การเจริญอนิจจสัญญา

 
Suvidech
วันที่  12 ต.ค. 2550
หมายเลข  5096
อ่าน  18,806

การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิต โดยที่สุดแม้เพียงเวลาที่สูดดมของหอม ฯ

การเจริญอนิจจสัญญา หมายความว่าอย่างไร?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 12 ต.ค. 2550

อนิจจสัญญาเป็นชื่อของสัญญาที่เกิดกับปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณที่รู้ความเกิดดับของนาม และรูป ผู้ที่เจริญอนิจจสัญญาต้องมีปัญญาระดับนั้นจึงจะเจริญได้ และจึงมีผลมากกว่าการเจริญเมตตาฌาน การเจริญอนิจจสัญญามีพยัญชนะจากพระไตรปิฎกดังนี้

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 191

ข้อความบางตอนจาก..

อาพาธสูตร

......ดูก่อนอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้ เรียกว่าอนิจจสัญญา...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 12 ต.ค. 2550

ลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ สุข ทุกข์ ทุกอย่างไม่เที่ยง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 ต.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อนิจจสํญญา คือ การจำโดยความไม่เที่ยงซึ่งเกิดร่วมกับปัญญาที่เป็นระดับสูง สัญญา เจตสิก เป็นสภาพธัมมะที่จำ ขณะที่จิตเกิดขึ้นก็ต้องมีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย และก็ จำในอารมณ์นั้น ขณะนี้เห็นอะไร เห็นคน สัตว์ เห็นว่าไม่เที่ยงหรือเปล่า (อนิจจสัญญา) เปล่าเลยครับ ก็เห็นว่ายังเป็นคน ไม่เห็นดับไปตรงไหนเลย เป็นนิจสัญญา จำว่าเที่ยง ไม่ได้เห็นโดยความไม่เที่ยง

แล้วอนิจจสัญญามีผลมากกว่า เมตตาฌานอย่างไร

การอบรมเมตตาฌาน ซึ่งเป็นสมถภาวนา เพียงแค่ข่มกิเลสไว้เท่านั้น ไม่สามารดับกิเลสได้แต่การอบรมเจริญวิปัสสนา คือ เห็นโดยตามความเป็นจริงของสภาพธัมมะ ว่า ไม่เที่ยง (อนิจจสัญญา) สามารถดับกิเลสได้หมด และเป็นหนทางเดียวที่จะดับกิเลส จึงมีผลมากกว่าคือไม่ต้องเกิดอีกครับ ดับกิเลสหมดนั่นเอง

ขออนุโมทนาครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ครูโอ
วันที่ 12 ต.ค. 2550

เจริญอนิจจสัญญา เพื่อดับความวิปลาสของสัญญา ที่จำว่าสภาพธรรมะ เที่ยง ครับขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
natthaset
วันที่ 13 ต.ค. 2550

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
muda muda
วันที่ 17 มี.ค. 2566

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.. ประโยชน์อย่างยิ่ง ค่ะ ขอกราบอนุโมทนา สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แมวทไวไลท์
วันที่ 8 พ.ย. 2567

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ