สำคัญที่ ...น้อมประพฤติปฏิบัติตาม - ฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข

 
khampan.a
วันที่  22 เม.ย. 2551
หมายเลข  8394
อ่าน  2,506

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ทรงห่างไกลจากกิเลส ทรงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง


โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
(ฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 22 เม.ย. 2551

เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว สำคัญที่สุด ก็คือตอนที่น้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตาม (ไม่มีตัวตนที่จะน้อม แต่เป็นสภาพธรรมฝ่ายดีเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตนๆ ครับ) ไม่ใช่เป็นแต่เพียงความไพเราะของพระธรรมและเกิดความซาบซึ้งในความไพเราะของพระธรรมเท่านั้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 22 เม.ย. 2551


หลายท่านคงเคยได้ฟังพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ฆ่าความโกรธเสียได้ย่อมอยู่เป็นสุข" ฟังแล้ว ถูกต้อง ตรง และไพเราะเป็นอย่างมาก แต่พอเวลาความโกรธเกิดขึ้นทันที ก็ไม่ได้ระลึกถึงคำที่ไพเราะซึ่งเป็นพระพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสไว้เลย แต่อาจจะคิดว่า ต้องโกรธต่อไป ชอบที่จะต้องโกรธ พอใจที่จะโกรธต้องโกรธอีก แสดงให้เห็นว่า ขณะนั้นไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงกลัวต่ออกุศลธรรมซึ่งเป็นความโกรธในขณะนั้นเลย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 22 เม.ย. 2551

เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าจะซาบซึ้งในความไพเราะของพระธรรม สักเท่าไร ก็ยังไม่เป็นประโยชน์เท่ากับที่ระลึกได้ แล้วน้อมประพฤติปฏิบัติตามทันที ครับ

(กระทู้นี้สำหรับเตือนตัวเองโดยเฉพาะ เพราะกระผมเป็นคนมักโกรธครับ)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 22 เม.ย. 2551

อกุศลทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเหม็น เน่าใน น่ารังเกียจ แต่ร่างของคนตายแล้ว ที่หมดกิเลส ไม่จัดว่ามีกลิ่นเหม็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 เม.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ซึ่งให้เข้าใจว่าเป็นธรรมและเป็นธรรมดาจริงๆ ครับ เมื่อมีเหตุปัจจัย ความโกรธก็เกิดขึ้น เพราะยังมีกิเลสอยู่ ดังนั้นเรามักลืมไปเสมอว่า เป็นธรรมและเป็นปรกติเมื่อยังไม่ศึกษาพระธรรม เวลาโกรธก็ไม่เดือดร้อนอะไร ไม่เห็นโทษ เมื่อศึกษาพระธรรมแล้วรู้ขั้นการฟังว่า อกุศลไม่ดี พออกุศลเกิดขึ้น เพราะความยึดถือด้วยความเป็นตัวตนก็เดือดร้อนกับอกุศลที่เกิดขึ้น แต่ลืมไปว่าทุกอย่างเป็นธรรมและมีเหตุปัจจัยพร้อมกิเลสก็เกิดขึ้นได้ เพราะยังเป็นปุถุชนครับ ดังนั้นการอบรมปัญญาคือ เข้าใจความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเริ่มมั่นคงแม้ขั้นการฟังว่าทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อรู้ว่าเป็นธรรม แม้อกุศลที่เกิดขึ้นก็เบา เพราะไม่ใช่เรา (แม้ขั้นการฟัง) ดังนั้นการน้อมประพฤติปฏิบัติตามจึงมีหลายระดับ ระดับที่เห็นโทษของความโกรธแต่ยังเป็นเรา ระดับที่เข้าใจความโกรธว่าเป็นธรรมขั้นการฟังอันเป็นเหตุให้เข้าใจหรือน้อมประพฤติปฏิบัติตามไป ในระดับรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราโดยสติระลึกลักษณะของความโกรธนั้น เป็นธรรมและเป็นธรรมดา

ขออนุโมทนาครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 22 เม.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
happyindy
วันที่ 23 เม.ย. 2551

ฆ่ายากจัง เพราะไม่ใช่แค่เฉพาะโกรธ ไหนจะความโศกเศร้าเสียใจที่ไม่ได้ดังใจอีกล่ะ ความอึดอัดคับข้องใจก็ด้วยการฆ่าคงต้องมีหลายขั้นตอนแน่ๆ แหะๆ ...อินดี้ยังไม่มีปัญญาที่แยบคายจะฆ่าเขาน่ะ แต่กำลังค่อยๆ สะสมอย่างช้าๆ อยู่

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 23 เม.ย. 2551

ปัญญา (อนาคามิมรรคจิต) ฆ่าโทสะ

ปัญญา (สกทาคามิมรรคจิต) ฆ่าโทสะอย่างหยาบ

ปัญญา (โสตาปัตติมรรคจิต) ฆ่าความเห็นผิดในโทสะว่าเป็นเรา

ปัญญา (โลกียกุศลจิต) ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจมั่นคงในความเป็นธรรมะก่อน

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
narong.p
วันที่ 26 เม.ย. 2551

สำคัญจริงๆ ที่จะต้องรู้ก่อนว่าความโกรธก็เป็นธรรม ไม่ใช่เรา แม้ในขั้นฟัง และไม่ควรขาดการฟังเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น เพราะปัญญาเจริญทีละนิดหน่อย ครับ

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 26 เม.ย. 2551

(กระทู้นี้สำหรับเตือนตัวเองโดยเฉพาะ เพราะกระผมเป็นคนมักโกรธครับ)

ไม่ใช่แต่ท่าน ผมด้วยอีกคนหนึ่ง การที่รู้และเห็นภัยในความมักโกรธ เมื่อโกรธเกิดขึ้นมีการระลึกรู้ ละคลาย ได้เร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก (หายโกรธเร็ว) และโกรธก็เกิดได้ยากขึ้นด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
น้าฝน
วันที่ 27 เม.ย. 2551

เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว สำคัญที่สุด ก็คือ ตอนที่น้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ไม่มีตัวตนที่จะน้อม แต่เป็นสภาพธรรมฝ่ายดีเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตนๆ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
shumporn.t
วันที่ 27 เม.ย. 2551

แม้ว่าจะซาบซึ้งในความไพเราะของพระธรรมสักเท่าไร ก็ยังไม่เป็นประโยชน์เท่ากับที่ระลึกได้ แล้วน้อมประพฤติปฏิบัติตาม

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
nida
วันที่ 28 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
orawan.c
วันที่ 28 ต.ค. 2551

เมื่อฟังเข้าใจและซาบซึ้งในพระธรรมคำสอนย่อมเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตาม ตามกำลังของปัญญา เท่าไหร่ก็เท่านั้น เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pornpaon
วันที่ 28 ต.ค. 2551

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ (ฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข)

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แม้เวลานี้ยังฆ่าความโกรธไม่ได้ แต่ขณะที่ระลึกได้ เห็นภัยของความโกรธ ทุเลาความโกรธลงได้บ้าง เป็นเพียงชั่วขณะเล็กน้อย ก็ยังดีกว่าไม่เคยระลึกได้เลยเมื่อใดเห็นโทษบ่อยขึ้น ระลึกได้บ่อยขึ้น ความโกรธคงค่อยๆ เบาบางลงไปได้ หัวข้อเตือนใจเป็นอย่างยิ่ง

ขอบพระคุณมากค่ะ


ขออนุโมทนาคุณคำปั่น

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Khaeota
วันที่ 28 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เคยได้ฟัง ท่าน อ สุจินต์ แสดงไว้ว่า "หากยังไม่สามารถที่จะให้อภัยได้ แล้วจะถึงพระนิพพานได้อย่างไร" แม้จะเห็นโทษของความโกรธและความผูกโกรธ แต่ขณะหลงลืมสติ ความโกรธย่อมมีกำลังแต่หากมั่นคงว่าเป็นเพียงธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยมั่นคงว่าไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนมั่นคงที่จะอบรมและขัดเกลา จนกว่าจะสิ้นอาสวะ....

ขออนุโมทนาคุณคำปั่นสำหรับธรรมเตือนใจค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
สุภาพร
วันที่ 29 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
เมตตา
วันที่ 18 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
nida
วันที่ 19 พ.ย. 2551

ความโกรธ เป็นอนัตตา เมื่อเกิดก็ห้ามไม่ได้ ได้แต่ดูความโกรธแล้วไม่ต้องไปเดือดร้อนว่า ทำไม ทำไม แต่รู้ไหมว่าโลภะนั้นเข้าแอบเงียบและอยู่ที่มืดจริงๆ ไปแล้ว โดยที่ไม่รู้ตัวว่าโลภะฉลาดมากที่ลวงให้หลงกลแล้ว

ขออนุโมทนาทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 19 พ.ย. 2551

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...

คนขี้โกรธ [ติกนิบาต]

ความโกรธมีหลายระดับ..หากเป็นความโกรธที่สะสมมากๆ จนเป็นคนขี้โกรธมีความแค้น ถึงขั้นเจ้าโทสะพระพุทธองค์ตรัสว่าบุคคลเช่นนี้ ควรวางเฉย ไม่ควรคบ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
pamali
วันที่ 18 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนา

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ