น้ำมูตร
น้ำมูตร คือ น้ำปัสสาวะ แม้ว่าเป็นของใหม่สดก็ชื่อว่าเน่า เพราะกลิ่น ที่ว่า น้ำมูตรเน่า ไม่ได้หมายความว่าเอาไปดองไปทำให้เน่า แม้เป็นน้ำปัสสาวะใหม่ ก็ชื่อว่า น้ำมูตรเน่า เพราะกลิ่นที่ไม่สะอาด จึงชื่อว่า น้ำมูตรเน่า
ที่มา ...
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค.
ที่มา ...
[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 74
อนึ่ง ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายได้ใช้สมอดองด้วยน้ำมูตรทําเป็นยา เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละที่ทรงอนุญาตไว้โดยนัยมีอาทิ
ที่มา ...
[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 216
[๕๓๒] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีน้ำมูตรเน่าที่ระคนด้วยตัวยาต่างๆ ทีนั้น ก็มีคนเป็นโรคผอมเหลืองมาถึง, พวกคนก็พูดกะเขาอย่างนี้ว่า "นี่แน่ะ นาย นี้น้ำมูตรเน่าที่เอาตัวยาต่างๆ มาระคน ถ้าคุณต้องการก็ดื่มเถิด, และขณะที่คุณกําลังดื่มมันอยู่นั้นแหละจะไม่อาเจียน เพราะสีเพราะกลิ่น หรือเพราะรสเลยอีกทั้งเมื่อดื่มเสร็จแล้วคุณก็จะมีความสุขด้วย" เขาก็ดื่มมันโดยที่ได้พิจารณาแล้ว และก็ไม่บ้วนทิ้งด้วย. และตอนที่เขากําลังดื่มมันอยู่นั้นแหละไม่ว่าสีไม่ว่ากลิ่น หรือรส ก็ไม่ทําให้อาเจียน แต่ทว่าเมื่อดื่มเสร็จแล้วเขาก็มีความสุขแม้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึงการถือมั่นสิ่งนี้คือถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่ต่อไปมีสุขเป็นผลว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.
ที่มา ...
[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 379
คําว่า "น้ำมูตรเน่า" ก็คือน้ำมูตรนั่นแหละ. เหมือนอย่างว่าร่างกายของตนเราต่อให้เป็นสีทอง ก็ยังถูกเรียกว่าตายเน่าอยู่นั่นแหละ และเถาอ่อนที่แม้แต่เพิ่งเกิดในวันนั้น ก็ย่อมถูกเรียกว่า เถาอ่อนอยู่นั่นแหละ ฉันใด; น้ำมูตรอ่อนๆ ที่รองเอาไว้ในทันทีทันใด ก็เป็นน้ำมูตรเน่าอยู่นั่นเองฉันนั้น. คําว่า "ด้วยตัวยาต่างๆ " คือด้วยตัวยานานาชนิดมีสมอและมะขามป้อมเป็นต้น.
ที่มา ...
[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 384
ส่วนภิกษุที่วางสมอดองด้วยน้ำมูตรไว้ในภาชนะหนึ่ง วางของหวาน ๔ อย่างไว้ในภาชนะหนึ่ง เมื่อเขาพูดว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงถือเอาตามที่ปรารถนาเถิด หากโรคของเขาระงับได้ด้วยเภสัชเหล่านั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงห้ามของหวาน ๔ อย่าง ด้วยคิดว่า ชื่อว่า สมอดองน้ำมูตร พระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงสรรเสริญ ดังนี้ แล้วทำเภสัชด้วยสมอดองน้ำมูตร ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง.
ที่มา ...
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 543
อนึ่งภิกษุใด เมื่อเขาใส่สมอดองน้ำมูตรลงในภาชนะหนึ่ง วางวัตถุมีรสอร่อย ๔ ลงในภาชนะหนึ่ง แล้วพูดว่าท่านขอรับ ท่านต้องการสิ่งใด จงถือเอาสิ่งนั้นไปเถิด ถ้าโรคของเธอสงบไป แม้ด้วยเภสัชทั้งสอง ชนิดใดชนิดหนึ่งไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ชื่อว่า สมอดองน้ำมูตร บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว จึงปฏิเสธของมีรสอร่อย ๔ อย่าง แม้กระทำเภสัชด้วยสมอดองน้ำมูตร ก็เป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัย
ที่มา ...
[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 139
๗. สันตุฏฐิสูตร
ว่าด้วยสันโดษด้วยปัจจัย ๔
[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้เป็นของเล็กน้อยด้วยหาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย ปัจจัย ๔ อย่างคืออะไร คือ ผ้าบังสุกุล อาหาร ที่ได้มาโดยเที่ยวบิณฑบาต เสนาสนะโคนไม้ ยาน้ำมูตรเน่า นี้แล ปัจจัย ๔ อย่าง เป็นของเล็กน้อยด้วย หาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย เมื่อภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยเล็กน้อยและหาง่าย เรากล่าวความสันโดษของเธอนี้ว่า เป็นองค์แห่งความเป็นสมณะอย่างหนึ่ง.
ที่มา ...
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 83
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง วางชิ้นสมอที่ดองด้วยน้ำมูตรไว้ในภาชนะใบหนึ่ง อันภิกษุอื่นพูดอยู่ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าหากว่าท่านต้องการ ท่านก็จงถือเอาของหวาน ๔ อย่างในภาชนะใบหนึ่ง ถ้าหากว่าพยาธิของภิกษุนั้นย่อมสงบได้ ด้วยเภสัชอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเภสัช ๒ อย่างเหล่านั้น ใช่แต่เท่านั้น สมอดองด้วยน้ำมูตรเน่า บัณฑิตทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว และภิกษุนี้ก็คิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บรรพชาอาศัยยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า. เธอพึงทำความอุตสาหะในยาดองด้วยน้ำมูตรเน่านั้น (พึงฉัน) ตลอดชีวิต จึงห้ามเภสัชที่เป็นของหวานทั้ง ๔ เสีย แล้วทำยาด้วย สมอดองน้ำมูตรเน่า ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งเทียว นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ ในคิลานปัจจัยของภิกษุนั้น.
ที่มา ...
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 181
ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก สมณะพึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ ข้อ นั้นเป็นการสมควร
ที่มา ...
[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 890