ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม
สนทนาธรรม ณ แดนพุทธภูมิ @มุมไบ วันพุทธที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ (ช่วงเช้า)
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ. อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใครๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึงการแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูญ ไปจากอาการที่เป็นไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ ๔ เหล่านั้น คือ
โดยความเป็นของสูญ ๑
โดยความไม่มีเจ้าของ ๑
โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑
โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้เป็นการเริ่มต้นรู้จักพระพุทธเจ้า และเริ่มรู้จักพระองค์ เพราะได้ฟัง คำ ที่พระองค์ตรัสถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ซึ่งก่อนนี้เพียงได้ยิน ชื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เห็นประโยชน์สูงสุดที่พระองค์ทำให้สามารถเข้าใจ สิ่งที่กำลังมี เดี๋ยวนี้ได้ทีละเล็กทีละน้อย
เพราะฉะนั้น ต้องมั่นคง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ความจริง ของ สิ่งที่กำลังมี เดี๋ยวนี้ซึ่งไม่เคยเข้าใจเลยมาก่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประจักษ์แจ้ง ความจริงของสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ถึงที่สุดโดยประการต่างๆ ทั้งปวงว่า เป็นอนัตตา ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม ธรรมทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่เว้นเลย
ในห้องนี้มีอะไร?
ชาวอินเดีย: ที่นี่ มีเสียงพระธรรม มีเรานั่งอยู่ที่นี่ฟังอยู่ และมีการสนทนาธรรม
ท่านอาจารย์: ที่นี่มีธรรม ที่บ้านมีอะไร?
ชาวอินเดีย: ที่นี่ก็มีธรรม ที่บ้านก็มีธรรม
ท่านอาจารย์: บนสวรรค์ มีธรรม ไหม?
ชาวอินเดีย: มี
ท่านอาจารย์: นรก มีธรรม ไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่รู้จักสวรรค์ และนรก
ท่านอาจารย์: ถูกต้อง แต่ ที่ไหนก็ตามแต่ อะไรที่มี ทั้งหมดที่มี เป็นธรรม
ชาวอินเดีย: เข้าใจแล้วว่า ทุกที่ มีแต่ธรรม
ท่านอาจารย์: อาหารในจานเป็นธรรมหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: เป็น
ท่านอาจารย์: จานเป็นธรรมหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: เป็นธรรม
ท่านอาจารย์: จานเป็นธรรมอะไร?
ชาวอินเดีย: รูปธรรม
ท่านอาจารย์: รูปธรรม คืออะไร?
ชาวอินเดีย: ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์: เห็นเสียงได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่ได้
ท่านอาจารย์: เห็นกลิ่นได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่ได้
ท่านอาจารย์: เห็นรสได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่ได้
ท่านอาจารย์: เห็นแข็งได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่ได้
ท่านอาจารย์: เห็นจานได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่ได้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เห็นอะไร เห็นสิ่งที่กระทบตาได้เท่านั้น เห็นผงได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ได้
ท่านอาจารย์: ผงเป็นจานหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: ไม่เป็นจาน
ท่านอาจารย์: ถ้าผงรวมๆ กันเป็นจานได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ได้ครับ
ท่านอาจารย์: เห็นนี่ได้ไหม? (ท่านอาจารย์หยิบแผ่นพลาสติกสีเหลืองชิ้นหนึ่งขึ้นมา)
ชาวอินเดีย: ได้
ท่านอาจารย์: ให้นี่เป็นชิ้นเล็กที่สุดเป็นผง เห็นได้ไหม?
ชาวอินเดีย: เห็นได้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เห็น เกิดขึ้นเห็นได้อย่างเดียว เห็นสิ่งที่กระทบตาได้เท่านั้น นี่เป็นธรรม นี่เป็นอนัตตา ไม่ใช่แก้ว ไม่ใช่จาน นี่คือ ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรมที่มีจริงๆ
[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 201
[๕๒๑] รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน
รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยมแปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆหมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้ เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้แล้วกระทบได้ด้วยจักขุ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.
ทัสสนกิจ
ทสฺสน (การเห็น) + กิจ (หน้าที่ การงาน)
หน้าที่ของจิตคือการเห็น หมายถึง กิจของอเหตุกวิบากจิต ๒ ดวง ซึ่งมีหน้าที่รู้แจ้งเฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตา (รูปารมณ์) ได้แก่ อุเบกขาจักขุวิญญาณกุศลวิบาก ๑ ดวง เป็นผลของกุศลกรรม และ อุเบกเขาจักขุวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ ดวง เป็นผลของอกุศลกรรม
ขอเชิญอ่านได่ที่ ...
รูปปรมัตถ์มี ๒๘ รูป - รูปที่ ๑ รูปารมณ์ สิ่งที่ปรากฏทางตา
ขอเชิญฟังได้ที่ ...
แท้ที่จริงสิ่งที่ปรากฏก็เพียงปรากฏอย่างนี้
ลักษณะของจิตเห็น-สิ่งที่ปรากฏทางตา
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ