สมถกรรมฐานเป็นมิจฉาทิฎฐิหรือไม่

 
ugoae
วันที่  17 พ.ย. 2550
หมายเลข  5559
อ่าน  2,178

สมถกรรมฐานเป็นมิจฉาทิฎฐิหรือไม่ ถ้าเป็นหรือไม่เป็นขอความกรุณาอธิบาย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 17 พ.ย. 2550

สมถกรรมฐานเป็นการอบรมความสงบของจิต เป็นมหากุศลญาณสัมปยุต คือ ต้องประกอบด้วยปัญญา ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะเป็นกุศลจิต แต่ก็ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะไม่ได้ทำให้เข้าใจสภาพธรรมได้อย่างถูกต้องตามความป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 17 พ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สมถกรรมฐาน ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะขณะที่จิตสงบจากกิเลส เป็นกุศล ขณะที่เป็น กุศล ขณะนั้น ไม่เห็นผิด แต่ขณะต่อไปอาจเกิดความเห็นผิดได้ เช่น ผู้ที่อบรม สมถกรรมฐานจนถึงขั้นฌาน ขณะนั้นเป็นกุศล แต่เมื่อดับไปแล้ว เมื่ออกจากฌาน อาจสำคัญผิด มีความเห็นผิดว่าตัวเองได้บรรลุธรรม ดับกิเลสได้แล้ว ซึ่งเป็นความเห็นผิด แต่เป็นคนละขณะจิตกับขณะที่อบรมสมถภาวนา เพราะขณะนั้นเป็นกุศล ดังเช่น พกพรหม ท่านก็อบรมสมถภาวนาแต่ท่านก็มีความเห็นผิด ว่าท่านบรรลุธรรมแล้ว แต่ขณะ ที่เห็นผิด ขณะนั้น ไม่ใช่ขณะที่อบรมสมถภาวนา คนละขณะจิตครับ แต่สมถภาวนา เป็นมิจฉาปฏิปทา คือหนทางผิดได้ ถ้าปรารถนาเพื่อเกิดอีกในเทวโลกชั้นสูงๆ เป็นต้น คือปรารถนาการเกิดหรือวัฏฏะ เพื่อเป็นเทวดาชั้นสูงๆ สมถภาวนานี้เป็นมิจฉาปฏิปทา คือหนทางที่ผิด ส่วนสมถภาวนาที่มีความเห็นถูก ดังเช่นพระโพธิสัตว์ในอดีต อบรมสมถภาวนา ไม่เป็นทั้งความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) และไม่เป็นทั้งมิจฉาปฏิปทา (ทางผิด) เพราะท่านปรารถนาการสิ้นกิเลส แม้จะอบรมสมถภาวนาก็ตาม จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจถูก ถ้ามีความเห็นถูก กุศลประการต่างๆ แม้สมถภาวนาก็เป็น สัมมาปฏิปทาดังข้อความในพระไตรปิฎก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 17 พ.ย. 2550

พรหมแม้อบรมสมถภาวนา ก็มีความเห็นผิดได้ แต่ขณะที่เห็นผิด ไม่ใช่ขณะที่เป็นกุศลขั้นสมถภาวนา คนละขณะจิต

[เล่มที่ ๒๕] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๔๐

ข้อความบางตอนจาก

พกสูตร

ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 17 พ.ย. 2550

ถ้าอบรมสมถภาวนาเพื่อเกิดอีก เป็นมิจฉาปฏิปทา เป็นทางทางผิด

เชิญคลิกอ่านที่นี่..

ปฏิปทา ๒ [ปฏิปทาสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
medulla
วันที่ 18 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ ถ้าเป็นสมถภาวนาที่แท้จริง ย่อมเป็นกุศลจิต และหมายถึง ความสงบจากอกุศล ไม่ได้ดูจากท่าทางที่สงบ และควรเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน คือ สงบจากอกุศลจิต จิตที่เป็นอกุศล ย่อมไม่เป็นสมถภาวนา ถ้าไปนั่งสมาธิ แต่ไม่รู้ความต่างกันของกุศลจิต และอกุศลจิต และเข้าใจผิด คิดว่าอกุศลจิต เป็นกุศลจิต ย่อมไม่ใช่สมถภาวนา เป็นเพียง สมาธิที่จัดเป็นมิจฉาสมาธิ และเมื่อสะสมความเห็นผิดมากขึ้น ก็จะยิ่งห่างไกลจากสมถภาวนาที่แท้จริง จึงต้องทราบความละเอียดของจิต ลักษณะของจิตต่างๆ อะไรคือรูป อะไรคือนาม ฯลฯ ด้วยการฟังธรรม และไม่ลืมว่าธรรมะคืออะไร ปัญญาปฏิบัติกิจของปัญญา คืออะไร

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 19 พ.ย. 2550

จะกล่าวว่า สมถภาวนา เป็นดาบสองคมได้ไหมคะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Sam
วันที่ 19 พ.ย. 2550

ตอบความคิดเห็นที่ 6 ครับ

ไม่ควรกล่าวอย่างนั้นครับ เพราะหากเว้นวิบากจิตและกิริยาจิตแล้ว จิตขณะใดเป็นกุศลย่อม ไม่เป็นอกุศล และจิตขณะใดเป็นอกุศลย่อมไม่เป็นกุศล แต่กุศลธรรมสามารถเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลหรืออกุศลก็ได้ และอกุศลธรรมก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลหรืออกุศลก็ได้ ขึ้นอยู่กับการสะสมมาแต่อดีต (ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็สะสมให้เกิดอกุศลเป็นปกติ) สมถะ คือขณะที่สงบจากกิเลส เป็นกุศลจิต สมาธิ เป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด เกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับอกุศลจิตก็ได้ ภาวนา คือการทำให้เจริญขึ้น เพิ่มขึ้น หากปราศจากปัญญาความเข้าใจที่ถูกต้องว่าธรรมใดเป็นกุศล ธรรมใดเป็นอกุศล ปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยความไม่รู้ ก็มักพยายาม ทำให้สมาธิที่เกิดกับอกุศลจิตเจริญขึ้นเพิ่มขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งที่คิดเอาเองหรือฟังต่อๆ กันมา และทึกทักว่านี่คือสมถภาวนา โดยเอาความรู้สึกเป็นสุขเป็นที่ตั้ง (ความรู้สึกเป็นสุขหรือโสมนัสเวทนา เกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับอกุศลจิตก็ได้) เพราะฉะนั้น ขอให้เริ่มด้วยการฟังธรรมะ ให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ฟังธรรมonline
วันที่ 19 พ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ฟังธรรมonline
วันที่ 19 พ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 21 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาในธรรมทานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ugoae
วันที่ 24 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาในทุกคำตอบ/ ความเห็น
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 8 ก.ย. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ