คำบริกรรม

 
oom
วันที่  27 ธ.ค. 2550
หมายเลข  6699
อ่าน  16,147

เมื่อเราไปปฏิบัติธรรม สถานที่ปฏิบัติธรรมก็จะสอนให้ใช้คำบริกรรมต่างๆ เช่น ยุบหนอ พองหนอ พุทโธ หรือสัมมาอะระหังบ้าง เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เรามีความจำป็นต้องใช้คำบริกรรมต่างๆ นี้หรือไม่ เพราะเหตุใด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 ธ.ค. 2550

ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมแก่พุทธบริษัท เพื่อการเข้าใจตามความเป็นจริง ทรงแนะนำสาวกตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ด้วยการแสดงพระธรรมโดยนัยต่างๆ แต่ไม่ปรากฏว่า ให้สาวกใช้คำบริกรรม ... (ที่ท่านยกตัวอย่างมา)

ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นที่สุด คือการศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจ ถ้าขาดความเข้าใจพระธรรมคำสอนแล้ว แม้จะใช้คำบริกรรมใดๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย แต่ถ้าศึกษาพระธรรมที่แสดงความจริงจนเข้าใจ ย่อมค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏแม้ไม่ต้องใช้คำบริกรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
oom
วันที่ 27 ธ.ค. 2550

ในพระไตรปิฎกไม่มีสอนให้ใช้คำบริกรรม แต่ปัจจุบันตามสถานที่สอนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ตามรู้ฐานทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน เช่น เวลานั่งสมาธิ ให้รู้ตามอาการของท้องที่พองว่าพองหนอ และอาการที่ยุบ ว่ายุบหนอ ตามความเป็นจริง ถือว่าเป็นสติหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แช่มชื่น
วันที่ 27 ธ.ค. 2550

คิดง่ายๆ นะครับ ว่าคำบริกรรมนี้ ถ้าเด็กท่องได้ แล้วจิตของเด็กก็ตั้งมั่นได้ ถ้าอย่างนั้นพระธรรมของพระพุทธเจ้าจะง่ายอย่างนั้นหรือไม่ ขอให้ไตร่ตรองพิจารณาด้วยเหตุและผลครับ เพราะว่าใครก็จะหลอกเราไม่ได้ ถ้าเราเกิดความเห็นถูก คือปัญญา เป็นเกราะกันความเห็นผิดจากผู้อื่นครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 27 ธ.ค. 2550

เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้คำบริกรรม เพราะทุกอย่างต้องมีเหตุผล เราบริกรรมด้วยความไม่รู้เพราะทำตามเขา ผลก็คือสะสมความเห็นผิด

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม และสาวกก็แปลว่า ผู้ฟัง ถ้าไม่อาศัยการฟังธรรมะ ปัญญาจะเกิดได้อย่างไร ในขั้นแรกขอให้ฟังธรรมะที่ท่านอาจารย์สุจินต์บรรยายไปก่อนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 ธ.ค. 2550

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 2 โดย oom

ในพระไตรปิฎกไม่มีสอนให้ใช้คำบริกรรม แต่ปัจจุบันตามสถานที่สอนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ตามรู้ฐานทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน เช่น เวลานั่งสมาธิให้รู้ตามอาการของท้องที่พอง ว่าพองหนอ และอาการที่ยุบ ว่ายุบหนอ ตามความเป็นจริง ถือว่าเป็นสติหรือไม่

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ก่อนอื่นต้องรู้จักคำว่าสติก่อนครับ สติในภาษาไทยที่เราใช้กัน เช่น รู้ว่ากำลังทำอะไร เป็นสติ เป็นต้นแต่ความเป็นจริงแล้ว สติเป็นธรรมฝ่ายดี เกิดกับกุศลจิต เป็นต้นครับ ดังนั้น การรู้ว่าทำอะไร เช่น รู้ว่าเดิน รู้ว่ายุบ พอง ไม่ได้หมายถึงสติ แต่ขณะนั้นมีความต้องการที่จะทำ จดจ้องในขณะที่พอง ยุบไหม ความต้องการไม่ใช่สติครับ เป็นโลภะ ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนครับ ไม่เช่นนั้นก็แยกไม่ออกระหว่างหนทางถูกและผิด แม้แต่คำว่าสติก็ต้องศึกษาให้เข้าใจครับ

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ ...

ขณะที่สติเกิด เป็นไปในทางที่ดี

สติเป็นไฉน

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
devout
วันที่ 28 ธ.ค. 2550

ขณะที่กำลังบริกรรมอยู่อย่างนั้น มีความเข้าใจอะไรเกิดขึ้นบ้างคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
oom
วันที่ 10 ม.ค. 2551

ขณะบริกรรม เท่าที่เคยปฏิบัติมาจากประสบการณ์ตัวเอง จิตมีความตั้งมั่นเป็นสมาธิชั่วขณะ บางครั้งก็ระลึกได้ บางครั้งก็หลงลืม สลับไปมาตลอด เพราะไม่สามารถบังคับได้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
udomjit
วันที่ 16 ม.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ และจริงๆ แล้วคำว่า บริกรรม ตามพระไตรปิฎกหมายความว่าอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
อิสระ
วันที่ 17 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 17 ม.ค. 2551

บริกรรม แปลว่า ปรุงแต่งให้เกิด เช่น ในฌานวิถี ถ้าบริกรรมไม่เกิด จิตขณะต่อไปจนกระทั่งถึงอัปปนาจิตก็จะเกิดไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
study
วันที่ 18 ม.ค. 2551

คำว่า บริกรรม ภาษาบาลี คือ ปริกมฺม แปลว่า การกระทำรอบ อันนวด การนวด การบริกรรม ในภาษาไทย บริกรรม เป็นคำกิริยา หมายถึง ท่องบ่น เสกเป่า ตกแต่ง กำหนดใจ นวดฟั้น ฉาบทา แต่ถ้าบริกรรม ในฌานวิถี มรรควิถี หมายถึง ปรุงแต่งให้เกิด ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
คุณ
วันที่ 22 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
คุณ
วันที่ 17 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
oom
วันที่ 18 ก.พ. 2552

ตั้งแต่ดิฉันได้ฟังธรรมที่มูลนิธิฯ และจากวิทยุ ได้อ่านข้อความจากบ้านธัมมะ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากขึ้น ดีใจที่มีความเห็นถูก ซึ่งในอดีตดิฉันก็ไปปฏิบัติตามสำนักต่างๆ มากมาย จากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติมา และมาฟังที่ท่านอ.สุจินต์ ทำให้รู้ตัวว่าเราหลงผิดมานาน แต่ก็คงได้อานิสงส์ จากการไปปฏิบัติในแต่ละครั้ง ที่ได้รักษาศีล ๘ ได้ครบทุกข้อ จึงทำให้ได้มาฟังธรรมและมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จึงขอแนะนำให้ทุกท่านฟังธรรมมากๆ ทุกอย่างเป็น ธรรมะ และเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 19 ก.พ. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ความเข้าใจถูก ย่อมเป็นปัจจัยให้ปฏิบัติถูกต้อง แม้แต่การรักษาก็รู้เพื่อละคลายกิเลส ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น แต่ถ้าเข้าใจหนทางผิด สิ่งอื่นๆ ก็ผิดไปด้วย แม้การรักษาศีลก็ไม่ใช่ เพื่อละคลายกิเลส ดังนั้นการอบรมปัญญา ความเข้าใจถูกจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้สิ่งต่างๆ เข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงครับ

ดังนั้น อานิสงส์ของหนทางผิดคือคามเข้าใจผิด รู้ผิด อานิสงส์ของหนทางถูกคือความเข้าใจถูก รู้ถูก ครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
suwit02
วันที่ 15 ก.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
เซจาน้อย
วันที่ 18 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
ธัญญะ
วันที่ 10 ต.ค. 2559

สวัสดีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
chatchai.k
วันที่ 8 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 7 มี.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ