พระสารีบุตรไปหาพระมหาโมคคัลลานะ [โมคคัลลานสูตร]
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 397
๗. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรไปหาพระมหาโมคคัลลานะ
[๑๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงทีอยู่ ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นกล่าวถ้อยคำที่ทำให้เกิด ความยินดีต่อกันเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ได้ถามพระ- มหาโมคคัลลานะว่า อาวุโส โมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฏิปทาอย่างไหนในปฏิปทา ๔ นี้
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า อาวุโสสารีบุตร ปฏิปทา ๔ นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา
จบโมคคัลลานสูตรที่ ๗
อรรถกถาโมคคัลลานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
มรรค ๓ เบื้องต่ำ ของพระมหาโมคคัลลานเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา (ปฏิบัติง่าย รู้ได้ช้า) อรหัตตมรรค เป็น ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติยากรู้ได้เร็ว) เพราะฉะนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ยายํ ปฏิปทา ทุกฺขา ขิปฺปาภิญฺญา อิมํ เม ปฏิปทํอาคมฺม อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุตฺตํ (จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว) ดังนี้.
จบอรรถกถามหาโมคคัลลานสูตรที่ ๗
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 757
ข้อความบางตอนจาก...
ฆฏสูตร
ครั้งนั้นแล เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.....
สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างไร.
[๖๙๓] ม. ผมได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่นี้ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้ปรารภความเพียรๆ ดังนี้ ก็บุคคลจะ ชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความเพียรด้วยเหตุประมาณเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า อาวุโส เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะผม ดังนี้ว่า โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียร ด้วยตั้งสัตยาธิษฐานว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เลือดและเนื้อในร่างกายจงเหือดแห้งไปเถิด ผลอันใดที่จะพึงบรรลุได้ด้วย เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุดความเพียรเสียเป็นอันไม่ โมคคัลลานะ ภิกษุย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้แล อาวุโส ผมได้มีธรรมีกถากับ พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์