โทสมูลจิต และ โทสเจตสิก ต่างกันอย่างไร

 
sirikarn
วันที่  15 ก.ย. 2551
หมายเลข  9861
อ่าน  4,745

เรียนขอคำชี้แนะจากท่านอาจารย์ค่ะ

ดิฉันได้ฟังธรรมะตอนเช้า แต่ฟังไม่ค่อยได้ต่อเนื่องค่ะ จึงขอเรียนถามท่านอาจารย์ช่วยอธิบายคำว่าโทสมูลจิต และโทสเจตสิกด้วยค่ะ

ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง

สิริกาญจน์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 16 ก.ย. 2551

โทสมูลจิต เป็นชื่อของจิตประเภทหนึ่งที่มีโทสเจตสิกเป็นมูลให้เกิดขึ้น

โทสเจตสิก เป็นชื่อของเจตสิกประเภทหนึ่ง ไม่ใช่จิต แต่อาศัยจิตเกิดขึ้น

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่...

โทสมูลจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Noparat
วันที่ 16 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 16 ก.ย. 2551

โทสมูลจิต เป็นอกุศลจิตประเภทหนึ่งในบรรดาอกุศลจิตทั้งหลาย เป็นจิตที่มีโทสะเป็นมูล อกุศลจิตประเภทนี้มีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย และขณะนั้นจะรู้สึกไม่สบายใจ ไม่พอใจ ครับ โทสเจตสิก เป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับโทสมูลจิต เจตสิกเป็นสภาพธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิตและอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต โทสะ เป็นสภาพที่ประทุษร้าย ขุ่นเคือง ไม่พอใจ โกรธ หงุดหงิด น้อยใจ เสียใจ กลัว ทั้งหมดเป็นลักษณะของโทสะ อบรมเจริญปัญญาเท่านั้น จึงจะดับโทสะให้หมดสิ้นไปได้ โทสะดับได้เด็ดขาดด้วยอนาคามิมรรค ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 16 ก.ย. 2551

จิตมี 4 ชาติ คือชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก ชาติกิริยา ไม่ว่าจิตจะเป็นชาติอะไร ก็ตาม จิตและเจตสิกต้องเกิดพร้อมกันเสมอ รู้อารมณ์เดียวกัน ฯลฯ จิตเป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ เจตสิกปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลหรืออกุศลตามการสะสม เช่น ขณะที่ให้ทานก็เป็นปัจจัยให้ให้ทานอีก หรือคนที่สั่งสมความโกรธก็เป็นปัจจัยให้โกรธง่าย ขี้โกรธค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 16 ก.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เมื่อจิตเกิดขึ้นต้องมีเจตสิกเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ ขณะที่เกิดความโกรธ เกิดความ ขุ่นใจ ขณะนั้นก็คือจิตประเภทหนึ่ง เรียกว่าโทสมูลจิต แต่เมื่อมีจิตแล้วก็ต้องมีเจตสิก เกิดร่วมด้วย ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าโทสมูลจิต เพราะฉะนั้น ต้องมีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยคือ โทสเจตสิกจึงเรียกจิตนั้นว่า โทสมูลจิตและก็มีเจตสิกประเภทอื่นๆ เกิดร่วมด้วยครับ ดังนั้น จะเป็นโทสมูลจิตไม่ได้ ถ้าไม่มีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย ดังนั้น จึงต้องแยกปรมัตถธรรม 2 อย่างนี้คือ จิตกับเจตสิกว่าต่างกันครับ โลภมูลจิตเป็นจิต ก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย คือโลภเจตสิกนั่นเองครับ จิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก แต่จิต เกิดขึ้นต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 16 ก.ย. 2551

ขออนุญาตนำมาจากกระทู้ 9300 เจตสิก 4

ความคิดเห็นที่ 3

จิตและเจตสิกเป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ จิตเป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ ส่วนเจตสิกปรุง แต่งจิตให้ดีหรือไม่ดี เช่น มีศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยหรือ จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง ฯลฯ ส่วนรูปทั้งหมดไม่ใช่สภาพรู้ค่ะ

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 3 พ.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 25 มิ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ก.ไก่
วันที่ 18 ธ.ค. 2565

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ