สติปัฏฐานเกิดทางปัญจทวาร
เรียนถามท่านวิทยากรดังนี้ครับ
1. สติปัฏฐานเกิดทางปัญจทวารได้หรือไม่ครับ บางท่านก็กล่าวว่า ต้องเป็นผู้ที่มีสติสมบูรณ์มากจริงๆ สติปัฏฐานจึงจะเกิดที่ปัญจทวารได้ เป็นความจริงหรือไม่ครับ
2. บางท่านกล่าวว่า สติปัฏฐานเกิดทางปัญจทวารได้ แต่เกิดน้อยกว่าทางมโนทวาร ไม่ทราบว่าความจริงเป็นอย่างนั้นหรือไม่ครับ
3. เหตุใดสติปัฏฐานจึงเกิดทางมโนทวารมากกว่าทางปัญจทวารครับ
4. ท่านอาจารย์จะเน้นให้รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา เสียงที่ปรากฏทางหู ส่วนใหญ่ว่าไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ไม่ใช่การคิดนึกทางใจ เพื่อการละคลายการยึดถือสภาพธรรมะที่เพียงเกิดปรากฏสั้นๆ แล้วทางใจก็เกิดรับรู้เป็นความคิดนึกถึงสิ่งนั้นๆ เป็นเรื่องราวต่อ ผมคิดว่า คงไม่ใช่เน้นให้เราไปพยายามรู้วิบากจิตขณะเดียว ที่เห็น ที่ได้ยินที่เกิดแล้วดับไปแล้วก็สั้นมากๆ ซึ่งยากที่จะรู้ได้ เข้าใจอย่างนี้จะ ถูกต้องไหมครับ
ขอบพระคุณครับ
๑. ในพระไตรปิฎกแสดงว่า มหากุศลญาณสัมปยุตเกิดได้ทั้ง ๖ ทวาร ดังนั้นสติปัฏฐานก็ควรเกิดได้ทั้ง ๖ ทวาร เช่นกัน
๒. เกิดมากหรือเกิดน้อยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ปัญญาขั้นต้นไม่สามารถแยกทวารได้
๓ .ยังไม่พบหลักฐานว่าสติปัฏฐานจึงเกิดทางมโนทวารมากกว่าทางปัญจทวารครับ
๔. ถูกครับ ศึกษาธรรมะที่กำลังปรากฏ สิ่งใดที่ไม่ปรากฏย่อมรู้ไม่ได้
เพียงรู้สิ่งที่ปรากฏว่าเป็นธรรมะอย่างหนึ่งไม่ต้องสงสัยว่าเกิดมากกว่าหรือน้อยกว่า เพราะปัญญาระดับเรายังรู้ไม่ได้ ต้องเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า ธรรมดาวิถีจิต ทางมโนทวารเกิดมากกว่าทางปัญจทวาร เพราะรู้อารมณ์ได้ 6 อารมณ์ เช่น เห็นแล้วก็คิด ได้ยินแล้วก็คิด ได้กลิ่นแล้วก็คิด ลิ้มรสแล้วก็คิด กระทบสัมผัสแล้วก็คิด ฯลฯ
ศึกษาธรรมะที่กำลังปรากฏ สิ่งใดที่ไม่ปรากฏ ย่อมรู้ไม่ได้
ขออนุโมทนาค่ะ
๑) สติปัฏฐานเจริญ เมื่อมีกำลังมากๆ จนสมบูรณ์ ก็สามารถระลึกได้ทุกอย่างและทางปัญจทวารได้ในลักษณะอนัตตา ก็ควรเป็นความจริง ครับ
๒) เมื่อสติปัฏฐานเป็นอนัตตา จะว่าเกิดมากน้อยทางปัญจทวารหรือมโนทวาร ได้อย่างไรครับ แล้วแต่จะเกิด
๓) คำตอบเหมือนข้อ ๒ ครับ ๔) เข้าใจอย่างนี้ถูกต้องครับ ท่านเน้นให้เข้าใจสิ่งที่ปรากฏ สิ่งที่ไม่ปรากฏก็ปล่อยไปก่อน แล้วสักวันก็จะรู้ได้ ครับ
สิ่งที่มีจริงเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้หมดทางตา ใจ สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏที่ทวารไหนก็ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้นทันทีค่ะสิ่งที่ปรากฏทางทวารต่างๆ ทั้ง ๖ จะไม่ปะปนกันเลยแต่ความรวดเร็วในการเกิดดับของสภาพธรรมจึงยากที่จะรู้ได้ว่าขณะเห็น ไม่ใช่ขณะที่คิดถึงสิ่งที่เห็น เป็นต้น จึงต้องค่อยๆ อบรมเจริญไปทีละเล็กทีละน้อยค่ะ