วีตโสกเถรคาถา
ใน ขุททกนิกาย เถรคาถา จตุกนิบาต วีตโสกเถรคาถา มีข้อความว่า ท่านวีตโสกเถระได้กล่าวว่า ช่างกัลบกเข้ามาหาเราด้วยคิดว่าจักตัดผมของเรา เราจึงรับเอากระจกจากช่างกัลบกนั้นมาส่องดูร่างกาย ร่างกายของเรา นี้ได้ปรากฏเป็นของเปล่า ความมืดคืออวิชชาในกายอันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมลได้หายหมดสิ้นไป กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวงเราตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ถ้าฟังภาษิตของพระเถระ ก็จะเห็นว่าท่านเปรียบเทียบสิ่งที่น่ารังเกียจ ทำให้เราพลอยรังเกียจไปด้วย ชั่วครู่ชั่วยามถ้ายังไม่ได้บรรลุมรรคผลเป็นลำดับขั้นอย่างกิเลสทั้งหลายท่านวีตโสกเถระท่านก็เปรียบว่า กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง ฉะนั้น บางท่านที่อ่านพระสูตรและพิจารณาอรรถพยัญชนะ ก็จะเห็นคล้อยตามไปได้ชั่วครู่ชั่วยาม แต่ว่าเมื่อยังมีกิเลสอยู่ ก็ได้เพียงความไพเราะ และเห็นโทษชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น
นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบว่าคฤหัสถ์เวลาดูกระจก เจริญสติปัฏฐานบ้างหรือเปล่า เจริญได้ไหม หรือว่ากลัวอะไรเจริญไม่ได้ในขณะนั้น ชีวิตประจำวันของฆราวาสส่องกระจกกันแน่ทีเดียว แม้แต่พระภิกษุก่อนที่จะมีพระวินัยบัญญัติเรื่องห้ามการส่องกระจก หรือการดูเงาหน้าในน้ำใสสอาด ก่อนที่จะมีพระวินัยบัญญัติในเรื่องนี้ ท่านก็ส่องเพราะท่านเคยส่อง แต่เพราะเหตุว่าชาวบ้านเห็นว่าไม่เป็นสิ่งไม่สมควรแก่สมณะ ไม่พึงกระทำ โทษภัยก็ไม่มีเพราะว่าชีวิตของการเจริญสมณะวิสัย การเจริญปัญญารู้ลักษณะของนามและรูปที่กำลังปรากฏในขณะที่ส่องกระจกก็มีนามมีรูป ถ้ามีความพอใจเกิดจากการเห็นเงาในกระจกเป็นนามชนิดหนึ่ง ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วหมดไป ก็เป็นเรื่องที่ไม่ต้องหวั่นเกรงหรือไม่ต้องหวั่นกลัวว่าขณะนั้นจะเจริญสติปัฏฐานไม่ได้
ฉะนั้น จึงใคร่จะเรียนถามว่า เวลาที่ส่องกระจกเคยเจริญสติบ้างไหม หรือ ว่าไม่กล้าเจริญสติ สติไม่เกิดเพราะว่าในขณะที่ส่องกระจกไม่เคยระลึกได้ในขณะ นั้น เพราะเหตุว่าสติไม่มีกำลัง เวลาที่ส่องกระจกว้าวุ่นใช่ไหมคะ พอส่องแล้วเอ๊ะ นามอะไร นี่รูปอะไร รูปอยู่ที่ไหน จะรู้นามอะไร รูปอะไร ในขณะไหนและถ้ายังหวั่นไหวสติไม่เกิด ปัญญาไม่เกิด ความไม่รู้ก็เพิ่มขึ้นทุกขณะ ไม่มีทางที่จะละคลายให้หมดไปได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ยกตัวอย่างมาให้เห็น ท่านพระเถระท่านสามารถจะบรรลุธรรมในขณะที่ช่างกัลบกเข้าไปเพื่อที่จะตัดผมของท่าน
สำหรับเรื่องของพระภิกษุ ท่านก็อาจจะเห็นว่าชีวิตของพระภิกษุท่านขัดเกลา มีเวลามากในการเจริญกุศล ฉะนั้นท่านก็บรรลุธรรมกันได้ ไม่ว่าท่านจะทำกิจใดๆ
ที่มา ...