เรียนถามเกี่ยวกับ กายวิญญัตติรูป

 
เรียนถาม
วันที่  9 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5800
อ่าน  2,546

ได้ติดตามฟังการบรรยายจากท่านอาจารย์สุจินต์ ซึ่งเป็นประโยชน์ และได้ความรู้เป็นอย่างยิ่ง จากการที่เคยฟังบรรยาย กายวิญัติรูปเป็นจิตตชรูปที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางกายเพื่อให้รู้ความหมายต่างๆ เช่น การพยักหน้า ยักคิ้ว ถลึงตา เดิน แรงๆ (กระแทกเท้า) ฯลฯ คือ ต้องเป็นไปในการแสดงออกซึ่งความหมายให้ผู้อื่นรู้ ถ้า ไม่ใช่เป็นการแสดงความหมาย เช่น นั่ง นอน ยืน เดิน ตามปกติธรรมดา ไม่เป็นกาย วิญัติรูป ซึ่งก็ได้เข้าใจเช่นนี้มาโดยตลอด พอดีวันก่อนได้อ่านคู่มือศึกษาพระอภิธัม มัตถสังคหะ (ปริจเฉทที่ 6) มีกล่าวถึงกายวิญัติรูปไว้ดังนี้.... (คัดมาบางส่วน)

.....รูปใดทำให้ผู้อื่นรู้ความประสงค์ รูปนั้นชื่อว่า วิญญัตติรูป ชนทั้งหลายทำให้รู้จิตใจซึ่งกันและกันได้โดยอาศัยรูปนั้น ฉะนั้น รูปนั้นชื่อว่า วิญญัตติรูป การแสดงออกซึ่งวิญญัตติรูปนี้ เรียกกันอย่างสามัญว่า การไหวกาย และ การไหววาจา (การกล่าววาจา)

วิญญัตติรูป มี ๒ รูป คือ

(๑) กายวิญญัตติรูป คือ การเคลื่อนไหวของรูป ให้รู้ความประสงค์ทางกาย

(๒) วจีวิญญัตติรูป คือ การเคลื่อนไหวของรูปทางวาจา ให้รู้ความประสงค์ทาง วาจา

กายวิญญัตติรูป จำแนกได้ ๒ คือ

(๑) โพธนกายวิญฺญตฺติ ได้แก่ การไหวกาย จงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่น โบก มือ กวักมือเรียก เป็นต้น

(๒) ปวตฺตนกายวิญฺญตฺติ ได้แก่ การไหวกายโดยไม่ได้จงใจให้เป็นความหมาย แก่ผู้ใด เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน หรือวิ่ง เป็นต้น แม้ว่าจะไม่ได้เจาะจงให้ เป็นความหมาย แต่ผู้อื่นก็รู้ได้ว่า เรานั่ง นอน ยืน เดิน หรือวิ่ง

กายวิญญัตติรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิญฺญาปน ลกฺขณํ มีการแสดงให้รู้ซึ่งความหมาย เป็นลักษณะ อธิปฺปายปกาสน รสํ มีการแสดงซึ่งความหมาย เป็นกิจ กายวิปฺผนฺทนเหตุภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไหวกาย เป็นผล จิตฺตสมุฏฺฐานวาโยธาตุ ปทฏฺฐานํ มีวาโยธาตุของจิตตสมุฏฐาน เป็นเหตุใกล้

ซึ่งเมื่อได้อ่านแล้ว เกิดความสงสัยคือ ส่วนที่กล่าวว่า ปวตฺตนกายวิญฺญตฺติ ได้แก่การไหวกาย โดยไม่ได้จงใจให้เป็นความหมายแก่ผู้ใด หากเช่นนี้แล้ว การนั่ง นอน ยืนเดิน ธรรมดา ก็ต้องเกิดขึ้นเป็นไปด้วยกายวิญญัติรูปประเภทหนึ่งด้วยเช่นกัน แต่พอมาดูตรงลักขณาทิจตุกะและส่วนอื่นๆ ประกอบกันกล่าวไว้ว่าต้องมีการแสดงความหมายรวมทั้งที่เคยฟังบรรยายจากท่านอาจารย์สุจินต์ก็เช่นกัน กล่าวไว้ว่าต้องเป็นการสื่อความหมายออกมาด้วย จึงจะเป็นกายวิญัตติรูป เลยสงสัยว่า สรุปว่าการนั่ง นอน ยืนเดิน ธรรมดาๆ นั้น จะถือเป็นกายวิญญัตติด้วยหรือไม่ คือเป็นกายวิญัตติรูปอีกประเภทหนึ่ง (ปวตฺตนกายวิญฺญตฺติ) และตกลงแล้วเท่ากับว่า กายวิญญัติรูปนี้มีสองประเภท คือมีทั้งที่แสดงความหมาย และไม่แสดงความหมายหรืออย่างไรครับ

ขอให้ช่วยให้ความกระจ่างเพิ่มเติมด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 10 ธ.ค. 2550

ผู้ตอบเข้าใจตามแนวที่ท่านอาจารย์สุจินต์ ได้บรรยายไว้ ซึ่งตรงกับพระบาลีและอรรถกถา รวมทั้งพระอภิธรรมมัตถสังคหะและวิภาวินีฎีกา ว่า กายวัญญัติเป็นกิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ส่วนจำแนกกายวิญญัติเป็น ๒ ประเภทที่ท่านยกมา ไม่ปรากฏในพระบาลี อรรถกถา และฎีกา

เชิญคลิกอ่าน...

กายวิญญัต [ธรรมสังคณี]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 10 ธ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เรียนถาม
วันที่ 10 ธ.ค. 2550

ขอบคุณครับ เท่าที่อ่านจากตัวอย่างที่ได้กรุณานำมาแสดง อ่านดูแล้วเกิดความเข้าใจว่า เหมือนกับมีความหมายหรือลักษณะที่อธิบายรวมกันอยู่ ทั้งที่เป็นการแสดงความหมายออกมาเพื่อให้ผู้อื่นรู้ และการแสดงออกมาตามปกติ เช่น การไหวกายที่เป็นไปในการก้าวไปข้างหน้า ก้าวไปข้างหลัง แลดู การเหลียวซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก และในส่วนสุดท้ายที่มีกล่าวเลยไปถึง วจีวิญัตติรูปด้วยนั้น

เลยขออนุญาตนำข้อความที่กล่าวไว้ในคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งจำแนกวจีวิญัตติรูปไว้ ทำนองเดียวกันกับ กายวิญัตติรูป เช่นกันครับ

วจีวิญญัตติรูป จำแนกได้ ๒ คือ

(๑) โพธนวจีวิญฺญตฺติ ได้แก่ การกล่าววาจา โดยจงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมายเช่น ตะโกนเรียก การเรียกชื่อกัน การบอกเล่า การสนทนากัน เป็นต้น

(๒) ปวตฺตนวจีวิญฺญตฺติ ได้แก่ การกล่าววาจา โดยไม่ได้จงใจ จะให้เป็นความหมายแก่ผู้ใด เช่น เปล่งเสียงออกมาเวลาตกใจ การไอ การจาม เป็นต้น แม้ว่าจะไม่เจาะจงให้ใครรู้ ไม่เจาะจงให้เป็นความหมาย แต่ผู้อื่นก็รู้ว่าเป็นเสียงตกใจ เสียงไอเสียงจาม

วจีวิญญัตติรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิญฺญาปน ลกฺขณํ มีการแสดงให้รู้ซึ่งความหมาย เป็นลักษณะ อธิปฺปายปกาสน รสํ มีการแสดงซึ่งความหมาย เป็นกิจ วจีโฆสเหตุภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการกล่าววาจา เป็นผล จิตฺตสมุฏฺฐานปฐวีธาตุ ปทฏฺฐานํ มีปฐวีธาตุของจิตตสมุฏฐานเป็น เหตุใกล้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เรียนถาม
วันที่ 10 ธ.ค. 2550

กำลังพิจารณาอยู่ครับว่าประเด็นจะอยู่ตรงนี้หรือไม่ ว่าเมื่อมีการไหวกายหรือวาจาก็ตามการที่กายหรือวาจาที่ไหวไปได้ ย่อมเพราะจิตมีเจตนาที่จะไหวไปอย่างใดอย่างนึง จึงเป็นปัจจัยให้เกิดกายวิญัตติรูปหรือวจีวิญัตติรูปขึ้น เป็นปัจจัยให้กายวาจาไหวไปได้ (และรูปอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน) ซึ่งการไหวไปของกายวาจานั้นมีทั้งที่บ่งบอกความหมายให้ผู้อื่นได้รู้ เช่น ยักคิ้ว กวักมือ พยักหน้ารับ ส่ายหน้าปฏิเสธ กับอีกส่วนหนึ่งเป็นความหมายที่เกิดขึ้นในตัวเอง เมื่อคนอื่นเห็นก็ย่อมรู้ว่า กำลังเดิน กำลังคู้ กำลังตกใจ หรือกำลังทำอิริยาบถใด....ทั้งนี้ เป็นความเห็นตามที่ตนเองเข้าใจ จากการได้อ่านหลักฐานทั้งหมดครับ (ซึ่งอาจเข้าใจต่างไป) จะพิจารณาทบทวนดูอีกครั้ง หากท่านมีความเห็นแนะนำเพิ่มเติม ก็กรุณาเพิ่มเติมด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 10 ธ.ค. 2550

พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมีอรรถอันลึกซึ้งยากที่ผู้มีปัญญาน้อยในยุคนี้จะรู้แจ้งทั่วถึงได้ เท่าที่ได้รับฟังจากผู้บรรยายธรรมหลายท่าน ก็มีความเข้าใจที่แตกต่างกันและความเห็นบางท่านก็ตรงกับความเห็นที่ท่านยกมาก็มี ดังนั้น ควรศึกษาค้นคว้าโดยละเอียดต่อไป ที่สำคัญคือควรศึกษาสภาพธรรมที่กำลังมี กำลังปรากฏให้รู้ ส่วนเรื่องพยัญชนะควรเป็นเรื่องรองครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เรียนถาม
วันที่ 11 ธ.ค. 2550
อนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 3 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 8 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ