จิตเห็น เพราะผัสสะกระทบตา
สนทนาธรรม ณ แดนพุทธภูมิ @มุมไบ วันพุทธที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ (ช่วงบ่าย)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๑๗
ก็ จักขุสัมผัสนั้น เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยตน ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย, อัญญมัญญะ-, นิสสยะ-, วิปากะ-, อาหาระ-, สัมปยุตตะ-, อัตถิ-, อวิคตปัจจัย รวม ๘ ปัจจัย เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยสัมปฏิจฉนจิต ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย, สมนันตระ อนันตรูปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ รวม ๕ ปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย อันสัมปยุตกับด้วยสันตีรณจิต เป็นต้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๙๗๑
แสดงผัสสะ ๗ ซึ่งชัดเจนมาก ว่า ผัสสะใด เกิดกับจิตประเภทใดบ้าง ดังนี้
[๑๐๘๒] ผัสสะ ๗ เป็นไฉน
คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนธาตุสัมผัส (ผัสสะ ที่เกิดกับปัญจทวาราวัชชนจิต และ สัมปฏิจฉันนจิต) มโนวิญญาณธาตุสัมผัส (ผัสสเจตสิกที่เกิดกับจิตที่เหลือทั้งหมด) เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 688
๔. สัมผัสสูตร
ว่าด้วยจักขุสัมผัสเป็นต้นไม่เที่ยง
[๖๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน จักขุสัมผัส ... โสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส ... เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
จบสัมผัสสสูตรที่ ๔
ท่านอาจารย์: ขณะนี้เราจะพูดถึง จิตหนึ่งขณะ ที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงเจตสิกที่เป็น ผัสสเจตสิก
ผัสสะเป็นเจตสิกเป็นสภาพรู้ มี ๕๒ ประเภทต่างกัน เพราะฉะนั้น ผัสสเจตสิกเป็นสภาพรู้จึงกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏ ผัสสเจตสิกเกิดพร้อมจิต แต่ผัสสะกระทบสิ่งใด จิตรู้สิ่งนั้น เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ จิตตะ ไม่กระทบ แต่จิตรู้แจ้งสิ่งที่ผัสสะกระทบ ผัสสะกระทบเสียง จิตเกิดขึ้นได้ยินเสียงที่ผัสสะกระทบ แข็งปรากฏเพราะผัสสะกระทบแข็ง และจิตเกิดขึ้นรู้แข็ง เพราะฉะนั้น ผัสสะกระทบ นิพพานได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ได้
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่มีความเข้าใจ ผัสสะจะกระทบนิพพานได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ถ้าไม่มีปัญญา กระทบไม่ได้
ท่านอาจารย์: เริ่มเข้าใจว่า ไม่มีอะไรเป็นเราเลย ทุกครั้งต้องเป็นธรรมที่เป็นจิต เจตสิก เท่านั้น
ผัสสะ แข็งไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่แข็ง
ท่านอาจารย์: เพราะอะไร?
ชาวอินเดียอีกท่าน: ผัสสะแข็ง
ท่านอาจารย์: แข็งรู้อะไรไหม?
ชาวอินเดีย: แข็งไม่รู้อะไร
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ผัสสะรู้อะไรไหม?
ชาวอินเดีย: เข้าใจแล้วว่า ผัสสะไม่ใช่แข็ง แข็งไม่ใช่ผัสสะ
ท่านอาจารย์: ผัสสะรู้แจ้งอารมณ์ไหม?
ชาวอินเดีย: ผัสสะก็รู้แจ้งอารมณ์
ท่านอาจารย์: ผัสสะรู้แจ้งอารมณ์ แล้วจิตเป็นอะไร?
ชาวอินเดีย: เข้าใจแล้วว่า ผัสสะไม่ได้รู้แจ้งอารมณ์อย่างจิตรู้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น นี่เป็นการทดสอบความเข้าใจนามธรรม รูปธรรม
สิ่งหนึ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม หรือนามธรรม?
ชาวอินเดีย: เป็นรูปธรรม
ท่านอาจารย์: แล้ว จิตตะ เห็น รูปธรรม แล้วผัสสะเกิดกับจิตเห็นหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: เกิดกับจิตเห็น
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จิตเห็น เห็น เพราะผัสสะกระทบตา
จิตไม่กระทบเสียง แต่จิตรู้แจ้งเสียง ทำไมจิตรู้แจ้งเสียง?
ชาวอินเดีย: เพราะจิตเป็นใหญ่ในการรู้
ท่านอาจารย์: จิตรู้แจ้งเสียงเพราะอะไรอีก?
ชาวอินเดีย: เพราะมีผัสสะไปกระทบ
ท่านอาจารย์: เพราะผัสสะกระทบเสียง จิตที่เกิดพร้อมผัสสะจึงรู้แจ้งเสียง
จิตกระทบเสียงได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่ได้
ท่านอาจารย์: ถูกต้อง เพราะฉะนั้น เข้าใจว่าจิตไม่ใช่เจตสิก เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้กำลังเข้าใจเห็น ซึ่งเป็นจิตที่เห็น และผัสสะสัมผัสกระทบสิ่งที่ปรากฏ
ใครทำให้ จิตเห็น เกิดได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่มีใครทำได้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จิตเป็นอนัตตา ผัสสะเป็นอนัตตา ทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ แต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นทำหน้าที่
เพราะฉะนั้น ผัสสะเป็นสังขารธรรมหรือเปล่า ธรรมเกิดเองได้ไหม หรือต้องอาศัยกันและกันเกิด?
ชาวอินเดีย: เกิดเองไม่ได้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จิตเห็นต้องอาศัยเจตสิก ถ้าผัสสเจตสิกไม่กระทบเสียง จิตได้ยินเกิดได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ถ้าผัสสะไม่กระทบเสียง จิตได้ยินเกิดไม่ได้
ท่านอาจารย์: เพราะอะไร?
ชาวอินเดีย: เพราะถ้าผัสสะไม่กระทบอารมณ์ จิตไม่สามารถรู้อารมณ์นั้นได้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จิต เจตสิก เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน เพราะเจตสิกไม่ได้ทำกิจเห็น เพราะฉะนั้น ผัสสะทำกิจกระทบอารมณ์ที่จิตรู้ แต่ไม่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้
ชาวอินเดีย: ไม่ค่ะ
ท่านอาจารย์: แล้วผัสสะเป็นอะไร?
ชาวอินเดีย: เป็นแต่เพียงทำหน้าที่กระทบ
ท่านอาจารย์: เพราะผัสสะเป็นธรรมเป็นอนัตตา
ขอเชิญอ่านได้ที่ ...
จิตรู้อารมณ์ หมายความว่าอย่างไรครับ
ขอเชิญฟังได้ที่ ...
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ขอบพระคุณ คุณเมตตา และขออนุโมทนาครับ
อ่านแล้วเข้าใจความเป็นปัจจัยไม่เพียงของผัสสะ แต่ยังเจตสิกอื่นๆ ด้วย
ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านครับ
กราบเท้าท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ขอบพระคุณและยินดียิ่งในกุศลทุกประการค่ะน้องเมตตา