ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

 
มาณพน้อย
วันที่  18 เม.ย. 2551
หมายเลข  8322
อ่าน  7,422

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น



โภชเน มตฺตญฺญุตา

(ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
มาณพน้อย
วันที่ 18 เม.ย. 2551

ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะนั้น มี ๒ ลักษณะ คือ

๑. รู้ประมาณในการรับ แม้หากว่าไทยธรรมมีมาก ผู้ให้ประสงค์จะให้น้อยผู้รับ ย่อมรับน้อยตามความประสงค์ของผู้ให้ ไทยธรรมมีน้อย ผู้ให้ประสงค์จะให้มากผู้รับย่อมรับแต่น้อย ด้วยอำนาจของไทยธรรม ไทยธรรมมีมาก แม้ผู้ให้ก็ประสงค์จะให้มาก ผู้รับรู้กำลังของตน ย่อมรับแต่พอประมาณ

๒. รู้ประมาณในการบริโภค คือ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงบริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อเล่น ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา เป็นต้น.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกที่นี่ครับ...

ผู้รู้จ้กประมาณในโภชนะ [อรรถกถาปฐมภิกขุสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
มาณพน้อย
วันที่ 18 เม.ย. 2551

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเพื่อความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารไว้ว่า ควรงดฉันข้าว ๔-๕ คำไว้แล้ว ดื่มน้ำ เพียงพอเพื่อจะอยู่อย่างสบายสำหรับภิกษุ ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกที่นี่ครับ...

ผู้รู้จักประมาณในการฉันอาหาร [อรรถกถาสัมปันนสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
มาณพน้อย
วันที่ 18 เม.ย. 2551

ตัวอย่างบุคคลที่ตระกละ (กินจุ) ๕ จำพวก ซึ่งไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างครับ

๑. ผู้บริโภคมาก จนกระทั่งลุกไม่ขึ้น ต้องให้คนอื่นช่วยจับมือตนเพื่อให้ลุกขึ้นได้.

๒. ผู้บริโภคมาก แม้จะลุกขึ้นได้ แต่ไม่อาจนุ่งผ้าได้ (กินจนท้องโต) .

๓. ผู้บริโภคมาก จนไม่สามารถลุกขึ้นได้ นอนกลิ้งอยู่ตรงนั้นเลย.

๔. ผู้บริโภคมาก จนล้นถึงปาก จนถึงกับพวกกาสามารถบินมาจิกกินได้เลย.

๕. ผู้บริโภคมาก จนกระทั่งอาเจียนออกมาตรงนั้นเลย.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกที่นี่ครับ...

พราหมณ์ตะกละ ๕ คน [ธรรมสังคณี]

ขอความเจริญมั่นคงในกุศลธรรม จงมีแด่ทุกๆ ท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไปเองไปเจอกัน
วันที่ 18 เม.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๖๒

บทว่า มตฺตญฺญุตา คือ รู้ประมาณด้วยสามารถการรับและการบริโภค.

การรับควรพิจารณาด้วยปัญญาว่าควรรับมากหรือน้อยอย่างไร ตามความเหมาะสมครับ หากไม่รับเพราะเป็นผู้สันโดษในของๆ ตนก็ควร แต่ถ้าจะรับควรพิจารณา ถ้าไม่รับเพราะไม่ชอบบุคคลผู้ให้ไม่ควรเพราะเป็นการทำลายมิตรครับ หากรับ รับตามความเหมาะสมรับน้อยเพราะ ตามพระไตรปิฎกที่ยกมา และอาจรับมากก็ได้เพื่อแจกจ่ายให้บุคคลอื่นไม่ใช่นำไปเก็บ ไม่ชื่อว่ามักมากแต่ก็ยังชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ ดังเช่น พระอานนท์รับจีวร ๕๐๐ ผืนจากนางสนมของพระเจ้าอุเทน เพื่อนำไปแจกจ่ายกับพระภิกษุผู้มีจีวรเก่า ดังนั้น แม้การรับหรือไม่รับก็เป็นเรื่องของปัญญา ตามความเหมาะสมครับ

ขออนุโมทนา

เชิญอ่านข้อความในพระไตรปิฎกเรื่อง การรับ

อสัมปทานชาดก .. รับของเพื่อรักษาความเป็นมิตร

พระอานนท์รับจีวรมากเพื่อนำไปแจกจ่าย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ไปเองไปเจอกัน
วันที่ 18 เม.ย. 2551

การรู้จักประมาณในการบริโภค เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นเรื่องยาก หากไม่ได้สะสมปัญญาความเข้าใจมาเพียงพอ ย่อมถูกอำนาจกิเลสให้บริโภคเกินประมาณ ซึ่งปริมาณที่จะทำให้อิ่มของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงบริโภคในปริมาณไม่เท่ากัน แต่เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาเมื่อปัญญาเกิด ย่อมพิจารณาว่า เมื่อไหร่เริ่มอิ่มแล้ว ก็ควรบริโภคน้ำตาม ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ครับ ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงว่า ผู้บริโภคพอประมาณย่อมเป็นผู้มีโรคน้อยด้วย รวมทั้งเป็นไปเพื่อการประพฤติปรารภความเพียรในการปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ เป็นต้น

เชิญคลิกอ่านข้อความในพระไตรปิฎกในเรื่องการรู้จักประมาณในการบริโภค

โทณปากสูตร .. คาถากันบริโภคอาหารมาก

ปุตตมังสสูตร .. การบริโภคอาหารเปรียบดั่งเนื้อของบุตร

ขออนุโมทนาผู้ตั้งกระทู้ด้วยครับ เป็นเครื่องเตือนและขัดเกลากิเลสได้ดีในชีวิตประจำวัน

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 18 เม.ย. 2551

เชิญคลิกฟังไดที่นี่ครับ .. การรับเพื่อรักษามิตรและกุศลจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 19 เม.ย. 2551

การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์แต่บริโภคน้อยทำให้ร่างกายเบาสบาย อายุยืน ไม่ง่วงนอนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
devout
วันที่ 19 เม.ย. 2551

ถูกต้องค่ะ เพราะการบริโภคมากจนเกินไป ทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักในการย่อยอาหาร เป็นเหตุให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ภูมิคุ้มกันลดลง และเป็นตัวกระตุ้นโรคร้ายหลายชนิด โดยเฉพาะ "โรคมะเร็ง" ค่ะ

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียทีเดียว และเมื่อเราฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรีเสีย ย่อมรู้คุณคือการเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลังและอยู่เป็นสำราญ"

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Komsan
วันที่ 13 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
suwit02
วันที่ 13 ก.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 22 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ