การกินเนื้อสัตว์
ได้รับฟังการพูดคุยเรื่องการกินเนื้อสัตว์ของพระภิกษุสงฆ์จากหลายสื่อ บางสื่อที่มีพระสงฆ์เป็นผู้อธิบายธรรมะก็กล่าวว่า เป็นการส่งเสริมให้เกิดการฆ่าซึ่งเป็นบาป แต่เท่าที่ผมเรียนรู้มานั้น ผู้กินเนื้อสัตว์แต่ไม่ได้ฆ่า ไม่ถือเป็นอกุศลกรรม แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ทรงฉันเนื้อสัตว์ เพราะไม่มีเจตนาฆ่า แต่การเจตนาทำทุจริตกรรมต่างหากที่ควรละอาย
ดังนั้น การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมหรือไม่นั้น ควรพิจารณาที่จิตในแต่ละขณะ รวมทั้งเจตนาในการกระทำกรรมนั้นๆ ใช่หรือไม่
ขอบคุณครับ
ที่ท่านกล่าวมาถูกต้องแล้ว ตามพระไตรปิฎกแสดงไว้ว่า พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ในสมัยครั้งพุทธกาลท่านฉันเนื้อสัตว์ ทรงห้ามเนื้อบางชนิดเท่านั้น เช่น เนื้อสุนัข เนื้อช้าง เป็นต้น การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นกรรมอยู่ที่เจตนา คือ ความตั้งใจกระทำทางกาย วาจา ใจ
ทำไมถึงพระภิกษุห้ามฉันเนื้อสุนัขคะ แล้วถ้าฆราวาสทานเนื้อสุนัขจะเป็นอะไรหรือเปล่าคะ การทานเนื้อสุนัขเป็นที่แพร่หลายมากในบางประเทศและบางส่วนของไทย
ในพระวินัยเป็นอาบัติเฉพาะพระภิกษุ ถ้าคฤหัสถ์บริโภค ไม่มีอาบัติ
จุดมุ่งหมายของพระผู้มีพระภาคเจ้าฯ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉันต้องอาบัติทุกกฏ เป็นเพราะต้องการลดข้อขัดแย้งหรือเพราะเหตุอื่น
เหตุที่ทรงบัญญัติพระวินัยเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
โปรดอ่านข้อความโดยตรงจากพระวินัย คลิกที่
เนื้อที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต เนื้อที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ หมายถึง ไม่เห็นเขาฆ่าให้เรากิน ไม่ได้ยินเขาสั่งฆ่า ไม่สงสัยว่าเนื้อนี้เขาฆ่าเจาะจงให้เรากิน (สำหรับพระภิกษุ) สุนัขเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ และได้เป็นที่ยอมรับกันว่าสุนัขเป็นสัตว์ยอดกตัญญู ถ้าสั่งฆ่าแล้วกิน ผิดศีลข้อปาณาติบาต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ