สมถภาวนา ตอนที่ 19
ดินเป็นสิ่งที่มีจริง ถ้าเป็นดินเปล่าๆ ยังไม่เกิดเป็นตึกรามบ้านช่อง หรือว่าวัตถุสิ่งต่างๆ เพียงแต่เห็นความเป็นดินเท่านั้น ย่อมไม่เกิดความยินดีพอใจ
แสวงหาขวนขวายในดินนั้น แต่เวลาที่ดินนั้นเองมีการกระทำให้เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ความยินดีต้องการในวัตถุนั้นก็เกิดขึ้น โดยลืมสภาพที่แท้จริงของสิ่งนั้นว่า ก็เป็นแต่เพียงดิน เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรเลยซึ่งเป็นรูป และปราศจากดิน แต่เมื่อลืมนึกถึงสภาพความเป็นดิน เกิดความยินดียินร้ายขึ้นได้ในวัตถุที่ปรากฏ แต่ในร่างกายที่กำลังมีอยู่ ในขณะหนีก็ไม่พ้นจากสภาพความเป็นดินเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการที่จะน้อมระลึกถึงดินด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะทำให้จิตสงบได้ แต่ก็ยากเพราะเหตุว่า อย่าลืมว่าธรรมทั้งหลายเป็นจริงในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นในขณะนี้หรือในขณะนั้นก็ตาม ที่จิตจะระลึกถึงดินนี้ เป็นไปได้ไหม อาจจะเป็นไปได้ ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ไม่ใช่บ่อยๆ เนืองๆ ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า การที่จะให้จิตสงบ ยาก กับการที่จะอบรมระลึกถึงสภาพธรรมที่ปรากฏซึ่งเป็นสติปัฏฐานตามปกติในชีวิตตามความเป็นจริง
5168 การระลึกถึงดินกับความสงบของจิตในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ สำหรับการระลึกถึงสมถภาวนา กรรมฐานอื่นๆ นอกจาก ฉอนุสติ คือ พุทธานุสติ ธรรมนุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ ท่านผู้ฟัง จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าจะระลึกถึง อารมณ์ของสมถภาวนาอื่นๆ แล้วก็จิตสงบ แต่ก็ไม่ได้ขัดเกลาจิตใจ แล้วก็ไม่เป็นปัจจัยให้ประกอบกรรมดีเพิ่มขึ้น เหมือนอย่างการที่จะระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เป็นต้น ที่ท่านผู้ฟังท่าน ๑ เคยเล่าให้ฟัง ว่าท่านก็เจริญ เตโชกสิณ แต่ทั้งๆ ที่พอจะเห็นนิมิต แต่แม้กระนั้น ก็ไม่ได้ทำให้จิตใจของท่าน ละความ ทะรงตน หรือว่าลบหลู่คนอื่นได้ แล้วก็ไม่สามารถที่จะขัดเกลา อกุศลอื่นๆ ด้วย แต่การระลึกถึงพุทธานุสติ พระคุณของพระผู้มีพระภาค จะทำให้ผู้ที่ระลึก ประพฤติปฏิบัติ ตามยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการขัดเกลามากขึ้น
5169 การระลึกถึงพระรัตนตรัยเพื่อการขัดเกลาอกุศล
ท่านอาจารย์ สำหรับการระลึกถึงสมถภาวนา กรรมฐานอื่นๆ นอกจาก ฉอนุสติ คือ พุทธานุสติ ธรรมนุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ ท่านผู้ฟัง จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าจะระลึกถึง อารมณ์ของสมถภาวนาอื่นๆ แล้วก็จิตสงบ แต่ก็ไม่ได้ขัดเกลาจิตใจ แล้วก็ไม่เป็นปัจจัยให้ประกอบกรรมดีเพิ่มขึ้น เหมือนอย่างการที่จะระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เป็นต้น ที่ท่านผู้ฟังท่าน ๑ เคยเล่าให้ฟัง ว่าท่านก็เจริญ เตโชกสิณ แต่ทั้งๆ ที่พอจะเห็นนิมิต แต่แม้กระนั้น ก็ไม่ได้ทำให้จิตใจของท่าน ละความ ทะรงตน หรือว่าลบหลู่คนอื่นได้ แล้วก็ไม่สามารถที่จะขัดเกลา อกุศลอื่นๆ ด้วย แต่การระลึกถึงพุทธานุสติ พระคุณของพระผู้มีพระภาค จะทำให้ผู้ที่ระลึก ประพฤติปฏิบัติ ตามยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการขัดเกลามากขึ้น
5170 สัลเลขสูตร - ทิฏฐิตามนอนอยู่ในอารมณ์ใด
ท่านอาจารย์ ข้อความในสัลเลขสูตรมีว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นหรือ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมจะมีได้ ด้วยอุบายอย่างนี้หรือ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด ตามนอนอยู่ในอารมณ์ใด และขึ้นเที่ยวอยู่ทั่วในอารมณ์ใด เมื่อภิกษุเห็นอารมณ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเรา เรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ข้อความที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด ตามนอนอยู่ในอารมณ์ใด และขึ้นเที่ยวอยู่ทั่วในอารมณ์ใด ขณะนี้หรือเปล่าคะ ความเห็นผิด ที่มีอยู่ ในนาม และรูป ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด ถ้าเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ระลึกได้ทันที ใช่ไหมคะ ว่าขณะนี้ทิฏฐิเกิดขึ้นในอารมณ์ใด ที่กำลังปรากฏทางตา กำลังเห็นถูกหรือเห็นผิด ทางหู กำลังเห็นถูกหรือกำลังเห็นผิด นอกจากนั้นยังมีทิฏฐิที่ ตามนอนอยู่ในอารมณ์ใด บางทีในขณะนั้น ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยกับจิตซึ่งเป็นโลภมูลจิตในขณะนั้น แต่ว่าความเห็นผิดที่ยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท ตามนอนอยู่ในอารมณ์ใด ที่จะรู้ว่าขณะนี้ ทิฏฐิ ที่เป็นความเห็นผิด ตามนอนอยู่ในอารมณ์ใด ต้องเป็นผู้ที่เจริญสติ ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรม เพราะเหตุว่าในตอนต้นๆ คงจะไม่มีท่านผู้ใด สามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ตลอดทั่วทั้ง ๖ ทวาร ทั้ง ๖ อารมณ์ เพราะฉะนั้น บางท่านที่เริ่มเจริญสติปัฏฐาน อย่างที่ชาวเมืองกุรุ ถามกันว่า วันนี้มีสติปัฏฐาน ใดเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น แต่ละคน จะทราบได้ว่า บางท่านอาจจะไม่ได้ระลึกรู้ลักษณะของรูปารมณ์ คือสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แต่กำลังเริ่มระลึกรู้ลักษณะของโผฏฐัพพะ คือ รูปธรรมที่กำลังปรากฏทางกาย เพราะฉะนั้น บุคคคลนั้นย่อมรู้ว่า ในขณะที่กำลังระลึก แล้วก็เพิ่มความรู้ขึ้น ทิฏฐิที่ตามนอนอยู่ในอารมณ์นั้น ย่อมน้อยกว่าทิฏฐิที่ตามนอน อยู่ในอารมณ์อื่น ท่านอาจจะระลึกรู้ลักษณะของรูปธรรมทางหู คือเสียง แต่ว่าทางตา ยังไม่ค่อยจะได้ระลึก หรือว่าบางท่านอาจจะยังไม่ระลึกเลย เพราะฉะนั้น ทิฏฐิ ที่ตามนอน อยู่ในอารมณ์คือเสียงที่ปรากฏทางหู ย่อมน้อยกว่าทิฏฐิที่ตามนอนอยู่ในรูปารมณ์ ที่ปรากฏทางตา หรือว่าเวทานา ความรู้สึก ถ้าสติยังไม่ระลึกรู้ลักษณะของความรู้สึกเลย เวลาที่มีความรู้สึกยินดีหรือยินร้าย ในขณะนั้นทิฏฐิย่อมตามนอน อยู่ในเวทนา คือความรู้สึกนั้นมากกว่าในอารมณ์ซึ่งสติเริ่มระลึกรู้บ้าง
5171 ปฐมฌาน - ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ไม่ใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา
ท่านอาจารย์ ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะแต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ แม้แต่ปฐมฌานซึ่งยากเหลือเกินคะ ที่จะถึงได้ กว่าจิตจะสงบ เวลาที่ระลึกถึง อารมณ์ที่เป็น สมถกรรฐาน จนกระทั่งนิวรณ์สงบแล้วก็เวลาที่อุคคหนิมิตเกิดขึ้นแล้ว สำหรับผู้ที่เจริญกสิณ ขณะนั้น ยังไม่ถึงอุปจารสมาธิเลย แม้ว่าอุคคหนิมิต คือนิมิตที่ติดตา จะปรากฏแล้ว จะต้องพยายามให้จิตสงบที่อุคคหนิมิตนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด จนกระทั่งนิมิตนั้นปรากฏเป็น ความผ่องใส ร้อยเท่าพันทวี เป็นปฏิภาคนิมิต ขณะนั้นจิตจึงจะเป็น อุปจารสมาธิ แล้วเวลาที่เป็นอุปจารสมาธิแล้ว ก็ยังจะต้องพยายามที่จะระลึกถึง ปฏิภาคนิมิตนั้น จนกระทั่งองค์ของฌาน คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ปรากฏ ขณะนั้นจึงจะเป็นปฐมฌาน ก่อนนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา แม้ในอุปจารสมาธิ ก็มี แต่ว่าไม่มีกำลัง เมื่อไม่มีกำลัง จึงไม่ปรากฏเป็นองค์ เพราะฉะนั้น เวลาที่ปรากฏเป็นองค์ เมื่อใด เมื่อนั้นจึงเป็นปฐมฌาน เพราะเหตุว่า ผู้ที่ได้ปฐมฌานแล้วประกอบด้วยปัญญา ที่สามารถที่จะรู้ความต่างกัน ของ วิตก และวิจาร ในขณะนี้ วิตกเจตสิก วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก ก็กำลังเกิดอยู่ วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก จะไม่เกิดกับ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวงเท่านั้น คือไม่เกิดกับ จิตที่กำลังทำกิจเห็น ทำกิจได้ยิน ทำกิจได้กลิ่น ทำกิจลิ้มรส ทำกิจรู้โผฏฐัพพะที่ปรากฏ นอกจากนั้นแล้ว วิตกเจตสิก และวิจารเจตสิกก็กิดร่วมกับจิตทุกดวง แม้ในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมจนกระทั่งองค์ของฌาน คือวิตกเจตสิก วิจารเจตสิก ปีติเจตสิก สุขคือโสมนัสเวทนา ซึ่งประกอบด้วย ปีติ ซึ่งมีกำลัง และเอกัคคตาเจตสิก ปรากฏ ผู้นั้นจึงจะเห็นโทษของ วิตกเจตสิกว่ายังหยาบ ยังใกล้ชิดต่อจิตซึ่งเป็นไปในกาม คือในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ แล้วเมื่อบุคคลผู้นั้น มีความชำนาญมากขึ้น ในการที่จะระลึกถึงกสิณซึ่งเป็นอารมณ์ของฌาน จนกระทั่ง ขณะใดที่จิต มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ แล้วปราศจากวิตก ขณะนั้นจึงจะเป็น ทุติยฌาน เพราะเหตุว่า มีแต่วิจาร แม้ไม่มีวิตก ก็สามารถที่จะมีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ได้ นี่เป็นการอบรมเจริญความสงบที่ถูกต้องเป็นความสงบจริงๆ ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นไปกับความสงบ และสมาธิที่มั่นคงมาก เพราะฉะนั้น สำหรับพระภิกษุ ที่ท่านได้อบรมจนกระทั่งปฐมฌานเกิดแล้ว พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ เพราะเหตุว่า ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้น รู้ลักษณะของสภาพซึ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ที่เป็นวิปัสสนาญาณ เป็นแต่เพียงปัญญาขั้นที่รู้ลักษณะความสงบของจิต แล้วมีปัญญาที่จะรู้ว่า จิตจะสงบยิ่งขึ้นอย่างไร เท่านั้นเอง
5172 แม้ได้ฌานขั้นสูงสุดก็ยังไม่ใช่การเจริญธรรมเครื่องขัดเกลา
ท่านอาจารย์ สำหรับข้อความต่อไป ก็เป็นโดยนัยเดียวกัน สำหรับภิกษุผู้บรรลุ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน โดยนัยเดียวกัน ซึ่งท่านผู้ฟังจะเห็นความมั่นคงของสติ ที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ และสมาธิก็มีกำลัง มั่นคงขึ้นตามลำดับ สำหรับทุติยฌานนั้นเป็น สมาธิที่มั่นคง ซึ่งวิตกไม่เกิดเลย แล้วสำหรับ ตติยฌาน ก็เป็นสมาธิที่มั่นคงขึ้น จนวิจารเจตสิก ก็ไม่เกิดขึ้นสำหรับ ตติยฌาน โดย จตุตถนัย คือโดยนัยของฌาน ๔ ก็เป็น สมาธิที่มั่นคงขึ้น จนปีติก็ไม่เกิด คิดดู ปีติซึ่งมีซึมซาบอยู่ทั่วตัว เป็นความปลื่มใจ หรือเป็นความปีติอย่างยิ่ง ในความสงบนั้น แต่ว่าเวลาที่สมาธิ และสติมั่นคงมีกำลังขึ้น ก็ยังจะสามารถละปีติ เพราะเห็นว่าถ้ายังมีปีติอยู่ ก็ยังหวั่นไหว ใกล้ต่อการที่จะพอใจในฌานขั้นต่างๆ จนกระทั่งถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถึง การบรรลุ อรูปฌาน ตามลำดับ คือการบรรลุถึง อรูปฌานที่ ๑ อากาสานัญจายตนฌาน อรูปฌานที่ ๒ วิญญาณัญจายตนฌาน อรูปฌานที่ ๓ อากิญจัญญายตนฌาน อรูปฌานที่ ๔ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญาย
ตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน แทนที่จะไปเจริญฌานจนกระทั่งถึง เนวสัญญานาสัญญายตน แต่ยังไม่ใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา แต่เวลาที่ขัดเกลา พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน ถ้าเจริญสมถภาวนา บรรลุฌานแล้ว ยังมีความคิดที่จะเบียดเบียนได้ เพราะเหตุว่าไม่ได้ดับกิเลส เป็นสมุจเฉท แต่ผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน จะมีความซาบซึ้งในพระพุทธคุณ ในพระธรรมคุณ ในพระสังฆคุณ แล้วก็ไม่ลืมที่จะขัดเกลา ตนเองยิ่งขึ้น โดยเห็นว่า เป็นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ได้ทรงแสดงเพื่อ อนุเคราะห์ กับ ผู้ที่ยังมีกิเลสให้เป็นผู้ที่กิเลสเบาบาง แล้วผู้ที่เป็นพระสงฆ์คือพระอริยสงฆ์นั้น ก็สามารถที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น ผู้ที่ระลึกถึงพระรัตนไตร ย่อมประพฤติปฏิบัติ ตามยิ่งขึ้น แม้แต่ความคิดที่เบียดเบียน เช่นในกาลก่อนอาจจะเป็นผู้ที่ เบียดเบียนบุคคลอื่น ซึ่งการเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่ใช่แต่เฉพาะทางกาย แม้ทางวาจาหรือใจ เวลาที่ระลึกถึง พระรัตนไตรได้ ก็คงจะมีความอุตสาห ที่จะขัดเกลากิเลสยิ่งขึ้น โดยจะเป็นผู้ไม่เบียดเบียน เคยตั้งใจอย่างนี้ ไหมคะหรือยังไม่เคย แต่ถ้าระลึกถึง การขัดเกลากิเลสจริงๆ ย่อมจะเห็นได้ว่า เวลาที่เบียดเบียนนั้น เป็นอกุศลอย่างแรงทีเดียว
ท่านอาจารย์ ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปาณาติบาต คงจะเคยตั้งใจกันบ้างแล้ว ใช่ไหมคะ อย่างนี้ที่จะขัดเกลา การฆ่าสัตว์โดยเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
จักงดเว้นจากการอทินนาทาน เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากมุสาวาท เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปิสุณาวาจา เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากผรุสวาท เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจาก สัมผัปลาปะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ ข้อความต่อไปก็เป็นเรื่องของทำความขัดเกลาโดย จักมีความดำริชอบ
จักมีวาจาชอบ จักมีการงานชอบ จักมีอาชีพชอบ จักมีความเพียรชอบ จักมีสติชอบ
จักมีสมาธิชอบ ซึ่งก็เป็นมรรคมีองค์ ๘ นอกจากนั้นก็คือจักมีญาณปรีชาชอบ จักมีวิมุติชอบ คือไม่ปฏิบัติผิด แล้วก็ไม่รู้ผิด แล้วก็ไม่พ้นผิด นอกจากนี้ก็ยังมี การขัดเกลาอีกมากมายซึ่งเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เราทั้งหลายจักปราศจากถิ่นมิทธะ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เราทั้งหลายจักห้ามพ้นจากวิจิกิจฉา เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธไว้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน เราทั้งหลายจักไม่ยกตนเทียมท่าน
เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา ทjานผู้ฟังพิจารณา ว่า ยังมีอยู่หรือเปล่า แล้วถ้ายังมีอยู่ควรที่จะไม่มีไหมคะ ซึ่งอกุศลธรรมเหล่านี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด เราทั้งหลายจักไม่มีมารยา เราทั้งหลายจักไม่ดื้อด้าน เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย เราทั้งหลายจักมีกัลยาณมิตร เราทั้งหลายจักเป็นคนไม่ประมาท
เราทั้งหลายจักเป็นคนมีศรัทธา เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีหิริในใจ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีโอตตัปปะ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสุตะมาก ในขณะที่กำลังฟัง คือการที่จะอบรมการเป็นผู้ มีสุตะมาก เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรจุนทะ เราย่อมกล่าว แม้จิตตุปบาทว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย คือหมายความว่า เพียงชั่วขณะจิตเดียว ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ก็มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะต้องกล่าวไย ในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน แล้วก็ข้อความซ้ำต่อไป ทรงแสดงให้เห็นว่าไม่ควรจะประมาท กุศลกรรมเลย แม้เพียงชั่วขณะจิตเดียว ก็มีอุปการะมาก เพราะฉะนั้น ถ้าขวนขวายจนกรทั่งให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจา ก็ยิ่งจะเป็นอุปการะมากยิ่งขึ้น พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่เรียบ ก็พึงมีทางเส้นอื่นที่เรียบ สำหรับหลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น นี่ทรงแสดงถึงมรรค ซึ่งเป็นหนทางที่จะขัดเกลากิเลส อนึ่ง เปรียบเหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็พึงมีท่าอื่นที่ราบเรียบ สำหรับหลีกท่าที่ไม่ราบเรียบนั้น ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เบียดเบียน
5174 เหตุแห่งการทรงพระมหากรุณาคุณแสดงธรรม
ท่านอาจารย์ ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ทรงอุปมาว่า ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องล่าง กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องบน ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้เบียดเบียน แล้วก็ข้อความซ้ำต่อไป ต่อไปพระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึกข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ดูกรจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อมเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เบียดเบียน ข้อความซ้ำต่อไป ตอนท้ายของพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรจุนทะ เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว การหลีกเลี่ยงนี่ควรจะหลีกเลี่ยง อกุศลธรรม เช่น การเบียดเบียน หรือว่า การฆ่าสัตว์ การถือเอาสิ่งของที่บุคคลอื่นไม่ได้ให้ เป็นต้น สามารถที่จะหลึกเลี่ยงได้ทั้งสิ้น พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง
เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 01
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 02
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 03
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 04
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 05
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 06
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 07
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 08
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 09
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 10
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 11
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 12
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 13
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 14
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 15
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 16
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 17
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 18
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 19
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 20
- สมถภาวนา ตอนที่ 01
- สมถภาวนา ตอนที่ 02
- สมถภาวนา ตอนที่ 03
- สมถภาวนา ตอนที่ 04
- สมถภาวนา ตอนที่ 05
- สมถภาวนา ตอนที่ 06
- สมถภาวนา ตอนที่ 07
- สมถภาวนา ตอนที่ 08
- สมถภาวนา ตอนที่ 09
- สมถภาวนา ตอนที่ 10
- สมถภาวนา ตอนที่ 11
- สมถภาวนา ตอนที่ 12
- สมถภาวนา ตอนที่ 13
- สมถภาวนา ตอนที่ 14
- สมถภาวนา ตอนที่ 15
- สมถภาวนา ตอนที่ 16
- สมถภาวนา ตอนที่ 17
- สมถภาวนา ตอนที่ 18
- สมถภาวนา ตอนที่ 19
- สมถภาวนา ตอนที่ 20