คำปลอบ

 
Khaeota
วันที่  13 มี.ค. 2551
หมายเลข  7877
อ่าน  1,240

คำปลอบโยนสำคัญหรืออย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pannipa.v
วันที่ 13 มี.ค. 2551

คุณชอบหรือเปล่าล่ะ ถ้าคุณชอบมันก็สำคัญสำหรับคุณ แต่บางคนก็ไม่ชอบ เพราะทำให้เขารู้สึกเหมือนน่าสงสาร เมตตาดีกว่าไหม?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 มี.ค. 2551

ปลอบโยนด้วยพระธรรมประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าก็ทรงปลอบโยน

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ ๒๓๘

๔. เรื่องอภัยราชกุมาร [๑๔๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอภัยราชกุมารตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เอถ ปสฺสถิม โลก " เป็นต้น.

พระกุมารได้รับพระราชทานราชสมบัติ

ได้ยินว่า เมื่ออภัยราชกุมารนั้น ทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบมาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารผู้พระบิดา ทรงพอพระทัยแล้ว พระราชทานหญิงฟ้อนคนหนึ่ง ผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับแล้ว ได้พระราชทานราชสมบัติสิ้น ๗ วัน. อภัยราชกุมารนั้น ไม่เสด็จออกภายนอกพระราชมนเฑียรเลย. เสวยสิริแห่งความเป็นพระราชาสิ้น ๗ วัน เสด็จไปสู่ท่าแม่น้ำในวันที่ ๘ ทรงสรงสนานแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระอุทยาน ประทับนั่งทอดพระเนตรการฟ้อนและการขับของหญิงนั้น ดุจสันตติมหาอำมาตย์.

ในขณะนั้นเอง แม้นางนั้นได้ทำกาละ ด้วยอำนาจกองลมกล้าดุจศัสตรา ดุจหญิงฟ้อนของสันตติมหาอำมาตย์ พระกุมารมีความโศกเกิดขึ้นแล้ว เพราะกาลกิริยาของหญิงฟ้อนนั้น ทรงดำริว่า " ผู้อื่น เว้นพระศาสดาเสียจักไม่อาจเพื่อให้ความโศกนี้ของเราดับได้ " ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระ-ศาสดากราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้ความโศกของข้าพระองค์ดับเถิด"

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 มี.ค. 2551

อุบายระงับความโศก

พระศาสดา ทรงปลอบพระกุมารนั้นแล้วตรัสว่า " กุมาร ก็ประมาณแห่งน้ำตาทั้งหลาย ที่เธอร้องไห้อยู่ในกาลแห่งหญิงนี้ตายแล้ว อย่างนี้นี่แลให้เป็นไปแล้ว ย่อมไม่มีในสงสาร ซึ่งมีที่สุดอันใครๆ รู้ไม่ได้ " ทรงทราบความที่ความโศกเป็นภาพเบาบาง เพราะเทศนานั้นแล้วจึงตรัสว่า " กุมาร เธออย่าโศกเลย, ข้อนั้นเป็นฐานะเป็นที่จมลงของชนพาลทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ ๑ อันตระการ ดุจราชรถ, ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่."

ในเวลาจบเทศนา พระราชกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องอภัยราชกุมาร จบ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 มี.ค. 2551

การปลอบโยนด้วยพระธรรมเป็นการแก้ที่ถูกจุดและถูกทางที่สุดครับ อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2551

คำปลอบโยนเป็นชื่อหนึ่งของพระธรรมเช่นกันครับ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๑

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้เป็นวีรบุรุษเปรียบเหมือนผู้ประทานความไม่มีภัย พระธรรมเปรียบเหมือนไม่มีภัย พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่าง เปรียบเหมือนชนผู้ถึงความไม่มีภัย พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ปลอบ พระธรรมเปรียบเหมือนการปลอบ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ถูกปลอบ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนมิตรดี พระธรรมเปรียบเหมือนคำสอนที่เป็นหิตประโยชน์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ประสบประโยชน์ตน เพราะประกอบหิตประโยชน์. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบ่อเกิดทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ที่เป็นสาระ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
saifon.p
วันที่ 14 มี.ค. 2551

การปลอบโยนผู้ที่มีความทุกข์ ต้องมีทั้งเมตตาและกรุณา

การอยู่เป็นเพื่อน การได้พูดคุย ซักถาม สัมผัสที่อ่อนโยน ช่วยให้เขาได้พูดระบายความรู้สึก ให้เขารู้ว่า ยังมีคนที่เข้าใจ เห็นใจ พร้อมช่วยเหลืออาจทำให้ความทุกข์เบาบางลงได้ชั่วคราว แต่เดี๋ยวๆ ก็ทุกข์ต่อ ตามเหตุปัจจัย

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ป้าจาย
วันที่ 14 มี.ค. 2551

อนุโมทนา ความแยบคายของผู้ตั้ง และผู้ตอบกระทู้ไม่เคยเห็นกระทู้ไหน ที่ตั้งคำถามได้กระชับเท่านี้และผู้ตอบ ก็ตอบได้หมดจด ประทับใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 15 มี.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 15 มี.ค. 2551

พระพุทธเจ้าก็ทรงใช้วิธีปลอบโยนแบบละมุมละม่อน เช่น ตอนที่พระวัลกลิติดในรูปพระพุทธเจ้า ภายหลังพระพุทธเจ้าก็บอกว่าจะมาติดอะไรกับรูปกายที่เปื่อยเน่า ไล่พระวักลิไป พระวักลิเศร้าโศกเสียใจ คิดจะไปฆ่าตัวตาย พระพุทธเจ้าก็ไปโปรดและปลอบโยนพระวักลิ ภายหลังท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ผู้ที่เลิศด้วยศรัทธาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ