จิรกาลภาวนาเป็นอย่างไร

 
บัณฑิตทึ่ม
วันที่  23 ส.ค. 2551
หมายเลข  9650
อ่าน  1,606

การอบรมเจริญปัญญาที่เป็น จิรกาลภาวนา นั้น คือมีความหมายว่าอย่างไรครับ ช่วยอธิบายด้วย และอยากเข้าใจสภาพจิตที่กำลังคิดครับว่า สมมติกำลังคิดเรื่องราวในอดีตและเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมแล้ว เราควรทำการรู้ว่าตอนนี้กำลังคิด หรือทำความเข้าใจลักษณะของการของคิด ควรคิดต่อไปหรือควรหยุดคิดแล้ว เปลี่ยนการคิดนั้นเป็นเรื่องที่ดีหรือให้เป็นกุศล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 24 ส.ค. 2551

ขอเชิญคลิกอ่าน จิรกาลภาวนา

ส่วนเรื่องของความคิดเป็นเรื่องที่บังคับไม่ได้ มีเหตุให้คิดถึงเรื่องใด ก็คิดเรื่องนั้นเป็นธรรมดาของจิต เจตสิก สะสมมาที่จะคิด แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรม รู้ความจริงแล้ว ย่อมเข้าใจสภาพของความคิดตามเป็นจริงมากยิ่งขึ้น เพราะอาศัยสังขารขันธ์ที่ดีปรุงแต่งในทางที่ดีขึ้นจากการเข้าใจพระธรรม จึงทำให้คิดในทางที่ดี แม้บางครั้งจะคิดในเรื่องราวในอดีตที่ไม่ดี แต่สติและสัมปชัญญะก็เกิด รู้ตามเป็นจริงมากยิ่งขึ้นไม่เดือดร้อนใจเพราะความคิด ความคิดเป็นธรรมะอย่างหนึ่งเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 24 ส.ค. 2551

จิรกาลภาวนา คือการภาวนาอบรมเจริญให้มีขึ้น แต่ต้องใช้เวลานานเป็นกัปป์ๆ นับไม่ได้ แม้ความคิดก็ไม่เที่ยง เป็นนามธรรม เกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป นี้เป็นสัจจธรรมความจริง ไม่ว่า เราจะคิดเป็นกุศลหรืออกุศล ก็เพราะเราเคยสั่งสมความคิดนั้นก็เป็นปัจจัยให้คิดได้อีกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปริศนา
วันที่ 24 ส.ค. 2551

ไม่พัก ไม่เพียร จึงข้ามโอฆะได้.

โอฆะ เปรียบดุจมหาสมุทร แห่งสังสารวัฏฏ์สังสารวัฏฏ์ อันหาเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้.
หากเพียรอยู่ ก็ชื่อว่าลอยอยู่ ไม่ก้าวหน้า หากพักอยู่ก็ชื่อว่า จมอยู่ไม่ก้าวหน้า.
มีวิธีเดียวคือ ไม่พัก ไม่เพียรไม่พัก ไม่เพียรคือ มรรค มรรค คือทางสายเอก สายเดียวเท่านั้น.
มรรค หมายถึงสติปัฏฐาน สติปัฏฐาน คือวิปัสสนาภาวนา วิปัสสนาภาวนาเป็นจิรกาลภาวนา.
เพราะเป็นเรื่องยากจึงต้องใช้เวลาที่นานมาก.ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 24 ส.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปริศนา
วันที่ 24 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์น้น.
พระสุตตันตปิฎกสังยุตตนิกาย สคาถวรรคเล่มที่ ๑.

เทวตาสังยุตนฬวรรคที่ ๑.

๑. โอฆตรณสูตรว่าด้วยการข้ามโอฆะ.
เทวดาได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ท่านผู้มีอายุเราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว.เทวดาทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ ไม่พัก ไม่เพียรข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้นเรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใด รายังเพียรอยู่ เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุเราไม่พัก เราไม่เพียรข้ามโอฆะได้แล้ว อย่างนี้แล.

............................

เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า
นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ ผู้ดับร้อนแล้วไม่พัก ไม่เพียรอยู่ข้ามตัณหา เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 24 ส.ค. 2551
ความคิดเป็นอนัตตา ห้ามคิดไม่ได้ แล้วแต่อะไรจะเกิดขึ้นให้คิด จิตก็เกิดขึ้นคิด ทางที่จะทำให้เกิดความคิดที่ดีมากขึ้นนั้น มาจากการฟังพระธรรม เพื่อสะสมความเข้าใจถูกถ้าเริ่มเข้าใจถูก มีปัญญา เข้าใจสิ่งที่เกิดตรงตามความเป็นจริง ก็จะไม่เดือดร้อนหรือว่าหวั่นไหวไปกับความคิดต่างๆ ด้วยกุศลบ้าง/อกุศลบ้าง ปัญญานั้นแหละที่จะรู้หนทางที่ควรจะเป็นไป เพราะสามารถแยกชัดระหว่างคุณ-โทษอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ภาวนาเพื่อไปสู่การบรรลุมรรคผล มี ๔ คือ (จริยาปิฎก)

สัพพสัมภารภาวนา

นิรันตรภาวนา

จิรกาลภาวนา

สักกัจจภาวนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2551

สัพพสัมภารภาวนา คือการบำเพ็ญกุศลทั้งหมด

ในการเจริญหนทางการดับกิเลสนั้น คือต้องอบรมการเจริญสติปัฏฐาน ๔ แต่ที่สำคัญขาดไม่ได้คือ การเจริญกุศลทุกประการ เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน หากยังเต็มไปด้วยอกุศลที่มีกำลัง ไม่อบรมเจริญกุศลประการต่างๆ เพื่อขัดเกลากิเลส แล้วสติปัฏฐานก็เกิดได้ยาก เปรียบเหมือนคนที่เห็นทางแต่ไม่มีแรงที่จะเดิน จึงควรอบรมเจริญกุศลทุกๆ ประการคือ สัพพสัมภารภาวนานิรันตรภาวนา คือการบำเพ็ญกุศลติดต่อกันไป การอบรมเจริญกุศลประการต่างๆ ต่อเนื่องไม่ขาดการฟังพระธรรม การอบรมปัญญาเพื่อเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2551

จิรกาลภาวนา คือ การบำเพ็ญตลอดกาลนาน

การเจริญกุศล การอบรมปัญญาต้องบำเพ็ญยาวนานจนกว่าจะบรรลุ ค่อยๆ อบรมปัญญาทีละเล็กละน้อย แต่เพราะปัญญาเกิดยาก เพราะสะสมความไม่รู้มามากจึงต้องอบรมยาวนาน ไม่ท้อ เพราะท้อไม่ใช่เหตุให้เกิดปัญญา อดทนที่จะฟังพระธรรมต่อไปแม้จะยาวนานแต่ถึงจุดหมายได้ คือจิรกาลภาวนา

สักกัจจภาวนา คือ การบำเพ็ญด้วยความเคารพ

เคารพในกุศลธรรมที่เจริญ ไม่เห็นว่าเป็นกุศลเล็กน้อย จึงไม่ทำไม่เลือกบุคคลที่กระทำแต่เพราะเป็นกุศลจึงทำด้วยความเคารพ เพราะกุศลธรรมโดยเฉพาะการอบรมปัญญาเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้เป็นหนทางไปสู่การดับกิเลสได้จริงจึงเคารพในการบำเพ็ญกุศล การอบรมปัญญา ไม่ประมาทในพระธรรม เพราะฉะนั้นจึงต้องอบรมเจริญกุศลทุกประการ (สัพพสัมภารภาวนา) เจริญกุศลอบรมปัญญาต่อเนื่อง (นิรันตรภาวนา) เคารพในกุศลธรรมและเคารพในพระธรรม (สักกัจจภาวนา) เจริญกุศลและอบรมปัญญายาวนาน (จิรกาลภาวนา) ย่อมนำไปสู่การบรรลุ มรรคผลและการดับกิเลสครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2551

และอยากเข้าใจสภาพจิตที่กำลังคิดครับว่า สมมติกำลังคิดเรื่องราวในอดีตและเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมแล้ว เราควรทำการรู้ว่าตอนนี้กำลังคิด หรือทำความเข้าใจลักษณะของการของคิด ควรคิดต่อไปหรือควรหยุดคิดแล้ว เปลี่ยนการคิดนั้นเป็นเรื่องที่ดีหรือให้เป็นกุศล?

สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แม้รู้ว่าหนทางที่ถูกคือเข้าใจว่าขณะนั้นเป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นเพียงสภาพธรรมที่คิด แต่ก็บังคับบัญชาให้สติและปัญญารู้อย่างนั้นไม่ได้ แล้วแต่ว่าสติและปัญญาจะเกิดรู้หรือไม่รู้ขณะนั้น ดังนั้นแม้อกุศลจิตเกิดจึงไม่ใช่ตัวเราที่จะไปพยายามให้สติและปัญญาเกิด เพราะเป็นอนัตตา แต่ก็ค่อยๆ อบรมปัญญาขั้นการฟังต่อไป จนมั่นคงว่าเป็นธรรมครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 24 ส.ค. 2551

จิรกาลภาวนา เป็นการอบรมเจริญปัญญา ที่ต้องใช้เวลาหรืออาศัยเวลาในการอบรมเจริญที่ยาวนาน ไม่ใช่วันเดียว ชาติเดียว ค่อยๆ สั่งสมความเข้าใจธรรมทีละเล็กทีละน้อย (จิระ ยาวนาน, กาละ เวลา ภาวนา การอบรมเจริญ) ในแต่ละวันที่ชีวิตดำเนินไปอยู่นี้ บางครั้งเป็นไปตามอำนาจของกิเลส ทั้งโลภะ (ความติดข้องเพลิดเพลิน) โทสะ (ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ) โมหะ (ความหลง ความไม่รู้) บางครั้งก็เป็นโอกาสของการเจริญกุศลประการต่างๆ ตามสมควร แต่อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิต คือการได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อวิชชา (ความไม่รู้) ที่ได้สั่งสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์นับชาติไม่ถ้วน ก็จะค่อยๆ เบาบางลงไปตามลำดับของความเข้าใจ เพราะฉะนั้นแล้ว จึงต้องมีความอดทนที่จะศึกษาที่จะฟังพระธรรมต่อไป เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ยิ่งๆ ขึ้นไป แม้แต่ท่านที่ได้บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ได้นั้น ท่านก็ได้อบรมเจริญปัญญาเป็นเวลาที่ยาวนาน (จิรกาลภาวนา) มาแล้วทั้งนั้น เมื่อได้ฟังได้ศึกษา ความรู้ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม เพื่อเข้าใจลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพื่อเข้าใจว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนแต่เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะแม้กระทั่งความคิด ขณะที่คิดก็เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีอะไรที่เกิดแล้วจะไม่ดับ สิ่งใดที่ไม่ดี ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ควรที่จะสั่งสมให้มีมากขึ้น แต่สิ่งที่ควรเพิ่มในชีวิตประจำวัน คือการฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ปริศนา
วันที่ 24 ส.ค. 2551


อนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
บัณฑิตทึ่ม
วันที่ 24 ส.ค. 2551

ขอบพระคุณมากนะครับและขอยินดีอนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Pararawee
วันที่ 24 ส.ค. 2551
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
เมตตา
วันที่ 24 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
prakaimuk.k
วันที่ 25 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
pornpaon
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ที่ถามว่า..ควรคิดต่อไปหรือควรหยุดคิดแล้ว เปลี่ยนการคิดนั้นเป็นเรื่องที่ดีหรือให้เป็นกุศล...

จะคิดเป็นกุศลหรืออกุศลเป็นที่การสะสม...ถ้าคิดที่เป็นอกุศลจะบังคับให้เปลี่ยนความคิดทันทีเป็นสิ่งที่ยาก..ถึงเปลี่ยนความคิดเดียวก็จะกลับมาคิดอกุศลเหมือนเดิม...ตามกำลังของการสะสมการศึกษาพระธรรมทำให้พิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นกุศลและสิ่งใดเป็นอกุศล.และพิจารณาว่าสิ่งใดมีประโยชน์และสิ่งใดไม่เป็นประโยชน์..เมื่อเข้าใจก็จะสะสมสิ่งที่เป็นประโยชน์ไปที่ละเล็กทีละน้อย.....

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
Noparat
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
สุภาพร
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
Khaeota
วันที่ 8 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ