การทำสมาธิเมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาก็เป็นมิจฉาสมาธิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5915
อ่าน  1,210

การทำสมาธิให้จิตจดจ่อที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ นั้น เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาก็เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะขณะนั้นเป็นความพอใจที่จะให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์เดียว เมื่อปราศจากปัญญาก็ไม่สามารถรู้ความต่างกันของโลภมูลจิตและกุศลจิต เพราะโลภมูลจิตและกามาวจรกุศลจิตมีเวทนาประเภทเดียวกันเกิดร่วมกันด้วย คือ

โลภมูลจิต ๘ ดวง มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง

กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง

ฉะนั้น ขณะใดที่อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นหรือโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น จึงยากที่จะรู้ว่าจิตที่ไม่สุขไม่ทุกข์ไม่เดือดร้อนหรือขณะที่โสมนัสยินดีเป็นสุขนั้น เป็นโลภมูลจิตหรือเป็นมหากุศลจิต


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
jurairat
วันที่ 16 ธ.ค. 2550

ดิฉันก็ยังสับสนอยู่กับชื่อ โลภมูลจิต ๘ ดวง มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย ๔ ดวง แต่เมื่อสติเกิดขณะอ่านธรรมมะในเวปไซด์นั้น มีความลำพองใจเกิดขึ้น "ว่าเรานี้หนอโชคดีได้มีโอกาสศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม" ก็รู้ว่าเป็นอกุศล เป็นตัวตนที่คิดผิดสำคัญผิดมีเรามีเขา เนื่องจากการเกิดดับของจิตเร็วมากแต่ก็รู้ว่าเป็นมานเจตสิกเกิดดับสลับอีก เพราะมีความสำคัญตนว่า "ดีนะที่เจริญสติปัฏฐานได้" แต่ความจริงเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดดับตามเหตุปัจจัยเท่านั้นทำไมต้องคิดว่ามีดีหรือไม่ดีด้วย

เพราะเจริญสติเป็นปกติอยู่จึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อสภาพที่เกิดขึ้น คอยระลึกศึกษาต่อไปเมื่อสติเกิด ดิฉันเข้าใจสภาพธรรมถูกไหมคะ กรุณาตอบให้ทราบด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 17 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ สภาพของจิตเกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็วมาก หลังจากกุศลจิตดับไปแล้ว โลภะก็เกิดติดข้องในกุศลนั้นว่า เป็นเรา เรามีกุศล เป็นต้น ควรเป็นผู้ที่ละเอียดศึกษาสภาพธรรมต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
อิสระ
วันที่ 17 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 17 ธ.ค. 2550

กิเลสนี้เหนียวแน่น โลภะติดทุกอย่าง แต่แม้กุศลก็ยังเป็นเรา แต่ก็ให้รู้ว่า กุศลก็เป็นธรรมะที่มีจริง อกุศลก็เป็นธรรมะมีจริง ค่อยๆ อบรมปัญญาต่อไปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 18 ธ.ค. 2550

คำว่า "สมาธิ" ดิฉันเกิดความรู้สึกถึงความหมายที่แปลกไปกว่าที่เคยรู้ความหมายตามแบบที่คุ้นชินมา แบบที่คนอื่นทั่วไปตีความหมายกัน ในขณะที่กำลังดูการ์ตูน "พระพุทธเจ้า" เมื่อคืนนี้ แล้วมีตอนหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ศีล สมาธิ ปัญญา" ดิฉันเกิดคิดพิจารณาตามหลังพระดำรัสนั้น อันว่าความตั้งมั่นแห่งจิตในที่นี้ต้องไม่ใช่การนั่งหลับตาจดจ่อกับบัญญัติและความคิดนึกไปในรูปร่างกายในจุดใดจุดหนึ่งแน่นอน ดิฉันกลับเข้าใจความหมายไปว่า ศีลคือ ปกติ (ปกติมีความเห็นชอบ ประพฤติชอบตามทำนองคลองธรรมคือ ศีลห้าหรือศีลที่ยิ่งกว่านั้นอันเป็นปกติวิสัยของบุคคลนั้น)

สมาธิ คือความตั้งมั่นแห่งจิต (โยนิโสมนสิการ ตั้งจิตไว้ชอบ ไม่หวั่นไหวโอนเอนไปในอกุศล ไม่เข้าใจผิดในกุศล) ส่วนปัญญานั้นเกินความสามารถของดิฉันที่จะอธิบายตามความคิดเข้าใจของตนเองได้ถูกคือ ดิฉันเข้าใจว่า เป็นความรู้ชัดในสภาพธรรม เห็นสภาพธรรมมีการเกิดดับตามความเป็นจริง ทั้งหมดนั้นเป็นความคิดตามในเวลานั้น ถูกผิดประการใดคงต้องขอความกรุณาให้อธิบายขยายความเพิ่มเติม

แต่ดิฉันเพิ่งแน่ชัดในใจตนเองว่าที่เรียกกันว่านั่งสมาธิ (คือนั่งหลับตา จดจ้อง) นั้นไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นการเพ่งเพื่อความเป็นไปในฌานแบบโลกียฌาน แต่ก็ดิฉันอาจพูดผิด อธิบายผิดก็ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 18 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ ๗๖] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๑๓

ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สงเคราะห์ลงในศีลขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสงเคราะห์

ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สงเคราะห์ลงในสมาธิขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า สัญชาติสงเคราะห์

ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะสงเคราะห์ลงในปัญญาขันธ์ดังนี้ ชื่อว่า กิริยาสงเคราะห์

เชิญคลิกอ่านที่นี่เพิ่มเติมครับ

ศีล สมาธิ ปัญญา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 20 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ อ่านแล้วค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ กำลังค่อยๆ ชัดเจนมากขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 8 ก.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ