สัจจญาณ กิจญาณ กตญาณ

 
nattawan
วันที่  28 ก.ค. 2567
หมายเลข  48205
อ่าน  205

ปัญญาในการรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง มี ๓ คือ

๑. สัจจญาณ คือ ปัญญาที่รู้ความจริงในอริยสัจ ๔ เช่น รู้ว่านี้ทุกข์ รู้ด้วยปัญญาที่มั่นคงว่า ทุกข์คือสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เกิดขึ้นและดับไป

๒. กิจญาณ คือ ปัญญาที่รู้หน้าที่ กิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔ เช่น ปัญญาที่รู้ว่าทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ รู้ว่าสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ที่สติปัฏฐานเกิดรู้ความจริงในขณะนี้ของสภาพธรรมว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

๓. กตญาณ คือ ปัญญาที่รู้แจ้งในกิจ ที่ได้ทำแล้วในอริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง อันหมายถึงการบรรลุธรรม ดับกิเลสได้นั่นเอง

สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ หมายความว่าอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nattawan
วันที่ 28 ก.ค. 2567

ปัญญามี ๓ ระดับ คือ

๑. ปริยัติ ปัญญาที่รอบรู้และเข้าใจความเป็นธรรมจากการฟังพระพุทธพจน์

๒. ปฏิบัติ ปัญญาที่เข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ด้วยสติสัมปชัญญะตรงตามที่ได้ยินได้ฟังจากพระพุทธพจน์

๓. ปฏิเวธ ปัญญาที่สมบูรณ์พร้อมที่ประจักษ์แจ้งแทงตลอดในสภาพธรรมและดับกิเลสเป็นพระอริยบุคคล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 28 ก.ค. 2567

โลก หมายถึง สิ่งที่ต้องแตกทำลายไปเป็นธรรมดา ได้แก่ สภาพธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วดับไปทุกๆ ขณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nattawan
วันที่ 28 ก.ค. 2567

ขันติธรรม คือ สภาพธรรมที่อดทน อดกลั้น ด้วยกุศล ด้วยสภาพธรรมฝ่ายดี แต่ไม่ใช่ความอดทนด้วยอกุศลจิต

ขันติธรรมเป็นสภาพธรรม คือ อโทสะเจตสิก

ขันติธรรมมีหลายระดับ ทั้งความอดทน อดกลั้นด้วยกุศลจิต อดทนต่อความหนาว ความร้อน อดทนต่อความประทุษร้ายของผู้อื่น หรืออดทนต่อสิ่งต่างๆ ด้วยกุศลจิต และขันติ

โดยนัยสูงสุด ยังหมายถึง ปัญญา ที่เป็นวิปัสสนาญาณ ที่เป็นขันติญาณ อันเป็นการเห็นการเกิดดับของสภาพธรรม ที่เป็นแต่ละกลุ่มกลาปของสภาพธรรม

ขันติ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 28 ก.ค. 2567

กิจของปัญญา - สภาพธรรมที่คลายความไม่รู้ (สภาพธรรมที่รู้ชัด - ยิ่งรู้ยิ่งละ)

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nattawan
วันที่ 28 ก.ค. 2567

ถึงแม้ว่าธรรมเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่ก็ไม่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจสำหรับผู้ที่ศึกษาและตั้งใจอย่างแท้จริง เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกตรงตามสภาพธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ ค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ อบรมไป เพียงรู้ว่าหนทางที่ถูกนั้น ยาก ย่อมเป็นการเพิ่มพูนความอดทนที่จะศึกษายิ่งๆ ขึ้นไป

หนทางที่ถูกนั้นยาก อดทนที่จะศึกษายิ่งๆ ขึ้นไป

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ก.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ