การเจริญวิปัสสนาในท่ายืน กำหนดอย่างไร?

 
weerasak123456
วันที่  24 ส.ค. 2550
หมายเลข  4635
อ่าน  1,553

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่

พิจารณาดูกายโดยอิริยาบถ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 24 ส.ค. 2550

ขณะที่กำลังยืน ขณะนั้นมีสภาพธรรมอะไรปรากฎ?

สภาพธรรมนั้นนั่นแหละ เป็นฐานคือ เป็นที่ตั้งของสติและสัมปชัญญะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ต้องไม่ลืมเสมอเลยว่า สภาพธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ต้องเริ่มตรงนี้ก่อน สติและปัญญาก็เป็นอนัตตา บังคับให้เกิดไม่ได้ ขณะใดที่พยายามกำหนด ขณะนั้นเลือก เป็นความจงใจ ต้องการที่จะเลือกให้สติไปเกิดตรงนั้นตรงนี้ ที่แท้ก็เป็นโลภะอย่างละเอียด ที่เปลี่ยนจากความพอใจใน รูป ... หรือในชีวิตประจำวัน เมื่อมาศึกษาพระธรรม โลภะไม่ได้หายไปไหน ก็ยังมีความต้องการเกิดขึ้น พยายามเลือกให้สติเกิดตรงนั้น ตรงนี้ ดังนั้นการอบรมปัญญา ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจก่อนว่า ธรรมคืออะไร เพราะเราต้องการรู้ธรรมใช่ไหม แล้วธรรมคืออะไรหละ ถ้ายังไม่รู้ก็หาไม่เจอ ขอให้เริ่มฟังก่อนนะครับ ว่าธรรมคืออะไร ปัญญารู้อะไร บังคับสติและปัญญาได้ไหม ให้เกิดตรงนั้นตรงนี้หรือเลือกถานที่ และธรรมมีอยู่ในขณะไหน ที่สถานที่หนึ่งที่ใด หรือขณะนี้ก็มี ฟังให้เข้าใจก่อน ย่อมนำไปสู่สิ่งที่ถูก

ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 25 ส.ค. 2550

เริ่มต้นให้ฟังให้เข้าใจก่อน ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ และรู้ว่าขณะใดหลงลืมสติ ขณะใดมีสติ ในขณะที่ยืน ก็มีสภาพธรรมะที่กำลังปรากฏ ก็แล้วแต่สติจะเกิดระลึกตรงลักษณะที่แข็ง หรืออ่อน ตึง หรือไหว ระลึกตรงลักษณะในขณะนั้น ไม่ใช่เราและก็ไม่มีตัวตนที่กำหนด เป็นปกติธรรมดา แต่ปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่ปรากฏแล้วดับอย่างรวดเร็ว

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 25 ส.ค. 2550

กำหนดอย่างไรได้ ในเมื่อไม่มี (สติ) ให้กำหนด

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 26 ส.ค. 2550

ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่สามารถอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 8 ก.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่

พิจารณาดูกายโดยอิริยาบถ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 9 ก.ย. 2550

วิปัสสนาภาวนาเป็นปัญญาขั้นสูงซึ่งต้องเพิกความเป็นกลุ่มก้อนของรูปที่มาประชุมรวมกันว่าเป็นร่างกาย เป็นแขน ขา เข่า เท้า นิ้วเท้า ส้นเท้าต้องกระจัดกระจายสิ่งที่เคยยึดถือว่าเป็นอริยาบถต่างๆ เช่นกัน ไม่มี รูปยืน รูปนั่ง รูปนอน หรือรูปเดิน ในรูป ๒๘ รูปแต่อย่างใด ปรมัตถธรรม ๓ มีเพียงจิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ และดับไปตามเหตุปัจจัย ไม่เช่นนั้นก็จะยังติดข้อง จดจ้องอยู่ในความเป็นกลุ่มก้อน ไม่เป็น "ปัญญา" ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 27 ก.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ