ทำความเห็นแจ้ง ในสำนักภิกษุ แม้ผู้เป็นสมานสังวาสก์ แต่ตั้งอยู่ในต่างสีมา. จริงอยู่ การที่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน มาฬกสีมา แสดงอาบัติแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสีมันตริกก็ดี การที่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน สีมันตริก แสดงอาบัติแก่ภิกษุแม้ผู้ตั้งอยู่ในอวิปปวาสสีมาก็ดี ไม่ควร.
บทว่า อปกตตฺตสฺส มีความว่า แสดงในสำนักแห่งภิกษุผู้อันสงฆ์ ยกวัตร หรือภิกษุผู้ถูกสงฆ์งดอุโบสถและปวารณาเสีย.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 871
[ว่าด้วยโอกาสกรรม]
หลายบทว่า นาลํ โอกาสกมฺมํ กาตุํ มีความว่า ไม่ควรเพื่อ กระทำ. อธิบายว่า อันภิกษุไม่พึงกระทำ. ภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร และภิกษุผู้ถูกสงฆ์งดอุโบสถและปวารณา ชื่อ ว่าภิกษุมิใช่ผู้ปกตัตต์ แม้ในโอกาสกรรมนี้.
บทว่า จาวนาธิปฺปาโย ได้แก่ ผู้ใคร่จะให้เคลื่อนจากศาสนา.
[ว่าด้วยถามปัญหา]
สองบทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา มีความว่า เพราะความเป็นผู้ โง่ เพราะความเป็นผู้งมงาย จึงไม่สามารถทั้งเพื่อจะแก้ ทั้งเพื่อจะรู้ จะ ประกาศความที่ตนเป็นผู้งมงายอย่างเดียวเท่านั้น จึงถามคล้ายคนบ้า.
บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ถามด้วยความปรารถนาลามกว่า ชนจักสรรเสริญเรา ด้วยอุบายอย่างนี้.
บทว่า ปริภวา ได้แก่ เป็นผู้ใคร่จะยกความดูหมิ่นจึงถาม. แม้ใน อัญญพยากรณ์ ก็มีนัยเหมือนกัน.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
ทิฏฐาวิกัมมวัคควัณณา จบ
คำใดที่จะพึงกล่าว ในอัตตาทานวัคค์และธุตังควัคค์, คำนั้นทั้งหมด ได้กล่าวแล้วในหนหลังแล.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 872
[ว่าด้วยมุสาวาท]
วินิจฉัยในมุสาวาทวัคค์ พึงทราบดังนี้:-
มุสาวาทที่จัดเป็นปาราชิกคามี เพราะอรรถว่า ถึงปาราชิก, อธิบายว่า ถึงความเป็นอาบัติปาราชิก. แม้ในมุสาวาทนอกนี้ ก็มีนัยเหมือนกัน.
ในมุสาวาท ๕ อย่างนั้น มุสาวาทที่เป็นไปโดยอวดอุตริมนุสธรรม ที่ไม่มี (ในตน) เป็นปาราชิกคามี, มุสาวาทที่เป็นไปโดยตามกำจัด ด้วย ปาราชิกไม่มีมูล เป็นสังฆาทิเสสคามี, มุสาวาทที่ภิกษุกล่าว (อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี) โดยปริยายแก่บุคคลผู้เข้าใจความ เป็นต้นว่า ภิกษุใดอยู่ใน วิหารของท่าน เป็นถุลลัจจัยคามี, มุสาวาทที่ภิกษุกล่าวโดยปริยายแก่บุคคลผู้ ไม่เข้าใจความ เป็นทุกกฏคามี, มุสาวาทที่มาว่า เป็นปาจิตตีย์ เพราะกล่าว เท็จทั้งรู้ พึงทราบว่า เป็นปาจิตติยคามี.
[ว่าด้วยอาการเป็นเหตุต้องอาบัติ]
บทว่า อทสฺสเนน ได้แก่ ไม่เห็นพระวินัยธร. จริงอยู่ ภิกษุเมื่อ เกิดความรังเกียจในของที่ควรและไม่ควรขึ้น ได้พบพระวินัยธรแล้ว สอบถาม ถึงความที่เป็นของควรและไม่ควรแล้ว จะพึงละของที่ไม่ควรเสีย ทำแต่ที่ควร แต่เมื่อไม่พบพระวินัยธรนั้นกระทำ แม้ซึ่งสิ่งที่ไม่ควร ด้วยสำคัญว่าควร ก็ ย่อมต้องอาบัติ. อาบัติที่จะพึงต้องด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุไม่ต้อง เพราะพบ พระวินัยธร, ต้องเพราะไม่พบเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสว่า เพราะไม่เห็น.
บทว่า อสฺสวเนน มีความว่า อันภิกษุผู้อยู่แม้ในวิหารเดียวกันไป สู่ที่บำรุงของพระวินัยธร ไม่ถามถึงสิ่งที่ควรและไม่ควร หรือไม่ฟังสิ่งที่ควร
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 873
และไม่ควร ซึ่งท่านกล่าวแก่ภิกษุเหล่าอื่น ย่อมต้องอาบัติแท้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะไม่ฟัง.
บทว่า ปสุตฺตตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้หลับเสีย. จริงอยู่ ภิกษุ ย่อมต้องอาบัติเพราะนอนร่วมเรือน เพราะความเป็นผู้หลับก็ได้.
อนึ่ง ภิกษุเมื่อต้องอาบัติ เพราะความเป็นผู้มีความสำคัญว่า ควรใน ของที่ไม่ควร ชื่อว่ามีความสำคัญนั้น ต้องอาบัติ.
เพราะลืมสติ ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่จะพึงต้องด้วยอำนาจแห่งเหตุมีก้าว ล่วงราตรี ๑ เป็นต้น.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
มุสาวาทวัคค วัณณนา จบ
[ว่าด้วยองค์เป็นเหตุลงโทษ]
วินิจฉัยในภิกขุนีวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อลาภาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การไม่ได้ปัจจัย ๔, อธิบายว่า ภิกษุย่อมขวนขวาย คือพยายาม โดยประการที่ภิกษุณีทั้งหลายไม่ ได้ปัจจัย.
บทว่า อตฺถาย ได้แก่ ขวนขวาย บอกข่าวที่ให้โทษอันก่อให้เกิด ความเสียหาย.
บทว่า อนาวาสาย ได้แก่ เพื่อต้องการจะไม่ให้อยู่, อธิบายว่า เพื่อต้องการกำจัดออกเสียจากคามเขตเป็นที่อยู่.
บทว่า สมฺปโยเชติ ได้แก่ ชักสื่อเพื่อประโยชน์แก่การเสพอสัทธรรม.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 874
พระอุบาลีเถระหมายเอากรรม ๗ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงทูลถามว่า ภิกษุสงฆ์พึงทำกรรมแก่ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรพระเจ้าข้า?
บทว่า น สากจฺฉาตพฺโพ มีความว่า ไม่ควรกล่าวเรื่องราวต่าง โดยเรื่องควรไม่ควร กำหนดนาม รูป สมถะ และวิปัสสนาเป็นอาทิ. ก็ เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ขีณาสพหาแกล้งกล่าวให้ผิดไม่ ท่านเป็นเจ้าของเรื่องราวเห็น ปานนั้นกล่าว ภิกษุนอกนั้นหาได้เป็นเจ้าของไม่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงห้ามในปัญจกะที่ ๑ ว่า นาเสกฺเขน แล้วตรัสในปัญจกะที่ ๒ ว่า อเสกฺเขน เป็นอาทิ.
บทว่า น อตฺถปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า เป็นผู้บรรลุ ปฏิสัมภิทา คือเป็นผู้บรรลุญาณอันถึงความแตกฉาน ในอรรถกถาหามิได้.
บทว่า น ธมฺมปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า เป็นผู้บรรลุญาณ อันแตกฉาน ในธรรมคือบาลี หามิได้.
บทว่า น นิรุตฺติปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า เป็นผู้บรรลุญาณ อันแตกฉาน ในภาษาคือโวหารที่จะพึงกล่าว หามิได้.
บทว่า น ปฏิภาณปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า มิได้เป็นผู้ บรรลุความแตกฉาน ในญาณทั้งหลาย มีอัตถปฏิสัมภิทาญาณเป็นต้น ที่นับว่า ปฏิภาณ (คือไหวพริบ).
สองบทว่า ยถาวิมุตฺตํ น ปจฺจเวกฺขติ มีความว่า เป็นผู้มิได้ใช้ สติเครื่องพิจารณา ๑๙ ประเภท พิจารณาจิตตามที่พ้นแล้วด้วยอำนาจผลวิมุตติ ๔ อย่าง.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
ภิกขุนีวัคค วัณณนา จบ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 875
[ว่าด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ควรแก่อุพพาหิกา]
วินิจฉัยในอุพพาหิกวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า น อตฺถกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอรรถกถา คือ เป็นผู้ไม่เฉียบแหลมในการถอดใจความ.
บทว่า น ธมฺมกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในบาลี คือเป็นผู้ ไม่อาจหาญในบาลี เพราะไม่เรียนจากปากอาจารย์.
บทว่า น นิรุตฺติกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการกล่าวด้วย ภาษาอื่น.
บทว่า น พฺยญฺชนกุสโล มีความว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดในการใช้ พยัญชนะให้กลมกล่อม เนื่องด้วยสิถิลและธนิตเป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้ไม่ เชี่ยวชาญในกระบวนอักษร.
บทว่า น ปุพฺพาปรกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในเบื้องต้น และ เบื้องปลายแห่งอรรถ ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งธรรม ในเบื้องต้นและ เบื้องปลายแห่งนิรุตติ ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งพยัญชนะ และในคำต้น และคำหลัง.
บททั้งหลายมีบทว่า โกธโน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะมีเหตุที่ภิกษุผู้อันความโกรธเป็นต้นครอบงำแล้ว ย่อมไม่รู้จักเหตุและ มิใช่เหตุ ไม่สามารถจะตัดสินได้.
หลายบทว่า อปสาเรตา โหติ น สาเรตา มีความว่า เป็นผู้ ให้งมงาย คือไม่เตือนให้เกิดสติขึ้น, อธิบายว่า เคลือบคลุม คือปกปิดถ้อยคำ ของโจทก์และจำเลยเสีย ไม่เตือนให้ระลึก.
คำที่เหลือในอุพพาหิกวัคค์นี้ ตื้นทั้งนั้นแล. อุพพาหิกวัคควัณณนา จบ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 876
[ว่าด้วยผู้หนัก]
วินิจฉัยในอธิกรณวูปสมวัคค์ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ปุคฺคลครุ โหติ มีความว่า ภิกษุผู้คิดถึงเหตุว่า ผู้นี้ เป็นอุปัชฌาย์ของเรา, ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา ดังนี้เป็นต้น หวังความชำนะ แก่บุคคลนั้น จึงแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม.
สองบทว่า สงฺฆครุ โหติ มีความว่า เนื้อวินิจฉัยไม่ละธรรมและ วินัยเสีย ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าหนักในสงฆ์.
เมื่อถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นวินิจฉัย ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าหนักในอามิส.
เมื่อไม่ถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นเหล่านั้น วินิจฉัยตามธรรม ย่อมเป็น ผู้ชื่อว่าหนักในสัทธรรม.
[ว่าด้วยสังฆเภท]
หลายบทว่า ปญฺจหิ อุปาลิ อากาเรหิ มีความว่า สงฆ์ย่อมแตก เพราะเหตุ ๕.
วินิจฉัยในคำว่า กมฺเมน อุทฺเทเสน โวหรนฺโต อนุสาวเนน สลากคาเหน นี้ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า กมฺเมน ได้แก่ กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรรม ๔ อย่าง มีอปโลกนกรรมเป็นต้น.
บทว่า อุทฺเทเสน ได้แก่ อุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในปาฏิโมกขุทเทส ๕.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 877
บทว่า โวหรนฺโต ได้แก่ ชี้แจง คือกล่าว อธิบายว่า แสดงเรื่อง ก่อความแตกกัน ๑๘ อย่าง มีแสดงอธรรมว่าธรรมเป็นอาทิ เพราะอุปัตติเหตุ เหล่านั้นๆ.
บทว่า อนุสาวเนน ได้แก่ การลั่นวาจาประกาศใกล้หู โดยนัย เป็นต้นว่า พวกท่านรู้ไหม? ว่าเราออกบวชจากสกุลสูง และว่าเราเป็นพหูสูต, ควรแก่พวกท่านละหรือ ที่ยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า บุคคลอย่างเรานะ จะพึง ให้ถือเอาสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย สำหรับเราอเวจีจะเย็นคล้ายสระนีลุบล เทียวหรือ? เราจะไม่กลัวอบายหรือ?
บทว่า สลากคาเหน ได้แก่ การที่ประกาศอย่างนั้น พยุงจิตของ ภิกษุเหล่านั้น กระทำให้เป็นผู้ไม่หวนกลับเป็นปกติแล้ว ให้จับสลากว่า พวก ท่านจงจับสลากนี้.
ก็ในอาการ ๕ อย่างนี้ กรรมเท่านั้น หรืออุทเทส เป็นสำคัญ. ส่วน การแถลงการประกาศและการให้จับสลาก เป็นส่วนเบื้องต้น. จริงอยู่ เมื่อ แถลงด้วยอำนาจแสดง เรื่อง ๑๘ ประการ ประกาศเพื่อปลุกให้เกิดความพอใจ ในคำแถลงนั้น ให้จับสลากแล้วก็ดี สงฆ์ก็หาเป็นอันเธอได้ทำลายไม่, แต่เมื่อใด เธอให้ภิกษุ ๔ รูปหรือเกินกว่าจับสลากอย่างนั้นแล้ว ทำกรรม หรืออุทเทส แผนกหนึ่ง, เมื่อนั้นสงฆ์เป็นอันเธอได้ทำลายแล้วแท้.
ด้วยประการอย่างนี้ เป็นอันข้าพเจ้าได้ประกาศเนื้อความที่ตนเองได้ กล่าวไว้ ในสังฆเภทขันธกวัณณนา อย่างนี้ว่า ครั้นเมื่อภิกษุทั้งหลายแสดง วัตถุอันใดอันหนึ่งแม้วัตถุเดียว ในวัตถุ ๑๘ แล้ว ให้ภิกษุทั้งหลายหมายรู้ด้วย เหตุนั้นๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้, ดังนี้ ให้จับสลาก
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 878
แล้วทำสังฆกรรมแผนกหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นอันแตกกัน, ส่วนในคัมภีร์บริวาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี สงฆ์ย่อมแตกกันด้วยอาการ ๕ เป็นอาทิ, คำนั้นกับลักษณะแห่งสังฆเภทนี้ ที่ตรัสในสังฆเภทขันธกะนี้ โดยใจความ ไม่มี ความแตกต่างกัน, และข้าพเจ้าจักประกาศข้อที่ไม่แตกต่างกันแห่งคำนั้นๆ ใน คัมภีร์บริวารนั้นแล.
[ว่าด้วยสังฆราชี]
บทว่า ปญฺตฺเตตํ มีความว่า วัตรนั่น เราบัญญัติแล้ว, บัญญัติ ไว้ที่ไหน? ในวัตตขันธกะ. จริงอยู่ วัตร ๑๔ หมวด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว ในวัตตขันธกะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อุบาลี อาคันตุกวัตรนั่น อันเราบัญญัติแล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้อาคันตุกะ เป็นอาทิ.
หลายบทว่า เอวํปิ โข อุปาลิ สงฺฆราชิ โหติ โน จ สงฺฆเภโท มีความว่า จริงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมมีแต่เพียงความ ร้าวรานแห่งสงฆ์เท่านั้น, ความแตกแห่งสงฆ์ยังไม่มีก่อน; ก็แต่ว่าความ ร้าวรานแห่งสงฆ์นี้ เมื่อขยายตัวออกโดยลำดับ ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกแห่ง สงฆ์ได้.
บทว่า ยถารตฺตํ ความว่า สมควรแก่ปริมาณแห่งราตรี คือ ตาม ลำดับพระเถระ.
สองบทว่า อาเวณิภาวํ กริตฺวา ได้แก่ ทำความกำหนดไว้แผนกหนึ่ง.
สองบทว่า กมฺมากมฺมานิ กโรนฺติ มีความว่า ย่อมกระทำกรรม ทั้งหลายทั้งเล็กทั้งใหญ่ จนชั้นสังฆกรรมอื่นๆ อีก.
คำที่เหลือ ในอธิกรณวูปสมวัคค์แม้นี้ ตื้นทั้งนั้น.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 879
[ว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์]
วินิจฉัยในสังฆเภทวัคค์ทั้ง ๒ พึงทราบดังนี้ :-
หลายบทว่า วินิธาย ทิฏฺึ กมฺเมน มีความว่า ภิกษุเป็นผู้มี ความเห็นในอธรรมเป็นต้นเหล่านั้นอย่างนี้เทียวว่า เหล่านี้ เป็นอธรรมเป็นต้น ยืนยันความเห็นนั้น แสดงอธรรมเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจธรรมเป็นต้น แล้วแยกกระทำกรรม.
ภิกษุทำกรรมที่ยืนยันความเห็นอันใด, พร้อมกับกรรมที่ยืนยันความ เห็น ที่เธอกระทำแล้วอย่างนั้นๆ ย่อมมีองค์ ๕ ด้วยประการอย่างนี้.
พระบาลีที่ว่า อิเมหิ โข อุปาลิ ปญฺจหงฺเคหิ นี้ เป็นคำ ประกอบเนื้อความ ในปัญจ ะ ๑. ปัญจกะทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.
อนึ่ง องค์ ๓ มีการแถลงเป็นต้น แม้ในสังฆเภทวัคคนี้ ตรัสแล้ว ด้วยอำนาจองค์เป็นบุพภาคเหมือนกัน. แต่ความเป็นผู้เยียวยาไม่ได้ พึงทราบ ด้วยอำนาจกรรมและอุทเทสนั่นแล.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
คำน้อยหนึ่ง ซึ่งมีนัยอันข้าพเจ้ามิได้กล่าวแล้วในหนหลัง มิได้มีเลย ในสังฆเภทวัคค์นี้.
วินิจฉัยในอาวาสิกวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต มีความว่า (บริขารของสงฆ์) อันตน นำมาตั้งไว้ ฉันใด.
บทว่า วินยพฺยากรณา ได้แก่ แก้ปัญหาวินัย.
บทว่า ปริณาเมติ ได้แก่ ย่อมกำหนด คือ ย่อมแสดง ย่อมกล่าว.
คำที่เหลือในวัคค์นี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 880
[ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรไหว้]
วินิจฉัยในกฐินัตถารวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า โอตมสิโก ได้แก่ ผู้อยู่ในที่มืด, จริงอยู่ เมื่อภิกษุไหว้ บุคคลผู้อยู่ในที่มืดนั้น หน้าผากจะพึงกระทบที่เท้าเตียงเป็นต้นเข้าก็ได้.
บทว่า อสมนฺนาหรนโต ได้แก่ ผู้ไม่เอาใจใส่การไหว้ เพราะเป็น ผู้ขวนขวายในกิจการ.
บทว่า สุตฺโต ได้แก่ ผู้หยั่งลงสู่ความหลับ.
บทว่า เอกาวตฺโต มีความว่า บุคคลผู้เวียนมาข้างเดียว คือ ตั้งอยู่ ในฝ่ายข้าศึก ได้แก่ บุคคลไม่ถูกส่วนกัน เป็นไพรีกัน บุคคลนี้ ท่านกล่าว ว่าไม่ควรไหว้. เพราะว่า บุคคลนี้ อันภิกษุไหว้อยู่ จะพึงประหารเอาด้วยเท้า ก็ได้.
บทว่า อญฺาวิหิโต ได้แก่ ผู้กำลังคิดเรื่องอื่น.
บทว่า ขาทนฺโต ได้แก่ ผู้กำลังฉันขนมและของเคี้ยวเป็นต้น อยู่. บุคคลผู้กำลังถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ชื่อว่าอันภิกษุไม่ควรไหว้ เพราะเป็นผู้อยู่ในโอกาสไม่สมควร.
บทว่า อุกฺขิตฺตโก มีความว่า บุคคลผู้อันสงฆ์ยกวัตร ด้วยอุกเขปนียกรรม แม้ทั้ง ๓ อย่าง ไม่ควรไหว้.
แต่บุคคล ๔ จำพวก อันสงฆ์ลงโทษด้วยตัชชนียกรรมเป็นต้น ควร ไหว้. แม้อุโบสถปวารณา ย่อมได้กับบุคคลเหล่านั้น.
ก็ในบรรดาบุคคลที่ไม่ควรไหว้ ที่กล่าวแล้วตั้งแต่ต้น เป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ไหว้อยู่ ซึ่งบุคคลผู้เปลือยกาย และบุคคลผู้อันสงฆ์ยกวัตรเท่านั้น,
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 881
ส่วนการไหว้บุคคลนอกจากนั้น อันท่านห้าม ก็เพราะผลคือไม่สมควร และ เพราะเหตุที่กล่าวแล้วในระหว่าง.
ต่อนี้ไป บุคคลแม้ทั้ง ๑๐ จำพวก มีผู้อุปสมบทภายหลังเป็นต้น จัดเป็นไม่ควรไหว้ เพราะเป็นวัตถุแห่งอาบัติโดยตรง. จริงอยู่ ย่อมเป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ไหว้อยู่ซึ่งบุคคลเหล่านั้น โดยวินัยกำหนดทีเดียว.
ในปัญจกะ ๕ เหล่านี้ เป็นอนาบัติแก่ภิกษุผู้ไหว้ ซึ่งชน ๑๓ จำพวก เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไหว้ชน ๑๒ จำพวก ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า อาจริโย วนฺทิโย มีความว่า อาจารย์ทั้ง ๕ จำพวกนี้ คือ ปัพพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ โอวาทาจารย์ อันภิกษุควรไหว้.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
กฐินัตถาวรวัคควัณณนา จบ
และอุปาลิปัญจกวัณณนา จบ