อนัตตสัญญา - อนิจจสัญญา

 
audience
วันที่  14 เม.ย. 2551
หมายเลข  8189
อ่าน  5,830
อนัตตสัญญาหรืออนิจจสัญญาอย่างไหนเกิดก่อน

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 เม.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

แล้วแต่ระดับปัญญา ปัญญาขั้นสติปัฏฐานยังไม่รู้ความเกิดขึ้นและดับไป (อนิจจสัญญา) แต่รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา (อนัตตสัญญา) อนิจจสัญญาและอนัตตสัญญามีหลายระดับ ตามระดับปัญญา แต่บางนัยที่เป็นปัญญาระดับสูง ก็เห็นถึงทั้งอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะพร้อมๆ กัน ซึ่งขณะที่รู้ลักษณะก็ชื่อว่า อบรมอนิจจสัญญา อนัตตสัญญา เป็นต้น

เชิญอ่านข้อความในพระไตรปิฎกเพิ่มเติมในเรื่อง ไตรลักษณ์ปรากฏพร้อมๆ กันเมื่อเป็นปัญญาระดับสูง

สัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร .. ไตรลักษณ์ปรากฏ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prissna
วันที่ 14 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
devout
วันที่ 14 เม.ย. 2551

" ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้น อันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน."

ข้อความนี้ท่านกล่าวถึงการหลุดพ้นของภิกษุรูปนั้นด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์ค่ะ

ท่านไม่ได้แสดงว่าจิตตุปาทที่เกิดขึ้นนั้นรู้ไตรลักษณ์ได้ในขณะจิตเดียว เพราะจิตเกิดขึ้นเพียงหนึ่งขณะและมีอารมณ์เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะพิจารณา อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ หรืออนัตตลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่พร้อมกันทั้งสามลักษณะในจิตเดียว

เมื่อมนสิการ อนิจจลักษณะ จิตย่อมหลุดพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์

เมื่อมนสิการ ทุกขลักษณะ จิตย่อมหลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์

เมื่อมนสิการ อนัตตลักษณะ จิตย่อมหลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์

เป็นอาการของนิพพานปรมัตถ์ ซึ่งจะต้องหลุดพ้นด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แต่ไม่พึงกล่าวว่าไม่เห็นลักษณะอื่นอีกสองลักษณะ มิฉะนั้น ก็ไม่ใช่การหลุดพ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
devout
วันที่ 14 เม.ย. 2551

ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้ถามมาว่า...

อนัตตสัญญาหรืออนิจจสัญญา อย่างไหนเกิดก่อน?

ถ้าพิจารณาจากองค์ของวิปัสสนาญาณ (การประจักษ์แจ้ง) แล้วนามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณที่ 1) เป็นการประจักษ์ความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมที่สูญเปล่าจากตัวตน ไม่มีอัตตสัญญา นั่นคือ อนัตตสัญญา แต่ปัญญาขั้นนี้ยังไม่คมพอ ยังทำอะไรกิเลสไม่ได้ จึงต้องอาศัยการอบรมเจริญต่อไป จนกว่าจะเห็นการเกิดดับ (ญาณที่3) เห็นการเกิดขึ้นและดับไป (ญาณที่ 4) และ เห็นดับไปๆ อย่างชัดเจน (ญาณที่ 5) นั่นคือ การประจักษ์ อนิจจสัญญา ตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้น ลองพิจารณาตามองค์ของวิปัสสนาญาณดูนะคะ ว่าอะไรควรจะเกิดก่อน?

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 14 เม.ย. 2551

อธิบายละเอียดดีค่ะคุณดีเว้าท์ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 เม.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากความเห็นที่ 4

ได้อ่านที่อธิบายก็ทำให้คิดพิจารณา ก็เข้าใจมากขึ้นบางประการครับ ที่กล่าวว่าจิตมีอารมณ์เดียว ซี่งตรงตามหลักอภิธรรม ซึ่งจิตนั้นต้องมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ซึ่งตัวปรมัตถ์นั้น ก็มีสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตาในตัวของมันเอง ดังนั้น จิตจึงมีอารมณ์ คือตัวปรมัตถ์และมีลักษณะทั้งสามให้รู้เพราะเป็นสามัญญลักษณะ แต่ขณะออกจากอนิจจลักษณะ มรรคก็เป็นอนิมิตตะ เมื่อออกจากทุกขลักษณะ มรรคก็เป็นอัปปณิหิตะ เมื่อออกจากอนัตตลักษณะ มรรคก็เป็นสุญญตะ ซึ่งเรียก การออก ตามโดยนัยพระสูตร แต่โดยนัยอภิธรรม ขณะที่ออกจากกิเลส ไม่ใช่เห็นเพียงลักษณะเดียวครับ

เชิญคลิกอ่านข้อความโดยตงจากพระไตรปิฎกเพิ่มเติม เรื่อง ปัญญาระดับสูง เช่น ขณะออกจากกิเลส ไม่ใช่เห็นเพียงลักษณะเดียวครับ การออกจากกิเลสด้วยมรรคโดยเพียงการเห็นลักษณะเดียวนั้นย่อมไม่มี

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prissna
วันที่ 15 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนา.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
devout
วันที่ 15 เม.ย. 2551

ขอบคุณค่ะ...ที่ได้ให้ความกระจ่างเพิ่มขึ้น

จาก คห 3 ข้าพเจ้าพยายามอธิบายว่า บุคคลที่พิจารณาธรรมเพื่อการหลุดพ้น จะต้องเป็นไปในอาการสามดังกล่าว จะพิจารณาทั้งสามลักษณะพร้อมกันไม่ได้ เพราะจิตตุปาทย่อมมีอารมณ์เดียว ซึ่งเป็นการเจริญวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีโดยการพิจารณาสังขาร (คำว่า วุฏฐานคามินี แปลว่า เป็นที่ตั้งของการออก เป็นเครื่องออกเป็นทางออก) และเมื่อไตรลักษณะปรากฎแก่มรรคจิต ก็ไม่ได้ปรากฎโดยอาการแยกกันมา แต่ปรากฎโดยเป็นสัจจสภาวธรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

ก็ในวาระใด มีการออกจากกิเลสด้วยมรรค ลักษณะทั้ง ๓ ย่อมมาสู่คลองดุจอาวัชชนะเดียวกัน ก็ขึ้นชื่อว่า การมาสู่คลองแห่ง ลักษณะทั้ง ๓ พร้อมกันมิได้มี แต่เพื่อแสดงความแจ่มแจ้งแห่งกรรมฐานพระองค์จึงตรัสไว้อย่างนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 15 เม.ย. 2551

พระธรรมละเอียดจริงๆ ครับ... อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pirachatbp57
วันที่ 28 พ.ค. 2558

พระพุทธเจ้าสอนพวกท่านมา กว่า ๒,๖๐๐ ปี จะไปหาคำตอบจากที่ไหนละครับ

ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา ฯ

ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็อนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
s_sophon
วันที่ 1 ก.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
muda muda
วันที่ 6 ม.ค. 2566

กราบอนุโมทนาสาธุกับทุกท่านค่ะ ได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ