มหาภูตรูป 4

 
WS202398
วันที่  16 ส.ค. 2550
หมายเลข  4567
อ่าน  5,637

ธาตุดิน น้ำ ลม และไฟ ธาตุไฟเป็นธาตุที่เข้าใจได้ง่ายกว่าธาตุอื่น สำหรับผมธาตุดินสภาพที่แข็งคงรูปก็รองลงมา ส่วนธาตุน้ำกับธาตุลมใกล้เคียงกันมาก ผมเข้าใจว่าธาตุน้ำ คือ สภาพที่เปลี่ยนรูปได้และเกาะกุมกัน ถ้าเปลี่ยนรูปได้แต่ไม่เกาะกุมกันคือ ฟุ้งกระจายคือธาตุลม ส่วนธาตุดินคือสภาพที่คงรูป แข็ง เกาะกุม ไม่ฟุ้งกระจาย ส่วนธาตุไฟคือ อุณหภูมิหรือพลังงาน เช่น นี้ถูกผิดอย่างไรหรือไม่ครับ เคยได้ยินมาว่ามวลสารโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลวหรือ ก๊าซจริงๆ แล้ว ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เพียงแต่เด่นที่ธาตุหนึ่งธาตุใด ถูกหรือผิดครับ

ในทางวิทยาศาสตร์ แบ่งสภาพจริงออกเป็นสอง คือ สสาร ๑ และพลังงานอีก ๑ พลังงานนั้นไม่อาจชั่งตวงวัดในมาตรวัดของมวลสารได้ แต่สามารถผันแปรไปมาได้ คือ จากสสารเป็นพลังงานจากพลังงานเป็นสสาร ตามทฤษฎีของไอสไตน์ พลังงาน=มวลสาร คูณความเร็วแสงยกกำลังสอง

ส่วนในทางพุทธศาสนา ธาตุไฟ เป็นรูปธรรม มิใช่นามธรรม แม้สิ่งที่มิอาจสัมผัสได้ เช่น คลื่นวิทยุ แม้ว่าไม่มีตัวตน ก็ถือเป็นรูปธรรมเข้าใจเช่นนี้ถูกหรือไม่ครับ คำกล่าวที่ว่า เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว คำว่าตึงในที่นี่หมายถึงอยู่กับที่ ส่วนคำว่าไหวคือการเคลื่อนที่ใช่หรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 17 ส.ค. 2550

ควรทราบความจริงว่า ลักษณะของธาตุต่างๆ จะรู้ตามเป็นจริงได้ด้วยสติและสัมปชัญญะ แต่ในเบื้องต้น รู้ลักษณะของธาตุแต่ละอย่างตามการศึกษา และในขณะที่รู้ลักษณะตัวธาตุนั้นจริงๆ ลักษณะต้องตรงกับปริยัติที่ทรงแสดงไว้และสิ่งใดที่ปรากฏมีจริงๆ แต่ไม่รู้อะไรเป็นรูปธรรม รูปธรรมเกิดเพราะปัจจัย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขอเชิญอ่านอรรถและลักษณะของมหาภูตรูป

ดังนี้ เชิญคลิกอ่าน ...
อธิบายธาตุ ๔ [อภิธัมมัตถสังคหบาลี]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 18 ส.ค. 2550

มหาภูตรูป ๔ จะปรากฏทางกายได้ ๓ ธาตุ คือ ธาตุไฟ (เย็นหรือร้อน) ธาตุดิน (อ่อนหรือแข็ง) ธาตุลม (ตึงหรือไหว) ส่วนธาตุน้ำไม่ปรากฏทางกายค่ะ ทางกาย

กระทบได้ ๓ ธาตุพร้อมกัน แต่จิตรู้ได้ที่ละอย่าง เช่น ขณะที่เราโหนบาร์ ขณะนั้นก็มีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหวในขณะนั้น แต่จิตรู้ได้ทีละอย่างค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 18 ส.ค. 2550
ปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริงเท่านั้นที่จะรู้ว่าอย่างไหนจริง อย่างไหนเท็จ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 18 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ถ้าคิดเป็นเรื่องราวจะงง แต่ถ้าเข้าใจ สิ่งใดปรากฏอย่างไร ก็รู้อย่างนั้น โดยไม่ต้องไปใส่ชื่อว่า นี่ ธาตุดินนะ นี่แข็ง นี่อ่อน นี่ธาตุไฟ ร้อน เย็น นี่ตึงหรือเปล่า อย่างไหนตึง แต่การอบรมสติปัฏฐาน ไม่ใช่การคิดนึก แต่เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธัมมะที่ปรากฏ อะไรก็ได้ ไม่เลือก เพราะอะไร เพราะแล้วแต่ว่าสติจะเกิดระลึกรู้อะไร บังคับไม่ได้ ขณะที่ตึงปรากฏ สติอาจจะไม่ระลึกก็ได้ (ระลึกว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา) หรือแม้สภาพธัมมะใดปรากฏก็คิดว่านี่ตึง นี่เย็น ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธัมมะจริงๆ ว่าเป็นธรรม เพราะขณะที่คิดนึก ขณะนั้นไม่ได้ระลึกรู้ลักษณะ ดังนั้น จึงไม่ต้องห่วงเรื่อง ว่าอย่างนี้เป็นสภาพธัมมะอะไร เป็นหน้าที่ของปัญญา ฟังต่อไปเท่านั้น และที่เราแบ่งสภาพธัมมะนี้ง่ายกว่าอันนี้ นั่นเป็นเราที่แบ่ง เป็นเราที่คิดนึกในสภาพธัมมะนั้น แต่ไม่ใช่สติปัฏฐานที่ระลึกจริงๆ ดังนั้นจึงไม่มีการแบ่งด้วยความเป็นเรา (คิดนึก) แต่ขณะที่สติเกิด สติก็ระลึกสภาพธัมมะอะไรก็ได้ และอาจจะไม่ระลึกสภาพธัมมะนั้นก็ได้ (ที่คิดว่าง่าย)

ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 18 ส.ค. 2550

ควรระลึกศึกษาสิ่งที่กำลังปรากฎ สิ่งที่ไม่ปรากฎไม่ใช่สิ่งที่มีจริงในขณะนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 9 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ