การระลึกรู้ที่ลมหายใจนี้อะไรที่เรียกว่า ปรมัตถ์
ถ. ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเริ่มต้นด้วยคำว่า อานาปานสติ คือ มีสติระลึกรู้ถึงลมหายใจ การระลึกรู้ที่ลมหายใจนี้อะไรที่เรียกว่า ปรมัตถ์
สุ. ลมเป็นรูป มีลักษณะของมหาภูตรูป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ที่ปรากฏกระทบได้ทางกาย
ถ. ท่านอาจารย์กล่าวในฐานะที่เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานใช่ไหม
สุ. ใช่ค่ะ
ถ. เมื่อกล่าวถึงอานาปานสติ ท่านอาจารย์กล่าวถึงลักษณะของมหาภูตรูปซึ่งมีความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ตรงนี้เรียกว่ารู้ตามปรมัตถ์ ในการรู้ตามปรมัตถ์ซึ่งเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ผู้ที่เจริญอาปานสติสามารถที่จะไปรู้ถึงเวทนาด้วยได้ไหม
สุ. ไม่ได้มีแต่รูป สภาพธรรมตามความเป็นจริง มีทั้ง ๕ ขันธ์ คือ มีทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และสติก็เป็นสภาพที่ระลึกรู้ลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น เวลาที่สติระลึกรู้ที่ลม จะเป็นลมหายใจก็ตาม สติก็ดับ ไม่ใช่ว่าไม่ดับ ไม่ใช่ว่าจะรู้แต่ลมได้เพียงอย่างเดียว ถ้าเป็นการเจริญสติปัฏฐานแล้ว สติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามหรือรูปแล้วก็ดับไป และสติก็ระลึกรู้ลักษณะของนามหรือรูปที่ปรากฏต่อไปได้
ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...