เหตุใดมนุษย์จึงก่อ กุศลกรรม และอกุศลกรรม
เนื่องจากคำถามจากเรื่อง อาหารของมนุษย์ทั้ง ๔ ทำให้ผมได้ทราบว่า อวิชชา (ความเห็นผิด คือ ความเห็นที่ไม่ตรงกับความจริง ที่เป็นตัวทำให้เกิดสฬายตนะ ที่ทำให้เกิดผัสสะ (ผัสสาหาร) ที่ทำให้เกิดเวทนา ที่ทำให้เกิดตัณหา ที่ทำให้เกิดอุปาทานที่ทำให้เกิดภพ ที่ทำให้เกิดชาติ ที่ทำให้เกิดโสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัสอุปายาส) มีอาหาร คือ นิวรณธรรม ๕ คือ กามฉันทนิวรณ์ ได้แก่ ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ พยาปาทนิวรณ์ ได้แก่ ความขุ่นเคืองใจ ถีนมิทธนิวรณ์ ได้แก่ ความท้อถอย หดหู่ และความซบเซาง่วงเหงา อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน และความรำคาญใจ วิจิกิจฉานิวรณ์ ได้แก่ ความสงสัยไม่แน่ใจในสภาพธรรม และในเหตุและผลของสภาพธรรม และนิวรณธรรม ๕ ก็มีอาหารคือ อโยนิโสมนสการ (ธรรมที่เป็นของตรงกันข้ามกับที่ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย)
ความสงสัยของผม มีอยู่ว่า ถึงอาหารอีกอย่างหนึ่งครับ คือ มโนสัญเจตนาหาร (หมายถึง กรรม ทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรม ย่อมนำมาซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ) ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดอาหารอีกชนิดหนึ่ง คือ วิญญาณาหาร (หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณ ย่อมนำมาซึ่งนามรูป) นั้นในพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้ถึงเหตุของการก่อทำกรรมของมนุษย์ (เหตุที่ก่อให้เกิดมโนสัญเจตนาหาร) หรือไม่ เพราะผมเคยได้ยินมาว่า มนุษย์นั้นที่ทำกุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี ย่อมต้องรับผลของกรรมนั้นๆ ทั้งสิ้น
ขอขอบคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่งครับ
ในปฏิจจสมุปบาทวิภังค์และอรรถกถา ได้แสดงเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายทำบุญทำบาป (สังขาร) เพราะ อวิชชา คือ ความไม่รู้
โปรดอ่านข้อความโดยตรงที่ยกมา
เชิญคลิกอ่าน....