ควรอบรมความเพียรอย่างไรครับ

 
dhammafellow
วันที่  28 ม.ค. 2551
หมายเลข  7166
อ่าน  1,033

บางคนบอกว่าถ้ามีความเพียรก็เกิดความมีตัวตน แต่ถ้าไม่เพียรก็จะไม่รู้ชัดสักที ควรอบรมอย่างไรในเบื้องต้นครับ

ขอความกรุณาด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ป้าจาย
วันที่ 28 ม.ค. 2551
เคยได้ยินไหมคะ ไม่พัก ไม่เพียร
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ดอกดิน
วันที่ 29 ม.ค. 2551

การบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา นั้น เพื่อจุดหมายคือ ออกจากความทุกข์พ้นความเวียนเกิด- ตาย เมื่อเรามีความเห็นว่ามีตัวตน เราอยากพ้นจากกิเลส ตัวก่อทุกข์ ความอยากอย่างนี้ใน ทางธรรมนั้นเรียกว่า ธรรมะฉันทะ คือความพอใจในพระธรรม เมื่อมีความพอใจแล้วก็มีความเพียรละชั่วทำดี แล้วมีความจดจ่อไม่ทิ้งหน้าที่ในการดูแลจิตให้อยู่ในความสงบ แล้วก็มีความใคร่ครวญ พิจารณาดูความทุกข์เกิดในจิต ดูภาวะที่ปราศจากทุกข์ เห็นสภาพธรรมที่ปราฏกในจิตนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน ก็จะเห็นจิตที่ว่างจากความยึดในอารมณ์ที่ปรุงแต่งขึ้นมานั้น เมื่อจิตว่างจากอารมณ์ภายนอกจิตก็มีอารมณ์เดียวนั่น มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ หลักการเจริญอิทธิบาทสี่ก็เป็นเช่นนี้ ต้องเริ่มต้นด้วยความพอใจอยากพ้นทุกข์ แล้วปฏิบัติตรงตามหลักพระธรรม เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ละเสียซึ่งความอยาก พระพุทธองค์ตรัสไว้เช่นนี้ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Suvidech
วันที่ 29 ม.ค. 2551

ลองคลิกฟังดูนะครับ ฟังดีมาก

คลิกที่นี่ .. การปฏิบัติธรรมคือขณะไหน

สนทนาเรื่องการปฏิบัติธรรม

ขณะนี้เป็นธรรมะหรือเปล่า

ธรรมะกำลังปรากฏ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมะถูกต้องตามความเป็นจริงหรือยัง

การปฏิบัติธรรมเป็นการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค พระธรรมไม่ใช่สำหรับอ่านหรือว่าไม่ใช่เพียงสำหรับพิจารณา ทุกท่านควรจะประพฤติปฏิบัติตามเท่าที่เข้าใจด้วย

ถ้าไม่ศึกษาด้วยการพิจารณาพระธรรมโดยละเอียด ก็ยากที่จะประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง เพราะพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดงนั้นลึกซึ้งและละเอียดจริงๆ ฉะนั้น ส่วนใหญ่ของพุทธศาสนิกชนจึงปฏิบัติธรรมขั้นทานและขั้นศีล แต่การปฏิบัติธรรมขั้นอบรมเจริญปัญญานั้นต้องศึกษาให้เข้าใจโดยละเอียด จึงจะอบรมเจริญได้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
dhammafellow
วันที่ 29 ม.ค. 2551

ขอบคุณทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 31 ม.ค. 2551

เพียรได้ค่ะ แต่ให้รู้ว่าไม่ใช่เราที่เพียร

ควรเข้าใจว่า ความเพียรก็เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
udomjit
วันที่ 1 ก.พ. 2551

ไม่พักอยู่ในกามสุขฯ และไม่เพียรอยู่ในอัตกิลมฯ อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ป้าจาย
วันที่ 2 ก.พ. 2551

เราเลือกจะพักหรือจะเพียร ย่อมไม่ได้เลย เพราะเป็นตัวตนด้วยกิเลสแน่นอน ไม่ว่าด้วยโลภะหรือโทสะ สภาพธรรมทั้งพักและ เพียร ย่อมเกิดตามเหตุปัจจัยไม่ว่าจะโดยกุศลหรืออกุศลจิตก็ตาม สติและปัญญาเท่านั้น ที่จะทำให้สภาพพักและเพียรอย่างเป็นตัวตนนั้นหมดไป

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
C.pongsiri
วันที่ 2 ก.พ. 2551

เพิ่งเคยได้ยิน ไม่พักไม่เพียร ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ โดยเฉพาะความเห็นที่ 3 รู้สึกมีกำลังใจดีขึ้น เพราะเป็นผู้ตั้งความหวังไว้ เลยกังวลว่า ถ้าหวังก็เป็นเรา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
C.pongsiri
วันที่ 2 ก.พ. 2551

เวลานึกได้ว่า เมื่อสักครู่นี้เผลอ เป็นสติหรือเปล่าคะ ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ป้าจาย
วันที่ 3 ก.พ. 2551

เมื่อยังเป็นเราอยู่ ยังหวังด้วยตัวเราอยู่ ก็เป็นอย่างนั้นแหละค่ะ อย่ากังวลไปเลย คุณ C.Pongsiri จะห้ามไม่ให้เป็นเราได้อย่างไร ถ้ายังไม่มีปัญญา สติกับสัญญา (จำได้ หมายรู้) ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ข้อสำคัญสภาพธรรมต่างๆ เกิดแล้ว ดับแล้ว อย่างรวดเร็ว ใส่ชื่อหรือไม่ใส่ชื่อก็คือสภาพนั้น เดินหน้าหาความจริงของสภาพธรรมต่อไปดีกว่าค่ะ ที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไป ขณะนี้ มีสภาพธรรม มีความจริงให้เราพิจารณาศีกษา ปรากฏทั่วทั้งทวารทั้งหก พวกเราก็เหมือนกันทุกคน กำลังศึกษาเรื่องสภาพธรรมกันจะให้ใครรู้สภาพธรรมของคนอื่นก็คงลำบากนะคะ เพราะแม้แต่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏกับตัวเอง ป้าก็ยังไม่รู้เหมือนกันค่ะ รู้แต่เรื่องราว ไม่รู้ความจริงสักที

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ