พาลปุถุชนผู้มิได้สดับ (ธรรมของพระอริยะ) ในเวลาที่อาศัยวัฏฏะ (ยังเวียนว่ายตายเกิด) เปรียบเหมือนบุตรคหบดีผู้โง่เขลา

 
สิริพรรณ
วันที่  8 พ.ค. 2567
หมายเลข  47735
อ่าน  548

กราบนอบน้อมพระรัตนตรับด้วยเศียรเกล้า

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีข้ออุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-

พาลปุถุชนผู้มิได้สดับ (ธรรมของพระอริยะ) ในเวลาที่อาศัยวัฏฏะ (ยังเวียนว่ายตายเกิด) เปรียบเหมือนบุตรคหบดีผู้โง่เขลา.

เบญจขันธ์ไม่มีกำลังทุรพล (ทรุดโทรม, เกิดดับอยู่ตลอดเวลา) เปรียบเหมือนศัตรูคอยดักสังหาร.

เบญจขันธ์ซึ่งเข้าถึงในขณะปฏิสนธิ เปรียบเหมือนเวลาที่ศัตรูผู้คอยดักสังหารเข้าไปหาด้วยหวังว่าจักรับใช้บุตรคหบดีผู้โง่.

เวลาที่ปุถุชนผู้อาศัยวัฏฏะ ไม่ยืดถือเบญจขันธ์ว่าเหล่านี้เป็นของเรา (แต่กลับแยก) ยึดถือว่า รูปของเรา เวทนาของเรา สัญญาของเรา สังขารของเรา วิญญาณของเรา เปรียบเหมือนเวลาที่บุตรคหบดีผู้โง่เขลาไม่ทราบว่า ผู้นี้เป็นสหายของเรา ผู้นี้เป็นศัตรูผู้คอยดักสังหารของเรา.

เวลาที่ปุถุชนผู้อาศัยวัฏฏะ ยึดถือ (เบญจขันธ์) ว่าเหล่านี้ของเรา แล้วทำสักการะ (ปรนนิบัติ) เบญจขันธ์ด้วยการอาบน้ำและการกิน เป็นต้น เปรียบเหมือนเวลาที่ศัตรูผู้คอยดักสังหารยอมรับว่า ผู้นี้เป็นมิตรของเรา แล้วทำสักการะ (ปรนนิบัติ) .

การที่พาลปุถุชนผู้คุ้นเคยแล้วสิ้นชีวิตเพราะขันธ์แตกในขณะจุติ พึงทราบว่าเปรียบเหมือนการที่ศัตรูผู้คอยดักสังหารทราบว่าคหบดีหรือบุตรคหบดีนี้กับเราคุ้นเคยกันมากแล้ว ทำสักการะพลางเอาดาบตัดศีรษะ (ของคหบดีหรือบุตรของคหบดี) .

บทว่า อุเปติ แปลว่า เข้าใกล้. บทว่า อุปาทิยติ แปลว่า ยึดถือ. บทว่า อธิฏฺาติ แปลว่า ตั้งมั่น. บทว่า อตฺตา เม ความว่า นี้เป็นอัตตาของเรา.

บทว่า สุตวา จ โข อาวุโส อริยสาวโก ความว่า บุตรคหบดีผู้เป็นบัณฑิตรู้จักศัตรูผู้เข้าใกล้อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา แล้วไม่ประมาท ใช้ศัตรูให้ทำงานชนิดนั้นๆ หลบหลีกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ย่อมได้รับประโยชน์ ฉันใด แม้พระอริยสาวกผู้ได้สดับ (ธรรมของ พระอริยะ) ก็ฉันนั้น ไม่ยึดถือเบญจขันธ์ว่าเป็นเราหรือว่าของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นอัตตา ทราบว่าเบญจขันธ์เหล่านี้เป็นศัตรูของเราแล้วประกอบเข้ากับวิปัสสนาโดยเป็นรูปสัตตกะ (หมวดเจ็ดของรูป) และอรูปสัตตกะ (หมวดเจ็ดของอรูป) เป็นต้น หลีกเว้นทุกข์ซึ่งเกิดจากเบญจขันธ์นั้น ย่อมได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ อันเป็นผลที่เลิศ.

ส่วนหนึ่งจาก อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓๓.

ยมกสูตร ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่

ศึกษาเพิ่มเติมที่ ...

๓. ยมกสูตร ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สิริพรรณ
วันที่ 9 พ.ค. 2567

... ส่วนใหญ่เราจะคิดถึงไม่อยากมีโทสะอันดับแรก แล้วก็ต่อไปอาจจะเห็นโทษของโลภะว่าเพราะมีโลภะนั่นเองจึงได้มีโทสะ ก็เห็นโทษ และก็ไม่อยากจะมีโลภะมากๆ เพราะว่าถ้ามีโลภะมากจนกระทั่งเกินประมาณก็เป็นเหตุให้กระทำทุจริตกรรม และเมื่อทำทุจริตกรรมแล้วไม่ใช่ว่าจะมีความสุขเลย ผลของอกุศลกรรมก็ติดตามมา แต่โทษที่มากจริงๆ คือโมหะ ความไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งถ้ายังมีโมหะอยู่ ออกจากสังสารวัฏฏ์จนกระทั่งเป็นการปรินิพพานไม่ได้เลย มีความไม่รู้อย่างมากมายในเรื่องของความไม่รู้ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นเวลาที่ได้ยินคำไหนก็ติดตามไปเพื่อที่จะได้ฟังธรรม และได้เข้าใจถึงโทษมากของอวิชชาหรือโมหะ...

กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ฟังเสียงคลิกที่

โทษของความไม่รู้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
swanjariya
วันที่ 9 พ.ค. 2567

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดียิ่งในกุศลทุกประการค่ะต้อม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 10 พ.ค. 2567

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลของคุณน้าสิริพรรณด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Wisaka
วันที่ 11 พ.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ