พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ทุติยคาถาสังคณิกะ และ อปรทุติยคาถาสังคณกวัณณนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42871
อ่าน  645

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๘

ปริวาร

ทุติยคาถาสังคณิกะ 891

อาบัติทางกายเป็นต้น 1242/891

วิธีแสดงอาบัติ 898

ยาวตติยกาบัติเป็นต้น 900

กรรมสมบัติ 1277/906

ภิกษุผู้ทําลายสงฆ์ไปสู่อบาย 1281/908

ภิกษุทําลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย 1282/909

กรรม ๑๖ อย่าง 1285/910

ปาราชิก ๘ 1289/912

อปรทุติยคาถาสังคณกวัณณนา 917

อาบัติทางกายเป็นต้น 917

อาบัติเพราะอรุณขึ้นเป็นต้น 917

มูลแห่งวินัยเป็นต้น 917

อาบัติในละแวกบ้านเป็นต้น 918

อาบัติทางวาจาในราตรีเป็นต้น 919

อาบัติเป็นเทสนาคามินีเป็นต้น 919

ปาราชิกทางกายเป็นต้น 920

อาบัติเพราะทําร้ายตัวเองเป็นต้น 921

อาบัติเพราะปาณาติบาตเป็นต้น 921

บุคคลไม่ควรให้อุปสมบทเป็นต้น 922

อาบัติเพราะอทินนาทานเป็นต้น 924

ปรับอาบัติควบกันเป็นต้น 925

อาบัติเพราะเดินเป็นต้น 925

อาบัติมากต้องในเขตเดียวกัน 926

วิธีแสดงอาบัติ 926

ยาวตติยกาบัติเป็นต้น 927

ฐานะ ๕ แห่งยาวตติยกาบัติเป็นต้น 928

อาบัติทางกายในราตรีเป็นต้น 930

ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตรเป็นต้น 930

มุสาวาทมีองค์๘ เป็นต้น 932

กรรมเนื่องด้วยญัตติเป็นต้น 933

ว่าด้วยกรรมโทษเป็นอาทิ 934

ว่าด้วยอาบัติระงับและไม่ระงับ 935

ผู้ทําลายสงฆ์ไปสู่อบาย 936


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 891

ทุติยคาถาสังคณิกะ

อาบัติทางกายเป็นต้น

[๑,๒๔๒] ถามว่า อาบัติทางกายจัด ไว้เท่าไร ทางวาจาจัดไว้เท่าไร เมื่อปกปิด ต้องอาบัติเท่าไร อาบัติมีการเคล้าคลึงเป็น ปัจจัยมีเท่าไร

ตอบว่า อาบัติทางกายจัดไว้ ๖ ทาง วาจาจัดไว้ ๖ เมื่อปกปิดต้องอาบัติ ๓ อาบัติ มีการเคล้าคลึงเป็นปัจจัยมี ๕.

ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้นเป็นต้น

[๑,๒๔๓] ถามว่า อาบัติเพราะอรุณ ขึ้นมีเท่าไร อาบัติชื่อยาวตติยกา มีเท่าไร อาบัติชื่ออัตถวัตถุกาในศาสนานี้ มีเท่าไร สงเคราะห์สิกขาบทและปาติโมกขุทเทศทั้ง มวลด้วยอุเทศเท่าไร

ตอบว่า อาบัติเพราะอรุณขึ้น มี ๓ อาบัติชื่อยาวตติยกามี ๓ อาบัติชื่ออัตถวัตถุ- กา ในศาสนานี้มี ๑ สงเคราะห์สิกขาบท และปาติโมกขุทเทศทั้งมวล ด้วยนิทานุเทศ อย่างเดียว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 892

มูลแห่งวินัยเป็นต้น

[๑,๒๔๔] ถามว่า มูลแห่งวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีเท่าไร อาบัติหนักใน ฝ่ายวินัยตรัสไว้เท่าไร อาบัติเพราะปิดอาบัติ ชั่วหยาบมีเท่าไร

ตอบว่า มูลแต่งวินัยที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้มี ๒ อาบัติหนักในฝ่ายวินัย ตรัสไว้ ๒ อาบัติเพราะปิดอาบัติชั่วหยาบ มี ๒.

ต้องอาบัติในละแวกบ้านเป็นต้น

[๑,๒๔๕] ถามว่า อาบัติในละแวก บ้านมีเท่าไร อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมีเท่าไร เป็นอาบัติถุลลัจจัย เพราะเนื้อกี่ชนิด เป็น อาบัติทุกกฏเพราะเนื้อกี่ชนิด

ตอบว่า อาบัติในละแวกบ้านมี ๔ อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมี ๔ เป็นอาบัติ ถุลลัจจัย เพราะเนื้อชนิดเดียว เป็นอาบัติ ทุกกฏเพราะเนื้อ ๙ ชนิด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 893

ต้องอาบัติทางวาจาในราตรีเป็นต้น

[๑,๒๔๖] ถามว่า อาบัติทางวาจาใน กลางคืนมีเท่าไร อาบัติทางวาจาในกลางวัน มีเท่าไร เมื่อไห้ ต้องอาบัติเท่าไร เมื่อรับ ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า อาบัติทางวาจาในกลางคืน มี ๒ อาบัติทางวาจาในกลางวันมี ๒ เมื่อให้ ต้องอาบัติ ๓ เพราะรับ ต้องอาบัติ ๔.

ต้องอาบัติเป็นเทสนาคามินีเป็นต้น

[๑,๒๔๗] ถามว่า อาบัติเป็นเทสนาคามินี มีเท่าไร อาบัติที่ทำคืนได้ จัดไว้ เท่าไร อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ในศาสนานี้ พระพุทธเจ้าเป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ ตรัสไว้เท่าไร

ตอบว่า อาบัติเป็นเทสนาคามินีมี ๕ อาบัติที่ทำคืนได้จัดไว้ ๖ อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ ในศาสนานี้ พระพุทธเจ้าเป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้อย่างเดียว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 894

ต้องอาบัติหนักในฝ่ายวินัยเป็นต้น

[๑,๒๔๘] ถามว่า อาบัติหนักใน ฝ่ายวินัยเป็นไปทางกายและวาจา ตรัสไว้ เท่าไร ธัญรสในเวลาวิกาลมีเท่าไร สมมติ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจามีเท่าไร

ตอบว่า อาบัติหนักในฝ่ายวินัยเป็น ไปทางกายและวาจาตรัสไว้ ๒ ธัญรสใน เวลาวิกาลมีอย่างเดียว สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจามีอย่างเดียว.

อาบัติปาราชิกทางกายเป็นต้น

[๑,๒๔๙] ถามว่า อาบัติปาราชิกทาง กายมีเท่าไร ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสเท่าไร รัตติเฉทของภิกษุกี่พวก และพระบัญญัติ เรื่องสองนิ้วมีเท่าไร

ตอบว่า อาบัติปาราชิกทางกายมี ๒ ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสมี ๒ รัตติเฉทของภิกษุ ๒ พวก และพระบัญญัติเรื่องสองนิ้วมี ๒.

ต้องอาบัติเพราะทำร้ายตัวเองเป็นต้น

[๑,๒๕๐] ถามว่า เพราะทำร้ายตัว เอง ต้องอาบัติเท่าไร สงฆ์แตกกัน ด้วย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 895

อาการเท่าไร อาบัติชื่อปฐมาปัตติการใน ศาสนานี้ มีเท่าไร ทำญัตติมีเท่าไร

ตอบว่า เพราะทำร้ายตนเอง ต้อง อาบัติ ๒ สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒ อาบัติ ชื่อปฐมาปัตติการในศาสนานี้มี ๒ ทำญัตติมี ๒.

ต้องอาบัติเพราะปาณาติบาตเป็นต้น

[๑,๒๕๑] ถามว่า อาบัติเพราะปาณาติบาต มีเท่าไร อาบัติปาราชิกเนื่องด้วยวาจา มีเท่าไร อาบัติเกี่ยวด้วยพูดเคาะ ตรัสไว้ เท่าไร อาบัติเกี่ยวด้วยเที่ยวชักสื่อ ตรัส ไว้ เท่าไร

ตอบว่า อาบัติเพราะปาณาติบาตมี ๓ อาบัติปาราชิกเนื่องด้วยวาจา มี ๓ อาบัติ เกี่ยวด้วยพูดเคาะ ตรัสไว้ ๓ และเกี่ยวด้วย เที่ยวชักสื่อ ตรัสไว้ ๓.

บุคคลไม่ควรให้อุปสมบทเป็นต้น

[๑,๒๕๒] ถามว่า บุคคลที่ไม่ควรให้ อุปสมบท มีเท่าไร กรรมสงเคราะห์มีเท่าไร บุคคลที่ถูกนาสนะตรัสไว้เท่าไร อนุสาวนา เดียวกันสำหรับบุคคล มีจำนวนเท่าไร

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 896

ตอบว่า บุคคลที่ไม่ควรให้อุปสมบท มี ๓ พวก กรรมสงเคราะห์มี ๓ อย่าง บุคคล ที่ถูกนาสนะตรัสไว้ ๓ พวก อนุสาวนาเดียว กัน สำหรับบุคคลมีจำนวน ๓ คน.

ต้องอาบัติเพราะอทินนาทานเป็นต้น

[๑,๒๕๓] ถามว่า อาบัติเพราะอทินนาทาน มีเท่าไร อาบัติเพราะเมถุนเป็น ปัจจัยมีเท่าไร เมื่อตัดเป็นอาบัติเท่าไรเพราะ การทิ้งเป็นปัจจัยเป็นอาบัติเท่าไร

ตอบว่า อาบัติเพราะอทินนาทานมี ๓ อาบัติเพราะเมถุนเป็นปัจจัยมี ๔ เมื่อตัด เป็นอาบัติ ๓ ตัว อาบัติเพราะการทิ้งเป็น ปัจจัยมี ๕.

ปรับอาบัติควบกันเป็นต้น

[๑,๒๕๔] ถามว่า ในภิกขุโมวาทกวรรค อาบัติทุกกฏ กับปาจิตตีย์ หมวดที่ ตรัสไว้เป็น ๙ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น เป็นเท่าไร ภิกษุณีเท่าไร เป็นอาบัติแก่ภิกษุเพราะจีวร

ตอบในภิกขุโนวาทกวรรค อาบัติ ทุกกฏกับปาจิตตีย์ ที่ตรัสไว้หมวด ๙ ใน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 897

สิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๔ ภิกษุณี ๒ พวก เป็นอาบัติแก่ภิกษุเพราะจีวร.

ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะเป็นต้น

[๑,๒๕๕] ถามว่า อาบัติปาฏิเทสนียะ สำหรับภิกษุณีที่ตรัสไว้เท่าไร เพราะขอข้าว เปลือกดิบมาฉัน ปรับอาบัติทุกกฏกับ ปาจิตตีย์ หรือ

ตอบว่า อาบัติปาฏิเทสนียะ ที่ตรัส แก่ภิกษุณี ปรับอาบัติไว้ ๙ เพราะขอข้าว เปลือกดิบมาฉัน ปรับอาบัติทุกกฏกับ ปาจิตตีย์.

ต้องอาบัติเพราะเดินเป็นต้น

[๑,๒๕๖] ถามว่า ผู้เดินต้องอาบัติ เท่าไร ผู้นั่งต้องอาบัติเท่าไร และผู้นอน ต้องอาบัติเท่าไร

ตอบว่า ผู้เดินต้องอาบัติ ๔ ผู้ยืน ต้องอาบัติเท่ากัน ผู้นั่งต้องอาบัติ ๔ และ ผู้นอนต้องอาบัติเท่ากัน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 898

ต้องอาบัติในเขตเดียวกัน

[๑,๒๕๗] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ ทั้งหมด มีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกันภิกษุพึงต้อง ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๕ ที่ต่างวัตถุกัน ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง.

[๑,๒๕๘] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ ทั้งหมด มีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกันภิกษุพึงต้อง ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๙ ที่ต่างวัตถุกัน ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง.

วิธีแสดงอาบัติ

[๑,๒๕๙] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้ง หมด มีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกันอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดงดด้วยวาจาเท่าไร

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๕ ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่ง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 899

พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดง ด้วยวาจอย่างเดียว.

[๑,๒๖๐] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้ง หมดมีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาเท่าไร

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๙ ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่ง พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดง ด้วยวาจาอย่างเดียว.

[๑,๒๖๑] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมีเท่าไร ที่ต่างวัตถุกันอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดงระบุอะไร

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๕ ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่ง พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดง ระบุวัตถุ.

[๑,๒๖๒] ถามว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้ง หมดมีเท่าไร ที่ต่างวัตถุนี้ อันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดงระบุวัตถุ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 900

ตอบว่า อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดมี ๙ ที่ต่างวัตถุกัน อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่ง พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสแล้ว ภิกษุพึงแสดง ระบุวัตถุ.

ยาวตติยกาบัติเป็นต้น

[๑,๒๖๓] ถามว่า เพราะสวดประกาศ ครบ ๓ จบ เป็นอาบัติเท่าไร เพราะการ กล่าวเป็นปัจจัย เป็นอาบัติเท่าไร ภิกษุเคี้ยว ต้องอาบัติเท่าไร เพราะฉันเป็นปัจจัย เป็น อาบัติเท่าไร

ตอบว่า เพราะสวดประกาศครบ ๓ จบ เป็นอาบัติ ๓ เพราะการกล่าวเป็น ปัจจัย เป็นอาบัติ ๖ ภิกษุเคี้ยวต้องอาบัติ ๓ ตัว เพราะฉันเป็นปัจจัย เป็นอาบัติ ๕.

ฐานะแห่งยาวตติยกาบัติเป็นต้น

[๑,๒๖๔] ถามว่า ยาวตติยกาบัติทั้งมวล ย่อมถึงฐานะเท่าไร อาบัติมีแก่คนกี่ พวก และอธิกรณ์ มีแก่คนก็พวก

ตอบว่า ยาวตติยกาบัติทั้งมวลย่อม ถึงฐานะ ๕ อาบัติมีแก่สหธรรมิก ๕ และ อธิกรณ์ มีแก่สหธรรมิก ๕.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 901

วินิจฉัยเป็นต้น

[๑,๒๖๕] ถามว่า วินิจฉัยมีแก่บุคคล กี่พวก การระงับ มีแก่บุคคลกี่พวก บุคคล กี่พวกไม่ต้องอาบัติ และภิกษุย่อมงามด้วย ฐานะเท่าไร

ตอบว่า วินิจฉัยมีแก่สหธรรมิก ๕ พวก การระงับมีแก่สหธรรมิก ๕ พวก สหธรรมิก ๕ พวก ไม่ต้องอาบัติ และภิกษุ ย่อมงามด้วยเหตุ ๓ สถาน.

อาบัติทางกายในราตรีเป็นต้น

[๑,๒๖๖] ถามว่า อาบัติทางกายใน ราตรีมีเท่าไร ทางกายในกลางวันมีเท่าไร ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติเท่าไร เพราะบิณฑบาต เป็นปัจจัยเป็นอาบัติเท่าไร

ตอบว่า อาบัติทางกายในราตรีมี ๒ ทางกายในกลางวันมี ๒ ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติ ตัวเดียว เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัย เป็น อาบัติตัวเดียว.

ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตรเป็นต้น

[๑,๒๖๗] ถามว่า ภิกษุเห็นอานิสงส์ เท่าไร จึงแสดง เพราะเชื่อผู้อื่น ภิกษุถูก

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 902

ยกวัตรตรัสไว้มีเท่าไร ความประพฤติชอบมี เท่าไร

ตอบว่า ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ อย่าง จึงแสดงเพราะเชื่อผู้อื่น ภิกษุผู้ถูกยกวัตร ตรัสไว้ มี ๓ พวก ความประพฤติชอบมี ๔๓ ข้อ.

มุสาวาทเป็นต้น

[๑,๒๖๘] ถามว่า มุสาวาทถึงฐานะ เท่าไร ที่ตรัสว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร ปาฏิเทสนียะ มีกี่สิกขาบท การแสดงโทษของบุคคลกี่ จำพวก

ตอบว่า มุสาวาทถึงฐานะ ที่ตรัส ว่าอย่างยิ่ง มี ๑๔ สิกขาบท ปาฏิเทสนียะมี ๒ สิกขาบท การแสดงโทษของบุคคล ๔ จำพวก.

องค์ของมุสาวาทเป็นต้น

[๑,๒๖๙] ถามว่า มุสาวาทมีองค์ เท่าไร องค์อุโบสถมีเท่าไร องค์ของผู้ควร เป็นทูต มีเท่าไร ติตถิยวัตร มีเท่าไร

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 903

ตอบว่า มุสาวาทมีองค์ ๘ องค์ อุโบสถมี ๘ องค์ของผู้ควรเป็นทูตมี ๘ ติตถิ- ยวัตรมี ๘.

อุปสัมปทาเป็นต้น

[๑,๒๗๐] ถามว่า อุปสัมปทามีวาจา เท่าไร ภิกษุณีพึงลุกรับภิกษุณีกี่พวก พึงให้ อาสนะแก่ภิกษุณีกี่พวก ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุ- ณีต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเท่าไร

ตอบว่า อุปสัมปทามีวาจา ๘ ภิกษุณี พึงลุกรับ ภิกษุณี ๘ พวก พึงให้อาสนะแก่ ภิกษุณี ๘ พวก ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ต้อง ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘.

ความขาดเป็นต้น

[๑,๒๗๑] ถามว่า ความขาดมีแก่คน เท่าไร อาบัติถุลลัจจัยมีแก่คนเท่าไร บุคคล เท่าไรไม่ต้องอาบัติ อาบัติและอนาบัติของ คนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกัน หรือ

ตอบว่า ความขาดมีแก่คนผู้เดียว อาบัติถุลลัจจัยนี้แก่คน ๔ พวก บุคคล ๔

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 904

พวกไม่ต้องอาบัติ อาบัติและอนาบัติของคน ทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกัน.

กรรมเนื่องด้วยญัตติเป็นต้น

[๑,๒๗๒] ถามว่า อาฆาตวัตถุมีเท่าไร สงฆ์แตกกัน ด้วยเหตุเท่าไร อาบัติชื่อ ปฐมาปัตติกาในศาสนานี้มีเท่าไร ทำด้วย ญัตติมีเท่าไร

ตอบว่า อาฆาตวัตถุมี ๙ สงฆ์แตก กันด้วยเหตุ ๙ อย่าง อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา ในศาสนานี้มี ๙ อย่าง ทำด้วยญัตติมี ๙.

บุคคลไม่ควรกราบไหว้เป็นต้น

[๑,๒๗๓] ถามว่า บุคคลเท่าไร อัน ภิกษุณีไม่พึงทราบไหว้ และไม่พึงทำอัญชลี กรรม และสามีจิกรรม เพราะทำแก่บุคคล เท่าไร ต้องอาบัติทุกกฏ ทรงจีวร มีกำหนด เท่าไร

ตอบว่า บุคคล ๑๐ พวก อันภิกษุ ไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงทำอัญชลีกรรม และ สามีจิกรรม เพราะทำแก่บุคคล ๑๐ พวกต้อง อาบัติทุกกฏ ทรงจีวรมีกำหนด ๑๐ วัน.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 905

ให้จีวรเป็นต้น

[๑,๒๗๔] ถามว่า จีวรควรให้แก่ บุคคลในศาสนานี้ ผู้จำพรรษาแล้วกี่พวก เมื่อมีผู้รับแทนควรให้แก่บุคคลกี่พวก และ ไม่ควรให้แก่บุคคลกี่พวก

ตอบว่า จีวรควรให้แก่สหธรรมิก ๕ ในศาสนานี้ ผู้จำพรรษาแล้ว เมื่อมีผู้รับแทน ควรให้แก่บุคคล ๗ พวก ไม่ควรให้แก่ บุคคล ๑๖ พวก.

ภิกษุอยู่ปริวาส

[๑,๒๗๕] ถามว่า ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้กี่ร้อย ต้องอยู่ ปริวาสกี่ราตรีจึงจะพ้น

ตอบว่า ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ ปริวาสปิดอาบัติไว้ ๑๐ ร้อยราตรี ต้องอยู่ ปริวาส ๑๐ ราตรึ จึงจะพ้น.

โทษแห่งกรรม

[๑,๒๗๖] ถามว่า โทษแห่งกรรม อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 906

ศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมไม่เป็นธรรมทั้งหมดที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัย ในพระนครจัมปา มีเท่าไร

ตอบว่า โทษแห่งกรรมอันพระพุทธ เจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๑๒ กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัยในพระนครจัมปาล้วนไม่เป็นธรรม.

กรรมสมบัติ

[๑,๒๗๗] ถามว่า กรรมสมบัติอัน พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูง ศักดิ์ตรัสไว้มีเท่าไร กรรมเป็นธรรมทั้งหมด ที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัย ในพระนครจัมปามี เท่าไร

ตอบว่า กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัยในพระนครจัมปาล้วนเป็นธรรม.

กรรม ๖ อย่าง

[๑,๒๗๘] ถามว่า กรรมอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 907

ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัยใน พระนครจัมปา ที่เป็นธรรมมีเท่าไร ที่ไม่ เป็นธรรมมีเท่าไร

ตอบว่า กรรม อันพระพุทธเจ้าผู้ เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๖ อย่าง บรรดากรรม ๖ นี้ กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส ไว้ในเรื่องวินัย ในพระนครจัมปา ที่เป็น ธรรมอย่างเดียว ที่ไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง.

กรรม ๔ อย่าง

[๑,๒๗๙] ถามว่า กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส ไว้เท่าไร กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องวินัยในพระ นครจัมปา ที่เป็นธรรมมีเท่าไร ที่ไม่เป็น ธรรมมีเท่าไร

ตอบว่า กรรมอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็น เผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง บรรดากรรม ๔ นี้ กรรมอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ใน เรื่องวินัย ในพระนครจัมปา ที่เป็นธรรมมี อย่างเดียว ที่ไม่เป็นธรรมมี ๓ อย่าง.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 908

อาบัติระงับและไม่ระงับ

[๑,๒๘๐] ถามว่า กองอาบัติใด อัน พระอนันตชินเจ้าผู้คงที่ ผู้ทรงเห็นวเวก ทรงแสดงแล้ว ในกองอาบัตินั้น กองอาบัติ เท่าใดเว้นสมถะเสีย ย่อมระงับ ข้าแต่ท่าน ผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าถามข้อนั้น ขอท่าน จงบอก

ตอบว่า กองอาบัติใดอันพระอนันตชินเจ้าผู้คงที่ ผู้ทรงเห็นวิเวก ทรงแสดง แล้ว ในกองอาบัตินั้น กองอาบัติกองเดียว เว้นสนถะเสีย ย่อมระงับ ข้าแต่ท่านผู้ฉลาด ในวิภังค์ ข้าพเจ้าบอกข้อนั้น แก่ท่าน.

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย

[๑,๒๘๑] ถามว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไปสู่อบายอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระ ราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย ตกนรกชั่วกัลป์อันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่า แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ ขอท่าน จงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระวินัย

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 909

ภิกษุทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย

[๑,๒๘๒] ถามว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ไปสู่อบายอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่ง พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้า ทั้งหลายขอฟังวิสัย ของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ไป อบาย อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ ขอท่านจงฟังวิสัย ของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระวินัย.

หมวด ๘

[๑,๒๘๓] ถามว่า หมวด ๘ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัย ของ ท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า หมวด ๘ อันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ หมวด ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้า ผู้รู้ เฉพาะวินัย.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 910

กรรม ๑๖ อย่าง

[๑,๒๘๔] ถามว่า กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัย ของท่าน ผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็น เผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๖ ขอ ท่านจงฟังวิสัย ของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระวินัย.

โทษแห่งกรรม ๑๒

[๑,๒๘๕] ถามว่า โทษแห่งกรรม อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูง ศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟัง วิสัยของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า โทษแห่งกรรม อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส ไว้ ๑๒ อย่าง ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้า ผู้รู้เฉพาะพระวินัย.

กรรมสมบัติ ๔

[๑,๒๘๖] ถามว่า กรรมสมบัติ อัน พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 911

ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอฟังวิสัย ของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า กรรมสมบัติ อันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง ขอท่านจงพึงวิสัย ของข้าพเจ้าผู้รู้ เฉพาะวินัย.

กรรม ๖

[๑,๒๘๗] ถามว่า กรรม อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของ ท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า กรรม อันพระพุทธเจ้า ผู้ เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๖ อย่าง ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้ เฉพาะ พระวินัย.

กรรม ๔

[๑,๒๘๘] ถามว่า กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่าน ผู้รู้เฉพาะพระวินัย

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 912

ตอบว่า กรรม อันพระพุทธเจ้าผู้ เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้ เฉพาะพระวินัย.

ปาราชิก ๘

[๑,๒๘๙] ถามว่า ปาราชิก อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอฟังวิสัยของ ท่านผู้รู้เฉพาะวินัย

ตอบว่า ปาราชิก อันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๘ ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระวินัย.

สังฆาทิเสส ๒๓

[๑,๒๙๐] ถามว่า สังฆาทิเสส อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอฟังวิสัย ของท่านผู้รู้ เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า สังฆาทิเสส อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 913

๒๓ ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะ พระวินัย.

อนิยต ๒

[๑,๒๙๑] ถามว่า อนิยต อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอฟังวิสัยของ ท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า อนิยต อันพระพุทธเจ้า ผู้ เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๒ ขอ ท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระวินัย.

นิสสัคคิยะ ๔๒

[๑,๒๙๒] ถามว่า นิสสัคคิยะ อัน - พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัย ของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า นิสสัคคิยะ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔๒ ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะ พระวินัย.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 914

ปาจิตติยะ ๑๘๘

[๑,๒๙๓] ถามว่า ปาจิตติยะ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ ตรัสไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัย ของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า ปาจิตติยะ อันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘๘ ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระวินัย.

ปาฏิเทสนียะ ๑๒

[๑,๒๙๔] ถามว่า ปฏิเทสนียะ อัน พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ ของท่านผู้รู้เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า ปาฏิเทสนียะ อันพระพุทธ เจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๒ ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะ พระวินัย.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 915

เสขิยะ ๗๕

[๑,๒๙๕] ถามว่า เสขิยะ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัส ไว้เท่าไร ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของผู้รู้ เฉพาะพระวินัย

ตอบว่า เสขิยะ อันพระพุทธเจ้าผู้ เป็นเผ่าแห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๗๕ ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้เฉพาะพระวินัย.

ปัญหาข้อใด ท่านถามแล้วด้วยดีฉัน ใด ปัญหาข้อนั้นข้าพเจ้าตอบแล้วด้วยดีฉัน นั้น อนึ่ง ในคำถามและคำตอบจะไม่อ้างถึง สูตรอะไรไม่มีแล.

ทุติยคาถาสังคณิกะ จบ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 916

อปรทุติยคาถาสังคณิกวัณณนา

วินิจฉัยในวิสัชนาคาถาว่า กตาปตฺติโย กายิกา เป็นอาทิ พึงทราบ ดังนี้ :-

[อาบัติทางกายเป็นต้น]

บาทคาถาว่า ฉ อาปตฺติโย กายิกา มีความว่า อาบัติทั้งหลาย ที่ท่านกล่าวไว้ในอันตรเปยยาล โดยนัยมีคำว่า ภิกษุต้องอาบัติ ๖ ด้วยอาปัตติ สมุฏฐานที่ ๔ คือ ภิกษุเสพเมถุนธรรมต้องปาราชิก เป็นต้น. จริงอยู่ อาบัติ เหล่านั้นตรัสว่า เนื่องด้วยกาย เพราะเกิดขึ้นในกายทวาร.

สองบทว่า ฉ วาจสิกา มีความว่า อาบัติทั้งหลาย ที่ตรัสไว้ใน อันตรเปยยาลนั้นแล โดยนัยมีคำว่า ภิกษุต้องอาบัติ ๖ ด้วยอาปัตติสมุฏฐาน ที่ ๕ คือ ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามกครอบงำแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

สองบทว่า ฉาเทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี ผู้ปกปิดโทษ, เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุ เพราะปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส, เป็นทุกกฏ เพราะปกปิดอาบัติชั่วหยาบของตน.

สองบทว่า ปญฺจ สํสคฺคปจฺจยา มีความว่า อาบัติ ๕ มีการ เคล้าคลึงด้วยกายเป็นปัจจัยเหล่านี้ คือ เพราะเคล้าคลึงด้วยกาย เป็นปาราชิก แก่ภิกษุณี, เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ, เพราะกายกับของเนื่องด้วยกายถูกกัน

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 917

เป็นถุลลัจจัย, เพราะของที่ซัดไปกับของเนื่องด้วยกายถูกกัน เป็นทุกกฏ. เพราะจี้ด้วยนิ้วมือ เป็นปาจิตตีย์.

[อาบัติเพราะอรุณขึ้นเป็นต้น]

สองบทว่า อรุณุคฺเค ติสฺโส มีความว่า เพราะอรุณขึ้น ภิกษุย่อม ต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยอำนาจก้าวล่วง ๑ ราตรี ๖ ราตรี ๗ วัน ๑๐ วัน และ ๑ เดือน, เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณี เพราะอยู่ ปราศ (จากเพื่อน) ตลอดราตรี, ภิกษุปิดอาบัติไว้ตลอดยามที่ ๑ ก็ดี ปิดไว้ ตลอดยามที่ ๒ ก็ดี ตลอดยามที่ ๓ ก็ดี อาบัติเป็นอันเธอปิดเมื่ออรุณขึ้นแล้ว เธอชื่อว่าย่อมปิดอาบัติไว้ พึงให้เธอแสดงอาบัติทุกกฏ.

สองบทว่า เทฺว ยาวตติยกา มีความว่า อาบัติชื่อยาวตติยกา มี ๑๑ * แต่แบ่งเป็น ๒ ด้วยอำนาจพระบัญญัติ คือ ยาวตติยกาบัติ ของภิกษุ ยาวตติยกาบัติ ของภิกษุณี.

สองบทว่า เอเกตฺถ อฏฺวตฺถุกา มีความว่า อาบัติอย่างหนึ่ง ของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่าอัฏฐวัตถุกา ในศาสนานี้นี่.

สองบทว่า เอเกน สพฺพสงฺคโห มีความว่า สงเคราะห์สิกขาบท ทั้งมวล และปาฏิโมกขุทเทศทั้งมวล เข้าด้วยนิทานุทเทสอันเดียวนี้ว่า ภิกษุใด มีอาบัติอยู่, ภิกษุนั้น พึงเปิดเผยเสีย.

[มูลแห่งวินัยเป็นต้น]

หลายบทว่า วินยสฺส เทฺว มูลานิ มีความว่า (มูลแห่งวินัยมี ๒ คือ) กาย ๑ วาจา ๑.


(๑) ที่ถูก ๑๒ คือภิกษุ ๔ ภิกษุณี ๘.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 918

หลายบทว่า ครุกา เทฺว วุตฺตา มีความว่า (อาบัติหนักท่านกล่าวได้ ๒ คือ) ปาราชิกและสังฆาทิเสส.

สองบทว่า เทฺว ทุฏฺฐุลฺลจฺฉาทนา มีความว่า ขึ้นชื่อว่าอาบัติ เพราะปิดโทษชั่วหยาบ มี ๒ เหล่านี้ คือ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณีผู้ปิดโทษ (คือปาราชิกของภิกษุณีอื่น) เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ปิดสังฆาทิเสส (ของภิกษุ อื่น).

[อาบัติในละแวกบ้านเป็นต้น]

สองบทว่า คามนฺตเร จตสฺโส มีความว่า อาบัติ ๔ อย่าง ด้วย อำนาจทุกกฏ ปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย และสังฆาทิเสส เพราะละแวกบ้านเหล่านี้ คือ ภิกษุกับภิกษุณีชวนกัน ต้องทุกกฏ. เข้าอุปจารบ้านอื่น ต้องปาจิตตีย์, เมื่อภิกษุณี ไปสู่ละแวกบ้าน ในบ้านที่ล้อมเป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ ๑, เป็น สังฆาทิเสส ในย่างเท้าที่ ๒, เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ ๑ ที่ก้าวเข้าอุปจาร แห่งบ้านไม่ได้ล้อม, เป็นสังฆาทิเสส ในย่างเท้าที่ ๒.

สองบทว่า จตสฺโส นทีปารปจฺจยา มีความว่า อาบัติ ๔ อย่าง เหล่านี้ คือ ภิกษุกับภิกษุณีชวนกัน ต้องทุกกฏ, ลงเรือ ต้องปาจิตตีย์, เมื่อภิกษุณี (รูปเดียว) ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ในเวลาข้าม เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้า ที่ ๑, เป็นสังฆาทิเสส ในย่างเท่าที่ ๒.

สองบทว่า เอกมํเส ถุลฺลจฺจยํ มีความว่า (ภิกษุย่อมต้องถุลลัจจัย) เพราะเนื้อแห่งมนุษย์

สองบทว่า นวมํเสสุ ทุกฺกฏํ มีความว่า (ภิกษุย่อมต้องทุกกฏ) ในเพราะอกัปปิยมังสะที่เหลือ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 919

[อาบัติทางวาจาในราตรีเป็นต้น]

หลายบทว่า เทฺว วาจสิกา รตฺตึ มีความว่า ภิกษุณียืนพูดใน หัตถบาสกับบุรุษ ในเวลามืดๆ ค่ำๆ ไม่มีแสงไฟ ต้องปาจิตตีย์, เว้นหัตถบาส ยืนพูด ต้องทุกกฏ.

หลายบทว่า เทฺว วาจสิกา ทิวา มีความว่า ภิกษุณียืนพูดใน หัตถบาสกับบุรุษ ในโอกาสที่ปิดบัง ในกลางวัน ต้องปาจิตตีย์, เว้นหัตถบาส ยืนพูด ต้องทุกกฏ.

สองบทว่า ททมานสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นอาบัติ ๓ อย่าง แก่ภิกษุผู้ให้อย่างนี้ คือ มีประสงค์จะให้ตาย ให้ยาพิษแก่มนุษย์ ถ้าว่า เขาตาย ด้วยยาพิษนั้น ภิกษุต้องปาราชิก, ให้แก่ยักษ์และเปรต ถ้าว่า ยักษ์และเปรต นั้นตาย ภิกษุต้องถุลลัจจัย, ให้แก่สัตว์ดิรัจฉาน ถ้าว่า มันตาย ภิกษุต้อง ปาจิตตีย์, แม้เพราะให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ก็ต้องปาจิตตีย์.

สองบทว่า จตฺตาโร จ ปฏิคฺคเห มีความว่า เป็นสังฆาทิเสส เพราะจับมือและจับช้องผม, ต้องปาราชิก เพราะอมองคชาตด้วยปาก ต้อง นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะรับจีวรของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ, ต้องถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี ผู้กำหนัด รับของเคี้ยว ของบริโภค จากมือบุรุษผู้กำหนัด, กองอาบัติ ๔ ย่อมมีในเพราะรับ ด้วยประการอย่างนี้.

[อาบัติเป็นเทสนาคามินีเป็นต้น]

สองบทว่า ปญฺจ เทสนาคามินิโย ได้แก่ ลหุกาบัติ ๕ กอง.

สองบทว่า ฉ สปฺปฏิกมฺมา มีความว่า เว้นปาราชิกเสียแล้ว อาบัติ ที่เหลือ (มีทางจะทำคืนได้.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 920

สองบทว่า เอเกตฺถ อปฺปฏิกมฺมา มีความว่า (อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ ในศาสนานี้ มีอย่างเดียว คือ) อาบัติปาราชิก.

หลายบทว่า วินยครุกา เทฺว วุตฺตา ได้แก่ ปาราชิกและสังฆาทิเสส.

บทว่า กายวาจสิกานิ จ มีความว่า สิกขาบททั้งมวลทีเดียว เป็น ไปในทางกายและวาจา. ไม่มีแม้เพียงสิกขาบทเดียว ที่ทรงบัญญัติในโนทวาร.

หลายบทว่า เอโก วิกาเล ธญฺรโส ได้แก่ ยาดองด้วยเกลือ. จริงอยู่ รสแห่งธัญชาติชนิดหนึ่งนี้แล ควรในวิกาล.

หลายบทว่า เอกา ตฺติจตุตฺเถนต สมฺมติ ได้แก่ สมมติภิกษุ ผู้สอนภิกษุณี. จริงอยู่ สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมอันเดียวนี้เท่านั้น อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.

[ปาราชิกทางกายเป็นต้น]

หลายบทว่า ปาราชิกา กายิกา เทฺว ได้แก่ เมถุนธรรมปาราชิก ของภิกษุ และกายสังสัคคปาราชิกของภิกษุณี.

สองบทว่า เทฺว สํวาสกภูมิโย มีความว่า ภิกษุทำตนให้เป็น สมานสังวาสก์ด้วยตนเอง, หรือสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ประกาศถอนภิกษุผู้ถูกสงฆ์ ยกวัตรนั้นเสีย.

แต่ในกุรุนที กล่าวสังวาสกภูมิไว้ ๒ อย่างๆ นี้ คือ ภูมิแห่งสมาน สังวาสก์ ๑ ภูมิแห่งนานาสังวาสก์ ๑.

สองบทว่า ทฺวินฺนญฺจ รตฺติจฺเฉโท ได้แก่ รัตติจเฉทของภิกษุผู้ อยู่ปริวาร ๑ ของภิกษุผู้ประพฤติมานัตต์ ๑.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 921

หลายบทว่า ปญฺตฺต ทฺวงฺคุลา ทุเว ได้แก่ พระบัญญัติว่าด้วย สองนิ้ว ๒ อย่าง คือ พระบัญญัติที่ว่า (ภิกษุณีเมื่อถือเอาให้สะอาดด้วยน้ำ) พึงถือเอาเพียง ๒ ข้อแห่งนิ้วมือเป็นอย่างยิ่งนี้ ๑ พระบัญญัติที่ว่า ภิกษุไว้ผม ๒ นิ้วหรือ ๒ เดือน นี้ ๑.

[อาบัติเพราะทำร้ายตัวเองเป็นต้น]

หลายบทว่า เทวฺ อตฺตานํ วธิตฺวาน มีความว่า ภิกษุณีทำร้าย ตัวเอง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ทำร้าย ร้องไห้ ต้องปาจิตตีย์ ทำร้าย ไม่ร้องให้ ต้องทุกกฏ.

หลายบทว่า ทฺวีหิ สงฺโฆ ภิชฺชติ มีความว่า (สงฆ์ย่อมแตกกัน ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ) ด้วยกรรม ๑ ด้วยจับสลาก ๑.

สองบทว่า เทวฺตฺถ ปมาปตฺติกา มีความว่า ในวินัยแม้ทั้งสิ้นนี้ มีอาบัติต้องแต่แรกทำ ๒ อย่าง เนื่องด้วยพระบัญญัติแห่งภิกษุและภิกษุณีทั้ง ๒ ฝ่าย. แต่โดยประการนอกนี้ ปฐมาปัตติกาบัตินั้น ย่อมมี ๑๘ คือ ของ ภิกษุ ๙ ของภิกษุณี ๙.

หลายบทว่า ตฺติยา กรณา ทุเว มีความว่า ญัตติกิจมี ๒ คือ ญัตติที่เป็นกรรมเอง ๑ ญัตติที่เป็นบาทแห่งกรรม ๑, ญัตติกิจย่อมเป็นกรรม เอง ใน ๙ สถาน, ตั้งอยู่โดยความเป็นบาทแห่งกรรมใน ๒ สถาน.

[อาบัติเพราะปาณาติบาตเป็นต้น]

สองบทว่า ปาณาติปาเต ติสฺโส มีความว่า (ในเพราะปาณาติบาต) ย่อมมีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ ภิกษุขุดหลุมพรางไว้ ไม่เจาะจง (ผู้ใด) , ถ้า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 922

มนุษย์ตาย ต้องปาราชิก; ต้องถุลลัจจัย เพราะยักษ์และเปรตตาย, ต้อง ปาจิตตีย์ เพราะสัตว์ดิรัจฉานตาย.

หลายบทว่า วาจา ปาราชิกา ตโย มีความว่า (อาบัติปาราชิก เนื่องด้วยวาจา ๓ คือ) ปาราชิกในวัชชปฏิจฉาทิกาสิกขาบท ๑ ในอุกขิตตานุ- วัตติกาสิกขาบท ๑ ในอัฏฐวัตถุกาสิกขาบท ๑.

แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวไว้ ๓ อย่างนี้ คือ ปาราชิกเพราะอทินนาทาน และฆ่ามนุษย์ โดยสั่งบังคับ และเพราะอวดอุตริมนุสธรรม.

สองบทว่า โอภาสนา ตโย ได้แก่ สังฆาทิเสสเพราะพูดสรรเสริญ และติพาดพิงทวารหนักทวารเบา, ถุลลัจจัย เพราะพูดสรรเสริญและติพาดพิง อวัยวะใต้รากขวัญลงมา เหนือช่วงเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักทวารเบาเสีย, ทุกกฏ เพราะพูดสรรเสริญและติพาดพิงอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้ช่วงเข่า ลงมา.

สองบทว่า สญฺจริตฺเตน วา ตโย มีความว่า อาบัติ ๓ กองมี เพราะการชักสื่อเป็นเหตุ เหล่านี้ คือ ภิกษุรับคำ พูดชักสื่อ กลบมาบอก ต้อง สังฆาทิเสส, รับคำ พูดชักสื่อ ไม่กลับมาบอก ต้องถุลลัจจัย รับคำ ไม่พูด ชักสื่อ ไม่กลับมาบอก ต้องทุกกฏ.

[บุคคลที่ไม่ควรให้อุปสมบทเป็นต้น]

หลายบทว่า ตโย ปุคฺคลา น อุปสมฺปาเทตพฺพา มีความว่า (บุคคลอันสงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท ๓ จำพวก คือ) บุคคลผู้มีกาล คือ อายุ ไม่ครบ ๑ ผู้มีอวัยวะบกพร่อง ๑ ผู้วิบัติโดยวัตถุ ๑. เหตุที่ทำบุคคล ๓ จำพวก นั้นให้ต่างกัน ได้กล่าวแล้ว.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 923

อีกประการหนึ่ง ในบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลใด ไม่บริบูรณ์ด้วย บาตรและจีวร และบุคคลใด บริบูรณ์แต่ไม่ขอ, บุคคลเหล่านี้แล ท่าน สงเคราะห์ ด้วยบุคคลผู้มีอวัยวะบกพร่องโดยเฉพาะ. ฝ่ายบุคคลผู้มีความกระทำ เลวทราม มีผู้ฆ่ามารดาเป็นต้น พึงทราบว่าสงเคราะห์ ด้วยบุคคลผู้วิบัติโดย วัตถุโดยเฉพาะ กล่าวคือ บัณเฑาะก์อุภโตพยัญชนก และสัตว์ดิรัจฉาน. จริงอยู่ นัยนี้ ท่านกล่าวไว้ในกุรุนที.

หลายบทว่า ตโย กมฺมานํ สงฺคหา ได้แก่ (กรรมสังคหะ ๓ อย่าง คือ) วาจากำหนดญัตติ คำประธานที่ทำค้าง คำระบุกรรมที่เสร็จไปแล้ว.

ในกรรมสังคหะ ๓ นั้น กรรมทั้งหลายอันท่านสงเคราะห์ด้วยลักษณะ ๓ เหล่านี้ คือ วาจาที่สวดต่างโดยคำว่า ทเทยฺย กเรยฺย เป็นอาทิ ชื่อว่า วาจากำหนดญัตติ คำสวดประกาศต่างโดยคำว่า เทติ กโรติ เป็นอาทิ ชื่อว่า คำประธานที่ทำค้าง, คำสวดประกาศต่างโดยคำว่า ทินฺนํ กตํ เป็นอาทิ ชื่อว่า คำระบุกรรมที่เสร็จไปแล้ว.

กรรมทั้งหลายอันท่านสงเคราะห์ด้วยลักษณะ ๓ แม้อื่นอีก คือ ด้วย วัตถุ ญัตติ อนุสาวนา. จริงอยู่ กรรมที่พร้อมด้วยวัตถุ พร้อมด้วยญัตติ และพร้อมด้วยอนุสาวนา จึงจัดเป็นกรรมแท้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กรรมสังคหะมี ๓.

ขึ้นชื่อว่า บุคคลที่สงฆ์นาสนะเสีย ท่านกล่าวไว้ ๓ จำพวก ได้แก่ บุคคล ๓ จำพวกที่สงฆ์ให้นาสนะเสีย ด้วยอำนาจลิงคนาสนา สังวาสนาสนา และทัณฑกรรมนาสนา พึงทราบ (โดยบาลี) อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย จง นาสนะเมตติยาภิกษุณีเสีย, บุคคลผู้ประทุษร้าย สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย, สามเณร

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 924

ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ภิกษุพึงให้นาสนะเสีย, ท่านทั้งหลาย จงให้นาสนะกัณกฏสามเณรเสีย.

สองบทว่า ติณฺณนฺนํ เอกวาจิกา มีความว่า อนุสาวนาอันเดียว ควรแก่ชน ๓ มีอุปัชฌาย์เดียวกัน ต่างอาจารย์กัน โดยพระบาลีว่า ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อทำบุคคล ๒ -๓ คน ในอนุสาวนาเดียวกัน.

[อาบัติเพราะอทินนาทานเป็นต้น]

สองบทว่า อทินฺนาทาเน ติสฺโส มีความว่า ในเพราะ (อทินนาทาน) บาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาท เป็นปาราชิก, เกินกว่า ๑ มาสก ต่ำกว่า ๕ มาสก เป็นถุลลัจจัย, ๑ มาสก หรือหย่อนมาสก, เป็นทุกกฏ.

สองบทว่า จตสฺโส เมถุนปจฺจยา มีความว่า ภิกษุเสพเมถุนใน ทวารที่สัตว์ยังไม่กัด ต้องปาราชิก. ในทวารที่สัตว์กัดแล้วโดยมาก ต้อง ถุลลัจจัย, สอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้ามิให้กระทบ ต้องทุกกฏ, ภิกษุณีต้อง ปาจิตตีย์ เพราะขุนเพ็ดทำด้วยยาง.

สองบทว่า ฉินฺทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ (ลัก) ตัดต้นไม้ใหญ่, เป็นปาจิตตีย์ แก่ผู้ตัดภูตคาม, เป็นถุลลัจจัย แก่ผู้ตัด องคชาต.

สองบทว่า ปญฺจ ฉฑฺฑิตปจฺจยา มีความว่า ภิกษุทั้งยาพิษ ไม่ เจาะจง ถ้ามนุษย์ตายเพราะยาพิษนั้น ต้องปาราชิก, เมื่อยักษ์และเปรตตาย ต้องถุลลัจจัย, เมื่อสัตว์ดิรัจฉานตาย ต้องปาจิตตีย์ เพราะทิ้ง คือ ปล่อยสุกกะ เป็นสังฆาทิเสส, เพราะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะในของเขียว ต้องทุกกฏ ใน เสขิยวัตร, อาบัติ ๕ กองนี้ย่อมมี เพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 925

[ปรับอาบัติควบกันเป็นต้น]

หลายบทว่า ปาจิตฺติเยน ทุกฺกฏา กตา มีความว่า ท่านปรับ ทุกกฏควบกับปาจิตตีย์ด้วย ในสิกขาบททั้ง ๑๐ ในภิกขุโนวาทกวัคค์.

หลายบทว่า จตุเรตฺถ นวกา วุตฺตา มีความว่า ในสิกขาบทที่ ๑ นั่นแล ท่านกล่าวหมวด ๙ ไว้ ๔ หมวดอย่างนี้ คือ ในกรรมไม่เป็นธรรม ๒ หมวด ในกรรมเป็นธรรม ๒ หมวด.

สองบทว่า ทฺวินฺนํปิ จีวเรน จ มีความว่า เพราะจีวรเป็นต้นเหตุ ย่อมเป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ให้จีวร แก่ภิกษุณี ๒ พวก อย่างนี้ คือ เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้อุปสมบทในสำนักภิกษุทั้งหลาย, เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้อุปสมบทในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย.

ปาฏิเทสนียะ ๘ มาแล้วในบาลีแล.

หลายบทว่า ภุญฺชนฺตามกธญฺเน ปาจิตฺติเยน ทุกฺกฏา กตา มีความว่า ท่านปรับทุกกฏควบกับปาจิตตีย์ด้วย แก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอข้าว เปลือกฉัน.

[อาบัติเพราะเดินเป็นต้น]

สองบทว่า คจฺฉนฺตสฺส จตสฺโส มีความว่า เป็นอาบัติ ๔ กองนี้ แก่ผู้ไป คือ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ชวนกันเดินทาง กับภิกษุณี หรือมาตุคาม, เป็นปาจิตตีย์ เมื่อเข้าอุปจารบ้าน, ภิกษุณีใด ไปสู่ละแวกบ้านรูปเดียว เมื่อ ภิกษุณีนั้น เข้าอุปจารบ้าน เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ ๑, เป็นสังฆาทิเสส ในย่างเท้าที่ ๒.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 926

สองบทว่า ิตสฺส วาปิ ตตฺตกา มีความว่า อาบัติ ๔ กองนั่นแล ย่อมมีแม้แก่ผู้ยืนอยู่, อย่างไร? อย่างนี้ คือ ภิกษุณี ยืนในหัตถบาสของ บุรุษด้วยอำนาจมิตตสันถวะ ในที่มืด หรือในโอกาสกำบัง ต้องปาจิตตีย์, ยืนเว้นหัตถบาส ต้องทุกกฏ. ในเวลาอรุณขึ้น ยืนเว้นหัตถบาสของภิกษุณี ซึ่งเป็นเพื่อน ต้องถุลลัจจัย, เว้นหัตถบาสยืน ต้องสังฆาทิเสส.

หลายบทว่า นิสินฺนสฺส จตสฺโส อาปตฺติโย นิปนฺนสิสาปิ ตตฺตกา มีความว่า ก็แม้ถ้าว่า ภิกษุณีนั้น นั่งก็ตาม นอนก็ตาม เธอย่อม ต้องอาบัติ ๔ กองนั้นนั่นแล.

[อาบัติมากต้องในเขตเดียวกัน]

สองบทว่า ปญฺจ ปาจิตฺติยานิ มีความว่า เภสัช ๕ ที่ภิกษุรับ ประเคนแล้วไม่ปนกัน ใส่ไว้ในภาชนะต่างกันก็ตาม ในภาชนะเดียวกันก็ตาม. เพราะล่วง ๗ วัน ภิกษุนั้น ย่อมต้องปาจิตตีย์หมดทั้ง ๕ ตัว ต่างวัตถุกัน ในขณะเดียวกัน. ไม่พึงกล่าวว่า ต้องอาบัตินี้ก่อน อาบัตินี้ภายหลัง.

สองบทว่า นว ปาจิตฺติยานิ มีความว่า ภิกษุใด ออกปากขอ โภชนะประณีต ๙ อย่าง เคล้าคำข้าวคำหนึ่ง รวมกันกับโภชนะประณีตเหล่านั่น เทียว เปิบเข้าปาก ให้ล่วงลำคอเข้าไป, ภิกษุนี้ ย่อมต้องปาจิตตีย์ หมดทั้ง ๙ ตัว ต่างวัตถุกัน ในขณะเดียวกัน. ไม่พึงกล่าวว่า ต้องอาบัตินี้ก่อน อาบัตินี้ ภายหลัง.

[วิธีแสดงอาบัติ]

สองบทว่า เอกวาจาย เทเสยฺย มีความว่า ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจา อันเดียว อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารับประเคนเภสัช ๕ ให้ล่วง ๗ วันไป

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 927

ต้องอาบัติ ๕ จึงแสดงคืนอาบัติเหล่านั้นในสำนักท่าน อาบัติเหล่านั่น เป็นอัน เธอแสดงแล้วแท้; ไม่มีกิจที่จะต้องทำด้วยวาจา ๒ - ๓ ครั้ง. แม้ในวิสัชนาที่ ๒ ก็พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าออกปากขอโภชนะประณีต ๙ อย่างฉัน ต้องอาบัติ ๙ จึงแสดงคืนอาบัติเหล่านั้น ในสำนักท่าน.

หลายบทว่า วตฺถํ กิตฺเตตฺวา เทเสยฺย มีความว่า พึงแสดงระบุ วัตถุ อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารับประเคนเภสัช ๕ ให้ล่วง ๗ วันไป, ข้าพเจ้าแสดงอาบัติเหล่านั้นตามวัตถุ ในสำนักท่าน. อาบัติทั้งหลาย เป็นอัน ภิกษุนั้นแสดงแล้วแท้. ไม่มีกิจที่จะต้องระบุชื่ออาบัติ. แม้ในวิสัชนาที่ ๒ ก็ พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าออกปากขอโภชนะประณีต ๙ อย่าง ฉันแล้ว, ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัติเหล่านั้น ตามวัตถุ ในสำนักท่าน.

[ยาวตติยกาบัติเป็นต้น]

สองบทว่า ยาวตติยเก ติสฺโส มีความว่า อาบัติ ๓ กองในยาวตติยกะ เหล่านี้ คือ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, เป็น สังฆาทิเสส แก่ภิกษุทั้งหลาย มีพระโกกาสิกะเป็นต้น ผู้ประพฤติตามพระเทวทัตต์ผู้ทำลายสงฆ์ และเป็นปาจิตตีย์แก่นางจัณฑกาฬีภิกษุณี เพราะไม่ สละทิฏฐิลามก.

สองบทว่า ฉ โวหารปจฺจยา มีความว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ๖ มีวาจาที่ตนประกอบเป็นปัจจัย. อย่างไร? อย่างนี้ คือ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุมีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามก ครอบงำแล้ว อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่จริง ต้องปาราชิก, เพราะ อาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุถึงความชักสื่อ ต้องสังฆาทิเสส

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 928

เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ (อวดโดยปริยายว่า) ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน ฯลฯ ต้องถุลลัจจัย เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะ เป็นการณ์ ภิกษุออกปากขอโภชนะประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้อง ปาจิตตีย์, เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุณีออกปากขอ โภชนะประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้องปาฏิเทสนียะ, เพราะอาชีวะ เป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุไม่อาพาธ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้องทุกกฏ.

สองบทว่า ขาทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า ภิกษุต้องถุลลัจจัย เพราะเนื้อมนุษย์, ต้องทุกกฏ เพราะอกัปปิยมังสะที่เหลือ, เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณี เพราะกระเทียม.

สองบทว่า ปญฺจ โภชนปจฺจยา มีความว่า ภิกษุณีผู้กำหนัดรับ โภชนะจากมือของบุคคลคือบุรุษผู้กำหนัด เติมเคล้าให้ระคนกันกลืนเข้าไป, อนึ่ง ถือเอาเนื้อมนุษย์ กระเทียม โภชนะประณีตที่ตนออกปากขอเพื่อประโยชน์ แก่ตน และอกัปปิยมังสะที่เหลือ เติมเคล้าให้ระคนกันกลืนเข้าไป, ย่อมต้อง อาบัติ ๕ มีโภชนะเป็นปัจจัย เหล่านี้ คือ สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ.

[ฐานะ ๕ แห่งยาวตติยกาบัติเป็นต้น]

สองบทว่า ปญฺจ านานิ มีความว่า ยาวตติยกาบัติทั้งปวง ย่อม ถึงฐานะ ๕ อย่างนี้ คือ สำหรับภิกษุณี ผู้ประพฤติตามภิกษุอันสงฆ์ยกวัตร ไม่ยอมสละ ด้วยวาจาประกาศเพียงครั้งที่ ๓ เพราะญัตติ ต้องทุกกฏ, เพราะ กรรมวาจา ๒ ต้องถุลลัจจัย, ในที่สุดแห่งกรรมวาจา ต้องปาราชิก, [สำหรับ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 929

ภิกษุ] เพราะบากบั่นเพื่อทำลายสงฆ์เป็นต้น เป็นสังฆาทิเสส และเพราะไม่ ย่อมสละทิฏฐิลามกเป็นปาจิตตีย์.

สองบทว่า ปญฺจนฺนญฺเจว อาปตฺติ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าอาบัติ ย่อมมีแก่สหธรรมิกทั้ง ๕. ในสหธรรมิกทั้ง ๕ นั้น โดยนิปปริยาย อาบัติย่อม มีแก่ภิกษุและภิกษุณี ๓ พวกเท่านั้น. แต่สำหรับนางสิกขมานาสามเณรและ สามเณรี อาบัติย่อมมีโดยปริยายนี้ว่า ความเป็นของไม่ควร ย่อมไม่ควร. สหธรรมิก ๓ นั้น ภิกษุไม่พึงให้แสดงอาบัติ, แต่พึงลงทัณฑกรรมแก่พวกเธอ.

สองบทว่า ปญฺจนฺนํ อธิกรเณน จ มีความว่า ก็แลอธิกรณ์ย่อม มีแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ เหมือนกัน. จริงอยู่ วินิจฉัยโวหาร เพื่อประโยชน์แก่ บริขารมีบาตรและจีวรเป็นต้น ของสหธรรมิกทั้ง ๕ นั่นแล เรียกว่าอธิกรณ์ ส่วนวินิจฉัยโวหาร ของคฤหัสถ์ ย่อมจัดเป็นอัฏฏกรรม (คือการว่าคดี).

หลายบทว่า ปญฺจนฺนํ วินิจฺฉโย โหติ มีความว่า ขึ้นชื่อว่า วินิจฉัยของสหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั่นเอง ก็มีอยู่.

สองบทว่า ปญฺจนฺนํ วูปสเมน จ มีความว่า อธิกรณ์ของ สหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั่นแล ที่ได้วินิจฉัยแล้ว ชื่อว่าเป็นอันระงับไป.

สองบทว่า ปญฺจนฺนญฺเจว อนาปตฺติ มีความว่า ขึ้นชื่อว่า อนาบัติ ย่อมมีแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั่นแล.

หลายบทว่า ตีหิ าเนหิ โสภติ มีความว่า ภิกษุย่อมงามโดย เหตุ ๓ มีสงฆ์เป็นต้น. จริงอยู่ บุคคลผู้กระทำความละเมิดแล้วกระทำคืน อาบัติที่ยังทำคืนได้ ในท่ามกลางสงฆ์ หรือในท่ามกลางคณะหรือในสำนัก บุคคล ย่อมเป็นผู้มีศีลใหม่เอี่ยม กลับตั้งอยู่ตามเดิม. เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า ย่อมงามโดยสถาน ๓.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 930

[อาบัติทางกายในราตรีเป็นต้น]

หลายบทว่า เทฺว กายิกา รตฺตึ มีความว่า ภิกษุณี ต้องอาบัติ ทางกายทวารเป็นแดนเกิด ๒ อย่าง ในราตรี คือ เมื่อสำเร็จการยืนนั่งและ นอน ในหัตถบาสของบุรุษ ในเวลามืดๆ ค่ำๆ ต้องปาจิตตีย์; เมื่อสำเร็จ การยืนเป็นอาทิ ละหัตถบาส ต้องทุกกฏ.

หลายบทว่า เทฺว กายิกา ทิวา มีความว่า ภิกษุณี ต้องอาบัติ ๒ กอง ในโอกาสที่กำบัง ในเวลากลางวัน โดยอุบายนั้นแล.

หลายบทว่า นิชฺฌนฺตสฺส เอกา อาปตฺติ มีความว่า อาบัติกอง เดียวนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เพ่งดู [โดยบาลี] ว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันภิกษุผู้ กำหนัดแล้ว ไม่พึงเพ่งดูองค์กำเนิดแห่งมาตุคาม ภิกษุใดพึงเพ่งดู ภิกษุนั้น ต้องทุกกฏ.

สองบทว่า เอกา ปิณฺฑปาติปจฺจยา ได้แก่ อาบัติทุกกฏที่ตรัส ในบาลีนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันภิกษุไม่พึงแลดูหน้า ของทายิกาผู้ถวาย ภิกษา. จริงอยู่ โดยที่สุด แลดูหน้าแม้ของสามเณรผู้ถวายข้าวต้มหรือกับข้าว ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน.

แต่ในกุรุนทีกล่าวว่า คำว่า อาบัติกองเดียว เพราะบิณฑบาตเป็น ปัจจัย ได้แก่ เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุฉันบิณฑบาตซึ่งภิกษุณีแนะนำให้ถวาย.

[ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตรเป็นต้น]

สองบทว่า อฏฺานิสํเส สมฺปสฺสํ ได้แก่ อานิสงส์ที่ตรัสไว้ใน โกสัมพิกขันธกะ.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 931

หลายบทว่า อุกฺขิตฺตกา ตโย วุตฺตา ได้แก่ (ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตร ๓ พวก เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ) เพราะไม่เห็นอาบัติ ๑ เพราะไม่ทำ คืน ๑ เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก ๑.

สองบทว่า เตจตฺตาฬิส สมฺมาวตฺตนา ได้แก่ ความประพฤติ ชอบ ในวัตรทั้งหลาย มีประมาณเท่านั้น ของภิกษุที่ถูกสงฆ์ยกวัตรเหล่านั้น นั้นแล.

สองบทว่า ปญฺจฏฺาเน มุสาวาโท มีความว่า มุสาวาท ย่อม ถึงฐานะ ๕ กล่าวคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์และทุกกฏ. หลายบทว่า จุทฺทส ปรมนฺติ วุจฺจติ ได้แก่ สิกขาบทที่กล่าว แล้วในหนหลัง โดยนัยมี ๑๐ วันอย่างยิ่ง เป็นอาทิ.

สองบทว่า ทฺวาทส ปาฏิเทสนียา ได้แก่ ปาฏิเทสนียะของภิกษุ ๔ ของภิกษุณี ๘.

สองบทว่า จตุนฺนํ เทสนาย จ ความว่า การแสดงโทษล่วงเกิน ของบุคคล ๔ จำพวก. ถามว่า ก็การแสดงโทษล่วงเกิน ๔ อย่างนั้น คือ ข้อไหนบ้าง? คือ ชื่อว่า การแสดงโทษล่วงเกินของบุคคล ๔ จำพวกนี้ คือ การแสดงโทษล่วงเกินของนายขมังธนูผู้มุ่งไปฆ่า ซึ่งพระเทวทัตจัดส่งไป การแสดงโทษล่วงเกิน แห่งอุปัฏฐายิกาของพระอนุรุทธเถระ การแสดงโทษ ล่วงเกินของวัฑฒลิจฉวี การแสดงโทษล่วงเกินของภิกษุทั้งหลาย ผู้กระทำ อุกเขปนียกรรมแก่พระวาสภคามิยัตเถระแล้วกลับมา.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 932

[มุสาวาทมีองค์ ๘ เป็นต้น]

สองบทว่า อฏงฺคิโก มุสาวาโท มีความว่า มุสาวาทที่ประกอบ ด้วยองค์ ๘ ตั้งต้นแต่องค์ที่ว่า ก่อนแต่พูด ผู้นั้น มีความคิดว่า เราจักพูด ปด ดังนี้ มีองค์ว่า ยันความจำ เป็นที่สุดจัดว่ามุสาวาท ประกอบด้วยองค์ ๘.

แม้องค์อุโบสถ ๘ ก็ได้กล่าวแล้ว โดยนัยมีคำว่า ไม่พึงฆ่าสัตว์ เป็นอาทิ.

สองบทว่า อฏฺ ทูเตยฺยงฺคานิ ได้แก่ (องค์เกื้อกูลแก่ความเป็น ทูต ๘ ประการ) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสังฆเภทกขันธกะ โดยนัย มีคำว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ฟังเอง และให้ผู้อื่นฟัง เป็นอาทิ.

ติตถิยวัตร ๘ ได้กล่าวแล้วในมหาขันธกะ

คำว่า อุปสัมปทา มีวาจา ๘ ท่านกล่าวหมายถึงอุปสมบทของภิกษุณี ทั้งหลาย.

สองบทว่า อฏฺนฺนํ ปจฺจุฏาพฺพํ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย นอกนี้ พึงลุกขึ้นให้อาสนะแก่ภิกษุณี ๘ รูป ในหอฉัน.

สองบทว่า ภิกฺขุโนวาทโก อฏฺหิ มีความว่า ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๘ อันสงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี.

วินิจฉัยในคาถาว่า เอกสฺส เฉชฺชํ พึงทราบดังนี้ :-

ในชน ๙ ภิกษุใด ให้จับสลากทำลายสงฆ์ ความขาด ย่อมมีแก่ภิกษุ นั้นแล คือ ย่อมต้องปาราชิกเหมือนอย่างพระเทวทัตต์. เป็นถุลลัจจัย แก่ บุคคล ๔ คน ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ เหมือนภิกษุทั้งหลายมีพระ-

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 933

โกกาลิกะเป็นต้น. ไม่เป็นอาบัติแก่บุคคล ๔ คน ผู้เป็นธรรมวาที. ก็อาบัติ และอนาบัติเหล่านี้ ของคนทั้งปวง มีวัตถุอันเดียวกัน คือ มีสังฆเภทเป็น วัตถุเท่านั้น.

[กรรมเนื่องด้วยญัตติเป็นต้น]

วินิจฉัยในคาถาว่า นว อาฆาตวตฺถูนิ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า นวหิ มีความว่า สงฆ์ย่อมแตกกัน เพราะภิกษุ ๙ รูป.

หลายบทว่า ตฺติยา การณา นว มีความว่า กรรมที่สงฆ์พึงทำ ด้วยญัตติ มี ๙ อย่าง.

คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น ...

หลายบทว่า ทส ปุคฺคลา นาภิวาเทตพฺพา ได้แก่ ชน (ที่ไม่ ควรไหว้) ๑๐ จำพวก ที่ตรัสไว้ ในเสนาสนขันธกะ.

สองบทว่า อญฺชลิสามิเจน จ มีความว่า อัญชลีกรรมพร้อมทั้ง สามีจิกรรม อันภิกษุไม่พึงทำแก่ชน ๑๐ จำพวกนั้น. อธิบายว่า วัตรในขันธกะ มีถามถึงน้ำดื่มและฉวยพัดใบตาลเป็นต้น อันภิกษุไม่พึงแสดงแก่ชน ๑๐ จำพวก นั้น อัญชลีก็ไม่พึงประคอง.

สองบทว่า ทสนฺนํ ทุกฺกฏํ มีความว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ทำ อย่างนั้น แก่คน ๑๐ จำพวกนั้นแล.

สองบทว่า ทส จีวรธารณา ความว่า อนุญาตให้ทรงอติเรกจีวร ไว้ ๑๐ วัน.

หลายบทว่า ปญฺจนฺนํ วสฺสํ วุตฺถามํ ทาตพฺพํ อิธ จีวรํ ได้แก่ พึงให้ต่อหน้าสหธรรมิกทั้ง ๕ ทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 934

สองบทว่า สตฺตนฺนํ สนฺเต มีความว่า เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร พึงให้ลับหลังก็ได้ แก่ชน ๗ จำพวกนี้ คือ ภิกษุผู้หลีกไปต่างทิศ ภิกษุบ้า ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำ และภิกษุสงฆ์ยกวัตร ๓ พวก.

สองบทว่า โสฬสนฺนํ น ทาตพฺพํ มีความว่า ไม่ควรให้แก่ชน ที่เหลือ ๑๖ จำพวกมีบัณเฑาะก์เป็นต้น ที่ตรัสไว้ ในจีวรขันธกะ.

หลายบทว่า กติสตํ รตฺติสตํ อาปตฺตึ ฉาทยิตฺวาน มีความว่า ภิกษุปิดอาบัติกี่ร้อย ไว้ร้อยราตรี.

หลายบทว่า ทสสตํ รตฺติสตํ อาปตฺตึ ฉาทยิตฺวาน มีความว่า ภิกษุปิดอาบัติ ๑ พัน ไว้ร้อยราตรี.

ก็ความสังเขปในคำนี้ ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุใด ต้องอาบัติสังฆาทิเสสวันละร้อย ปิดไว้ร้อยละ ๑๐ วัน. อาบัติ ๑ พัน ย่อมเป็นอันภิกษุนั้นปิดไว้ร้อยราตรี. ภิกษุนั้น พึงขอปริวาสว่า อาบัติ เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ข้าพเจ้าปิดไว้ ๑๐ วัน แล้วเป็นปาริวาสิกะ อยู่ปริวาส ๑๐ ราตรี พึงพ้นได้.

[ว่าด้วยกรรมโทษเป็นอาทิ]

หลายบทว่า ทฺวาทส กมฺมโทสา วุตฺตา มีความว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสกรรมโทษ ๑๒ นับกรรมละ ๓ๆ ในกรรม ๑ๆ อย่างนี้คือ อปโลกนกรรม เป็นวรรคโดยอธรรม พร้อมเพรียงโดยอธรรม เป็นวรรค โดยธรรม; แม้ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม ก็เหมือนกัน.

สองบทว่า จตสฺโส กมฺมสมฺปตฺติโย มีความว่า กรรมสมบัติ ที่ตรัสไว้ ๔ ประการ อย่างนี้ คือ อปโลกนกรรม พร้อมเพรียงโดยธรรม แม้กรรมที่เหลือ ก็เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 935

สองบทว่า ฉ กมฺมานิ มีความว่า กรรม ๖ อย่าง ที่ตรัสไว้อย่างนี้ คือ กรรมไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค กรรมพร้อมเพรียง กรรมเป็นวรรค โดยอาการเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงโดยอาการเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียง โดยธรรม.

หลายบทว่า เอเกตฺถ ธมฺมิกา กตา มีความว่า ในกรรม ๖ อย่างนี้ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ตรัสเป็นกรรมที่ชอบ ธรรม.

แม้ในคำตอบในคาถาที่ ๒ กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมนั่นแล ก็ เป็นกรรมชอบธรรม (เหมือนกัน).

[ว่าด้วยอาบัติระงับและไม่ระงับ]

สองบทว่า ยํ เทสิตํ มีความว่า กองอาบัติเหล่าใด อันพระอนันตชินเจ้าทรงแสดงแล้วตรัสแล้ว คือประกาศแล้ว.

วินิจฉัยในคำว่า อนนฺตชิเนน เป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-

นิพพานเรียกว่า อนันตะ เพราะเว้นจากความเป็นธรรมมีที่สุดรอบที่ บัณฑิตจะกำหนดได้. นิพพานนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราบปรามกอง กิเลส ชำนะแล้ว ชำนะเด็ดขาดแล้ว คือ บรรลุแล้ว ถึงพร้อมแล้ว เปรียบ เหมือนราชสมบัติอันพระราชาทรงปราบปรามหมู่ข้าศึกได้แล้วฉะนั้น. เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อนันตชินะ.

พระอนันตชินะนั้นแล ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะเป็นผู้ไม่มีวิการ ในเพราะ อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. พระองค์ทรงเห็นวิเวก ๔ กล่าวคือ ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก เพราะ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 936

ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้เห็นวิเวก. กองอาบัติเหล่าใด อันพระอนันตชินะ ผู้คงที่ ผู้เห็นวิเวกนั้นทรงแสดงแล้ว.

ในคำว่า เอเกตฺถ สมฺมติ วินา สมเถหิ นี้ มีบทสัมพันธ์ดังนี้ :-

กองอาบัติ ๗ เหล่าใด อันพระศาสดาทรงแสดงแล้ว ในกองอาบัติ ๗ นั้น อาบัติแม้กองหนึ่ง เว้นจากสมถะทั้งหลายเสีย หาระงับไม่. โดยที่แท้ ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมด คือ สมถะ ๖ อธิกรณ์ ๔ ย่อมระงับ คือย่อมถึง ความประกอบโดยชอบ ด้วยสัมมุขาวินัย. แต่ในธรรมเหล่านี้ สัมมุขาวินัย อย่างเดียวแล เว้นสมถะทั้งหลายเสียย่อมระงับ คือ ย่อมถึงความเป็นสมถะได้. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าความเว้นจากสมถะอื่นเสีย สำเร็จไม่ได้ แห่งสัมมุขาวินัยนั้น หามีไม่ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในอาบัติ ๗ กองนี้ อาบัติกองหนึ่ง เว้นสมถะเสียก็ระงับได้. เนื้อความนี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายโดย อธิบายนี้ก่อน. แต่ข้าพเจ้าถือเอาเนื้อความเพียงปฏิเสธแห่งนิบาต คือวินา ชอบ ใจเนื้อความนี้ที่ว่า ข้อว่า เอเกตฺถ สมฺมติ วินา สมเถหิ มีความว่า ในอาบัติ ๗ กองนั่น กองอาบัติปาราชิกกองเดียว เว้นสมถะเสีย ก็ระงับได้ คือ ย่อมระงับด้วยสมถะทั้งหลายหามิได้. จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ ตรัสคำนี้ว่า อาบัติใดไม่มีส่วนเหลือ อาบัตินั้น ย่อมระงับด้วยอธิกรณ์ไหน หามิได้ ย่อมระงับในสถานไหน หามิได้ ย่อมระงับด้วยสมถะไหน หามิได้.

[ผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย]

บทว่า ฉอูนทิยฑฺฒสตา มีความว่า พึงทราบบุคคลผู้ทำลายสงฆ์ ต้องไปสู่อบาย ๑๔๔ พวก ด้วยอำนาจหมวดแปด ๑๘ หมวดเนื่องด้วยเภทกรวัตถุ ๑๘ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสังฆเภทขันธกะอย่างนี้ว่า อุบาลี

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 937

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีความเห็นในประเภทแห่งอธัมมทิฏฐินั้น ว่า ไม่เป็น ธรรม มีความเห็นในประเภทแห่งอธัมมทิฏฐินั้น ว่า เป็นธรรม มีความ สงสัยในประเภทแห่งอธัมมทิฏฐินั้น มีความเห็นในประเภทแห่งธัมมทิฏฐินั้นว่า เป็นอธรรม มีความสงสัยในประเภทแห่งธัมมทิฏฐินั้น มีความเห็นในประเภท แห่งผู้มีความสงสัยนั้น ว่า เป็นอธรรม มีความเห็นในประเภท แห่งผู้มีความ สงสัยนั้น ว่า เป็นธรรม มีความสงสัยในประเภทแห่งผู้มีความสงสัยนั้น ย่อม แสดงอธรรม ว่าเป็นธรรม.

สองบทว่า อฏฺารส นาปายิกา ได้แก่ ชน ๑๘ พวก ที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัส ในที่สุดแห่งสังฆเภทขันธกะ นับหมวดละพวกอย่างนี้ว่า อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีความเห็นในประเภทแห่งธัมมทิฏฐินั้น ว่า เป็นธรรม ไม่ยืนยันความเห็น ไม่อิงความพอใจ ไม่อิงความชอบใจ ย่อม แสดงธรรม ว่า เป็นธรรม ย่อมสวดประกาศ ให้จับสลาก ด้วยคำว่า นี้ เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสนา ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบ ใจสลากนี้ อุบาลี ภิกษุแม้นี้แลเป็นผู้ทำลายสงฆ์ แต่หาไปสู่อบายไม่ หาไป สู่นรกไม่ หาตั้งอยู่ตลอดกัลป์ไม่ มิใช่ผู้เยียวยาไม่ได้.

หมวดแปด ๑๘ หมวด ได้กล่าวเสร็จแล้วในคำวิสัชนาด้วยบุคคลผู้ทำ ลายสงฆ์ ๑๔๔ พวก.

วิสัชนาคาถาทั้งปวง มีว่า กติ กมฺมานิ เป็นต้น ตื้นทั้งนั้นฉะนี้แล.

อปรทุติยคาถาสังคณิก วัณณนา จบ