สัตว์เดรัจฉานมีจิตและเจตสิกเหมือนมนุษย์หรือไม่

 
TeTee
วันที่  5 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5762
อ่าน  3,849

๑. อยากทราบว่า สัตว์เดรัจฉานมีจิตและเจตสิกเหมือนมนุษย์หรือไม่ ถ้าใช่ แสดงว่ามีโลภะ โทสะ โมหะเหมือนมุษย์ ใช่หรือไม่?

๒. ถ้าสัตว์เดรัจฉานรู้สึกทุกข์ สุข ได้เช่นเดียวกับมนุษย์ ทำไมไม่มีหมา แมว ฆ่าตัวตาย?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อ ๑. สัตว์เดรัจฉาน มีจิตและเจตสิกครับ และสัตว์ก็มีกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

[เล่มที่ ๒๗] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ ๓๔๓

ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถา คัททูลสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจะเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง จะผ่องแผ้ว เพราะจิตผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็น สัตว์อื่นแม้เหล่าเดียวที่จะวิจิตรเหมือนสัตว์เดียรัจฉานเหล่านี้นะภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้น วิจิตรแล้ว เพราะจิตนั่นเอง จิตนั่นเองยังวิจิตรกว่าสัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้นแล. เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรพิจารณาว่า จิตนี้เศร้าหมอง เพราะราคะ โทสะ โมหะมานมนานแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง ผ่องแผ้ว เพราะจิตผ่องแผ้ว

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ...

สัตว์เดรฉานมีจิต เจตสิกหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ธ.ค. 2550

ข้อ ๒. ที่สัตว์ เช่น หมา แมว ไม่ฆ่าตัวตาย เพราะตามธรรมดาสัตว์ส่วนใหญ่มากไปด้วยความไม่รู้ ไม่มีความคิดพิจารณามากมาย ดังเช่น มนุษย์ มนุษย์นั้นมีความคิดเข้าใจในสิ่งต่างๆ มากมาย เมื่อรู้มากขึ้น (ไม่ใช่ปัญญา) แต่รู้เรื่องราว เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ได้ก็ย่อมคิดปรุงแต่งมากขึ้นและก็ติดข้องในสิ่งที่รู้มากขึ้น เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ติดก็ย่อมทำให้มีการฆ่าตัวตายได้ คิดง่ายๆ ครับ เรื่องใดที่เราไม่ไปรับทราบหรือไม่รู้ในเรื่องนั้น เราจะเดือดร้อนเพราะเรื่องนั้นไหม สัตว์ย่อมมากไปด้วยความไม่รู้ไม่คิดหรือรู้เรื่องราวเท่ามนุษย์ สัตว์จึงไม่ฆ่าตัวตาย เพียงแต่พยายามให้ชีวิตดำรงอยู่ด้วยการแสวงหาอาหาร ก็เป็นเรื่องยากแล้วของสัตว์เดรัจฉานครับ ซึ่งในข้อความในพระไตรปิฎกจะแสดงให้เห็นว่า สัตว์เดรัจฉานนั้น ตื้น หมายความว่า คิดอย่างไรก็แสดงอย่างนั้น ไม่มีความคิดปรุงแต่งมากมายเหมือนมนุษย์ ส่วนมนุษย์นั้นรกชัฏเพราะกาย วาจาไม่ตรงกับใจ เป็นต้น เพราะมากไปด้วยความคิดปรุงแต่ง เพราะเป็นผู้รู้เข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ มากกว่าสัตว์เดรัจฉาน ลองอ่านดูนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ธ.ค. 2550

เรื่อง สัตว์ตื้น มนุษย์รกชัฏ
[เล่มที่ ๔๐] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๒๓๔

ข้อความบางตอนจาก เรื่อง พระนางสามาวดี

ชื่อว่า สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายนั้น เป็นสัตว์มีชาติซื่อตรง ไม่คดโกง ส่วนมนุษย์ใจคิดไปอย่าง ปากพูดไปอย่าง (ไม่ตรงกัน) เพราะเหตุนั้นแล นายเปสสะ ผู้เป็นบุตรของนายควาญช้าง จึงกล่าวว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธบัญจกคือมนุษย์นี้รกชัฏ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธบัญจกคือ สัตว์ของเลี้ยงนี้ตื้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ธ.ค. 2550

[เล่มที่ ๖๐] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ ๒๓๒

ข้อความบางตอนจาก ชวนหังสชาด

[๑๗๕๖] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกทั้งหลายก็ดี ของนกทั้งหลายก็ดี รู้ได้ง่าย แต่เสียงของมนุษย์รู้ได้ยากกว่านั้น

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 6 ธ.ค. 2550

ตามธรรมดาสัตว์เดรัจฉานส่วนมากเต็มไปด้วยไม่รู้ แต่ยกเว้นพระโพธิสัตว์ ที่เกิดเป็นกระต่าย ท่านมีปัญญามาก ท้าวสักกะแปลงเป็นพราหมณ์มาขออาหาร ท่านก็เลยสละชีวิตตัวเอง กระโดดเข้ากองไฟ เพื่อบำเพ็ญทานบารมี เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornchai.s
วันที่ 6 ธ.ค. 2550

การสละชีวิตของพระโพธิสัตว์เป็นไปเพื่อพระโพธิญาณ เป็นปรมัตถบารมี

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
TeTee
วันที่ 6 ธ.ค. 2550

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 13 ก.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ