ทุกขอริยสัจ

 
WS202398
วันที่  20 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6363
อ่าน  7,091

จากทุกข์อริยสัจกับทุกข์ในไตรลักษณ์ ความคิดเห็นที่ 1

ทุกข์อริยสัจกับทุกขลักษณะในไตรลักษณ์ มีอรรถต่างกัน คือ

ทุกขอริยสัจ ได้แก่ สภาพธรรมที่ผู้เจริญอริยมรรคควรกำหนดรู้เป็นโลกียธรรม มี ๑๖๐ คือโลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ เป็นธรรมที่น่าเกลียดว่างเปล่า

ส่วนทุกขลักษณะ ป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ ได้แก่จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ รวมโลกุตตรจิตและเจตสิกที่ประกอบด้วย สรุป คือ ทุกขอริยสัจ ได้แก่ สภาพธรรม แต่ทุกขลักษณะ เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับ

ถามว่า โลกุตตรจิตและเจตสิกที่ประกอบด้วย มีทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะแต่ไม่มีอนิจจลักษณะใช่หรือไม่ครับ

ถามว่า เห็นเช่นใดชื่อว่าเห็นทุกขอริยสัจ

ถามว่า เห็นไตรลักษณ์แล้วจะเห็นทุกขอริยสัจด้วยหรือไม่ หรือเห็นทุกขอริยสัจแล้วจะเห็นไตรลักษณ์ด้วยหรือไม่

ถามว่า ควรโยนิโสมนสิการเช่นใด จึงจะน้อมไปสู่การประจักษ์ทุกขอริยสัจ

ถามว่า คนเราที่ไม่กลัวต่ออกุศลกรรม มีตัณหาหนาแน่น อุปาทานหนาแน่นเพราะไม่เห็นทุกขอริยสัจ การกล่าวเช่นนี้ถูกหรือไม่ โดยนัยว่า ปกติคนเราย่อมต้องการสิ่งที่ตนคิดว่าดีกับตัวเอง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีจริงหรือไม่ก็ตาม เปรียบดั่งเงินทองคนมักอยากได้ แต่สิงปฏิกูลคนก็ไม่อยากได้

อยากให้ท่านผู้รู้ช่วยอธิบายให้เข้าใจ ในความหมายของ ทุกขเวทนา ทุกขอริยสัจและทุกขลักษณะ เหมือนต่างกันอย่างไร โดยนัยใดเหลื่อมกันอยู่นัยใดเป็นเอกลักษณ์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

- โลกุตรและเจตสิกที่ประกอบ เป็นสังขารธรรม เกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

- รู้ขันธ์ห้าตามความเป็นจริงชื่อว่า เห็นทุกขอริยสัจ

- รู้ขันธ์ห้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชื่อว่ารู้ทุกขอริยสัจ

- ผู้ที่มีกิเลสหนา ย่อมไม่กลัวต่ออกุศลกรรม เพราะตนมีปัญญาน้อย และเพราะไม่เห็น ทุกขอริยสัจตามความเป็นจริง

- ทุกขเวทนา หมายถึง เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาที่ทนได้ยาก ทุกขลักษณะ หมายถึง เครื่องหมายรู้หรือสภาวะ ที่ทนได้ยาก ลักษณะของสภาพธรรมที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นดับไป ทุกขอริยสัจ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ มาจาก ทุ + ขํ + อริยสัจ ทุ = ชั่ว น่าเกลียด ขํ = ว่างเปล่า สูญ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

๑. ทุกขเวทนา หมายถึงทุกข์ทางกาย เช่น เจ็บ ปวด ร้อน รวมถึงทุกข์ทางใจด้วย เช่น ความรู้สึกเศร้า เสียใจ เป็นธรรมะที่มีจริง เกิดแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง

๒. ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงของพระอริยเจ้าที่รู้สภาพธรรมที่เกิดดับเป็นทุกข์ เป็นปัญญารู้ค่ะ

๓. ทุกขลักษณะ ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับเป็นทุกข์ ทุกอย่างไม่เว้นเลยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
WS202398
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

คือ เคยได้ฟังธรรมบรรยายของท่านอาจารย์ฯ ว่าในความเป็นจริงเหมือนเราอยู่ผู้เดียว สิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งที่จิตรับรู้ นามธรรมทั้งหลาย เกิดพร้อมจิต ตัวจิตที่รู้ก็ไม่เที่ยง สิ่งที่ถูกรู้ก็ไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า สิ่งที่โลกบัญญัติ สิ่งที่ผมเห็นว่ามีอยู่ คือสิ่งที่เกิดและดับทั้งนามและรูป ไม่มีสิ่งใดที่เที่ยงแท้ เพราะถ้ามีสิ่งที่เที่ยงแท้ที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือรูป แต่ถึงอย่างนั้นรูปทั้งหมดก็ไม่เที่ยง ส่วนจิตนั้นถ้าพิจารณาแล้วจิตดวงใดที่เที่ยง ถ้ามีจริง ก็คงไม่ต่างอะไรกับรูปที่ไม่อาจรับรู้สิ่งใดได้ เพราะกระบวนการรับรู้ของจิตเป็นกระบวนการของการเกิดดับ เหมือนฟิล์มภาพยนต์

ส่วนการไม่เกิดดับเป็นนิพพานจิต พระผู้มีพระภาคเคยตรัสไว้ใช่หรือไม่ครับว่า โลกุตตรธรรมเข้าถึงได้ด้วยญาณ มิใช่การตรึก แต่มันก็อดตรึกไม่ได้เพราะ ตั้งแต่เกิดมาก็เรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยการตรึก นักตรึกทั่วไปมักจะสงสัยว่า เมื่อสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงมีก็จริง แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าแล้วจุดเริ่มต้นอยู่ที่ใหน ในเมื่อจุดสิ้นสุดมีอยู่ เว้นแต่ว่าจะก้าวข้ามความมีและความไม่มีไปได้ มันชวนให้คิดว่ามีสิ่งที่อยู่เหนือกว่าเป็นเทพเจ้าต่างๆ ตามที่นักตรึกตรึกไป

ความเห็นที่เป็นอริยะ ช่างต่างจากความเห็นของโลกมากเหลือเกิน เป็นการยากมากที่จะดำเนินชีวิตแบบปุถุชนให้ตรงกับความเห็นที่เป็นอริยะ เพราะความเห็นเกือบทั้งหมด สัญญาเกือบทั้งหมด สังขารเกือบทั้งหมดในโลก ค่านิยมต่างๆ เป็นปฏิปักษ์กับอริยธรรม

บางครั้งตัวเองยังเอาตัวไม่รอด แต่ก็ยังนึกถึงคนที่เรามีเมตตา หรือรักใคร่ ว่าเราจะไปคนเดียวหรือ แต่ถึงอย่างนั้นปกติก็มักมีความไม่ชอบใจ โกรธ เกลียดในผู้อื่นอยู่เสมอมากน้อยต่างๆ กันไปแต่ละกรณี

โลกนี้ช่างน่ากลัว จริงหนอ แม้กระนั้นก็ยังอยากอยู่ในโลกนี้ต่อไป ด้วยความหวังลมๆ แล้งๆ ความหลงลืม ความเลอะเลือน ความคับแค้น ความมีมานะ ความร่ำไรรำพัน ความโศก และไม่พ้นความตาย และอบายภูมิอันน่ากลัว

อยากถามว่า ศีลข้อ สุราฯ หมายถึงเฉพาะสุรา หรือสิ่งที่มีผลคล้ายสุรา เช่น บุหรี่ อยู่ในข่ายหรือไม่ หมากพลูอยู่ในข่ายหรือไม่ ศีลข้อนี้มีความหมายกว้างแคบอย่างไรครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 21 ธ.ค. 2550

ศีลข้อสุรา หมายถึง การเสพของมึนเมา ไม่เกี่ยวกับบุหรี่ หรือหมากพลูค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 23 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะด้วยเหตุนี้ใช่ไหมคะ ทำให้ภิกษุบางรูป (บางรูปจริงๆ ) จึงยังกล้าสูบบุหรี่

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 23 ธ.ค. 2550

ถ้าเป็นภิกษุ ไม่ควรสูบบุหรี่ ดูไม่งาม ไม่น่าเลื่อมใสค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
WS202398
วันที่ 25 ธ.ค. 2550

ถ้าอย่างนั้น คนที่สูบบุหรี่แล้วเมา ก็ถือว่าผิดศีลเพราะมึนเมา คนที่สูบแล้วไม่เมาก็ไม่ผิดศีล ๕ ใช่หรือไม่ครับ หรือว่าจะเมาหรือไม่เมาก็ไม่ผิด เพราะบุหรี่ไม่ใช่เหล้า พระอรหันต์จะสูบบุหรี่หรือไม่?

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 25 ธ.ค. 2550

การสูบบุหรี่ เป็นเพียงการติดในรสอย่างหนึ่ง เท่านั้น ไม่ถึงกับมึนเมาทำให้เสียสติสัมปชัญญะ ดังนั้น บุหรี่จึงไม่ใช่สุราเมรัยหรือของมึนเมา ไม่จัดว่าผิดศีลข้อที่ ๕ คนที่ติดบุหรี่ คือคนมีกิเลส พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสย่อมไม่สูบไม่ติดบุหรี่

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
WS202398
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

ขอขอบคุณ

ในบางนิกาย พระอรหันต์ในตำนานบางรูปของนิกายเหล่านั้น มีการกระทำแปลกๆ เช่น กินข้าวเย็น มีบุคคลิกแปลกๆ หรืออะไรทำนองนี้ แล้วกล่าวว่าเพราะว่าท่านพ้นแล้ว ท่านก็ทำไปตามนิสัยความชอบ แต่ไม่มีกิเลส เป็นไปได้หรือไม่บุคคลิกของผู้บรรลุธรรมตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปตามลำดับจนถึงพระอรหันต์ จะเปลี่ยนไปหรือไม่ครับ ส่วนใดที่เปลี่ยนไปได้ ส่วนใดที่เปลี่ยนไปไม่ได้

ที่กล่าวว่า คนที่ติดบุหรี่คือคนมีกิเลส พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสย่อมไม่สูบไม่ติดบุหรี่ ถ้ามีคนกล่าวว่า พระอรหันต์สูบเฉยๆ ไม่ได้ติด สูบเพราะเคยสูบและก็สูบต่อไปเช่นนี้เป็นไปได้หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
study
วันที่ 26 ธ.ค. 2550

พระอรหันต์บางรูปอาจมีกิริยาที่ไม่งามที่กระทำจนเคยชินได้ แต่คงไม่ถึงกับกินข้าวเย็น หรือล่วงพระวินัยบัญญัติ กิริยาหรือความประพฤติจนเคยชินมาแต่ปางก่อน (วาสนา) ของพระอริยสาวกผู้ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ไม่สามารถละได้ทั้งหมด เช่น การเดินเร็วๆ คำพูดที่ไม่น่าฟัง เป็นต้น แต่การสูบบุหรี่ จะบอกว่าเป็นวาสนา ฟังไม่ขึ้นครับ เพราะคนที่สูบเพราะติด เว้นไว้แต่สูบเพื่อรักษาโรคบางโรค บางกาล เท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 3 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 11 พ.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ