ธรรมต้องเรียนทีละคำ_สนทนาธรรม ณ บ้านรักศรีรักงาม จ.นครสวรรค์

 
เมตตา
วันที่  21 ต.ค. 2567
หมายเลข  48746
อ่าน  54

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เป็นของแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิเคราะห์เพียงเท่านี้

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นอย่างไร จริงอยู่ ในสัจจะ ๔ เหล่านี้

ทุกขสัจจะ

มีการเบียดเบียน เป็นลักษณะ

มีความให้เร่าร้อน เป็นรส

มีปวัตติ เป็นปัจจุปัฏฐาน

สมุทยสัจจะ

มีเหตุเป็นแดนเกิด เป็นลักษณะ

มีการไม่เข้าไปตัด เป็นรส

มีปลิโพธ เป็นปัจจุปัฏฐาน

นิโรธสัจจะ

มีความสงบ เป็นลักษณะ

มีการไม่จุติ เป็นรส

มีการไม่มีนิมิต เป็นปัจจุปัฏฐาน

มรรคสัจจะ

มีการนำออก เป็นลักษณะ

มีการประหาณกิเลส เป็นรส

มีวุฏฐานะ (คือการออก) เป็นปัจจุปัฏฐาน

อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ ๔ นี้

มีปวัตติ (การเป็นไป) มีปวัตตนะ (เหตุให้เป็นไป) มีนิวัตติ (ความกลับ) มีนิวัตตนะ (เหตุให้กลับ) เป็นลักษณะโดยลำดับ และมีสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยปรุงแต่ง) มีตัณหา มีอสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง) มีทัสสนะ (การเห็น) เป็นลักษณะตามลำดับเหมือนกันแล


ท่าน พล.ต.อิทวัชร: กราบเท้าท่านอาจารย์ ผม พล.ต.อินทวัชร ลี้จินดา สมาชิกบ้านธัมมะ หมายเลข 5652 ครับ ผมได้ฟังธรรมจากท่าน พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ คำแรกที่ พล.อ.สพรั่ง พูดกับผม ก็คือ ที่เห็นอยู่ นั่นเป็นสี และชี้ไปที่โซนรถด้วย ผมบอกว่าพูดอย่างนั้นก็ใช่ แต่ ... ว่าไม่ใช่สี มันต้องเป็นรถยนต์

ท่านอาจารย์: ขอโทษนะ แล้วรถยนต์มีสีไหม?

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: มีสีครับ

ท่านอาจารย์: ค่ะ ก็เห็นสี ไม่ใช่เห็นรถยนต์

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ก็เข้าใจแล้วว่า สีเป็นรูป เห็นเป็นนาม

ท่านอาจารย์: แค่นี้ไม่พอ รูปคืออะไรถึงเป็นรูป?

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: รูป คือสิ่งที่ถูกเห็น รูปไม่ใช่สภาพรู้

ท่านอาจารย์: รูปเป็นรถยนต์หรือเปล่า?

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ไม่เป็น

ท่านอาจารย์: ต้องเป็นสิ่งที่ถูกเห็น สิ่งที่กระทบตา ใช้ภาษาอะไรก็ได้ เดี๋ยวนี้เอง

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ผมก็เข้าใจเรื่องสีว่า เป็นรูป แต่เห็น ธาตุรู้ นี่ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ กราบถามท่านอาจารย์

ท่านอาจารย์: ถูกต้อง

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: เพราะว่า เห็น ไม่มีรูปร่างครับ ผมไม่ประจักษ์สภาพเห็นครับ

ท่านอาจารย์: ถ้าประจักษ์เป็นวิปัสสนาญาณ

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ครับ อยากเรียนถามท่านอาจาย์

ท่านอาจารย์: วิปัสสนาไม่ใช่รอบที่ ๑ ของอริยสัจจะ

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ครับ เมื่อไม่มีรูปร่าง เราจะรู้สภาพรู้ สภาพเห็น ได้อย่างไร?

ท่านอาจารย์: มีสภาพเห็นไหม?

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: มี แต่ไม่เห็น

ท่านอาจารย์: เพราะไม่เคยคิดใช่ไหม เรื่องเห็น?

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ครับ

ท่านอาจารย์: นั่นไง แล้วจะให้ไปรู้ได้อย่างไร ทั้งๆ ที่สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ต้องไปคิดอะไร เห็นตลอดก็ไม่รู้

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ไม่ปรากฏจะไปรู้หรือ ในเหตุผล? เวลานี้เป็นเพียงสิ่งที่กระทบตาแต่ละ ๑ หลับตาแล้วทำไมหายไปหมดได้เสี้ยววินาทีเลย ไม่ต้องทำอะไร แค่หลับตาไม่มีแล้ว พอลืมตา มาทันทีทั้งหมด แสดงความรวดเร็วของสิ่งที่กระทบตาเดี๋ยวนี้ไหม? เพราะสิ่งที่อยู่ข้างหลังไม่กระทบ ไม่มีทางเห็น

เพราะฉะนั้น จิต (ธาตุที่รู้ ธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้) เกิดดับรวดเร็วปานใด จึงได้ปิดบังความจริงทุกขณะเพราะไม่ปรากฏ จนกว่าปัญญาจะค่อยๆ เข้าใจทีละหนึ่ง แยกแล้ว เริ่มแยก จะเป็นคนได้อย่างไร เป็นสีต่างๆ กัน แล้วต้องมีสภาพธรรมหนึ่งที่จำ สัญญาเจตสิก

เพราะฉะนั้น ธรรมต้องทีละคำ จิตไม่ได้จำ จิตเป็ อกหนึ่ง เราจุดดอกเดียว เราแกว่งเร็วๆ มากให้เป็นวงกลม เราก็เห็นแสงไฟเป็นวงกลม เพราะฉะนั้น ทันทีที่เห็นก็เป็นหลอดแล้ว

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: สภาพเห็น

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้จักสภาพเห็น ไม่เคยคิดเลย จนเริ่มคิด เหมือนกับเดี๋ยวนี้เป็นสีเท่านั้นที่กระทบตา กว่าจะหมด คน นี่เหลือแต่สี จากอัตตา สิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นรถยนต์ คน นาฬิกาต่างๆ เป็นสิ่งที่ปรากฏเป็นสีสันต่างๆ หาสัตว์บุคคลไม่ได้ตามความเป็นจริง กว่าจะถึงวันนั้น เราต้องฟังเท่าไหร่ จนกว่าจะคุ้นเคยว่า เราไม่ไปคิดถึงเรื่องที่เราคิดทุกวันนี้หรอก มีโอกาสที่จะคิดทีละเล็กทีละน้อยจนสามารถที่จะรู้ทันทีว่า ธาตุรู้มี แค่รู้ว่า ธาตุรู้มี แต่การที่จะรู้ ธาตุรู้ ต้องอริยสัจจธรรมรอบ ๒ กว่าจะประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรมรอบที่ ๓

เพราะฉะนั้น นี่คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคำ ละเอียดมาก ลึกซึ้งมาก ใช้คำว่า ตั้งต้นอีก ตั้งต้นอีก ตั้งต้นอีก เพื่อเข้าใจเพิ่มขึ้นอีก อีกทีละน้อยมากกว่าจะทั่ว

นี่เป็นหนทางเดียวนะที่จะละ พอรู้อย่างนี้ ไม่ทำอะไรแล้ว เริ่มละ เพราะฉะนั้น ปัญญาเท่านั้นที่ละ ถ้าไม่มีปัญญา หาทาง จะเอามาใช้อย่างไร จะทำอย่างไร? นั่นไม่ใช่ปัญญา แต่ถ้าเป็นปัญญาใช้ไม่ได้ ทำไม่ได้ดับแล้ว ต้องละเอียดมาก นี่เป็นเหตุให้มีการสนทนาธรรม ถึงได้ซักถามสนทนาแง่มุมต่างๆ

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ขออนุญาติถาม เสียง บ้าง กับได้ยิน ครับ เมื่อเปรียบเทียบกับเห็น กับสี แล้วก็ไม่กังวลเรื่องเสียง เพราะว่า เสียง ไม่มีรูปร่าง

ท่านอาจารย์: สี ก็ไม่มีรูปร่าง

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: เห็นนี่ เห็นสีใช่ไหมครับ

ท่านอาจารย์: เห็นสี ไม่ใช่รูปร่างค่ะ ๑ จุด ๑ จุด เป็นรูปร่างใดๆ ไม่ได้

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: สีไม่ใช่รูปร่าง เสียงไม่มีรูปร่าง

ท่านอาจารย์: นี่ค่อยๆ จะละเอียดๆ ๆ

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: เสียงไม่มีรูปร่าง

ท่านอาจารย์: เสียงก็ไม่มีรูปร่าง แต่จำได้ว่า เสียงต่างกัน แทนที่จะเป็นรูปร่างของสี ก็เป็นเสียงเบา เสียงค่อย เสียงดัง เสียงแหลม เป็นดนตรีต่างๆ

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ครับ ถ้าเราจะไตร่ตรองเรื่องได้ยิน เราก็จะง่ายกว่าสีไหมครับ

ท่านอาจารย์: ยากกว่า

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: เพราะว่า เสียงไม่มีรูปร่าง ไม่มีจุด

ท่านอาจารย์: แต่เสียงปรากฏ แต่ได้ยินปรากฏหรือเปล่า? ถ้า เสียงปรากฏ ได้ยินปรากฏไม่ได้ ต้องทีละหนึ่ง

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ครับ

ท่านอาจารย์: ก็แสดงว่า ได้ยินไม่เคยปรากฏ

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: ครับ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ความไม่รู้ ได้ยิน จะมากแค่ไหน? ในเมื่อเสียงก็ปรากฏ สีก็ปรากฏ แต่ ตัวรู้ ไม่เคยปรากฏ วิปัสสนาญาณที่ ๑ รอบที่ ๓ จึงมี นามรูปปริเฉทญาณ รู้ความต่างกัน ปรากฏความต่างกัน เวลานี้เราพูดได้ว่าต่างกัน แต่ไม่ได้ปรากฏสักอย่าง

ท่าน พล.ต.อิทวัชร: อยากกว่าสีนะครับเสียง

ท่านอาจารย์: ทุกอย่าง ทุกอย่าง ทุกทวาร ทุกทาง กลิ่นก็มีการรู้กลิ่น ต้องรู้กลิ่น แต่กลิ่นคือกลิ่น ธาตุรู้ คือจิตรู้หมด

ท่าน พล.ต.อิทวัชร:

ท่านอาจารย์:

ท่าน พล.ต.อิทวัชร:

ท่านอาจารย์:

ขอเชิญอ่านได้ที่ ...

อริยสัจจ์ ๔ มี ๓ รอบ มีอาการ ๑๒

ขอเชิญคลิกฟังที่ ...

คำที่ให้คิดไตร่ตรอง

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ และกราบยินดีในความดีของท่านพลโทชัชพัชร์ - คุณกนกรัตน์ แย้มงามเรียบ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ