ขอทราบการบูชาพระธาตุ
ขอทราบการบูชาพระธาตุ ใช้ดอกไม้อะไร ธูป 3 ดอกใช่หรือไม่
ขอขอบพระคุณ และอนุโมทนา
การบูชาพระบรมสารีริกธาตุไม่มีการกำหนดว่าจะเป็นดอกไม้อะไร หรือจำนวนเท่าไหร่ ถ้ามีสิ่งของที่สมควรบูชาก็ควรบูชาตามกำลัง และตามความเหมาะสม ไม่มีกำหนดตายตัว
ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาไม่มีกล่าวถึงบทสวดมนต์บูชาพระธาตุ แต่ผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย กล่าวคำนอบน้อมสรรเสริญที่แตกต่างกันที่นิยมกันมากที่สุดก็ คือ นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 131
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาพระธาตุ [ธาตุปูชกเถราปทาน]
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การบูชามี ๒ อย่างค่ะ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา แต่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการปฏิบัติบูชาค่ะ พุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
ผลการบูชาพระธาตุของพระพุทธเจ้าผู้ควรบูชา [วิมานวัตถุ]
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถ้าไม่สะดวกไปนมัสการที่อินเดีย นมัสการโดยทำประทักษิณที่ภูเขาทอง วัดสระเกศก็ได้
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
บุญอยู่ที่จิต ไม่สำคัญเลยว่าจะเป็นของจริงของปลอม แต่เมื่อจิตเลื่อมใส นอบน้อมในพระพุทธเจ้าแล้ว ขณะนั้นก็เป็นกุศล ไม่ว่าจะเป็นของจริงของปลอม เพราะเหตุใด เพราะบุญอยู่ที่จิตนั่นเอง ดังตัวอย่างที่จะนำมาแสดงที่ว่า แม้ การนอบน้อม แม้ไม่ใช่พระบรมสารีริกธาตุ แต่เป็นกองเจดีย์ทรายที่ก่อขึ้น แต่มีจิตนอบน้อมในพระพุทธเจ้า ขณะนั้นก็เป็นกุศลแล้ว สำคัญที่จิต ครับ ขออนุโมทนา ลองอ่านดูนะ
เรื่อง การบูชาพระเจดีย์ทรายเหมือนบูชาพระพุทธเจ้า
คลิกอ่านที่
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า ธรรมและวินัยที่เราแสดงบัญญัติไว้แล้ว จะเป็นศาสดาแทนพระองค์ เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว และการบูชาด้วยการปฏิบัติธรรมประเสริฐกว่าอามิสบูชา ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมแล้ว และเมื่อรู้แล้วว่าบูญอยู่ที่จิต ก็ไม่ต้องไป หาสิ่งใดเป็นที่พึ่ง เพราะพระธรรมและความเข้าใจอันเกิดมาจากการฟัง พระธรรมนี้เองเป็นที่พึ่งของเรา และตัวอย่างก็ยกไปแล้วว่า แม้การบูชาด้วย การก่อกองทราย โดยระลึกถึงพระองค์ก็เป็นกุศลที่น้อมบูชาพระพุทธองค์ครับ ดังนั้น ไม่อยากโดนหลอกก็ไม่ต้องซื้อ ง่ายมาก แต่ที่สำคัญลืมไม่ได้ จุดประสงค์ ของพระพุทธศาสนา คือ เป็นไปเพื่อละคลาย หรือเพื่อได้ จึงเป็นผู้ตรงที่ว่า เราบูชาพระธาตุเพราะเหตุใด เพื่อต้องการได้ความคุ้มครองหรือผลของกุศล หรือ ว่าเพราะเป็นบุคคลที่ควรบูชา ดังนั้น การบูชาจึงอยู่ที่จิต (บุญอยู่ที่จิต) ซึ่งสิ่ง ที่เราบูชาโดยที่ไม่ต้องหาซื้อให้ถูกหลอก ที่บ้านก็มีพระปฏิมา ก็น้อมระลึกถึง พระองค์ได้ เป็นเจดีย์อย่างหนึ่ง ซึ่งจะขอแสดงในพระไตรปิฎกต่อไปครับ และแม้พระอินทร์ ท่านก็น้อมบชาพระพุทธเจ้าโดยที่ไม่ได้มีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ท่าน เกิดน้อมระลึกถึงพระองค์ เพราะเหตุใด ก็เพราะท่านมีความเข้าใจพระธรรม นั่นเอง
ดังนั้น จึงมีคำว่าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา อันแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ควรกระทำ ก็คือ การศึกษาพระธรรมให้เข้าใจถูกต้อง ขณะที่อยากหรือหวังผลของกุศล ขณะนั้นไม่ได้น้อมระลึกถึงพระคุณของ พระพุทธเจ้า ขณะใดน้อมระลึกถึงพระคุณพระพุทธเจ้า อันเกิดมาจากความ เข้าใจพระธรรม ขณะนั้นไม่ได้อยากและหวังผลของกุศล
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 313
เจดีย์นั้นมี ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์ อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์. บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า บริโภคเจดีย์ พระพุทธปฏิมา ชื่อว่า อุทิสสกเจดีย์ พระสถูปที่มีห้องบรรจุพระธาตุ ชื่อว่า ธาตุกเจดีย์.
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 581
ข้อความบางตอนจาก
สังฆาฏิสูตร
ว่าด้วยผู้ประพฤติธรรมอยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้พระองค์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัว มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้น ย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา.
เรื่อง พระอินทร์นอบน้อมพระพุทธเจ้า อันเกิดมาจากความเข้าใจพระธรรม
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
ท้าวสักกะนมัสการพระพุทธเจ้า [ทุติยสักกนมัสสนสูตร]
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์