โรคสูตร - อัจจยสูตร - ๑๕ มี.ค. ๒๕๕๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 มี.ค. 2551
หมายเลข  7787
อ่าน  5,162

สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑๕ มี.ค. ๒๕๕๑

เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.

๗. โรคสูตร ว่าด้วยโรค ๒ อย่าง

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต

[เล่มที่ 35] เล่ม ๒ - หน้าที่ 373

และ

๔. อัจจยสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 523


[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 3737.

โรคสูตร

ว่าด้วยโรค ๒ อย่าง

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้ โรค ๒ อย่างเป็นไฉน คือโรคกาย ๑ โรคใจ ๑ ปรากฏอยู่ว่าสัตว์ทั้งหลายผู้ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต ๔ อย่างนี้ โรคของบรรพชิต ๔ อย่างเป็นไฉน คือ

๑. ภิกษุเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยตามมีตามได้

๒. ภิกษุนั้นเมื่อเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษ ด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยตามมีตามได้แล้ว ย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพื่อจะได้ความยกย่องเพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ

๓. ภิกษุนั้นวิ่งเต้นขวนขวายพยายาม เพื่อจะได้ความยกย่องเพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ

๔. ภิกษุนั้น เข้าสู่ตระกูลเพื่อให้เขานับถือ นั่งอยู่ (ในตระกูล) เพื่อให้เขานับถือ กล่าวธรรม (ในตระกูล) เพื่อให้เขานับถือ กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะอยู่ (ในตระกูล) ก็เพื่อให้เขานับถือ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล โรคของบรรพชิต ๔ อย่าง.

เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยตามมีตามได้ จักไม่ตั้งความปรารถนาลามกเพื่อจะได้ความยกย่อง เพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ จักไม่วิ่งเต้นขวนขวายพยายามเพื่อให้ได้ความยกย่อง เพื่อให้ได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ จักเป็นผู้อดทนต่อ หนาว ร้อน หิว กระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรงต่างๆ เป็นผู้อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่น ไม่เจริญใจ พอจะปล้นชีวิตเสียได้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

จบโรคสูตรที่ ๗


ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต [อัจจยสูตร]

อรรถกถาโรคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโรคสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิฆาตวา ได้แก่ ประกอบด้วยความร้อนใจคือทุกข์ มีความมักมากเป็นปัจจัย.

บทว่า อสนฺตุฏโฐ ได้แก่ เป็นผู้ไม่สันโดษ ด้วยสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔.

บทว่า อนวญฺญปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ความยกย่องจากผู้อื่น.

บทว่า ลาภสกฺการสิโลก ปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ลาภสักการะอันได้แก่ปัจจัย ๔ ที่เขาจัดไว้เป็นอย่างดี และความสรรเสริญ อันได้แก่การกล่าวยกย่อง.

บทว่า สงฺขาย กุลานิ อุปสงฺกมติ ได้แก่ เข้าไปสู่ตระกูลเพื่อรู้ว่า ชนเหล่านี้รู้จักเราไหม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาโรคสูตรที่ ๗


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 10 มี.ค. 2551

พระสูตรอ่านดีมาก ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 10 มี.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
spob
วันที่ 11 มี.ค. 2551

ก่อนอื่นกระผมขอชี้แจงว่า ในครั้งนี้ กระผมได้นำข้อความภาษาบาลีทั้งพระบาลี อรรถกถาและฎีกา มาประกอบไว้ด้วย เนื่องจากว่า บางบทที่พระฎีกาจารย์ ท่านอธิบายไว้โดยนัยแห่งหลักภาษา ดังนั้น เพื่อความกระจ่างในบทดังกล่าว จึงควรทราบบทที่ท่านนำมาจากพระบาลีนั้นๆ

อีกประการหนึ่ง เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ของคำแปลที่กระผมแปลไว้ จึงใคร่ขอความกรุณาท่านผู้มีความรู้ในทางภาษาบาลี ได้ตรวจแก้คำแปลนี้ด้วย

หากทางเว็บมาสเตอร์เห็นว่า การนำภาษาบาลีมาประกอบไว้ เป็นการเยิ่นเย้อเกินไป หรือ ไม่สะดวกในการอ่านข้อความ ก็อนุญาตให้ดำเนินไปตามเหมาะสมด้วย แต่ถ้าเห็นว่าสมควรและมีประโยชน์ ในคราวต่อไป ก็จะได้นำข้อความบาลี มาประกอบไว้ทุกครั้ง

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
spob
วันที่ 11 มี.ค. 2551

๔. อจฺจยสุตฺตํ

๔. อัจจยสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

สาวตฺถิยํ เป ... อาราเมฯ เตน โข ปน สมเยน เทฺว ภิกฺขู สมฺปโยเชสุ ํฯ ตตฺเรโก ภิกฺขุ อจฺจสราฯ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสองรูปโต้เถียงกันฯ ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน.

อถ โข โส ภิกฺขุ ตสฺส ภิกฺขุโน สนฺติเก อจฺจยํ อจฺจยโต เทเสติ; โส ภิกฺขุ นปฺปฎิคฺคณฺหาติฯ

ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นแสดงโทษโดยความเป็นโทษ (รับผิดและขอโทษ) ในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับ.

อถ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู เยน ภควา เตนุปสงฺกมิํสุ; อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทึสุฯ

ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่งฯ

เอกมนฺตํ นิสินฺนา โข เต ภิกฺขู ภควนฺตํ เอตทโวจุํ ‘‘อิธ, ภนฺเต, เทฺว ภิกฺขู สมฺปโยเชสุํ, ตตฺเรโก ภิกฺขุ อจฺจสรา ฯ อถ โข โส, ภเนฺต, ภิกฺขุ ตสฺส ภิกฺขุโน สนฺติเก อจฺจยํ อจฺจยโต เทเสติ, โส ภิกฺขุ นปฺปฎิคฺคณฺหาตี’’ติฯ

เมื่อนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสองรูปได้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นภิกษุผู้พูดล่วงเกินแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับ พระพุทธเจ้าข้า.

‘‘เทฺวเม, ภิกฺขเว, พาลาฯ โย จ อจฺจยํ อจฺจยโต น ปสฺสติ, โย จ อจฺจยํ เทเสนฺตสฺส ยถาธมฺมํ นปฺปฎิคฺคณฺหา’’ติฯ อิเม โข, ภิกฺขเว, เทฺว พาลาฯ ‘‘เทฺว เม, ภิกฺขเว, ปณฺฑิตาฯ โย จ อจฺจยํ อจฺจยโต ปสฺสติ, โย จ อจฺจยํ เทเสนฺตสฺส ยถาธมฺมํ ปฎิคฺคณฺหา’’ติฯ อิเม โข, ภิกฺขเว, เทฺว ปณฺฑิตาฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้ คือ ผู้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ ผู้ไม่รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้ คือ ผู้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ ผู้รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้แล.

‘‘ภูตปุพฺพํ , ภิกฺขเว, สกฺโก เทวานมินฺโท สุธมฺมายํ สภายํ เทเว ตาวติ ํเส อนุนยมาโน ตายํ เวลายํ อิมํ คาถํ อภาสิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า

‘‘โกโธ โว วสมายาตุ, มา จ มิเตฺตหิ โว ชรา;

อครหิยํ มา ครหิตฺถ, มา จ ภาสิตฺถ เปสุณํ;

อถ ปาปชนํ โกโธ, ปพฺพโตวาภิมทฺทตี’’ติฯ

ขอความโกรธ จงอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย ขอความเสื่อมคลายในมิตรธรรมอย่าได้เกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย ก็ความโกรธ เปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก.

๔. อจฺจยสุตฺตวณฺณนา

อรรถกถาอัจจยสูตร

จตุตฺเถ

พึงทราบวินิจฉัยในอัจจยสูตรที่ ต่อไปนี้ :-

สมฺปโยเชสุนฺติ กลหํ อกํสุฯ

บทว่า สมฺปโยเชสุ แปลว่า ทะเลาะกัน.

อจฺจสราติ อติกฺกมิ, เอโก ภิกฺขุ เอกํ ภิกฺขุ ํ อติกฺกมฺม วจนํ อโวจาติ อตฺโถฯ

บทว่า อจฺจสรา ได้แก่ ล่วงเกิน. อธิบายว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กล่าวคำล่วงเกินภิกษุรูปหนึ่ง.

ยถาธมฺมํ นปฺปฎิคฺคณฺหาตีติ น ขมติฯ

บทว่า ยถาธมฺม นปฺปฏิคฺคณฺหาติ ได้แก่ ไม่ยกโทษ.

โกโธ โว วสมายาตูติ โกโธ ตุมฺหากํ วสํ อาคจฺฉตุ, มา ตุมฺเห โกธวสํ คมิตฺถาติ ทีเปติฯ

บทว่า โกโธ โว วสมายาตุ ท่านแสดงว่า ความโกรธจงมาสู่อำนาจของพวกท่าน พวกท่านอย่าไปสู่อำนาจของความโกรธ.

มา จ มิตฺเต หิ โว ชราติ เอตฺถ หีติ นิปาตมตฺตํ, ตุมฺหากํ มิตฺตธมฺเม ชรา นาม มา นิพฺพตฺติฯ ภุมฺมตฺเถ วา กรณวจนํ, มิตฺเตสุ โว ชรา มา นิพฺพตฺติ, มิตฺตภาวโต อญฺญถาภาโว มา โหตูติ อตฺโถฯ

คำว่า หิ ในบทนี้ว่า มา จ มิตฺเต หิ โว ชรา เป็นเพียงนิบาต. ความเสื่อมในมิตรธรรม อย่าเกิดแก่พวกท่าน.

อีกอย่างหนึ่ง ตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ความเสื่อมในมิตรธรรมอย่าเกิดแล้ว คือว่า ความเป็นโดยประการอื่นจากความเป็นมิตรจงอย่ามี.

อครหิยํ มา ครหิตฺถาติ อคารยฺหํ ขีณาสวปุคฺคลํ มา ครหิตฺถฯ

บทว่า อครหิย มา ครหิตฺถ ความว่า อย่าติเตียนผู้ไม่ควรติเตียน คือบุคคลผู้เป็นขีณาสพ.

จตุตฺถํฯ

จบอรรถกถาอัจจยสูตรที่ ๔

๔. อจฺจยสุตฺตวณฺณนา

ฎีกาอัจจยสูตรที่ ๔

สมฺปโยเชสุนฺติ อญฺญมญฺญํ วาจสิกํ ผรุสํ ปโยเชสุ ํฯ เตนาห ‘‘กลหํ อกํสู’’ติ, วิวาทํ อกํสูติ อตฺโถฯ

บทว่า สมฺปโยชสุ แปลว่า ประกอบความหยาบคายทางวาจา (กล่าวคำหยาบคาย) ให้แก่กันและกันฯ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงอธิบายว่า กลหํ อกํสุ ทะเลาะกัน

อติกฺกมฺมวจนนฺติ วจีสํวรํ อติกฺกมิตฺวา วจนํฯ

บทว่า อติกฺกมฺมวจนํ แปลว่า คำพูดล่วงเกินวจีสังวรฯ (หมายถึง กล่าวคำพูดที่ไม่เป็นไปโดยความสำรวมทางวาจา)

ยสฺมา อจฺจเย เทสิยมาเน ตํ ขีณยติ อญฺญมญฺญสฺส ขมมานสฺส ขมนํ ปฎิคฺคณฺหโต, ตสฺมา วุตฺตํ ‘‘นปฺปฎิคณฺหาตีติ น ขมตี’’ติฯ

ก็เพราะเมื่อภิกษุแสดงโทษ, โทษนั้น ย่อมหมดไป โดยรับการขอโทษแห่งภิกษุผู้ขอโทษแก่กันและกัน ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า นปฺปฎิคณฺหาตีติ น ขมติ ข้อที่ว่า ไม่รับโทษ หมายถึง ไม่อดโทษฯ

ตุมฺหากํ วเส วตฺตตุ, วิเสวิตํ อกตฺวา ยถากามกรณีโย โหตุฯ

(ในคาถาที่ท้าวสักกะตรัสไว้นั้น มีอธิบายว่า)

ความโกรธ จงเป็นไปในอำนาจของท่าน, คือ จงเป็นกิจที่ท่านไม่กระทำให้ปราศจากความคุ้นเคยแล้วพึงทำตามความปรารถนาเถิดฯ (หมายความว่า ทำความโกรธนั้น มิให้เกิดขึ้นได้ ตามที่บุคคลนั้นประสงค์ เพราะได้ทำความโกรธนั้นให้เป็นไปโดยประการที่อยู่ในอำนาจ ด้วยการหมั่นพิจารณาธรรมเป็นเหตุระงับความโกรธเป็นต้น – spob)

มิตฺตธมฺโม อิธ อุตฺตรปทโลเปน ‘‘มิตฺโต’'ติ วุตฺโตติ อาห ‘‘มิตฺตธมฺเม’’ติฯ

ในคาถานี้ ท้าวสักกะ ตรัสเรียกมิตรธรรมว่า มิตร เพราะลบบทว่า ธมฺม ข้างหลังเสีย เพราะฉะนั้น ในอรรถกถา ท่านจึงแสดงว่า มิตฺตธมฺเม ในมิตรธรรมฯ

กรณวจนนฺติ ‘‘มิตฺเตหี’’ติ กรณวจนํ ภุมฺมเตฺถฯ เตนาห ‘‘มิตฺเตสู’’ติฯ

คำว่า กรณวจนะ (แปลว่า ตติยาวิภัตติ) หมายความว่า ตติยาวิภัตติว่า มิตฺเตหิ นี้ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติฯ ดังนั้นในอรรถกถาท่านจึงแก้บทว่า มิตฺเตหิ ว่า มิตฺเตสุฯ

ยถา นิพฺพตฺตสภาวสฺส ภาวโต อญฺญถตฺตํ ชรา, เอวํ มิตฺตภาวโต วุตฺตวิปริยาโย อมิตฺตธมฺโม ชราปริยาเยน วุตฺโตฯ

ความเป็นอย่างอื่นจากความมีอยู่แห่งสภาพที่เกิดขึ้น ชื่อว่า ชรา ฉันใด, ธรรมที่ไม่ใช่มิตรธรรม ซึ่งมีความหมายผิดไปจากความเป็นมิตร ท่านก็กล่าวไว้โดยความหมายว่า ชรา ฉันนั้นฯ

อคารยฺหํ อนวชฺชํ สพฺพโส ปหีนกิเลสํฯ เตนาห ‘‘ขีณาสวปุคฺคล’’นฺติฯ

(อย่าติเตียน พระอรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว) ผู้ไม่ควรติเตียน ปราศจากความผิด ละกิเลสได้โดยประการทั้งปวงฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแก้บทนี้ว่า ขีณาสวปุคฺคลํ บุคคลผู้เป็นพระขีณาสพฯ

อจฺจยสุตฺตวณฺณนา นิฎฺฐิตา

จบ ฎีกาอัจจยสูตรที่ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 11 มี.ค. 2551

ขออนุโมทนา ... ในวิริยะของ คุณSpob ที่นอกจากแปลจากภาษาบาลีแล้วนำข้อความมาลงให้สหายธรรมได้ศึกษาร่วมกัน ความจริง ถ้ามีเวลาน้อยนำมาโพสต์เฉพาะภาษาไทยก็พอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 11 มี.ค. 2551

เกรงว่าผมจะเป็นความเห็นข้างน้อย คือ รู้สึกว่า ถ้าได้เห็นพระบาลีสักหน่อยก็ได้อยู่ใกล้พระศาสดาขึ้นมาอีกนิด และชื่นใจขึ้นใจไม่น้อย แต่ครั้นจะมีแต่พระบาลีล้วนๆ ก็อ่านไม่เข้าใจ เลยอยากเห็นคู่กันอย่างนี้ ชื่นใจดีครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 11 มี.ค. 2551

อีกนิดครับ คือไวยากรณ์นั้น ถ้าไม่รังเกียจว่า ตัดต่ออรรถกถา จะยกเสียก็ได้ เพราะ

ไม่กระดิกอยู่แล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
happyindy
วันที่ 11 มี.ค. 2551

การทำข้อความต่างสีเพื่อจับคู่ ทำให้อ่านง่ายดีค่ะ

อนุโมทนานะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 12 มี.ค. 2551

ขออนุโมทนา ในกุศลจิตของคุณ Spob เป็นอย่างยิ่งครับ ติดตามอ่านผลงานของท่านที่ได้แปลมาโดยตลอด ยิ่งเห็นความวิริยะอุตสาหะของท่านขึ้นมาเป็นลำดับเรื่อยๆ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พุทธบริษัททุกยุคทุกสมัย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prissna
วันที่ 13 มี.ค. 2551

ผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจ แม้เพียงเวลาครู่เดียว หาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ.

... ขออนุโมทนา ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
daeng
วันที่ 15 มี.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สิริพรรณ
วันที่ 4 ก.ค. 2560

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัย

กราบอนุโมทนาขอบพระคุณในกุศลจิตท่านผู้เผยแพร่พระธรรมด้วยค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ