พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วินยัฏฐกถาวสานคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42874
อ่าน  488

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๘

ปริวาร

วินยัฏฐกถาวสานคาถา

วินยัฏฐกถาวสานคาถา 1019


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 1019

วินัยฏฐกถาวสานคาถา

พระโลกนาถผู้ชำนะ เมื่อจะทรงแนะนำบุคคลผู้ควรแนะนำ ได้ตรัสวินัยปิฎกใด ซึ่งแสดงจำแนกโดยอุถโตวิภังค์ ขันธกะ และบริวาร, อรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกาแห่งวินัยปิฎกนั้น จบบริบูรณ์แล้ว โดยคันถะ ประมาณ ๒๗,๐๐๐ ถ้วน ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้แล.

ในคำที่ว่า อรรถกถาวินัย ปลูกความเลื่อมใสรอบด้านนั้น มีคำอธิบายในข้อที่อรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา เป็นคัมภีร์ปลูกความเลื่อมใสรอบด้าน ดังนี้ :-

ในสมันตปาสาทิกานี้ ไม่ปรากฏคำน้อยหนึ่งที่ไม่น่าเลื่อมใสแก่วิญญู ชนทั้งหลายผู้พิจารณาอยู่ โดยสืบลำดับแห่งอาจารย์ โดยแสดงประเภทแห่งนิทานและวัตถุ โดยเว้นลัทธิของฝ่ายอื่น โดยความหมดจดแห่งลัทธิของตน โดยชำระพยัญชนะให้หมดจด โดยเนื้อความเฉพาะบท โดยลำดับแห่งบาลีและโยชนา โดยวินิจฉัยในสิกขาบท และโดยแสดงประเภทแห่งนัยที่สมแก่วิภังค์ เพราะฉะนั้นอรรถกถาแห่งวินัย ซึ่งพระโลกนาถผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกผู้ฉลาดในการฝึกชนที่ควรแนะนำ ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนั้นนี้ จึงบ่งนามว่า "สมันตปาสาทิกา" แล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 1020

    ข้าพเจ้าเมื่ออยู่ที่ปราสาท อันห้อมล้อมด้วยกำแพงทองสะพรั่งด้วยต้นไม้มีร่มเงาอันเย็น มีสระน้ำพร้อมมูล เป็นที่รื่นรมย์ใจ ซึ่งอุบาสกผู้ปรากฏนามว่า มหานิคมสามี ผู้เกิดในสกุลสูงเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ด้วยศรัทธาไม่อากูล บำรุงพระสงฆ์ทุกเมื่อได้สร้างไว้ใกล้เรือนเป็นที่บำเพ็ญเพียรอันสูงลิ่ว ซึงภิกษุสงฆ์ผู้มีจาริตสีลอันสะอาดอาศัยอยู่ ที่ตั้งอยู่ทางด้านใต้แห่งมหาวิหาร อันประดับด้วยต้นมหาโพธิของพระศาสดา ซึ่งประดิษฐานอยู่บนภูมิภาคในอุทยานมีนามว่ามหาเมฆวัน (ข้าพเจ้า) ได้ฟังอรรถกถาซึ่งพระเถระในเกาะสีหล ได้รจนาไว้ทั้ง ๓ คัมภีร์ เหล่านี้คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที ในสำนักพระเถระผู้ปรากฏโดยนามว่า "พุทธมิตต์" ซึ่งเป็นนักปราชญ์ รู้ทั่วถึงพระวินัยมีชื่อเสียง มาคำนึงพระพุทธสิริเถระผู้มีศีลและอาจาระอันสะอาด จึงได้เริ่มรจนาอรรถกถาวินัยอันใด ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ อรรถกถาวินัยนี้ ข้าพเจ้าได้เริ่มรจนา ในปีที่ ๒๐ ถ้วน ซึ่งเป็นปีที่เกษมมีชัย ของพระเจ้าสิริบาล ผู้เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสิริ มี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 1021

พระยศ ทรงปกครองลังกาทวีปทั้งสิ้น ให้ปราศจากเสี้ยนหนาม สำเร็จเรียบร้อยเมื่อย่างเข้าปีที่ ๒๑

    อรรถกถาวินัยนี้ เข้าถึงความสำเร็จได้ ในโลกซึ่งคับคั่งด้วยอุปัทวะ โดยกาลเพียงปีเดียว โดยปราศจากอุปัทวะฉันใด,ความริเริ่มทั้งปวง ที่อิงอาศัยธรรม ห่างอุปัทวะของสัตว์โลกทั้งมวล จงพลันสำเร็จฉันนั้นเถิด.

    อนึ่ง บุญใด ซึ่งข้าพเจ้าผู้มีความนับถือพระสัทธรรมมากรจนาอรรถกถานี้เพื่อให้พระธรรมตั้งอยู่ยั่งยืน ได้สร้างสมแล้ว, ด้วยอานุภาพแห่งบุญทั้งมวลนั้น ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้เสวยรสแห่งพระ-สัทธรรมของพระธรรมราชาเถิด, ขอพระสัทธรรม จงตั้งอยู่ตลอดกาลนานเถิด, ขอฝนจงตกตามฤดูกาล ยังประชาให้ชุ่มชื่นตลอดกาลนานเถิด, ขอพระราชา จงปกครองแผ่นดินโดยธรรมเถิด ฉะนี้แล.

    อรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา อันพระเถระผู้อันครูทั้งหลายขนานนามว่า "พุทธโฆสะ" ผู้ประดับด้วยศรัทธาปัญญาและความเพียรอันบริสุทธิ์ยิ่ง ผู้รุ่งเรือง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 1022

ด้วยกองคุณมีศีลอาจาระ ความซื่อตรง และความอ่อนโยนเป็นต้น ผู้สามารถหยั่งลงสู่ชัฏ คือ สัทธิของตนและลัทธิฝ่ายอื่น ผู้ประกอบด้วยความเฉียบแหลมด้วยปัญญา ผู้มีอานุภาพแห่งญาณไม่ติดขัด ในสัตถุศาสนากับทั้งอรรถกถาอันต่างด้วยปริยัติ คือ พระไตรปิฎกผู้รู้ไวยากรณ์มาก เป็นมหากวีนักพูดประเสริฐ ทุกคำที่ควรพูดในกาลที่ควร (๑) ผู้ประกอบด้วยถ้อยคำอันสละสลวยไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งเปล่งออกโดยง่าย ซึ่งให้เกิดแก่กรณสมบัติ ผู้เป็นเครื่องประดับวงศ์ของพระเถระทั้งหลาย ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้ยังเถรวงศ์ให้สว่าง มีปัญญามั่นคงดีในอุตริมนุสธรรม อันประดับด้วยคุณ มีอภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทาเป็นต้นเป็นประเภท มีปฏิสัมภิทาญาณอันแตกฉานเป็นบริวารผู้มีปัญญาไพบูลย์หมดจดดี ได้รจนาแล้วนี้ จบแล้ว.

    แม้พระนามว่า "พุทโธ" ของพระโลกเชษฐ์ ผู้มีพระหฤทัยสะอาดคงที่ แสวงหาคุณใหญ่หลวง ยังเป็นไปอยู่ ในโลกตราบใด ขออรรถกถาวินัยนี้ จงตั้งอยู่ในโลก แสดงนัย เพื่อความหมดจดแห่งศีลในโลก แสดงนัย เพื่อความหมดจดแห่งศีลแก่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหาพระนิพพานเป็นที่หลีกออกจากโลกตราบนั้น เทอญ.

    อรรถกถาวินัย จบแล้ว


    ๑. พูดทั้งผูกทั้งแก้ (?)