สนทนาธัมมะ ณ ราชบุรี - ๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๖

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  20 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23068
อ่าน  2,142

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คัดมาจาก kanchana.c วันที่ 24 พ.ค. 2556 21:28

เนื่องจาก สมาชิก ชมรมบ้านธัมมะ มศพ. ราชบุรี (ชาวกุรุน้อย ราชบุรี) โดย อาจารย์ธนิต ชื่นสกุล ก่อตั้งมาครบ 25 ปี ในปีนี้จึงมีความยินดีขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจร่วมเจริญกุศลโดยร่วมฟังและสนทนาธรรมกับ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร ของ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ใน วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2556 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ แพรวอาภาเพลส ห้องชวนชม ชั้น 2 จังหวัดราชบุรี

สนใจติดต่อ คุณมาลี – จรัญ ฉลวยศรีเมือง

เบอร์โทร 08 1571 6533 หรือ 08 7531 3105


ขออนุญาต เรียนถาม ท่านวิทยากร ดังนี้ค่ะ คำแปล ความหมาย องค์ประกอบของคำลักษณะปรมัตถธรรม ของ คำว่า นรชน ทรชน พาล บัณฑิต สัตบุรุษ สัปปุรุษ พร้อมคำอื่นที่ใช้แทนกัน

ช่วยกรุณา ยกตัวอย่างประโยค เพื่อความชัดเจนในการใช้แต่ละคำด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพาะภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่มีการสมมติว่าเป็นสัตว์ บุคคลต่างๆ ก็เพราะมีสภาพธรรมเกิดขึ้นเป็นไป ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปนามธรรมและรูปธรรมเลย

จุดประสงค์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงของธรรม

นรชน แปลว่า คน ซึ่งก็กว้างขวางมาก ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นคนประเภทใด ดีหรือไม่ดี มีปัญญาหรือไม่มีปัญญา เป็นต้น

ทรชน ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีโดยตรง แต่ที่เข้าใจหมายรู้กันในภาษาไทย คือ คนไม่ดี คนชั่วร้าย ถ้ามาจากภาษาบาลี ก็ควรจะเป็น ทุรชน ก็มีความหมายเดียวกัน

พาล คือ คนพาล คนไม่ดี คนที่คิดก็คิดไม่ดี พูดก็พูดไม่ดี ทำก็ทำไม่ดี เป็นผู้ตัดประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

บัณฑิต คือ บุคคลผู้ดำเนินไปด้วยปัญญา คิดดี ทำดี พูดดี บัณฑิตสูงสุด คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สัตบุรุษ กับ สัปบุรษ มีความหมายเหมือนกัน คือ ผู้สงบจากกิเลส ผู้ยังกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ให้สงบ สัตบุรุษ (สัปบุรุษ) สูงสุด คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ

ข้อความจากพระไตรปิฎก ที่กล่าวถึงคำต่างๆ เหล่านั้น มีตัวอย่าง ดังนี้

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ หน้า ๕๗๙

“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นคนพาล และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคล เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ทุศีล ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ บุคคลประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล และย่อมประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต และได้ประสบสิ่งอัน เป็นบุญ มาก, ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต และย่อมประสบสิ่งอันเป็นบุญ มาก” (จาก ... พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อหิริกสูตร)

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ หน้า ๒๒๘

สัตบุรุษ เรื่องใดเป็นเกียรติคุณของผู้อื่น แม้ไม่มีใครถามก็เปิดเผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงมีใครถาม เมื่อมีใครซักถามเข้า ก็เล่าเรื่องเกียรติคุณของผู้อื่นอย่างถี่ถ้วนเต็มที่ ไม่มีหน่วงเหนี่ยว นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ” (จาก...พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต สัปปุริสสูตร)

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า ๑๒๘

“นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตน ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้ ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี อันบุคคลทั้งหลายใดกำจัดเสียแล้ว บุคคลทั้งหลาย เหล่านั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง อันบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น สางเสียแล้ว” (จาก ... พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ชฎาสูตร)

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชน มี หลายจำพวก

1. นรชน

2. ทรชน

3. อริยชน

นรชน หมายถึง บุคคลทั่วๆ ไป

ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า

อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๕๒ อุรุเรลวรรคที่ ๓

ปฐมอุรุเวลสูตร

นรชนเหล่าใด ฉลาดในธรรม ย่อมอ่อนน้อมผู้ใหญ่ นรชนเหล่านั้นได้รับสรรเสริญในโลกนี้และในสัมปรายภพ ก็มีสุคติ ดังนี้

อธิบายดังนี้ ครับ

นรชน คือ บุคคลใดก็ตามที่ ฉลาดในธรรม อ่อน้อมต่อผู้ใหญ่ ย่อมได้รับการสรรเสริญ เป็นต้น

ทรชน หมายถึง บุคคล ที่ไม่ดี

อริยชน คือ บุคคลที่ประเสริฐที่ดีงาม มีพระอริยบุคคล เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๑๘

อริยชนใดย่อมเกียดกันอนารยชน ผู้ กระทำชั่วด้วยการลงโทษ กรรมของอริยชน นั้นเป็นการสั่งสอนหาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ชัดข้อนั้นอย่างนี้แล. บทว่า อริโย ในคาถานั้น เป็นชื่อของผู้สอน. ก็อริยชนนี้นั้นมี ๔ ประเภท คือ อาจารอริยชน อริยชนผู้มีอาจาระ ๑ ทัสสนอริยชน อริยชนที่ควรแลดู ๑ ลิงคอริยชน อริยชนผู้ถือเพศ ๑ ปฏิเวธอริยชน อริยชนผู้รู้แจ้งแทงตลอด ๑ ในอริยชน ๔ ประเภทนั้น อริยชนผู้ตั้งอยู่ในมารยาทอันประเสริฐ จะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานก็ตาม ชื่อว่าอาจารอริยชน สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :- ข้าพเจ้าขอสละภัสดาผู้ประพฤติเยี่ยง อริยชนคนโกง เชิดชูบิณฑะ ที่พามาได้นั้น แก่ท่าน ขอท่านทั้งสองจงไปตามสบายเถิด.


พาล คือ ผู้ที่ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้ และ โลกหน้า เป็นผู้ประพฤติชั่วเป็นปกติ และ มีชีวิตสักว่าแต่หายใจเท่านั้น และ ผู้ที่คิดไม่ดี ทำไม่ดีทางกาย วาจา

พาลศัพท์อีกนัยหนึ่ง [มังคลัตถทีปนีแปล]

ลักษณะคนพาล [มังคลัตถทีปนีแปล]

ชื่อว่าคนพาล [มังคลัตถทีปนีแปล]

คำที่ใช้แทน คำว่า พาล คือ อสัตบุรุษ บุคคลที่ไม่ประกอบด้วยธรรมอันสงบ

บัณฑิต มีหลากหลายนัย ตั้งแต่ระดับสูงสุด คือ พระพุทธเจ้า และ พระอริยสาวก รวมทั้งผู้ที่มีคุณธรรม ดังนั้น บัณฑิต จึงหมายถึง ผู้ที่มีคุณธรรม คิดดี ทำดีทั้งทางกาย และ วาจา ประกอบด้วยปัญญา ครับ

ลักษณะ เครื่องหมายของบัณฑิต [พาลบัณฑิตสูตร]

คำที่สามารถใช้แทน คำว่า บัณฑิตได้ คือ สัตบุรุษ ครับ

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 67

อรรถกถาอรัญญสูตร พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐ ต่อไป :- บทว่า สนฺตานํ ได้แก่ ผู้มีกิเลสอันสงบระงับแล้ว อีกอย่างหนึ่งได้แก่บัณฑิต แม้บัณฑิตท่านก็เรียกว่า สัตบุรุษ เช่นในคำมีอาทิว่า สนฺโต

สัตบุรุษ สปฺปุริส [สนฺต (ผู้สงบ) + ปุริส (บุรุษ) ] บุรุษผู้สงบ หรือ ประกอบด้วยคุณธรรม ที่ทำให้สงบ

โดยขั้นสูงสุด หมายถึง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมสัตบุรุษ โดยขั้นต่ำ หมายถึง ผู้ที่เชื่อกรรมและผลของกรรมบำเพ็ญทาน สมาทานศีล อบรมภาวนา โดยขณะจิต ขณะใดเป็นกุศลจิต ขณะนั้นเป็นสัตบุรุษ ขณะใดเป็นอกุศล จิต ขณะนั้นเป็นอสัตบุรุษ ดังตัวอย่างในพระไตรปิฎกที่ว่า

บุคคลใด เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้ภักดีอย่างมั่นคง ย่อมทำกิจโดยเคารพแก่ผู้มีทุกข์ บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า "สัตบุรุษ" กลิ่นบุปผชาติ หอมทวนลมไม่ได้ แต่กลิ่นของสัตบุรุษ (คนดี) หอมทวนลมได้ สัตบุรุษย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ สัปปุรุษ ก็โดยนัยเดียวกัน กับ คำว่า สัตบุรุษที่ หมายถึง บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณธรรมที่ทำให้สงบ


การศึกษาพระธรรม ไม่ใช่การจะแปลความหมายโดยละเอียดอย่างไร แต่เป็น การศึกษาเพื่อความเข้าใจ ในอรรถะ โดยที่ไมได้มุ่งที่ชื่อเรื่องราวนั้น เพราะ ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม คือ เป็นไปเพื่อละคลายความติดข้อง แม้แต่ การอยากรู้ชื่อ แยกศัพท์โดยละเอียด เพราะ ก็จะเป็นทะเลชื่อ แต่ ลืมความเข้าใจ สภาพธรรมในขณะนี้ ดังนั้น คำว่า ปริยัติ จึงเป็นการศึกษาธรรม เพื่อเข้าใจตัวจริง ในขณะนี้ เป็นสำคัญ แม้แต่คำว่า ธรรม คือ อะไรให้เข้าใจ เป็นต้น เพราะประโยชน์ คือ เพื่อละคลายกิเลส และ เพื่อเข้าใจความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้เป็นสำคัญ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 20 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาท่านวิทยากรที่ให้ความรู้ให้คำอธิบายค่ะ

๑. เรียนขอตัวอย่างการใช้คำว่า "นรชน" ที่กล่าวถึงในแง่ไม่ดี มีไหมคะ

๒. เรียนขอความหมายของคำว่า "ปราชญ์" และขอตัวอย่างด้วยค่ะ

๓. จาก "เก็บไว้ในหทัย" คืออะไร หมายความในแง่ไหนอย่างไรบ้างคะ

หน้า ๒๒๔ กล่าวว่า "ถ้าไม่เริ่มต้นว่า คำนั้นคืออะไร พูดไปทั้งวัน ก็จะไม่รู้อะไร"

หน้า ๒๒๗ กล่าวว่า "เมื่อได้ยินได้ฟัง คำอะไร ต้องตั้งต้นว่า คืออะไร ก่อนที่ไปไกลยิ่งกว่านี้"

ในฐานะยังไม่เข้าเตรียมอนุบาล ก็เลยเรียนถามในลักษณะถามชื่อถามเรื่อง

ขอความอนุเคราะห์ผู้น้อยด้อยความรู้ด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านวิทยากรที่ให้ความรู้ให้คำอธิบายค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-ที่กล่าวถึง นรชน ในแง่ของคนไม่ดี ก็มี ตามที่เรียนข้างต้นแล้วว่า นรชน กว้างขวางมาก ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นประเภทใด ดีหรือไม่ดี

ยกตัวอย่างข้อความจากปฐมสีลสูตร กล่าวถึง นรชน ในแง่ที่เป็นคนไม่ดี ไว้ว่า นรชน คนใดที่ไม่มีปัญญา เป็นคนทุศีล มีความเห็นผิด เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔- หน้าที่ ๑๙๙

นรชนใดผู้มีปัญญาทราม ประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการนี้ คือ ศีลอันลามก ๑ ทิฏฐิอันลามก ๑ นรชนนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก.


-ปราชญ์ คือ บุคคลผู้มีปัญญา ในอรรถกถาทั้งหลาย แสดงว่า ปราชญ์ ได้แก่ บุคคลผู้มีปัญญา มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น

ตัวอย่าง ปราชญ์

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ หน้าที่ ๔๖๙

นักปราชญ์ ไม่พึงเป็นผู้มีคนชั่วเป็นเพื่อนเลย เพราะความกลัวแต่การเข้าไป ติดเปื้อน คนใดห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาของคนนั้นย่อมมีกลิ่นเหม็น ฟุ้งไป การเข้าไปซ่องเสพคนพาล ย่อม เป็นเหมือนอย่างนั้น ส่วนคนใดห่อกฤษณา ไว้ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของคนนั้นย่อมมีกลิ่นหอมฟุ้งไป การเข้าไปซ่องเสพนักปราชญ์

ย่อมเป็นเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความสำเร็จผลแห่งตน ดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่พึงเข้าไปเสพอสัตบุรุษ พึงเสพสัตบุรุษ เพราะว่าอสัตบุรุษ ย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 50

นักปราชญ์แนะนำสิ่งที่ควรแนะนำไม่ ขวนขวายในกิจที่มิใช่ธุระ นักปราชญ์แนะนำ ได้ง่าย พูดหวังจะให้ดีก็ไม่โกรธ นักปราชญ์ ย่อมรู้จักวินัย การสมโคมกับนักปราชญ์เป็นความดี.

-เก็บไว้ในหทัย คือ การประทับใจในข้อความธรรม ที่ได้ฟังแล้วเกิดความเข้าใจ เป็นเครื่องเตือนใจที่ดี เก็บไว้ในใจ ไม่ลืม เช่น

* น่าเสียดายเป็นอย่างมาก ที่ได้ฟังพระธรรมในวันนี้ แล้วไม่ได้ฟังต่อไปอีก

* ละอายต่อความไม่รู้ จึงฟังพระธรรม

* ถ้าเห็นว่าโกหกเล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ ไม่เป็นไร ในที่สุดก็จะโกหกมากขึ้นๆ พอกพูนอกุศลให้หนาแน่นมากยิ่งขึ้น

* การที่อกุศลจะค่อยๆ ละคลายลงไปได้นั้น ก็ด้วยปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น

* เกิดมา เพื่อจากไปด้วยดี ด้วยการสะสมความดี และ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ

* สภาพธรรมที่ดีงาม ย่อมคล้อยไปตามความเข้าใจพระธรรม ฯลฯ

จากประเด็นคำถามนั้น เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีว่า เมื่อได้ฟังพระธรรม คำใด ก็จะต้องมีความละเอียด ฟังให้เข้าใจในคำนั้นๆ เช่น จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ มีจริงๆ เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้) บุญ (สภาพธรรมที่ชำระจิต ให้สะอาดจากอกุศล) ธรรม (สิ่งที่มีจริงๆ เช่น เห็นมีจริงเป็นธรรม ได้ยินมีจริง เป็นธรรม โกรธ มีจริง เป็นธรรม) เป็นต้น เป็นการศึกษาธรรมทีละคำ ให้เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่การพูดคำที่ไม่รู้จัก ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านวิทยากรที่ให้ความรู้ให้คำอธิบายค่ะ

วันนี้ขอส่งงานถอดคำบรรยายธรรมของท่านอจ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์

บ้านธัมมะ > ฟังธรรม > ปัญหาธรรมะ

ลมหายใจสำคัญอย่างไร

ลมหายใจ มีจริง เป็น สิ่งที่สำคัญมาก เพราะเหตุว่า ชีวิตดำรงอยู่ได้ ยังเป็นไปได้อยู่ ชั่วขณะที่ ยังมีลมหายใจอยู่ เท่านั้นเอง ชีวิต ที่คิดว่า สำคัญ เหลือเกิน มีความเยื่อใย ในทรัพย์สมบัติ ในรูปสมบัติ ในวิชาความรู้ต่างๆ ในฐานะ ในเกียรติยศ เห็น ความสำคัญ ของ สิ่งต่างๆ ว่ามากมาย แล้วก็ ยึดถือติด เป็นตัวตน เป็นของท่าน แท้ที่จริงแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับ ลมหายใจแผ่วๆ ซึ่งเป็น ลักษณะ ของ โผฏฐัพพารมณ์ ที่ละเอียดมาก เพราะฉะนั้น ชีวิต ที่ท่านคิดว่า ใหญ่โตและสำคัญ เหลือเกิน ก็ ปราศจาก ความหมาย ทั้งสิ้น เพราะเหตุว่า ขึ้นอยู่กับ เพียง ลมหายใจเบาๆ ซึ่งถ้า ขาด หรือว่า หมดไปแล้ว ทุกสิ่งของท่าน ก็สูญหมด ความเป็นบุคคลนี้ ความเป็นเจ้าของครอบครอง เกียรติยศ ทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ ความรู้ต่างๆ ก็จะสิ้นไปหมด ทันทีที่ ลมหายใจนั้นหมดไปเท่านั้นเอง เห็น ความสำคัญ ของ ลมหายใจ ว่า เหนือ สิ่งอื่นใด

เพราะเหตุว่า โลกทั้งโลก ชีวิตทั้งชีวิต ทุกสิ่งที่ท่านคิดว่าสำคัญเหลือเกินนั้น แท้ที่จริง ก็ขึ้นอยู่กับ สภาพ ซึ่งเล็กน้อยเหลือเกิน เพียง ลมอ่อนๆ แล้วก็ เกิดขึ้น ปรากฏ นิดๆ หน่อยๆ เท่านั้นเอง นี่คือ ชั่วขณะหนึ่ง ชั่วขณะหนึ่ง

ขอเรียนถามท่านวิทยากรดังนี้ค่ะ

๑. ชีวิต คืออะไรคะ ตามลักษณะปรมัตถธรรม

๒. ชีวิตประจำวัน คืออย่างไรคะ ตามลักษณะปรมัตถธรรม

๓.ลมหายใจ คืออะไร เกิดขึ้นอย่างไรคะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านวิทยากรที่ให้ความรู้ให้คำอธิบายค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คุณน้าธนิต ชื่นสกุล ได้เล่าถึง ที่มา"ตำนาน" กุรุน้อย ดังนี้ค่ะ "กุรุน้อย" เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อปี ๒๕๒๕ ท่านอาจารย์ มาแล้ว ได้เห็น ได้ยิน ท่านก็เรียก สถานที่นี้ ว่า "กุรุน้อย" เหมือนกับ ประเทศสยาม เมืองหลวง ชื่อ สุโขทัย ประเทศไทยปัจจุบัน เมืองหลวง ชื่อ กรุงเทพฯ ส่วนปัจจุบัน กุรุน้อย เปลี่ยนแปลไปตามกาล มีแต่ "สมาชิก ม.ศ.พ."

ขอถ่ายทอดต่อมาให้อ่านนะคะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

เรียน ความเห็นที่ 8 ครับ

๑. ชีวิต คืออะไรคะ ตามลักษณะปรมัตถธรรม

ชีวิต คือ จิต เจตสิที่เกิดขึ้น ชีวิต คือ ชั่วขณะจิตที่เกิดขึ้นและดับไป ชีวิตจึงน้อยนัก

๒. ชีวิตประจำวัน คืออย่างไรคะ ตามลักษณะปรมัตถธรรม

ชีวิตประจำวัน ก็คือ ชีวิตของการเกิดขึ้น ของ จิต เจตสิก และรูป เพราะฉะนั้น ลักษณะ ของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม ที่เกิดในชีวิตประจำวัน คือ นาม และ รูป คือ จิต เจตสิก รูป ครับ

๓. ลมหายใจ คืออะไร เกิดขึ้นอย่างไรคะ

ลมหายใจ คือ วาโยธาตุ ที่เป็นธาตุลม ลมหายใจ เกิดจากจิต เป็นสมุฏฐาน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.ผเดิม สำหรับคำตอบค่ะ

ขอเรียนถามต่อนะคะ

๑. "เสียงที่ทำให้เข้าใจธรรม" หมายความว่าอย่างไรคะ มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เข้าใจธรรม ลักษณะหรือองค์ประกอบของ"เสียงที่ทำให้เข้าใจธรรม" คืออะไรบ้างคะ

๒. "ภิกษุได้ยินเสียงกลอง ก็รู้ว่า เป็นเสียงกลอง" มาจากพระสูตรใดคะ หมายความว่าอย่างไรคะ ต่างกับปุถุชนก็รู้เสียงกลองอย่างไรคะ และ การที่ไม่รู้เสียงเครื่องดนตรีได้ทุกชนิด ดังนักดนตรี การรู้ละเอียดแบบนักดนตรี คืออย่างไร เรียกธรรมนี้ ว่าอะไรคะ ลักษณะ"ดัง"ของเสียง เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น หรืออย่างไรคะ ระดับสูงต่ำ หรือ ความแตกต่างนานา คือ อะไรคะ

๓. กรุณาอธิบาย"วจีวิญญัติ"ด้วยค่ะ (อ่าน"หยัด"หรือ"ยัด"คะ)

วันนี้ขอส่งงานถอดคำบรรยายธรรมของท่านอจ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์

บ้านธัมมะ > ฟังธรรม > ปัญหาธรรมะ

ธรรมะคืออะไร

ธรรมะ คือ สิ่งที่มีจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เพราะฉะนั้น ทุกอย่าง เป็น ธรรมะ แต่ ธรรมะมี ๒ อย่าง คือ สภาพธรรมะ ที่เกิดแล้ว ก็ไม่รู้อะไรเลย นะคะ เป็น รูปธรรม ส่วน สภาพธัมมะ อีกอย่างหนึ่งนั้น เป็น นามธรรม เพราะเหตุว่า ไม่มีรูปร่าง ถ้าโลกทุกโลก มีแต่ รูปธรรม มีการเดือดร้อนไหมคะ ฝนจะตก น้ำจะท่วม ไฟจะไหม้

ไม่มีสภาพรู้ ธาตุรู้ ไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน จะไม่มีการเดือดร้อนใดๆ เลย แต่เพราะเหตุว่า นะคะ มี ธรรมะ หรือ ธาตุ ชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดแล้ว นี่ค่ะ ต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้เลย เป็น ธาตุรู้ เพราะฉะนั้น เมื่อเกิด ต้องรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดนะคะ เช่น ขณะนี้ค่ะ เสียง ปรากฏได้ เพราะว่า มีสภาพ ที่ได้ยินเสียงนั้น สามารถได้ยินเสียง ทั้งๆ ที่ เสียงนี่ ไม่มีรูปร่างเลยนะคะ มองก็ไม่เห็น แต่ ธาตุรู้ หรือ นามธาตุ เนี่ยค่ะ สามารถจะได้ยิน เพราะฉะนั้น นามธาตุ เป็น ธาตุ ที่ไม่มีรูปร่างสัณฐานนะคะ แต่ว่า มี ความวิจิตร หลากหลายมาก เริ่มจากการที่ว่า เป็น สภาพรู้ แต่สภาพรู้ต่อไปนี่ค่ะ จะขยายต่อไปอีกมาก มีประการต่างๆ นะคะ เพราะฉะนั้น ก็ให้ทราบว่า ธรรมะ ที่เกิด มีลักษณะ ที่ต่างกัน เป็น ๒ อย่าง คือ นามธรรม กับ รูปธรรม นามธรรม เป็น สังขาร หรือเปล่าคะ นามธรรม ก็เป็น สังขาร นะคะ รูปธรรม เป็น สังขาร หรือเปล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
j.jim
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
raynu.p
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 26 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา ท่านวิทยากร สำหรับคำอธิบายค่ะ

ขอเรียนถามต่อนะคะ (ระหว่าง รอ คำตอบของความคิดเห็นที่ ๑๐)

จากเก็บไว้ในหทัย หน้า ๕๙

ธรรมไพเราะ เพราะว่า เป็น สัจจธรรม ที่พิสูจน์ได้ทุกกาลสมัย แม้ในขณะนี้ อย่างเช่น การเห็น ก็เป็น สิ่งที่มีจริง และ ก็เป็น อนัตตา ด้วย เพราะฉะนั้น คำที่ไพเราะ คือ คำจริง ถ้าเป็นคำไม่จริง เป็นคำเท็จ แม้เมื่อฟังดู เหมือนจะไพเราะ แต่ว่าเมื่อไม่จริงแล้ว ก็ย่อมไม่ใช่ คำที่มีความไพเราะ

คำถาม คำว่า "ไพเราะ" และ "พิสูจน์ได้" มีคำแปล มีความหมาย ว่าอย่างไรคะ มาจากคำใดในภาษาบาลี กรุณายกตัวอย่างในพระสูตร และในทางเรื่องราวด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา ท่านวิทยากร สำหรับคำอธิบายค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
guy
วันที่ 30 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Sottipa
วันที่ 3 ก.ค. 2556

ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Sottipa
วันที่ 3 ก.ค. 2556

ความจริงเป็นอมต

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
udomjit
วันที่ 5 ก.ค. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ