อินทรียสังวโร คืออะไรครับ

 
natthaset
วันที่  28 ต.ค. 2550
หมายเลข  5280
อ่าน  1,927

อินทรียสังวโร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค คำว่าสำรวมในอินทรีย์ ความหมายกว้างๆ คือ อะไรครับ (หมายถึงการทำงานทั่วไปด้วยหรือเปล่าครับ และสามข้อนี้เป็น ข้อวัตรของพระอย่างเดียวหรือครับ)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 ต.ค. 2550

คำว่าสำรวมในอินทรีย์ ความหมายว่า สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ เมื่อหลังจาก เห็นแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต โดยอนุพยัญชนะ คือจิตไม่เป็นอกุศลโดยตรง แล้วหมายถึงขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น และรวมถึงสติขั้นสมถภาวนา ดังข้อความในพระสูตรดังนี้

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่...

ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด [อปัณณกสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 29 ต.ค. 2550

อินทรียสังวโร, โภชเน มัตตัญญุตา, ชาคริยานุโยค โดยตรงแล้วแสดงแก่พระภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏฏะ แต่บุคคลทั่วไปก็เจริญอบรมได้ตามสมควรแก่เพศ โดยเฉพาะข้ออินทรีย์ สังวรผู้ใดมีสติปัฏฐานเกิดขึ้น ผู้นั้นชื่อว่ามีอินทรีย์สังวร มีความเพียร และรู้จักประมาณ ในการบริโภคอาหารตามสมควร

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 29 ต.ค. 2550

อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ที่ไม่ให้เป็นไปในทางอกุศลที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะที่สติปัฏฐานเกิดชื่อว่ามีอินทรีย์สังวร คือเพียรที่จะระลึกรู้สภาพธรรมเป็นปกติ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 ต.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การสำรวมจึงไม่ใช่การทำอะไรช้าๆ ไม่พูด แต่ต้องเป็นเรื่องของปัญญา อะไรสำรวม ธรรมทำหน้าที่สำรวม คือปัญญาและสตินั่นเอง ตามปกติเราเห็นเป็นคน เป็นสัตว์และก็เกิดอกุศลกับสิ่งที่เห็น ได้ยิน แต่อินทรียสังวร การสำรวม ตา หู .. ใจ ไม่ได้หมายถึง ไม่ให้เห็น หรือไม่ให้ไม่ได้ยินแต่เมื่อเห็น..ได้ยิน เป็นต้น แล้วรู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา (สติปัฏฐาน) ไม่เป็นอกุศลไปกับสิ่งที่เห็น ได้ยิน แต่ต้องมีปัญญาด้วยครับ จึงเป็นอินทรียสังวร ซึ่งข้อประพฤติปฏิบัติเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส และอบรมปัญญาดังนั้นเพศคฤหัสถ์ก็อบรมได้ครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
natthaset
วันที่ 30 ต.ค. 2550

ขอความนอบน้อมจงมีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค้นั้น

"การสำรวมจึงไม่ใช่การทำอะไรช้าๆ ไม่พูด"

อนุโมทนา ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ครูโอ
วันที่ 31 ต.ค. 2550

มีความเร่าร้อนในปัจจุบัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มีความคับแค้นมีความเร่าร้อนในปัจจุบันเมื่อตายไปพึงหวังได้ทุคติ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑

ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 16 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 15 พ.ย. 2565

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ