ความลึกซึ้งของ คำว่า วัด หรืออาราม

 
เมตตา
วันที่  18 ก.พ. 2567
หมายเลข  47410
อ่าน  264

สนทนาปัญหาธรรม วันอังคารที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๗

ข้อความบางตอนจากการสนทนาธรรม วันอาทิตย์ที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔ บรรยายโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ถอดเทปบันทึกเสียง โดย คุณสงวน สุจริตกุล

ผู้ฟัง
มีบางท่าน เข้าใจว่า ที่นี่ ไม่ได้ชักจูงคนให้ "เข้าวัด"เด็กรุ่นหลัง ก็จะไม่มาฟัง เพราะ "ยาก"และจะทำให้ศาสนาหมดสิ้นเร็วเขาคิดว่า การปฏิบัติ โดยการนุ่งขาวห่มขาว เป็นศาสนาที่เจริญ ดิฉันเข้าใจว่า ไม่ใช่ศาสนาที่เจริญ แต่กำลังทำให้ศาสนาเสื่อมแต่ไม่กล้าพูดคัดค้านเขา เพราะเขาเพิ่งมาฟังไม่กี่วันประเดี๋ยวจะเป็นการทำลาย ไม่ให้เขามาฟังก็คิดว่า ถ้าเขาฟังท่านอาจารย์ แล้วมีความเข้าใจ ก็จะละสิ่งที่ไม่เข้าใจนั้น ก็เลยไม่ไปขัดคอเขา ค่ะ

ท่านอาจารย์ ณ พระวิหารเชตวัน สมัยที่พระผู้มีพระภาคฯ ยังไม่ทรงดับขันธปรินิพพานที่นั่น "เป็นที่ทรงแสดงธรรม "ทรงแสดงธรรม ไม่ว่ากับใครที่ผ่านไป หรือ แวะเข้าไปหรือในยามดึก เทวดา ก็ได้มาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคฯ ก็ทรงแสดงธรรม และ ไม่ใช่แต่เฉพาะเพียง ณ พระวิหารเชตวัน ไม่ว่าจะทรงเสด็จจาริกไปสู่ที่ใด ทรงพบใครไม่ต้องทรงไปที่ วัดหนึ่ง วัดใด ก็ได้แม้ในระหว่างทาง ที่ทรงจาริกไปนั้น ก็ทรงประทับแรม ตามสถานที่ต่างๆ ที่ๆ มีผู้มาฟังธรรม พระองค์ก็ทรงแสดงธรรม ณ ที่นั้น ณ ที่นั้น เป็น "วัด" หรือเปล่า

"วัด" คือ อะไร แต่ คำว่า "อาราม" หมายถึง ที่นำมาซึ่ง ความยินดี-ใน-ธรรมนำมาซึ่ง ความสุข-จากการได้เข้าใจธรรม เข้าใจความจริงไม่ใช่ ที่นำมาซึ่ง ความเพลิดเพลินอย่างอื่น.ณ พระวิหารเชตวันเคยเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคฯเป็นที่ซึ่งทรงเคยแสดงธรรม ณ กาลครั้งหนึ่งซึ่ง บัดนี้ ถ้าใครไปสู่พระวิหารเชตวันจะได้ฟัง "พระธรรม" หรือเปล่า หรือเพียงเข้าไป โดยไม่มีการกล่าวถึง "พระธรรม"และ ไม่มีการสนทนาธรรมเลย.!และ ควรพิจารณาด้วย ว่า"ธรรม" ไม่ได้อยู่เฉพาะที่หนึ่ง ที่ใด.!แต่ ที่ใด ที่ไปแล้ว สามารถที่จะเข้าใจธรรม ได้ที่นั้น เป็นที่ควรไป.ณ ที่ซึ่งมีการแสดง "พระธรรม" ที่ซึ่งมีโอกาสได้เข้าใจ "พระธรรม"จะไปสู่ที่นั้น หรือ ไม่ไป ควรที่จะเป็น "ผู้ตรง" ว่า การไปสู่ที่นั้น ... ไปเพื่อ อะไร


อ.อรรณพ: เมื่อสักครู่ได้ฟังการสนทนาระหว่าง อ.ทวีศักดิ์ กับท่านอาจารย์ ก็ยิ่งเห็นความสำคัญมากๆ ของความละเอียด และความตรง คือเห็นเลยว่า ถ้าไม่ละเอียด ไม่ตรง ก็จะไม่รู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้วันนี้ท่านอาจารย์ก็กล่าวหลายคำ ที่ อ.ทวีศักดิ์ได้กล่าวขึ้น เช่น คำว่า วัด ก็เห็นเลยว่า เราไม่รู้จักเลยสักคำ คำว่า วัด หรืออาราม มีความลึกซึ้งอย่างไร แม้แต่ คำว่า วัด ไม่ต้องพูดถึง คำว่า อภิธรรม ปรมัตถธรรม หรือปฏิจสมุปบาท อะไรที่ดูว่าลึกซึ้งนะครับ แม้คำว่า วัด หรืออาราม มีความลึกซึ้งอย่างไร และถ้าไม่ละเอียด ไม่ตรง ก็จะไม่เข้าใจอะไรเลย กราบเท้าถามท่านอาจารย์เป็นตัวอย่างในเรื่องของคำๆ หนึ่ง คำว่า วัด หรืออารามมีความลึกซึ้งอย่างไร และผู้ที่เป็นชาวพุทธ จะต้องมีความละเอียด และตรงอย่างไรครับ

ท่านอาจารย์: ถ้าไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะรู้จักวัดไหม?

อ.อรรณพ: ไม่รู้จัก

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เริ่มเห็นความลึกซึ้งซึ่งไม่เคยคิดมาก่อนเลย ได้ยินอะไรก็เชื่อ แต่ไม่รู้ว่าอะไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสให้เชื่อ การเชื่อโดยไม่เข้าใจความจริง ไม่มีประโยชน์เลย จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรจริง หรือไม่จริง

เพราะฉะนั้น ถ้าเชื่อจะไม่มีการรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ เคารพจริงๆ ในความลึกซึ้งอย่างยิ่งของพระปัญญาที่ได้ทรงตรัสรู้ความจริงที่ลึกซึ้งอย่างยิ่ง เห็นได้จาก กว่าจะได้ตรัสรู้พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีนานเท่าไหร่ประมาณไม่ได้เลย เพื่อทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งถูกปิดบังไว้ในสังสารวัฏฏ์ด้วยความไม่รู้มานานเท่าไหร่? นี่คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม?

อ.อรรณพ: ใช่ครับ

ท่านอาจารย์: แล้วรู้จักพระองค์ได้อย่างไร เห็นไหม?

อ.อรรณพ: นี่ครับ ท่านอาจารย์ ผมฟังการสนทนาซึ่งท่านอาจารย์ได้แสดงถึงความที่จะต้องเป็นผู้ละเอียด และตรงมากๆ เลยในแต่ละคำ มิเช่นนั้น เราเหมือนเปล่าไปเรื่อยๆ และเราเป็นชาวพุทธ เราก็ไม่รู้จักว่าชาวพุทธคือใคร แล้วเราก็คิดว่า เราต้องไปวัด วัดคืออะไรก็ไม่รู้ แล้วก็ไปวัด นี่ก็ไม่รู้ว่ารู้จักวัดหรือเปล่า วัดคืออะไร แล้วก็ไปวัด เราก็บอกว่าวัดเป็นที่อยู่ของภิกษุ แล้วภิกษุคืออะไรอีก แล้วไปหาภิกษุเพื่ออะไรกันนะครับ

เพราะฉะนั้น เราก็พูดว่าไปวัด ก็มีธรรมที่วัด ไปฟังธรรม ไปอะไรอย่างนี้ แล้วเราคิดว่าไปทำบุญที่วัด เราก็ชินอย่างนี้

ขอเชิญอ่านเพิ่มได้ที่ ...

วัดวาอารามทั้งหมด เป็นของพระรัตนตรัย

ตื่นเถิดชาวพุทธ นี่หรือคือวัดในพุทธศาสนา

ขอเชิญฟังได้ที่ ...

อารามคืออะไร

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
swanjariya
วันที่ 20 ก.พ. 2567

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอบพระคุณและยินดียิ่งในกุศลค่ะน้องเมตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 2 เม.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ