พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์ /206-207
สำหรับเรื่องเนื้อที่ไม่ควรบริโภค มีความละเอียด ใน พระวินัยปิฎก มหาวรรค เรื่องอุบาสิกาสุปียาถวายเนื้อขา ซึ่งจะเป็นต้นบัญญัติว่า เนื้อสัตว์ประเภทใดเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคบ้าง
ข้อความในเรื่องอุบาสิกาสุปียาถวายเนื้อขามีว่า
ขอเชิญรับฟัง
เรื่องอุบาสิกาสุปียาถวายเนื้อขา
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า
ดูกร โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงมิได้พิจารณาแล้วฉันเนื้อเล่า เธอฉันเนื้อมนุษย์แล้ว การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส
ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ เขาสละเนื้อของเขาถวายก็ได้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เนื้อก็เพิ่มโทษขึ้นตามลำดับขั้น ถ้าไม่พิจารณาก็เป็นอาบัติทุกกฏ พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง ก็เป็นเรื่องเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ ที่ทรงบัญญัติห้าม เพื่อท่านผู้ฟังที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา จะได้ไม่ถวายสิ่งที่ไม่ควร ไม่ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ ไม่ใช่ว่าเมื่อท่านมีศรัทธา ก็จะถวายเนื้อไปเสียทุกประเภท