ความจริงของเห็น
นี่คือความละเอียดของธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แม้แต่เรื่องเห็น บางคนก็ผ่านไป เห็นก็เห็นทุกวันจนตาย ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ปัญญาก็ไม่เกิด แต่ถ้าเข้าใจก็คือเริ่มสนใจรู้ความจริงของเห็น ก็ต้องฟังมากๆ ทีเดียวในเรื่องของเห็น แล้วต้องพิจารณาด้วยตัวเองให้เป็นความเข้าใจของตัวเองจริงๆ เห็นมีจริง สิ่งที่ถูกเห็นมีด้วย
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ถูกเห็น ทางภาษาธรรมใช้คำว่า “รูปารมณ์” อะไรก็ตามที่จิตกำลังรู้ สิ่งที่ถูกรู้เป็นอารัมมณะ หรือเป็นอารมณ์ของจิต อารมณ์ของจิต ทางหู เสียงก็เป็นอารมณ์ของจิต เพราะว่าจิตได้ยินเสียง รู้เสียง เพราะฉะนั้น เสียงก็เป็นอารมณ์ แต่เมื่อมีอารมณ์ ๕ อย่าง ก็จำแนกไปทางตา สิ่งที่กำลังปรากฏ ภาษาบาลีเรียกว่า “รูปารมณ์” หรือจะออกเสียงให้ถูกต้องจริงๆ ก็เป็นรูปารัมมณะ ถ้าทางหู เสียงเป็นสัททะ ก็สัททารมณ์ เสียงในป่าก็ไม่ต้องพูดถึง เสียงข้างนอกก็ไม่ต้องพูดถึง เมื่อมีเหตุปัจจัย เสียงก็ต้องเกิด แต่เสียงใดก็ตามที่จิตไม่ได้ยิน ไม่ใช่อารมณ์ของจิตในขณะนั้น เสียงใดก็ตามที่จิตได้ยิน เสียงนั้นเป็นสัททารมณ์ คือ สัททะ กับอารัมมณะ รวมเป็นสัททารมณ์ เช่นในขณะนี้ เสียงที่ถูกได้ยิน หรือจิตกำลังได้ยินเป็นสัททารมณ์ ทางจมูก กลิ่นเป็นคันธารมณ์ รสเป็นรสารมณ์ และกายเป็นโผฏฐัพพารมณ์
เรื่องชื่อ ถ้าไม่สนใจก็ไม่เป็นไร ใช้ภาษาอะไรก็ได้ อย่างที่เรียนให้ทราบแล้วว่า พูดถึงสิ่งที่กำลังมีจริงๆ
เพราะฉะนั้น ทางตาเป็นโลกที่ยากจะรู้ความจริง เพราะเคยเห็นจนกระทั่งเหมือนกับมีคน มีสัตว์จริงๆ ในสิ่งที่เห็น แต่จะขอเปรียบเทียบอุปมาว่า ทุกคนส่องกระจกทุกวัน วันนี้มีใครยังไม่ได้ดูกระจกบ้าง มีไหมคะ เห็นใครในกระจก
ที่มา และ ขอเชิญรับฟัง