การให้ทาน การเสียสละ

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  28 ต.ค. 2567
หมายเลข  48786
อ่าน  154

นี่ก็เป็นหลักธรรมดาของการให้ ซึ่งเราก็คงเห็นอยู่ทั่วๆ ไป แต่ถ้าไม่เข้าใจ แล้วก็มุ่งที่จะให้ หรือว่าคิดที่จะไม่ให้เสียเลย โดยที่ไม่คำนึงถึงเหตุผล หรือไม่คำนึงถึงกุศลจิต อกุศลจิต ที่จะเกิดในภายหลังแล้ว จะเป็นเหตุที่ทำให้ การให้ทานนั้นตึงไปหรือว่าหย่อนไป ซึ่งก็จะทำให้เกิดทุกข์ในภายหลังได้


คุณวันทนา ท่านผู้ฟังเคยเกิดปัญหาข้องใจ เกี่ยวด้วยเรื่องของการให้ทาน การเสียสละบ้างไหมว่า สำหรับผู้ที่มีฐานะดีหน่อย และมีความยินดีเต็มใจที่จะเสียสละ เพราะเห็นประโยชน์ในการให้นั้นก็ไม่เป็นไร แต่สำหรับผู้ซึ่งขัดข้องในทางเศรษฐกิจ มีรายได้น้อย ไม่พอแก่รายจ่าย เช่นนี้แล้ว อยากจะขอความกรุณา ให้อาจารย์ช่วยอธิบาย ในเรื่องของการให้ทานนี้ คงจะไม่มุ่งหมายที่จะให้บริจาคอะไรๆ ให้ไปจนหมด หรือว่ามุ่งหมายจะให้เราเสียสละสิ่งที่เรารัก เราพอใจจนหมด

ท่านอาจารย์ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความพอดี ตามสมควรแก่เพศ และก็ฐานานุรูปของแต่ละบุคคล การทำทุกอย่างเกินความพอดี ตึงไปหรือว่าหย่อนไป ก็จะต้องนำความทุกข์ ความเดือดร้อนมาให้ได้

ขอเชิญรับฟัง

บุญญกิริยาวัตถุ แผ่นที่ ๑

บุญญกิริยาวัตถุ แผ่นที่ 1 ตอนที่ 1


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ก.ไก่
วันที่ 28 ต.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
talaykwang
วันที่ 29 ต.ค. 2567

ทาน คือ การให้ การสละ เงินทองแม้มีน้อย ก็สละตามกำลังไม่ให้ขัดสน ทานไม่ใช่เพียงเงินทองเท่านั้นที่จะสละได้ แม้การสละความสุขสบายของตนเองเพื่อความสุขสบายต่อผู้อื่น ขณะนั้นก็เป็นทาน


กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูง

กราบขอบพระคุณและยินดียิ่งในกุศลทุกท่าน ทุกประการ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ต.ค. 2567

ท่านผู้นั้นก็ย่อมจะฝึกฝน แล้วก็บำเพ็ญทานกุศล ให้ยิ่งขึ้นในทุกๆ ทาง และเมื่อสละให้ไปแล้ว ก็ไม่มีความหวั่นไหว ไม่เศร้าหมอง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เป็นเพราะเหตุว่า เจตนาในการให้ของท่านผู้นั้นผ่องใสทั้ง ๓ กาล คือ ทั้งในตอนที่คิดจะให้ ในขณะที่กำลังให้ และภายหลังที่ให้แล้ว

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ