อินทรีย์ 5 กับ พละ 5

 
WS202398
วันที่  15 ส.ค. 2550
หมายเลข  4558
อ่าน  118,658

อินทรีย์ ๕ กับพละ ๕ ประกอบด้วยข้อธรรมใดครับ ต่างกันอย่างไรครับ โพชฌงค์ ๗ ประกอบด้วยข้อธรรมใด มีความหมายอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 15 ส.ค. 2550

เชิญคลิกอ่าน ...

ชื่อว่าโพชฌงค์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อินทรีย์ ๕ และ พละ ๕ ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา

อินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ พละ คือ ความไม่หวั่นไหว

อินทรีย์ ๕ ศรัทธา คือสัทธินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ ในสภาพธัมมะของตนคือ น้อมใจเชื่อ วิริยะ คือวิริยินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการประคองไว้ สติ คือสตินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการระลึก สมาธิ คือสมาธินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญา คือปัญญินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการเห็นตามความเป็นจริง


พละ ๕ สัทธาพละ มีความไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา วิริยะพละ มีความไม่หวั่นไหวในความไม่เกียจคร้าน สติพละ มีความไม่หวั่นไหวในความไม่ประมาท สมาธิพละ มีความไม่หวั่นไหวไปเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ มีความไม่หวั่นไหวไปในความไม่รู้


พละ ๕ และอินทรีย์ ๕ เหมือนกันโดยองค์ธรรม เพียงแต่อธิบายคนละนัย คือ ความเป็นใหญ่และความไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือนแม่น้ำ มีเกาะอยู่ตรงกลาง พึงทราบว่าแม่น้ำสองสาย ที่แบ่งโดยเกาะตรงกลางก็เป็นสายน้ำเดียวกันและก็ย่อมบรรจบกัน ดังเช่น อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ ครับ ประการที่สำคัญ ที่ลืมไม่ได้ คือ อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ ก็คือการอบรมเจริญปัญญาเพื่อบรรลุมรรคผล ในขณะที่อบรมสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าอบรม อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ ด้วยครับ ดังนั้น กิจที่สำคัญคือ เข้าใจเรื่องการอบรมปัญญาคือ การเจริญสติปัฏฐาน ว่าคืออย่างไรครับ


โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมเครื่องตรัสรู้ หมายความว่า ถ้าจะบรรลุธรรม ก็ต้องประกอบด้วยธรรมเจ็ดประการนี้ครับ ซึ่งการอบรมสติปัฏฐาน ที่บริบูรณ์ก็ย่อมทำให้ โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ครับ ดังนั้น สิ่งที่ควรตระหนักคือ เข้าใจหนทางคือ การเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ส.ค. 2550

เชิญคลิกอ่าน ...

โพชฌงค์อินทรีย์และพละ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 16 ส.ค. 2550

อินทรีย์ 5 กับพละ 5 โดยสภาพธรรมไม่ต่างกัน แต่ต่างกันโดยกำลัง เช่น มีศรัทธาน้อย หรือมีศรัทธามาก ฯลฯ ต่างกันโดยความเป็นใหญ่ เช่น ปัญญาเป็นใหญ่ในขณะนั้น หรือศรัทธาเป็นใหญ๋ในขณะนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 18 ส.ค. 2550
ขอให้เจริญในธรรม
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
คุณ
วันที่ 30 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 14 ธ.ค. 2555
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 13 ก.พ. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 24 ธ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ