จำเป็นหรือไม่ที่ต้องศึกษาบาลี

 
เด็กดาวคะนอง
วันที่  19 ก.ย. 2550
หมายเลข  4834
อ่าน  1,438

จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องศึกษาภาษาบาลี เพื่อจะเข้าใจถูกในพระไตรปิฏกและในเรื่องการปฏิบัติธรรมด้วยคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 19 ก.ย. 2550

ดิฉันเป็นผู้หนึ่ง ที่ได้รับประโยชน์จากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ ท่านอธิบายคำว่า "ธรรม" ไว้ในหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ว่า ธรรม หมายถึง สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนๆ เป็นสภาพที่มีลักษณะเฉพาะ แต่ละอย่างๆ ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ได้ ไม่ว่าใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ใครจะเรียกสภาพธรรมนั้น ด้วยคำใดภาษาใดหรือ ไม่เรียกสภาพธรรมนั้น ด้วยคำใดๆ เลยก็ตาม สภาพธรรมนั้น ก็เป็นสภาพที่ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงบังคับบัญชาได้ค่ะ เป็นการสื่อได้ละเอียด ที่ทำให้ผู้อ่านมุ่งตรงไปที่สภาพธรรม โดยที่ผู้อ่านเอง ก็ไม่มีความรู้ภาษาบาลีเลย จริงอยู่คำสอนที่สืบทอดมาเป็นภาษาบาลี แต่มิได้หมายความว่า ผู้รู้ภาษาบาลีจะเข้าใจธรรมะ เพราะธรรมะ มิใช่ภาษาบาลี สำคัญอยู่ที่ความรู้ความเข้าใจตัวธรรมะจริง ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่สนใจศึกษาคำสอน ที่บ้านมีพระไตรปิฏกฉบับมหามกุฏ ๙๑ เล่ม ที่มีพร้อมคำแปลคือ อรรถกถา และคัมภีร์วิสุทธิมรรคแปล ๖ เล่มเล็ก เปิดอ่านเสมอ เห็นว่าเป็นประโยชน์มาก และเข้าใจยากจริงๆ จึงต้องอาศัยคำบรรยายจากท่านอาจารย์ และจากท่านผู้รู้และวิทยากรของมูลนิธิฯ อยู่เสมอๆ

โดยสมาชิก : shumporn.t วันที่ : 16-03-2550

ตอบดีมากครับ ขออนุโมทนาด้วยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 19 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ศึกษาบาลี ไม่ใช่ต้องการรู้เยอะๆ แต่ศึกษาเพื่อให้เข้าใจถูกในสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ และดำรงรักษาพระธรรมวินัย

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ว่าด้วยเข้าใจธรรมด้วยภาษาใด ก็เข้าใจในภาษานั้น [อรณวิภังคสูตร]

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 19 ก.ย. 2550

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า เป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ. ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ภาชนะนั่นแลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโรสะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ. ภิกษุพูดโดยประการที่ชนทั้งหลาย หมายรู้เรื่องภาชนะกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ อย่างไม่ใช่ความแน่ใจว่า เป็นอันทำ ผู้มีอายุทั้งหลาย พูดแก่ข้าพเจ้าหมายถึงภาชนะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล ชื่อว่า เป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญ นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ครูโอ
วันที่ 20 ก.ย. 2550

สาวก คือผู้ฟังพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาด้วยดี เป็นผู้สั่งสมความเป็นพหูสูต คือฟังมาก พิจารณาธรรมที่ได้ยินได้ฟังมาก และไม่ใช่ฟังแค่เพียงชาตินี้ แต่ยังต้องฟังไปอีกนับหมื่น นับแสนกัปจึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้เมื่ออินทรีย์แก่กล้าพอที่จะบรรลุคุณธรรมขั้นสูงคือ โลกุตตรธรรม

การศึกษาธรรมะในขั้นแรก คือเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ไม่เคยฟัง ไม่เคยรู้มาก่อน โดยไม่จำเป็นว่า จะต้องจำให้ได้ เพียงแต่ควรตั้งใจฟัง แล้วพิจารณาด้วยความแยบคาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูก ในเหตุผลของพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้จากนั้น "สังขารขันธ์" ที่เป็นฝ่ายโสภณ (คือดีงาม) ได้แก่สุตมยปัญญา จะทำหน้าที่ปรุงแต่งจิต ให้เข้าใจถูกและเห็นถูก ในเรื่องราวของธรรมะ ในขั้นปริยัติเอง โดยไม่ใช่เป็น "เรา" ที่เข้าใจ ซึ่งเมื่อมีเหตุให้ได้ยินได้ฟังมาก ก็ย่อมจะเป็นปัจจัยให้ค่อยๆ เข้าใจมากขึ้นๆ ทีละนิด ตามกำลังของปัญญา ที่เคยได้สั่งสมมาในอดีต เพราะเหตุว่า ปุถุชนในยุคนี้ ปัญญาน้อย และเป็นผู้มีปรกติหลงลืมสติเป็นส่วนใหญ่จะให้จดจำพระธรรมวินัยทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรรมขันธ์ ได้โดยตลอด ทุกพยัญชนะโดยไม่คลาดเคลื่อน ย่อมเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็สามารถที่จะจดจำได้ ถ้ามีความเพียรจริงๆ อาจจะใช้เวลาสองปี ห้าปี สิบปี ซึ่งก็จะเป็นการท่องแบบปากเปล่า เพื่อจดจำไว้ เท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์โดยแท้ของพระธรรม

สิ่งที่ยากยิ่งกว่าการจดจำได้ คือความเข้าใจในตัวจริงของธรรมะต่างหาก เพราะถ้าไม่ถึงความเป็นธรรมะ โดยสภาวะที่เป็นสภาพจริงได้ ก็ยังเป็นผู้ที่ไม่เห็นธรรมะ เป็นแต่เพียงผู้ที่รู้เรื่องของธรรมะโดยชื่อเท่านั้น ผู้ที่ละเอียดจริงๆ จึงไม่ใช่ผู้ที่ละเอียดด้วยการจดจำข้อความในพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด แต่เป็นผู้ที่ละเอียด ที่มีปรกติอบรมปัญญา และเจริญสติปัฎฐาน ที่จะน้อมพิจารณาสภาพธรรมะที่มีจริง ที่เกิดปรากฏและดับไป โดยเหตุปัจจัยในขณะนี้ ตอนนี้ ได้บ่อยๆ เนืองๆ มีความคล่องแคล่วที่กุศลจิต จะสามารถเกิดได้โดยที่ไม่คิดเว้น หรือข้ามไปรู้สภาพธรรมอื่น ที่ยังไม่เกิดปรากฎ ให้รู้ ธรรมะจึงไม่ใช่เพียงตัวหนังสือ ขนาดเล็ก ใหญ่ หนา บาง เครื่องหมาย ตัวเลข สัญลักษณ์ วงเล็บ ฯลฯ ในพระไตรปิฎก แต่ธรรมะมีอยู่จริง มีสภาพจริง ทนทานที่จะให้ปัญญาพิสูจน์ลักษณะของสิ่งที่มีจริงนี้ได้ ทุกขณะที่ตื่นในชีวิตประจำวันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 20 ก.ย. 2550

ถ้าเราฟังธรรม ภาษาอะไรก็ได้ ที่ทำให้เข้าใจถึงสภาพธรรมที่ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เช่น คนฝรั่งให้ฟังธรรมภาษาไทย เขาก็คงฟังไม่รู้เรื่อง ฯลฯ ถ้าเรามัวแต่เรียนภาษาบาลี ตายไปก็ลืมหมด แต่ความเข้าใจสภาพธรรม เป็นปัญญา สะสมไปในภพหน้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 11 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 10 เม.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ