เหตุให้เกิดปัญญาและกำลังของปัญญา.

 
แล้วเจอกัน
วันที่  25 พ.ย. 2550
หมายเลข  5661
อ่าน  3,195

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 585

ข้อความบางตอนจาก สรภังคชาดก

[๒๔๖๙] ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า ข้าพเจ้าขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหานั้น บุคคลในโลกนี้ทำอย่างไร ทำด้วยอุบายอย่างไร ประพฤติอะไร เสพอะไรจึงจะได้ปัญญา ขอท่านได้โปรดบอกปฏิปทาแห่งปัญญา ณ บัดนี้ว่า นรชนทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้มีปัญญา

[๒๔๗๐] สรภังคดาบส ทูลว่า บุคคลควรคบหาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ละเอียดลออ เป็นพหูสูต ควรเป็นนักเรียน นักสอบถาม พึงตั้งใจฟังคำสุภาษิตโดยเคารพ นรชนทำอย่างนี้ จึงจะเป็นผู้มีปัญญา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 25 พ.ย. 2550

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 542

ข้อความบางตอนจาก เตสกุณชาดก

กำลังปัญญา บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังประเสริฐ ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะว่า บัณฑิตอันกำลังปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ซึ่งประโยชน์

ถ้าบุคคลมีปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสมบูรณ์ เมื่อไม่ประสงค์ คนอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 25 พ.ย. 2550

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชนชาวกาสี ถ้าบุคคลแม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่

ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้สดับ ปัญญาเป็นเครื่องยังเกียรติยศ และลาภสักการะให้เจริญ คนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น ก็ย่อมได้รับความสุข

ก็คนบางคนไม่ได้ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็นพหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อมไม่ได้บรรลุปัญญา

ขออุทิศกุลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 25 พ.ย. 2550

เหตุที่ทำให้ฟังธรรมะไม่เข้าใจ ในพระไตรมีปิฏกมีแสดงไว้ว่า

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 315

๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมและไม่ให้เสื่อม

[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้ชอบทำการงาน ๑

ความเป็นผู้ชอบคุย ๑

ความเป็นผู้ชอบนอน ๑

ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑

ภิกษุนั้นไม่พิจารณาจิตที่หลุดพ้นแล้วอย่างไร ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 26 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แช่มชื่น
วันที่ 26 พ.ย. 2550

ปัญญาเป็นเจตสิกเพียงประเภทเดียว ที่สามารถดับอนุสัยกิเลสได้เป็นสมุจเฉทครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jurairat
วันที่ 26 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 27 พ.ย. 2550

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่....

ปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
medulla
วันที่ 30 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Komsan
วันที่ 1 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
suwit02
วันที่ 13 มิ.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornpaon
วันที่ 28 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
opanayigo
วันที่ 6 พ.ค. 2552

กราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
อิสระ
วันที่ 9 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
noynoi
วันที่ 18 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pamali
วันที่ 4 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ