สภาพธรรมซึ่งทรงไว้ซึ่งทุกข์
ข้อความใน ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เมตตคูมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๔ ข้อ ๑๕๔ แสดงถึงอุปธิ ๑๐
ธรรมจะแสดงโดยนัยหนึ่งก็ได้ ๔ ก็ได้ ๑๐ ก็ได้ ถ้าเข้าใจความหมายของอุปธิว่า หมายความถึง สภาพธรรมซึ่งทรงไว้ซึ่งทุกข์ จะจัดประเภทหมวดหมู่ของอุปธิได้หลายอย่าง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น ๔ เสมอไป เพราะเหตุว่าสภาพธรรมใดๆ ซึ่งทรงไว้ซึ่งทุกข์ จะแสดงโดยอุปธิ ๑๐ ก็ได้ เช่นในขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เมตตคูมาณวกปัญหานิทเทส ข้อ ๑๕๔ มีข้อความว่า
คำว่า อุปธิ ในอุเทศว่า "อุปธินิทานา ปภวนฺติ ทุกฺขา" ดังนี้ ได้แก่ อุปธิ ๑๐ ประการ คือ
เมื่อกี้ก็ดูว่ามากแล้วนะคะ ทั่วไปในชีวิตประจำวัน หนีไม่พ้นอุปธิ ๔ คือ กามูปธิ ทุกวันๆ ขันธูปธิ ก็ทุกขณะที่ได้เห็น ที่ได้ยิน เป็นต้น กิเลสูปธิ เมื่อเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ก็เกิดโลภะบ้าง โทสะบ้าง อภิสังขารูปธิ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะโลภะ โทสะ ยังเกิดเจตนาที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ที่จะกระทำกรรมที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ทุกวัน ทุกๆ วัน ในชีวิตประจำวัน แล้วแต่ว่าภพหนึ่งชาติหนึ่งของแต่ละท่านจะมีกี่วัน ถ้าแตกย่อยออกไปก็เป็นกี่ชั่วโมง แตกย่อยออกไปอีกก็เป็นกี่นาที จนถึงกี่ขณะจิต
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่พ้นจากอุปธิเลย แต่แม้กระนั้นก็ยังมีอุปธิ ๑๐ ที่แสดงละเอียดออกไปอีก คือ
๑. ตัณหูปธิ อุปธิ คือ ตัณหาหรือโลภะนั่นเอง
๒. ทิฏฐูปธิ อุปธิ คือ ทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด
๓. กิเลสูปธิ อุปธิ คือ กิเลส
๔. กัมมูปธิ อุปธิ คือ กรรม
๕. ทุจจริตูปธิ อุปธิ คือ ทุจริต
๖. อาหารูปธิ อุปธิ คือ อาหาร
๗. ปฏิฆูปธิ อุปธิ คือ ปฏิฆะ คือ โทสะ
๘. อุปธิ คือ อุปาทินนธาตุ ๔
๙. อุปธิ คือ อายตนะภายใน ๖
๑๐. อุปธิ คือ หมวดวิญญาณ ๖
ทุกข์แม้ทั้งหมดก็เป็นอุปธิ เพราะอรรถว่า ยากที่จะทนได้ เหล่านี้เรียกว่าอุปธิ ๑๐
คำว่า ทุกฺขา คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ และทุกข์ย่อย ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เหล่านี้เรียกว่าทุกข์ ทุกข์เหล่านี้มีอุปธิเป็นนิทาน หรือนิทานะ คือ แดนเกิด มีอุปธิเป็นเหตุ มีอุปธิเป็นปัจจัย มีอุปธิเป็นการณ์ ย่อมมี ย่อมเป็น เกิดขึ้น เกิดพร้อม บังเกิด ปรากฏ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทุกข์ ทุกข์ทั้งหลายมีอุปธิเป็นเหตุย่อมเกิดขึ้น
ทุกอย่างที่เป็นสภาพซึ่งทรงไว้ซึ่งทุกข์ เพราะเหตุว่าท่านผู้ฟังอาจจะพิจารณาถึงทุกข์บางอย่างซึ่งพอจะเห็นได้ เช่น คำว่า ทุกฺขา คือ ชาติทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ เริ่มเห็น หรือเริ่มพิจารณาหรือยัง ความเกิดเป็นทุกข์ ถ้ากำลังมีความทุกข์อยู่อย่างหนึ่งอย่างใด ให้ทราบว่า ถ้าไม่เกิด ทุกข์นั้นไม่มี ไม่ว่าจะเป็นทุกข์กาย หรือทุกข์ใจ เวลาที่ทุกข์กายยังไม่เกิด ก็ไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ แต่เวลาที่ทุกข์กายเกิดขึ้นแล้ว จะปวดหัว ตัวร้อน หรือว่าอะไรก็ตามแต่ ให้ทราบว่า ถ้าไม่เกิดขึ้น คือ ไม่มีชาติ คือความเกิด ปวดหัว ตัวร้อน ก็มีไม่ได้ ทุกข์ซึ่งเกิดเพราะชาติ ความเกิด ก็ย่อมมีไม่ได้ แต่ที่ทุกข์ทั้งหลายมี ก็เพราะมีการเกิด
การเกิดเป็นทุกข์จริงๆ เพราะเหตุว่านำมาซึ่งทุกข์อื่นๆ ด้วย เช่น ชราทุกข์ บางท่านที่อายุยืนมากๆ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเลย แต่ก็เป็นผู้ไม่มีกำลังเลย พยายามที่จะออกกำลังให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้มีกำลังขึ้น แต่แม้อย่างนั้นเมื่อชราขึ้น เรี่ยวแรงก็หมดไป นี่ก็เป็นทุกข์เพราะชรา ซึ่งถ้าไม่มีการเกิด ชราทุกข์ก็มีไม่ได้ หรือแม้แต่พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทั้งหมดนั้น ข้อความในเมตตคูมาณวกปัญหานิทเทส แสดงว่าทุกข์ทั้งหมดนั้นไม่ใช่สรณะ และไม่ใช่ที่พึ่งทั้ง ๑๐ ประการ
ต้องพิจารณาจริงๆ จนกว่าที่จะเห็นว่า สภาพธรรม คือ ตัณหาเป็นอุปธิ ทิฏฐิเป็นอุปธิ กิเลสเป็นอุปธิ กรรมเป็นอุปธิ ทุจริตเป็นอุปธิ อาหารเป็นอุปธิ ปฏิฆะเป็นอุปธิ อุปาทินกธาตุเป็นอุปธิ อายตนะภายในเป็นอุปธิ วิญญาณเป็นอุปธิ
ขอเชิญรับฟัง
ในอรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค นันทิสูตร กล่าวถึงอุปธิ ๔ มีข้อความว่า
ขอเชิญรับฟัง