ขณะนี้เป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ เป็นปฏิจจสมุปบาท

 
เมตตา
วันที่  13 ต.ค. 2565
หมายเลข  44662
อ่าน  424

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมไม่ใช่เรื่องที่คิดว่าศึกษาได้ง่ายๆ จำไว้ได้มาก ท่องได้มาก ไปสอบก็ได้คะแนนมาก ทั้งหมดจะไม่ได้สาระประโยชน์ใดๆ จากพระธรรมเลยทั้งสิ้น คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทุกคำ ฟังเพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมีอยู่จริงๆ ในชีวิตประจำวัน ธรรมไม่ได้อยู่ในตำรา แต่ธรรมมีอยู่ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ที่กำลังปรากฏอยู่ ขณะที่เข้าใจก็ละความไม่รู้ ละความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเราไปทีละน้อย ความไม่รู้ความจริงจะละได้ด้วยความเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ทุกขณะในชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าคิดว่าธรรมนั้นสามารถเข้าใจได้จากตำราที่เรียน เข้าใจโดยชื่อได้ว่า ขันธ์ ๕ คืออะไร ธาตุ ๑๘ อายตนะ ๑๒ คืออะไร พูดได้หมด แต่ไม่สามารถเข้าใจว่า ธรรมมีอยู่ตรงนี้ ที่นี่ ก็ไม่สามารถละความไม่รู้ คืออวิชชาได้เลย

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ หน้าที่ 129

บทว่า สทฺธมฺมฏฐิติยา ความว่า สัทธรรมมี ๓ อย่าง คือ ปริยัตติสัทธรรม ปฏิปัตติสัทธรรม อธิคมสัทธรรม. บรรดาสัทธรรม ๓ อย่างนั้น พุทธวจนะแม้ทั้งสิ้น ชื่อว่า ปริยัตติสัทธรรม สัทธรรมนี้คือธุดงค์คุณ ๑๓ จาริตศีล วาริตศีล สมาธิ วิปัสสนา ชื่อว่า ปฏิปัตติสัทธรรม โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า อธิคมสัทธรรม

สัทธรรมนั้นแม้ทั้งหมด เพราะเหตุที่เมื่อมีบัญญัติสิกขาบท ภิกษุทั้งหลายย่อมเรียนสิกขาบทวิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และพระพุทธวจนะอื่น เพื่อส่องความสิกขาบทและวิภังค์นั้น และเมื่อปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ บำเพ็ญข้อปฏิบัติย่อมบรรลุโลกุตรธรรมพี่พึงบรรลุด้วยข้อปฏิบัติ ฉะนั้น พระสัทธรรมจึง

.................................................................................................................

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒- หน้าที่ 229

[๓๓๐] สัทธรรม ๗ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา

๒. เป็นผู้มีหิริ

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ

๔. เป็นผู้มีพหูสูต

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร

๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง

๗. เป็นผู้มีปัญญา.

๔. ทุติยโกธสูตร

........................................................................................................

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔- หน้าที่ 358

"ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม"

บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ภิกษุเห็นปานนั้น ย่อมไม่เสื่อมจาก โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภท และจาก โลกุตรธรรม ๙

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

หนทางเดียวคือเข้าใจขึ้นๆ

ขอเชิญคลิกฟังได้ที่ ...

ฟังแล้วเข้าใจขึ้นจนกว่าจะรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา พอ.5274

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 13 ต.ค. 2565

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 306

ข้อความบางตอนจาก ...

มหาปรินิพพานสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่าดูก่อนอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ แม้ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า แม้ สังคีตอันเป็นทิพย์ ย่อมเป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต

ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มได้ที่ ...

มีหนทางเดียวคือ หนทางละความไม่รู้ ละความติดข้อง

พระพุทธศาสนา เพื่อละความไม่รู้

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตตาด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lokiya
วันที่ 15 ต.ค. 2565

กราบอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ