ทุกคำกำลังมีจริงๆ ขณะนี้_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  13 ส.ค. 2566
หมายเลข  46378
อ่าน  307

- ก่อนที่จะมีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตคิดนึก จิตขณะนั้นที่เป็นอเหตุกะมีไหม? (มี) จิตนั้นคืออะไร? (อาวัชชนจิต) เดี๋ยว.. ฟังดีๆ ก่อนที่จะมีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส และคิดนึก ทางหนึ่งทางใดและก่อนปัญจทวาราวัชชนะที่จะรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด ก่อนมโนทวาราวัชชนะที่รู้อารมณ์ทางใจมีจิตอะไร อย่าลืมนะเราจะพูดถึงเฉพาะอเหตุกจิตให้หมดความสงสัยให้มั่นคงให้เข้าใจ เพราะฉะนั้น คำถามทั้งหมดจะเกี่ยวกับอเหตุกจิตเท่านั้น เพราะฉะนั้น ถามว่าก่อนที่จะมีจิตที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นมีจิตอะไร? (มีครับ) จิตอะไร อย่าลืมวันนี้เราพูดเฉพาะอเหตุกจิตเท่านั้นอย่างเดียว (ก่อนที่รู้อารมณ์ทางปัญจทวารกับทางใจมีจิตที่เรียกว่าภวังค์) จิตที่เกิดก่อนจิตที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจคือจิตอะไร? (อาวัชชนะ) อาวัชชนะรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือเปล่า? (รู้) ว่าจะถามถึงจิตที่เกิดก่อน นี่ค่ะความละเอียดของธรรมอย่างยิ่ง หัดคิดหัดละเอียดหัดรอบคอบ มิเช่นนั้นจะฟังแล้วมาตั้งนานเหมือนเข้าใจ แต่ความเข้าใจจริงๆ ก็คือจะต้องฟังทุกคำละเอียด ไม่ต้องบอกเขาไม่ต้องแนะแนว ให้เวลาเขาคิดไตร่ตรองจนกว่าจะเป็นความคิดของเขาเอง.

- เพราะฉะนั้น พูดเตือนให้เขารู้ว่า ก่อนจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มีจิตอะไรเกิดก่อน? (ภวังค์) จิตอะไรทำกิจภวังค์ วันนี้เราจะพูดเรื่องอเหตุกะเท่านั้นก่อนที่เราจะพูดถึงจิตที่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมด เราจะพูดถึงจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมด? (ไม่มีครับ ถ้าเป็นก่อนที่อารมณ์ทาง ๕ ทวาร กับทางใจกระทบไม่มีอเหตุกจิต) .

- อเหตุะจิตมีเท่าไหร่? (๑๘) อะไรบ้าง ทีละหนึ่ง? (เห็น) เห็นมีกี่ดวง? (๒ ครับ) ทำกิจอะไร? (ทำกิจเห็น) ทำกิจเห็นแล้วทำกิจอื่นได้ไหม? (ไม่ได้) ทั้ง ๕ ดวงที่เป็นกุศลวิบากอเหตุกะและ ๕ ดวงที่เป็นอเหตุกอกุศลวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กราะทบสัมผัส มี ๕ กิจใช่ไหม? (มี ๕ กิจ) เป็นกี่ดวง ๕ กิจ? (๑๐ ครับ) .

- อเหตุกจิตที่เป็นวิบากทั้งหมดมีเท่าไหร่? (๑๕) เพราะฉะนั้น หลังจากที่จิตเกิดขึ้นเห็นแล้ว ก่อนจิตเห็นมีอเหตุกจิตไหม? (มี) จิตที่เกิดก่อนจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นจิตอะไร? (ปัญจทวาราวัชชนจิต) .

- ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจเห็นได้ไหม? (ไม่ได้) ทำกิจอะไร? (ทำกิจรู้ว่าอารมณ์อะไรกระทบ) .

- ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิบากจิตหรือเปล่า? (ไม่) เป็นจิตชาติไหน? (กิริยา) กิริยาหมายความว่าอย่างไร? (หมายถึงไม่ใช่เป็นกุศลจิต ไม่ใช่เป็นอกุศลจิต และไม่ได้เป็นวิบากจิต) เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนะทำได้กี่กิจ? (๑ กิจ) .

- ก่อนจิตเห็นเดี๋ยวนี้มีปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนไหม? (มี) ก่อนจิตเห็นที่เป็นวิบากจิตที่เป็นกุศลวิบาก ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นกุศลวิบากหรือเปล่า? (นั่นไม่ได้เป็นผล) เพราะฉะนั้น เป็นวิบากไม่ได้นะ ต้องเป็นกิริยาเท่านั้น.

- ก่อนแมวเห็นมีจิตเกิดก่อนเห็นไหม? (มี) จิตอะไร? (นั่นก็เป็นปัญจทวาราวัชชนะครับ) เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตทำได้กี่กิจ? (ทำได้ ๑ กิจคือรู้ว่าอารมณ์อะไรที่กระทบ) .

- จิตเห็นสิ่งที่น่าพอใจมากเป็นจิตอะไร? (เป็นกุศลวิบาก) ก่อนจิตเห็นที่เป็นกุศลวิบากเกิด จิตอะไรเกิดก่อน? (เป็นอาวัชชนะ) ปัญจทวาราวัชชนจิตที่เกิดก่อนกุศลวิบากที่เห็นเป็นกุศลวิบากหรือเปล่า? (ไม่เป็นกุศลวิบาก) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 13 ส.ค. 2566

- อกุศลแม้เล็กน้อยที่เกิดแล้วดับก็สะสมอยู่ในจิตเป็นอนุสัยกิเลส เพราะฉะนั้น คำสอนทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้เห็นโทษของอกุศลทั้งหมด.

- พรหม กับเทวามีจิตเห็นไหม? (มี) และก่อนจิตเห็นของเทวาและพรหมจิตอะไรเกิด? (ปัญจทวาราวัชชนะ) นี่แสดงให้เห็นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เทวา ไม่ใช่พรหม ไม่ใช่นก ไม่ใช่คน ไม่ใช่จิ้งจก ไม่ใช่ตุ๊กแก แต่เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง กว่าจะค่อยๆ มีความเข้าใจที่เห็นโทษของอกุศลและความไม่รู้ ต้องฟังทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจว่าเป็นธรรม.

- คุณอาช่าเห็นธรรมหรือยัง? (อย่างเช่นเข้าใจเห็นตอนนี้ว่าเป็นธรรม) เดี๋ยวก่อนนะ ถามว่าอะไร? (ถามว่า อาช่าเห็นธรรมหรือยัง) ถามเขาซิว่าคำตอบคืออะไร? (เห็นครับท่านอาจารย์) ไม่ใช่ ฟังคำถาม ถ้าไม่ฟังคำถามจริงๆ ไม่มีวันเข้าใจความลึกซึ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคำของพระองค์ (คุณสุคิน: เห็นตรงนี้ผมเปลี่ยนเป็นเข้าใจได้ไหมครับ) ไม่ได้ ขอโทษๆ คุณสุคินคะใช้ คำว่า เห็น หมายความถึงเข้าใจตรงธรรม (แกก็ตอบว่าก็เห็นครับ เข้าใจ) ถ้าเราถามว่า เห็นจริงๆ คือรู้จักธรรมจริงๆ ไม่ใช่ฟังเรื่องของธรรมเท่านั้น (ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ยังไม่เห็นธรรม) นี่ต้องเป็นความจริงที่ต้องเข้าใจความจริงนี้ตั้งแต่ต้น มิเช่นนั้นจะคิดว่าเขาสามารถประจักษ์แจ้งเข้าใจธรรมแล้ว.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 13 ส.ค. 2566

- แต่ก่อนไม่รู้เลยเรื่องของจิตเรื่องของสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทุกเรื่อง แต่ฟังคำแล้วรู้ว่า กำลังมีเดี๋ยวนี้แต่ไม่เคยรู้จึงฟังเพื่อเข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำไม่ใช่เพียงจำและคิดว่าเข้าใจ แต่ต้องรู้ความจริงว่าเมื่อเข้าใจสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสจึงเริ่มเข้าใจว่าเป็นธรรม ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อรู้ความจริงที่มีจริงๆ ตลอดเวลาแม้เดี๋ยวนี้.

- ฟังเรื่องจิตเพื่อรู้ว่าขาดจิตไม่ได้เลยเพราะขณะนี้ทุกอย่างปรากฏโดยจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้ง แม้แต่มีจิตจริงๆ และจิตเป็นสภาพรู้จริงๆ แต่ก็ไม่เคยรู้เลยว่าเป็นจิตที่รู้ ไม่ใช่เรา.

- ถ้าไม่ฟังธรรมไม่รู้เลยว่าตลอดชีวิตมีจิตซึ่งเป็นธาตุรู้หลากหลายประเภทต่างๆ ตามที่เรากำลังเริ่มรู้ และเริ่มเข้าใจขั้นฟัง.

- ถ้าแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ของจิตหลากหลายมาก จิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เหตุ ตือโลภะ โทสะ โมหะ และจิตที่ไม่มีเหตุใดเกิดร่วมด้วยเลย ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เป็นจิตที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น เรารู้ว่าขณะนี้มีจิตแต่เรายังไม่รู้ความละเอียดว่า จิตอะไรขณะนี้.

- ถ้าบอกใครๆ ว่า มีจิต จิตเป็นธาตุรู้เท่านี้ เขาได้ยินแต่ความเข้าใจของเขาว่าไม่ใช่ใครเลยนอกจากธาตุรู้หลากหลายที่เกิดดับตามเหตุตามปัจจัย ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระธรรมใน ๔๕ พรรษามากมายถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป เป็นนิพพาน.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 13 ส.ค. 2566

- ความลึกซึ้งความละเอียดของธรรมมีมาก จึงต้องทรงแสดงความลึกซึ้งความละเอียดนั้นถึง ๔๕ พรรษา ทุกคำกำลังมีจริงๆ ขณะนี้ แต่ว่ากว่าจะรู้และเข้าใจจริงๆ ต้องอาศัยการฟังทีละคำ.

- ถ้าบอกว่าขณะนี้ เห็น เป็นธาตุรู้ ที่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น จะละความเป็นเราเห็นได้ไหม? (ไม่ได้) ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดง ธาตุที่รู้ เป็นใหญ่ในการรู้ คือจิต มากมายทุกอย่างเพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจความจริงว่า ขณะนี้ไม่ได้รู้ความจริงของขณะที่กำลังเห็น.

- เพียงจิตเห็นเดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้ว่า ก่อนจิตเห็นก็มีจิตที่ไม่เห็น ถ้าไม่มีจิตที่เกิดก่อนจิตเห็น จะมีจิตเห็นได้ไหม? (ไม่ได้) นี่ต้องเป็นความมั่นคงว่า ทรงแสดงความละเอียดให้รู้ว่า เห็นที่เคยเป็นเราไม่ใช่เราเลย แต่เห็นเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่าง.

- เพราะฉะนั้น ฟังทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความเคารพสูงสุด ไม่เคยรู้จักจิต ไม่เคยรู้ว่า ก่อนจิตเห็นต้องมีจิต และเมื่อจิตเห็นดับไปแล้วก็ยังมีจิตซึ่งไม่ใช่จิตเห็น เพราะฉะนั้น ก่อนฟังพระธรรมเคยรู้อย่างนี้ไหม? (ไม่รู้) เกิดมานานเท่าไหร่ก็มีแต่ความไม่รู้จนกว่าจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

- ต้องรู้ประโยชน์สูงสุดที่พระองค์ตรัสทุกคำ เพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจความจริงจนกระทั่งค่อยๆ คลาย ละความไม่รู้ซึ่งมีมากมายมหาศาลทีละเล็กทีละน้อย น้อยมากจนรู้ความจริงว่า กำลังฟังไม่กี่คำเอง แต่พระองค์ตรัสใน ๔๕ พรรษามากมายกี่คำที่จะต้องรู้ต่อไป.

- ถ้าไม่ฟังคำของพระพุทธเจ้าจะรู้ความจริงของ เดี๋ยวนี้ ได้ไหมว่า ไม่มีเรา แต่เป็นธรรม? (ถ้าไม่ฟังไม่รู้ครับ) .

- เพราะฉะนั้น เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง? (เริ่ม) เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อไหร่? (เมื่อมีความเข้าใจ) เมื่อเริ่มรู้ว่า พระองค์ทรงแสดงความจริงของสิ่งที่กำลังมีซึ่งลึกซึ้งอย่างยิ่ง เริ่มเข้าใจแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่าไหร่ เริ่มเข้าใกล้และเริ่มรู้จักพระองค์เพิ่มขึ้นทีละน้อยมาก จนกว่าจะเข้าใจมากขึ้นๆ .

- เพราะฉะนั้น พูดถึงอเหตุกจิต รู้ว่ามีอะไรบ้างเท่าไหร่ไม่พอ แต่ต้องเข้าใจจริงๆ ละเอียดขึ้น เพราะอเหตุกะกำลังมีเดี๋ยวนี้เอง เราพูดถึงวันนี้เฉพาะวันนี้ถึงอเหตุกจิตกี่ดวงแล้ว? (วันนี้เราคุยกันเรื่องอเหตุกจิต ๑๑ ดวง) อะไรบ้าง? (ปัญจวิญญาณ ๕ ที่เป็นกุศลวิบาก และ ๕ ที่เป็นอกุศลวิบาก และก็ปัญจทวาราวัชชจิต) เราพูดถึงมโนทวาราวัชชนจิตด้วยหรือเปล่า? (ยัง) เราพูดถึงกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะแล้วยัง? (พูดถึง) กี่ดวง? (๓ ดวง) เราพูดถึงอเหตุกกิริยาจิตวันนี้กี่ดวง? (๑ ดวง ก็คือปัญจทวาราวัชชนจิต) ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ทางไหน? (รู้อารมณ์ ๕ ทวาร) ทำกิจอื่นได้ไหม? (ไม่ได้) อย่าลืมนะ ทำได้ ๑ กิจใช่ไหม? (ครับ) ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจอาวัชชนะเท่านั้นทำกิจอื่นไม่ได้ แต่เกิดได้กี่ทวาร? (๕ ทวาร) จักขุวิญญาณทำกิจเห็นเท่านั้น เกิดได้กี่ทวาร? (๑ ทวาร) โสตวิญญาณทำกิจ ๑ กิจ เกิดได้กี่ทวาร? (๑ ทวาร) ฆานวิญญาณเกิดได้กี่ทวาร? (๑ ทวาร) ชิวหาวิญญาณเกิดได้กี่ทวาร? (๑ ทวาร) กายวิญญาณเกิดได้กี่ทวาร? (๑ ทวาร) .

- จักขุวิญญารทำไมจึงเห็นได้เฉพาะทวารเดียว? (เพราะมีจักขุปสาท ไม่มีปสาทอื่น) เพราะฉะนั้น ก็เป็นความเข้าใจที่อาจจะกล่าวถึงอื่นก็ได้อีกมาก แต่เราพูดถึงพอสมควร.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 13 ส.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้เรารู้ได้ว่า จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ รู้ได้เฉพาะทวารของตนเมื่อสิ่งนั้นกระทบทวารแล้วยังไม่ดับเท่านั้น.

- เมื่อคืนนี้คุณอาช่าฝันบ้างหรือเปล่า? (ฝัน) เมื่อคืนฝันมีจักขุวิญญาณไหม? (ไม่มี) มีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม? (ไม่มี) มีจิตไหม? (มี) จิตอะไรที่ฝัน? (จิตที่คิด) เรายังไม่ได้พูดถึงจิตนั้นนะ แต่เราสามารถจะบอกได้ว่าขณะนั้นไม่มีปัญจทวาราวัชชนะ ไม่มีจักขุวิญญาณ ไม่มีโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เหมือนเห็นเหมือนได้ยิน แต่ก็ไม่ใช่จิตที่กำลังได้ยินเสียงที่ยังไม่ดับ หรือเห็นจริงๆ สิ่งที่ปรากฏกระทบตายังไม่ดับความต่างกัน.

- เพราะฉะนั้น รู้นะ ต้องเป็นขณะที่สิ่งนั้นเป็นรูปกระทบตา จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นเห็นหลังจากที่ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนรู้ว่าจิตที่กระทบทางนั้นต่างกับขณะที่ฝันใช่ไหม? (เข้าใจ) .

- เพราะฉะนั้น เวลาฝันมีอเหตุกจิตไหม? (มี) จิตอะไร? (มโนทวาราวัชชนจิต) เป็นอเหตุกจิต เพราะฉะนั้น วันนี้เราก็จะพูดถึงมโนทวารที่เป็นอเหตุกจิต ขณะที่กำลังคิดเป็นอเหตุกจิตหรือเปล่า ก่อนคิด เพราะว่าตอนที่สิ่งที่ปรากฏทางตาดับแล้ว จิตยังมี แต่ไม่ใช่จิตที่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด เพราะฉะนั้น ขณะที่เริ่มจะคิดเราไม่เคยรู้เลย เหมือนปัญจทวาราวัชชนจิตที่เกิดก่อนจักขุวิญญาณเราก็ไม่เคยรู้ ถูกต้องไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น เรากำลังจะพูดถึงความละเอียดยิ่งขึ้นของจิตแต่เรายังไม่พูดก่อน เราจะพูดถึงอเหตุกจิตทีละหนึ่ง ตอนนี้เราพูดถึงอเหตุกจิตกี่ดวงแล้ว.

- ตอนนี้กำลังจะเข้าใจมโนทวาราวัชชนจิต ขณะที่คิด ขณะนั้นกำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาหรือเปล่า? (ไม่เห็น) เพราะฉะนั้น โดยชื่อ มโน + ทวารา + วัชชนะ + จิต หมายความถึงจิตนั้นทำกิจอะไร? (ตามศัพย์เหมือนปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจรู้อารมณ์ที่กระทบ) เพราะฉะนั้น วันนี้ที่เราถามโน่นถามนี่เพื่อให้เขาฟังให้ดีทุกคำ.

- เพราะฉะนั้น เราย้อนกลับมาที่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ๕ ทาง เมื่อจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสยังไม่ดับ จะต้องมีจิตอื่นเกิดต่อรู้อารมณ์นั้นใช่ไหมตามเหตุตามปัจจัย รู้อารมณ์อื่นยังไม่ได้? (ครับ) .

- เพราะฉะนั้น จิตอะไรที่เป็นทางตาที่เป็นวิถีจิตบ้างเท่าที่กล่าวแล้ว? ( ... ) อย่าลืมนะคำถามว่า เรากำลังพูดถึงจิตที่เกิดก่อนจิตเห็นและจิตเห็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทั้งหมดที่กล่าวถึงเป็นวิถีจิตหรือเปล่า? (ทั้งหมดนั้นเป็นวิถีจิต) กี่ดวงแล้ว? (ถ้าจากระยะนั้นก็ ๑๑ แล้ว) เพราะฉะนั้น นี่เป็นคำถามที่ดูว่าละเอียดพอที่จะฟังคำถามไหม เพราะฉะนั้น ฟังคำถามจะได้ตอบตรง วิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กายรู้อะไร? () คำตอบของคุณอาช่าทุกคนรู้ ถูกต้องไหม? (ถ้าเป็นเห็น ก็คือรู้สีที่กระทบ ได้ยินก็รู้เสียง ได้กลิ่นก็รู้กลิ่น ลิ้มรสก็รู้รส ถ้าสัมผัสทางกายก็รู้อารมณ์ตามที่วิญญาณนั้นรู้ได้) คำตอบของคุณอาช่าทุกคนรู้ถูกต้องไหม? (ครับ) จะเพิ่มเติมอีกสักหน่อยหนึ่งไหมที่คนกล่าวถึงหรือไม่กล่าวถึงก็ตาม แต่เขาจะคิดไหมว่าสิ่งที่ปรากฏที่ทำให้อเหตุกจิตที่เป็นปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งนั้นที่กระทบ และก็มีการเห็น การได้ยินต่างๆ เหล่านี้รู้อารมณ์นั้น เติมอีกนิดได้ไหม? (ครับ) เขาเองจะตอบต่ออีกนิดได้ไหมที่คนอื่นไม่ได้พูดถึง รู้แต่เพียงว่า จิตพวกนี้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย? (คือ อาจเป็นเพราะเขาไม่เข้าใจคำถามหรือว่าอาจจะเป็นเพราะไม่รู้คำตอบ) ใช่ค่ะ แน่นอน เพราะเหตุนั้น กว่าเขาจะรู้ความลึกซึ้ง ว่า ทำไมเราพูดอย่างนี้ ให้เขาคิด เพราะเหตุว่าทุกคนสามารถที่จะจำได้ อเหตุกะมีเท่าไหร่ จิตประเภทนั้นทำหน้าที่อะไรตาม แต่ว่าถ้าถามให้ละเอียดเพราะในพระไตรปิฏก คัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก มีคัมภีร์หนึ่ง คือกถาวัตถุ ถามถึงเรื่องของธรรมทั้งหมดที่ละเอียดที่ต้องคิดก่อนที่จะตอบจึงจะเข้าใจคำถามนั้นตรงและก็ตอบตรงด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เป็นคนตรงจะรู้ไหม ธรรมละเอียดลึกซึ้งและกว่าจะรู้ได้ทั้งๆ ที่กำลังมีไม่ใช่วันสองวันที่ได้ยินชื่อแล้วจำแล้วคิดว่าเข้าใจแล้ว แต่ต้องรู้ว่าเป็นการเข้าใจตัวจริงของธรรมซึ่งยาก ลึกซึ้ง ละเอียด แล้วเราก็เคยแต่ฟังเรื่องอื่น มีปัจจัยที่จะคิดเรื่องอื่น แต่ถ้าพระองค์ไม่ตรัสถึงความละเอียดเราจะมีการที่จะเริ่มคิดถึงความละเอียดทีละเล็กทีละน้อยจนรู้ประโยชน์ ว่า ตลอดเวลาที่เราฟังเรื่องอื่น คิดเรื่องอื่นเรื่องโลกบ้างเรื่องรัฐบาลเรื่องการเมืองเรื่องอะไรทุกอย่าง กับการที่นึกถึงคำที่ได้ฟังแล้วไตร่ตรองบ้าง น้อยกว่าการที่เรามีเรื่องที่ไม่เป็นสาระทั้งหมดเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้จริงๆ ถึงชีวิตประจำวัน กว่าจะค่อยๆ ละความสนใจความที่ต้องการจะเป็นอย่างอื่น แม้แต่เรื่องอย่างนี้บางคนเบื่อแล้ว แล้วเขาจะเข้าใจธรรมหรือ? (ครับ) เพราะฉะนั้น เราไม่ไปไกลถึงพวกคำภีร์ต่างๆ เพราะเราเพิ่งเริ่มต้น แต่ต้องตรงที่จะต้องคิดไตร่ตรอง ถ้าเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่จำว่ามีเท่าไหร่ ทำหน้าที่อะไร เกิดทางไหน แต่สามารถที่จะไม่ว่าจะป็นคำถามอะไร ที่เกี่ยวกับที่เราคิดว่าเราเข้าใจแล้วตอบ (ครับ) เพราะฉะนั้น อีกทีนะ ปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เป็นอเหตุจิตรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดเฉพาะของตน เท่านี้พอไหม อีกนิดหนึ่งได้ไหม? (รู้ว่าที่เราสนทนาวันนี้ถ้าเป็นอาวัชชนะแล้วรู้ได้อารมณ์ทั้ง ๕ ทวาร) ทุกคนรู้ค่ะอย่างนี้ ทุกคนรู้หมดใช่ไหม แต่ต่ออีกนิดไม่ใช่ยาวเยียดต่ออีกนิดหนึ่งได้ไหม? (ถ้าไม่มีอาวัชชนะก็ไม่มีเห็น) ฟังคำถาม ปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ, ปัญจทวาราวัชชนจิต โสตวิญญาณ, ปัญจทวาราวัชชนจิต ฆานวิญญาณ, ปัญจทวาราวัชชนจิต ชิวหาวิญญาณ, ปัญจทวาราวัชชนจิต กายวิญญาณ, รู้อารมณ์ทางทวาร ๕ เท่านั้นใช่ไหม ถูกต้องไหม? (ถูกต้อง) ต่ออีก ๒ - ๓ คำได้ไหม ที่เข้าใจแล้วอีก ๒ - ๓ คำเท่านั้นได้ไหมมั่นคง? (รู้ว่าอารมณ์ที่รู้ ก็คือเป็นอารมณ์ทางปัญจทวาร ทางมโนทวารไม่ ... ) ไม่ได้ต่อเลยค่ะ ฟังคำถาม ฟังใหม่อย่างที่คุณสุคินทบทวนเมื่อกี๊นะ ปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ, ปัญจทวาราวัชชนจิต โสตวิญญาณ ... รู้อารมณ์ทางทวารเดียวแต่ละทวารใช่ไหม และให้ต่ออีก ๒ - ๓ คำได้ไหม แค่ ๒ - ๓ คำได้ไหมที่เข้าใจ? (ท่านอาจารย์ครับ ดูเหมือนเขาไม่รู้ครับ) ต้องเติม คำว่า ที่ยังไม่ดับไปเท่านั้น ถูกต้องไหม? (ถูก) เห็นไหมความลึกซึ้ง ว่า ขณะนี้ไม่ได้ปรากฏอย่างที่เราได้ฟัง ว่า ธรรมลึกซึ้ง สิ่งที่เกิดดับเร็วมากแต่แม้ว่าจะเป็นรูปก็ยังช้ากว่าจิต เพราะฉะนั้น รูปๆ หนึ่งมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เมื่อกระทบภวังค์ แล้วก็กระทบภวังค์ๆ ๓ ขณะแล้วปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับ จักขุวิญญาณเห็นสิ่งที่กระทบตาที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น เมื่อจักขุวิญญาณดับแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ? (สัมปฏิจฉันนะ) สัมปฏิจฉันนะคืออะไร? (รับรู้อารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ) เพราะอะไร? (แกให้เหตุผลหลายเหตุผล ๑. เริ่มจากที่ว่าจิตเห็นทำหน้าที่นั้นไม่ได้ ... ) ทำหน้าที่อะไรไม่ได้? (สัมปฏิจฉันนะที่รับรู้อารมณ์ต่อ จิตเห็นก็แค่เห็น) ถ้าไม่ได้ทำหน้าที่สัมปฏิจฉันนะทำหน้าที่อื่นได้ไหม? (ทำหน้าที่ของเห็นอย่างเดียว ... .) เพราะฉะนั้น จึงต้องว่า จักขุวิญญาณทำกิจอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อจักขุวิญญาณดับแล้วจะเห็นอีกครั้งหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะเห็นแล้วดับแล้ว แต่รูปยังไม่ดับ (และแกบอกอีกหนึ่งเหตุผล ก็เพราะรูปยังไม่ดับ ๒. จิตเป็นปัจจัยให้อีกจิตหนึ่งเกิดแกก็ให้เหตุผลตามนั้นมา) หมายความว่า เมื่อรูปยังไม่ดับ และรูปนั้นเป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณเกิดแล้วดับแต่รูปยังไม่ดับเพราะฉะนั้น จิตจึงต้องรู้รูปที่ยังไม่ดับ เพราะเหตุว่า สิ่งอื่นยังไม่มี มีแต่รูปที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะเกิดขึ้นรู้รูปนั้นต่อแต่ไม่เห็น ถูกต้องไหม จึงทำหน้าที่รับรู้ต่อ ไม่ใช่หน้าที่เห็น ไม่ว่าจะเรียกว่าสัมปฏิจฉันนะหรือเรียกอะไร จิตนั้นก็ทำกิจนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 380 ข้อความบางตอนจากเมฆิยสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส เป็นไปเพื่อเป็นที่สบายในการเปิดจิตเพื่อเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ อัปปิจฉกถาสันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา ศีลกถา สมาธิ-กถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ..

กถาวัตถุ ๑๐ ประการ [ปฐมวัตถุกถาสูตร]

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 13 ส.ค. 2566

- เมื่อรูปยังไม่ดับ และรูปนั้นเป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณเกิดแล้วดับแต่รูปยังไม่ดับเพราะฉะนั้น จิตจึงต้องรู้รูปที่ยังไม่ดับ เพราะเหตุว่า สิ่งอื่นยังไม่มี มีแต่รูปที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะเกิดขึ้นรู้รูปนั้นต่อแต่ไม่เห็น ถูกต้องไหม จึงทำหน้าที่รับรู้ต่อ ไม่ใช่หน้าที่เห็น ไม่ว่าจะเรียกว่าสัมปฏิจฉันนะหรือเรียกอะไร จิตนั้นก็ทำกิจนั้น แต่คำนี้เป็นภาษาบาลี ภาษามคธีที่ใช้คำนี้ เราจึงใช้คำนี้ด้วย.

- จักขุวิญญาณกับสัมปฏิจฉันนจิตต่างกันอย่างไร? (ต่างกันตรงกิจ จักขุวิญญาณทำกิจเห็น ส่วนสัมปฏิจฉันนะทำกิจสัมปฏิจฉันนะรับรู้อารมณ์ต่อครับ) การที่จะทำกิจต่างกัน ก็จะต้องมีสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วยต่างกันเพิ่มขึ้นด้วยใช่ไหม? (ครับ) และมีสภาพธรรมหนึ่งซึ่งทุกคนก็เคยได้ยิน จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เจตสิกเป็นสภาพธรรมที่รู้ แต่ไม่เป็นใหญ่เป็นประธานแต่เกิดกับจิต ทำให้จิตหลากหลายเป็นประเภทต่างๆ ตามเจตสิกด้วย.

- ต่อไปเมื่อมีความเข้าใจมั่นคงเราก็จะรู้ความละเอียดเพิ่มขึ้นของจิตแต่ละประเภทซึ่งเพราะเหตุใดจึงมีเจตสิกเกิดมากน้อยไม่เท่ากัน.

- ต้องไม่ลืมจุดประสงค์ของการฟังธรรมเพื่อค่อยๆ เข้าใจให้ถูกต้องว่า ไม่มีเรา เพื่อละความไม่รู้.

- เพราะฉะนั้น การศึกษาไม่ใช่เพื่อละความไม่รู้และเพื่อเข้าใจความจริง ถ้าไม่ใช่เพราะเหตุนี้การศึกษานั้นเป็นโทษเหมือนจับงูพิษข้างหาง.

- การฟังธรรม สิ่งที่มีจริงๆ ทุกขณะไม่ขาดไปเลยก็เพื่อค่อยๆ เห็นถูกต้องว่า เป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตาไม่มีใตรและไม่มีการที่จะอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครได้ ทั้งหมดนี้เพื่อถึงความเข้าใจที่มั่นคงว่า ธรรมไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เป็นธรรมเท่านั้น.

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้เองจิตเห็นเพียง ๑ ขณะดับ กรรมทำให้มีจิตอื่นที่จะต้องรู้อารมณ์นั้นต่อเพราะเป็นอารมณ์เดียวกัน จึงเป็นผลของกรรมเดียวกัน.

- (อาช่า: มีคนใหม่เพิ่งเข้ามามีคำถามและเรามีเวลาแค่ ๑๐ นาที แกขอโอกาสถามคำถาม) ได้เลย ทุกคน เพราะฉะนั้น เราพูดธรรมเพื่อเข้าใจ จะเป็นคำถาม โน่น นี่ นั่น ได้หมดเลย (ทีแรกแกก็มีคำถาม แต่พอฟังไปแล้วแกจะถามวันหลังเพราะวันนี้เราคุยกันเขาก็ฟังครั้งแรกและแกก็เห็นว่าควรฟังต่อ แกเลยขอโอกาสแนะนำตัวเพราะอาคิ่ลแนะนำมา แกดีใจมากที่ได้โอกาสเข้ามาฟัง คำถามไว้วันหลังก่อนสำหรับวันนี้ให้เราพูดต่อครับ) ยินดีมากนะ ที่เขามีโอกาสได้ฟังและได้เข้าใจและได้เป็นประโยชน์และจะฟังต่อไปเพราะว่าต้องฟังแล้วเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็ซักถามได้ เพราะฉะนั้น วันนี้ก็ฟังไปก่อนก็ได้.

- คุณอาช่าคะ ถึงไหนแล้ว (เราพูดถึงจิตที่เกิดหลังจากจักขุวิญญาณ นั่นคือจิตอะไร เราพูดถึงว่าต้องมีจิตหนึ่งที่รู้อารมณ์เดียวกันที่ยังไม่ดับ นั่นก็คือสัมปฏิจฉันนจิต ซึ่งไม่ได้ทำกิจเห็นแต่ทำกิจรับรู้อารมณ์ต่อ จิตนี้มีเจตสิกที่ไม่มีในจิตที่เกิดก่อนครับ) ดีมาก เก่งมาก เพราะฉะนั้น เรากำลังพูดถึงขณะนี้ ไม่มีใครรู้จิตที่เกิดก่อนจิตเห็น และไม่มีใครรู้จิตที่เกิดต่อจากจิตเห็นใช่ไหม? (ครับ) ทั้งๆ ที่มี เป็นความจริง ทำไมไม่รู้ เห็นไหม ต้องไตร่ตรองแล้ว? (เป็นเพราะ ๒ จิตนี้ไม่ปรากฏ) เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า เมื่อไหร่ ขณะไหน ภูมิไหนภพไหนก็ตาม จะรู้ได้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เท่านั้น เพราะฉะนั้น ทุกคำที่ฟังเข้าใจมั่นคง อะไรก็ตามที่ไม่ได้ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แม้มีก็รู้ไม่ได้เพราะอะไร? (๑. เพราะไม่ปรากฏ ๒. ทั้ง ๒ จิต เกิดแล้วดับทันที เพราะฉะนั้น ได้ยินพูดถึง ได้ยินกล่าวถึง อย่างไรๆ ก็ไม่ปรากฏอยู่ดี) เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจสิ่งที่ปรากฏทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางใช่ไหม และเข้าใจมั่นคงว่า อะไรก็ตามที่ปรากฏที่เข้าใจต้องเป็นทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางเท่านั้น.

- ขณะนี้เราพูดถึงเจตสิก ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือเปล่า? (เช่น ความรู้สึก นั่นปรากฏก็เป็นเจตสิกครับ) ตรงคำถามไหม? (ท่านอาจารย์ถามว่า เจตสิกปรากฏไหม) ค่ะ แล้วคำตอบ? (แกยกตัวอย่าง ความรู้สึกครับ) ไม่ได้ยกตัวอย่าง ถามว่าปรากฏไหม? (ปรากฏครับ ตอนนี้ก็ปรากฏ) ทางไหน? (ทางมโนทวาร) อันนั้นคิด หรือว่ารู้ หรือว่าเข้าใจ? (ยังไม่รู้ แต่ว่าคิดหลังจากได้ยินและได้ฟัง) เพราะฉะนั้น คิดเองกับคิดตามที่พระพุทธเจ้าตรัส อะไรจะถูกต้องและละเอียด? (ถูกก็คือ คิดตามที่พระพุทธองค์ตรัสครับ) แต่ส่วนใหญ่คนฟังคำของพระพุทธเจ้าแล้วคิดเอง ไม่ได้คิดตามที่พระองค์ตรัสที่ละเอียดและลึกซึ้ง.

- เพราะฉะนั้น ฟังแล้วคิดถูกต้อง ไตร่ตรองถูกต้อง แต่ต้องตามที่พระองค์ตรัสไว้ที่ลึกซึ้งขึ้น.

- คราวหน้าเราจะสนทนาเรื่องอะไรดี? (ต่อจากเรื่องนี้ครับ) ถูกต้องที่สุด เพราะฉะนั้น ถ้ายังไม่เข้าใจละเอียดลึกซึ้งมั่นคงรอบคอบ ถึงเราจะต่อไปก็ไร้ประโยชน์.

- พูดถึงสิ่งที่มีจริงทุกขณะ และเดี๋ยวนี้ด้วยซึ่งยังไม่รู้ความละเอียด ยังเป็นเรา.

- สำหรับวันนี้ก็ยินดีด้วยกับความเข้าใจพระธรรม และการเห็นประโยชน์ และมีความอดทนที่รู้ว่า ถ้าไม่ฟังคำของพระองค์ด้วยความอดทน ละเอียด ลึกซึ้ง ก็จะเป็นความคิดของตัวเองทั้งหมด คิดเองกับค่อยๆ เข้าใจความลึกซึ้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ละเอียดต่างกันมาก ก็ขอแสดงความยินดีในกุศลของทุกท่าน.

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มได้ที่ ...

ขอเรียนถามครับ - ให้เข้าใจพระธรรมในภาษาของตนๆ

ความจริงแห่งชีวิต [41] จิต เกิดขึ้น รู้แจ้งอารมณ์ ที่ปรากฏ

ลักษณะของการรู้แจ้งอารมณ์ ... ๑

ลักษณะของการรู้แจ้งอารมณ์ ... ๒

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
siraya
วันที่ 15 ส.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ก.ย. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ